WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 24, 2011

เปิดรายงานกรรมการสิทธิฯ ชะตากรรมชาวบ้านแหง! ใต้อุ้งมือนักการเมือง

ที่มา ประชาไท

รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา หนึ่งในนโยบายรัฐบาล “ปู 1” แถลงคือ การเร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งถูกบรรจุอยู่ใน นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม

ในขณะที่หน่วยงานโดยตรงที่รับผิดชอบโดยตรงในการทำเหมืองแร่ อย่างกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้เปิดแผนยุทธศาสตร์กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ประจำปีงบประมาณ 2554-2557 พร้อมทั้ง มอบรางวัล “เหมืองแร่สีเขียว” ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม กว่า 42 เจ้าของธุรกิจแร่

ทั้งแผนยุทธศาสตร์ และ โครงการเหมืองแร่สีเขียว ทีชูขึ้นเป็น แผนโฆษณาประชาสัมพันธ์ แบบ “ฉบับปิดตาข้างเดียว” แทบไม่เอ่ยถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านในพื้นที่มีเกือบ 50 พื้นที่ทั่วประเทศ ตรงกันข้ามกลับถูกยกเป็นประเด็นนำเสนอในแผนพัฒนาดังกล่าว ที่ระบุว่า เป็นปัจจัยที่เป็น”อุปสรรค” ต่อการดำเนินงาน เพราะมองว่า “บทบาทของเองค์กรพัฒนาเอกชน ในการคัดค้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ส่งผลกระทบต่อบทบาทของกรมในการบริหารจัดการแร่ภายในประเทศ”

ใน “สายตา” ของรัฐ จึงไม่มีพื้นที่ไว้สำหรับชาวบ้าน ไม่ได้ยินเสียงร้องของผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ในการทำ เหมืองแร่ ตั้งแต่การติดกระดุมเม็ดแรก อย่างการเริ่มต้นขอประทานบัตรที่สร้างความขัดแย้งของคนในชุมชน ความเดือดร้อนจากผลกระทบที่อยู่ระหว่างการประกอบกิจการเหมืองแร่ หรือ หลังจากเลิกกิจการแล้วทิ้ง “ซาก” อุตสาหกรรรมอันตราย เอาไว้ให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ดูต่างหน้า

ทรัพยากรแร่ที่ควรจะเป็นของ “ประชาชน”ทุกคน กลับถูกใช้วาทกรรมว่าเป็นของ “รัฐ” ที่พร้อม จะเสนอให้นักธุรกิจการเมือง และนายทุนข้ามชาติได้ตลอดเวลา

เปิดผลสอบอนุกรรมการสิทธิ

มีรายงานว่า คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ได้เสนอผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีคัดค้านการเปิดกิจการเหมืองแร่ลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง ภายหลังจากมีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามคำร้องที่ 533/2551 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ที่ระบุว่ากลุ่มนายทุนได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินทำกินของชาวบ้าน บริเวณหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 7 ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง จำนวนกว่า 1,000 ไร่

โดยกลุ่มนายทุนได้เสนอซื้อในราคาที่ถูก โดยอ้างว่าที่ดินทำกินดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่จับจองทำกินไม่มีเอกสารสิทธิ ใด ๆ หากไม่ขายให้ก็จะถูกข่มขู่ จึงจำใจต้องขายไป ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ทำกินดังกล่าวได้ใช้ทำกินมาหลายชั่วอายุคนแล้ว

ทั้งนี้จากการตรวจสอบของอนุกรรมการฯ ดังกล่าว พบว่า มีการกระทำที่เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องในกรณีการอนุญาตให้สัมปทานสำรวจและทำ เหมืองแร่ถ่านหินบ้านแหงเหนือ ของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด โดยมีลำดับเหตุการณ์สำคัญ ตามข้อมูลในรายงานดังกล่าวดังนี้คือ

2 มิถุนายน 2551 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมต.อนงค์วรรณ เทพสุทิน) ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณายกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางการ พัฒนาแหล่งถ่านหิน 4 ฉบับ คือเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2531 วันที่ 5 มิถุนายน 2533 วันที่ 10 มีนาคม 2535 และวันที่ 25 กันยายน 2544 โดยยังคงสงวนพื้นที่แหล่งถ่านหินแอ่งเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และแอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป เพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ดำเนินการประกาศยกเลิกเขต สำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหิน (ลิกไนต์)

ตามความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และจะได้นำพื้นที่แหล่งถ่านหินในเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ 8 พื้นที่ คือ แหล่งถ่านหินแอ่งเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี แอ่งสินปุน จังหวัดนครศรีธรรมราช แอ่งเชียงม่วน จังหวัดพะเยา แอ่งงาว แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ และแอ่งเสริมงาม จังหวัดลำปาง ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้ ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานของประเทศ ต่อไป

10 มิถุนายน 2551 บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ได้ทำการจดทะเบียน ประเภทบริษัทจำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท วัตถุประสงค์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้คือประกอบกิจการป่าไม้ การทำไม้ ปลูกสวนป่า ซึ่งประธานบริษัท คือ นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค อดีตอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นผู้เคยถูกเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขแทนนาย มานิต นพอมรบดี ที่ลาออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา

ปัจจุบัน “นายเรืองศักดิ์” เป็นรองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยคนที่หนึ่ง ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดกับอดีตนักการเมืองที่เป็นสามีของนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รมต.ทส. ที่ออกประกาศกระทรวงฯ “ปลดล็อค” มาตรา 6 ทวิ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 เพื่อนำแหล่งแร่ถ่านหิน 8 พื้นที่ ไปเปิดประมูลให้เอกชน

17 มิถุนายน 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา แหล่งถ่านหินรวม 4 มติ คือมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2531 (เรื่องมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2531 ครั้งที่ 11) วันที่ 5 มิถุนายน 2533 (เรื่อง ผลการสำรวจถ่านหินแอ่งงาว แจ้ห่ม-เมืองปาน เชียงม่วนและเสริมงาม) วันที่ 10 มีนาคม 2535 (เรื่อง การพัฒนาถ่านหินแอ่งเวียงแหง) และวันที่ 25 กันยายน 2544 [เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2544 (ครั้งที่ 85)] โดยยังคงสงวนพื้นที่แหล่งแร่ถ่านหินแอ่งเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และแอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป เพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ดำเนินการประกาศยกเลิกเขต สำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหิน (ลิกไนต์)

ตามความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป และจะได้นำพื้นที่แหล่งถ่านหินในเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ 8 พื้นที่ คือ แหล่งถ่านหินแอ่งเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี แอ่งสินปุน จังหวัดนครศรีธรรมราช แอ่งเชียงม่วน จังหวัดพะเยา แอ่งงาว แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ และแอ่งเสริมงาม จังหวัดลำปาง ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้ ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานของประเทศ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอต่อไป

20 มิถุนายน 2551 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมต.อนงค์วรรณ เทพสุทิน) ออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2531 เนื่องด้วยบัดนี้ทางราชการได้ดำเนินการสำรวจแร่ในพื้นที่ดังกล่าวบางส่วน เสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่อีกต่อไป จึงประกาศให้ยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ในท้องที่ต่าง ๆ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2531 ดังต่อไปนี้

  1. เขตท้องที่อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา และอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เนื้อที่ 673 ตารางกิโลเมตร
  2. เขตท้องที่อำเภอเชียงคำ และอำเภอปง จังหวัดพะเยา เนื้อที่ 529 ตารางกิโลเมตร
  3. เขตท้องที่อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ เนื้อที่ 182 ตารางกิโลเมตร
  4. เขตท้องที่อำเภองาว เนื้อที่ 195 ตารางกิโลเมตร
  5. เขตท้องที่อำเภอวังเหนือ และอำเภอแจ้ห่ม เนื้อที่ 332 ตารางกิโลเมตร
  6. เขตท้องที่กิ่งอำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอเมืองลำปาง เนื้อที่ 500 ตารางกิโลเมตร
  7. เขตท้องที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอแม่ทะ และอำเภอเกาะคา เนื้อที่ 783 ตารางกิโลเมตร
  8. เขตท้องที่อำเภอห้างฉัตร อำเภอเกาะคา และอำเภอเสริมงาม เนื้อที่ 205 ตารางกิโลเมตร

24 มิถุนายน 2551 หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ 0505/9287 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2551 แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ตามที่ รมต.ทส. เสนอ

ทั้งนี้ในรายงานดังกล่าว ได้ตั้งข้อสังเกตที่สำคัญว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 แต่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีด่วนที่สุด ที่ 0505/9287 แจ้งมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 จึงมีข้อสงสัยว่า รมต.ทส. ได้ทำการประกาศกระทรวงฯ เรื่องยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ก่อนที่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะมาถึง รมต.ทส. ได้อย่างไร

คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนฯ มีความเห็นว่าการเร่งรีบออกประกาศกระทรวงฯ ดังกล่าว ของ รมต.ทส. ก่อนหนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะมาถึงเป็นการกระทำที่เอื้อ ประโยชน์ให้กับพวกพ้อง