ที่มา มติชน
นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ร่วมกันแถลงข่าวมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2554 ซึ่งปัจจุบันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงและกว้างขวาง โดยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2554 กระทรวงการคลังได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก อุทกภัย ดังนี้
1. มาตรการด้านการเงิน
มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 8 แห่ง ได้แก่ 1) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2) ธนาคารออมสิน 3) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 4) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 5) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 6) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 7) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และ8) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย รวมทั้ง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเดิมของธนาคารในเรื่องการพักชำระหนี้ ขยายระยะเวลาชำระหนี้ และลดดอกเบี้ย รวมทั้ง ให้เงินกู้ใหม่แก่ลูกค้าเดิมและประชาชนทั่วไป เพื่อฟื้นฟูอาชีพและซ่อมแซมบ้าน/อาคารที่เสียหาย โดยลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าปกติและลดหย่อนเกณฑ์การพิจารณา ดังมีรายละเอียดการให้ความช่วยเหลือของแต่ละสถาบันการเงิน ดังนี้
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สายด่วน 02 2800180 ต่อ 2352
(1) กรณีลูกค้าเสียชีวิตจากอุทกภัย จะจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส. รับภาระเอง
(2) ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เดิมเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554-2556 และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554-2556
(3) ให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตรายละไม่เกิน 100,000 บาท และลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ ธ.ก.ส. เรียกเก็บจากลูกค้าลงร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี
2. ธนาคารออมสิน สายด่วน 1115
สินเชื่อเคหะ
(1) พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย หรือพักชำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 6 เดือน
(2) ปรับลดเงินงวด และ/หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ โดยเป็นไปตามเงื่อนไขการให้สินเชื่อเคหะของธนาคาร (ไม่เกิน 30 ปี)
(3) ให้กู้เพิ่มเพื่อเป็นเงินกู้กรณีฉุกเฉินรายละ 300,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนเงินกู้ตามสัญญาเดิม ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 ร้อยละ 3.25 ต่อปี ปีที่ 3-5 เท่ากับร้อยละ MLR-1 ต่อปี
(4) เงินกู้เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยสำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะเดิมรายละ 300,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินหลักทรัพย์เดิม สำหรับประชาชนทั่วไปไม่เกินรายละ 300,000 บาท ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 เท่ากับร้อยละ 3.25 ปีที่ 3-5 เท่ากับร้อยละ MLR-1 ต่อปี
สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน สินเชื่อโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) สินเชื่อธุรกิจห้องแถว และสินเชื่อองค์กรชุมชน
(1) พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยไม่เกิน 6 เดือน
(2) ปรับลดเงินงวด และ/หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ได้ไม่เกิน 1 ปี
(3) ให้กู้เพิ่มสำหรับลูกค้าสินเชื่อเดิมและประชาชนทั่วไป โดยสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนรายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับร้อยละ MRR+1 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กรณีผิดชำระหนี้ร้อยละ 14 ต่อปี ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี
(4) ให้กู้เพิ่มสำหรับลูกค้าสินเชื่อเดิมและประชาชนทั่วไป โดยสินเชื่อห้องแถวรายละไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี
สินเชื่อธุรกิจและ SMEs
(1) พักชำระหนี้เงินต้น โดยผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
(2) ขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้จากสัญญากู้เดิมได้ไม่เกิน 1 ปี
(3) ให้กู้เพิ่มรายละไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี
3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) สายด่วน 02 6459000
(1) วงเงินให้กู้สำหรับลูกหนี้เดิมของ ธอส. หรือลูกค้าใหม่เพื่อปลูกสร้างหรือซ่อมแซมอาคารไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร/ค่าซ่อมแซมอาคาร ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 30 ปี อัตราดอกเบี้ยแบ่งเป็น
(1.1) ลูกหนี้เดิมของธนาคาร
- กรณีหลักประกันได้รับความเสียหาย ลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนที่ 1-4 เหลือร้อยละ 0 ต่อปี โดยมีอัตราดอกเบี้ยให้เลือก 2 แบบ
อัตราดอกเบี้ย การผ่อนชำระ
แบบที่ 1
ปีที่ 1 เดือนที่ 1 - 4 = ร้อยละ 0 ต่อปี
เดือนที่ 5-12 = ร้อยละ MRR-2.00 ต่อปี
ปีที่ 2 = ร้อยละ MRR-2.00 ต่อปี
ปีที่ 3 = ร้อยละ MRR-1.00 ต่อปี
หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยลอยตัวตามประกาศธนาคาร
- เดือนที่ 1 - 4 ปลอดการผ่อนชำระเงินงวด
- เดือนที่ 5 เป็นต้นไปผ่อนชำระตามปกติ
แบบที่ 2
เดือนที่ 1 - 4 = ร้อยละ 0 ต่อปี
เดือนที่ 5-16 = ร้อยละ 1 ต่อปี
หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยลอยตัวตามประกาศธนาคาร
- เดือนที่ 1 - 4 ปลอดการผ่อนชำระเงินงวด
- เดือนที่ 5-16 ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ย
- หลังจากนั้นผ่อนชำระเงินงวดตามปกติ
- กรณีได้รับผลกระทบเรื่องรายได้ ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 1 ต่อปีเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยลอยตัวตามประกาศธนาคาร
- กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0.01 ต่อปีตลอดระยะเวลาที่เหลืออยู่
(1.2) กู้เพิ่มหรือกู้ใหม่ คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ 5 ปี โดยปีที่ 1-5 เท่ากับร้อยละ 2 ต่อปี หลังจากนั้นคิดดอดอกเบี้ยลอยตัวตามประกาศธนาคาร
(2) กรณีอาคารที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ตาม การตรวจสอบของธนาคาร ธนาคารจะพิจารณาปลดภาระเฉพาะภาระหนี้ตามยอดหนี้คงเหลือในส่วนของอาคาร โดยผู้กู้ผ่อนชำระหนี้ในส่วนของที่ดินที่คงเหลือ (ถ้ามี) ในอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม
(3) ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ทุกวงเงินกู้และค่าธรรมเนียม ค่าเบี้ยปรับในรายการที่เกี่ยวข้องทุกกรณี
4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) สายด่วน 1357
(1) วงเงินกู้เพื่อปรับปรุง ซ่อมแซม ฟื้นฟูกิจการ และ/หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนรายละไม่เกิน 1,000,000 บาท ระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 6 ปี และระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 2 ปี
(2) อัตราดอกเบี้ยคงที่ที่ร้อยละ 8 ต่อปีตลอดอายุสัญญา โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ร้อยละ 2 ต่อปีตลอดอายุสัญญา ดังนั้นผู้ประกอบการจะจ่ายจริงที่ร้อยละ 6 ต่อปีตลอดอายุสัญญา
(3) ไม่ต้องมีหลักประกัน
5. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) สายด่วน 1302
โครงการยิ้มสู้ฟื้นฟูอาชีพ
(1) ผ่อนปรนการชำระหนี้ ทั้งส่วนเงินต้นและกำไร เป็นระยะเวลา 3 เดือน และเดือนที่ 4 – 24 ให้ชำระทั้งส่วนเงินต้นและกำไร โดยคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิมร้อยละ 1 หลังจากนั้นคิดอัตรากำไรตามสัญญาเดิม หรือชำระเฉพาะส่วนกำไรเป็นระยะเวลา 12 เดือน เดือนที่ 13 – 24 ให้ชำระทั้งส่วนเงินต้นและกำไรตามสัญญาเดิม
(2) ให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม สำหรับก่อสร้าง ซ่อมแซม/ต่อเติมที่อยู่อาศัย และ/หรือสถานประกอบธุรกิจ ที่ได้รับความเสียหายตามความจำเป็น ให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินหลักประกันเดิม/หลักประกันอื่นเพิ่มเติม
(3) ให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม สำหรับใช้หมุนเวียนในธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องจากการได้รับผลกระทบทางอ้อม ให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินหลักประกันเดิม
(4) ระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 7 ปีสำหรับสินเชื่อเอนกประสงค์ และไม่เกิน 30 ปีสำหรับสินเชื่อเพื่อก่อสร้าง ซ่อมแซม ต่อเติมที่อยู่อาศัย
(5) อัตรากำไร
(5.1) กรณีไม่ขออนุมัติวงเงินเพิ่ม
- พักชำระหนี้ ทั้งส่วนเงินต้นและกำไร เป็นระยะเวลา 3 เดือน
และ เดือนที่ 4 – 24 ให้ชำระทั้งส่วนเงินต้นและกำไร โดยคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิมร้อยละ 1 หลังจากนั้นคิดอัตรากำไรตามสัญญาเดิม หรือ
- พักชำระเฉพาะส่วนกำไร เป็นระยะเวลา 12 เดือน
เดือนที่ 13 – 24 ให้ชำระทั้งส่วนเงินต้นและกำไร โดยคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิมร้อยละ 1 หลังจากนั้นคิดอัตรากำไรตามสัญญาเดิม
(5.2) กรณีขออนุมัติวงเงินเพิ่ม
- สำหรับสินเชื่อเพื่อก่อสร้าง ซ่อมแซม/ต่อเติม ที่อยู่อาศัย
ปลอดชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 3 เดือน
เดือนที่ 1-3 เริ่มต้นที่ร้อยละ 1.0 สูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.75
เดือนที่ 4-24 เริ่มต้นที่ร้อยละ SPRL–2.50 สูงสุดไม่เกินร้อยละ
SPRL-1.50
ปีที่ 3 เป็นต้นไป เริ่มต้นที่ร้อยละ SPRL–1.50 สูงสุดไม่เกินร้อยละ
SPRL-0.50
- สินเชื่อวงเงินทุนระยะยาว ปลอดชำระเงินต้นสูงสุด
ไม่เกิน 3 เดือน
ปีที่ 1 เริ่มต้นที่ร้อยละ SPRL–1.75 สูงสุดไม่เกินร้อยละ SPRL–0.25
ปีที่ 2 เริ่มต้นที่ร้อยละ SPRL–1.25 สูงสุดไม่เกินร้อยละ SPRL
ปีที่ 3 เป็นต้นไปร้อยละ SPRL
- สินเชื่อวงเงินทุนหมุนเวียน และวงเงินเบิกถอนเงินสด
ปีที่ 1 เริ่มต้นที่ร้อยละ SPRL–1.75 สูงสุดไม่เกินร้อยละ SPRL–0.25
ปีถัดไป ให้พิจารณาตามความเหมาะสม
- สินเชื่อวงเงินเอนกประสงค์ ปลอดชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 3 เดือน
เดือนที่ 1-3 เริ่มต้นที่ร้อยละ 0.75 สูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.00
เดือนที่ 4-24 ร้อยละ SPRR+6.25
ปีที่ 3 เป็นต้นไปร้อยละ SPRR+7.25
โครงการประกันสังคมเคียงข้างผู้ประกันตนต้านอุทกภัย
(1) ผู้ประกันตนไว้กับสำนักงานประกันสังคมตามมาตรา 33 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยน้ำท่วม เพื่อนำไปซ่อมแซม ปรับปรุงที่อยู่อาศัยของตนเองและหรือของบิดา-มารดารายละไม่เกิน 50,000 บาท
(2) ผู้ประกอบกิจการที่ขึ้นทะเบียนจ่ายเงินสมทบ กองทุนเงินทดแทนกับสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ได้รับความเสียหายจาก อุทกภัยน้ำท่วม เพื่อนำไปฟื้นฟูสถานประกอบการ เครื่องจักรอุปกรณ์ หมุนเวียนในธุรกิจรายละไม่เกิน 1,000,000 บาท
(3) ระยะเวลาการผ่อนชำระ 12 เดือนถึง 60 เดือน
(4) อัตรากำไร
(4.1) สำหรับผู้ประกันตน สินเชื่อวงเงินอเนกประสงค์
ระยะเวลา อัตรากำไร (ต่อปี)
ทางเลือกที่ 1
กรณีผ่อนชำระปกติเสร็จสิ้นภายใน 2 ปี
ทางเลือกที่ 2
กรณีผ่อนชำระปกติเสร็จสิ้น ภายใน 5 ปี
เดือนที่ 1- 24 ร้อยละ 2.5 ร้อยละ 2.5
เดือนที่ 25 – 60 - SPRR
(4.2) สำหรับผู้ประกอบกิจการ (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล)
ระยะเวลา อัตรากำไร (ต่อปี)
ทางเลือกที่ 1
กรณีผ่อนชำระปกติเสร็จสิ้นภายใน 2 ปี
ทางเลือกที่ 2
กรณีผ่อนชำระปกติเสร็จสิ้น ภายใน 5 ปี
เดือนที่ 1- 36 ร้อยละ 3.0 ร้อยละ 3.0
เดือนที่ 37 – 60 - SPRR
6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) สายด่วน 02 2712929
สินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการส่งออก
(1) ขยายระยะเวลาการรับชำระหนี้ หรือการต่อตั๋วเกินเทอม
(2) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย
สินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการนำเข้า
(1) ขยายระยะเวลาการกู้ Trust Receipt
(2) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย
สินเชื่อระยะยาว (กรณีวงเงินที่มีในปัจจุบัน)
(1) พักการชำระหนี้ต้นเงินกู้และดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 2 เดือน
(2) เลื่อนกำหนดการผ่อนชำระหนี้ หรือปรับเงื่อนไขในการผ่อนชำระหนี้
ในส่วนของ ระยะเวลา/จำนวนเงิน
(3) ยกเว้นการคิดดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดชำระ
สินเชื่อระยะยาว (กรณีขอเงินกู้เพิ่มเติมเพื่อซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น)
(1) กำหนดอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน
(2) ระยะเวลาการชำระคืน เงื่อนไขการผ่อนชำระและเงื่อนไขอื่นๆ ให้ฝ่ายงานด้านการตลาดเป็นผู้นำเสนอขออนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติสินเชื่อ
7. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) สายด่วน 02 3022741 ต่อ 157
(1) พักการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน สำหรับลูกค้า บสย. ที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัยปี 2554 และถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 ถึง 31 มีนาคม 2555
(2) ให้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินที่ลูกค้าได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ในการผ่อนปรนเรื่องการพักชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งการปรับโครง สร้างหนี้เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติ
8. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) สายด่วน 02 6189933
(1) พักชำระหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
(2) ปรับลดเงินงวด หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไปรวมไม่เกิน 30 ปี
(3) ในกรณีที่ลูกค้ามีความประสงค์จะขอกู้เพิ่มเพื่อนำเงินไปซ่อมแซมบ้านที่ได้ รับความเสียหาย บตท. จะเป็นผู้ประสานกับสถาบันการเงินเพื่อให้กู้เพิ่มต่อไป
9. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ. กรุงไทย) สายด่วน 02 2084171
(1) เงินกู้กรุงไทยสู้อุทกภัย ให้วงเงินกู้ประจำ (T/L) ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
(2) เงินทุนหมุนเวียนกรุงไทยสู้อุทกภัย สำหรับเสริมสภาพคล่องให้ลูกค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่ม เติม ธนาคารจะพิจารณาให้ตามความเหมาะสม
(3) โครงการกรุงไทยสู้อุทกภัย สำหรับลูกค้าที่ได้รับความเสียหายแต่ไม่ประสงค์กู้เพิ่ม
โดยให้ปลอดชำระเงินต้น (Grace Period)
ไม่เกิน 6 เดือน
(4) สินเชื่อที่อยู่อาศัยกรุงไทยสู้อุทกภัย ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย สำหรับลูกค้าที่ได้รับความเสียหาย โดยให้ปลอดชำระเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 6 เดือน
(5) ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ธนาคารได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทุก บัญชีแล้ว โดยมีผลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2554
(6) กรุงไทยจับคู่ธุรกิจสู้อุทกภัย โดยจัด Business Matching ระหว่างผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหาย กับผู้ประกอบการที่จำหน่ายวัสดุก่อสร้างและเครื่องจักรอุปกรณ์ ผู้รับเหมา เพื่อให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายสามารถปรับปรุงซ่อมแซมกิจการ หรือทดแทนและซ่อมบำรุงเครื่องจักร อุปกรณ์ ในสถานประกอบการที่ได้รับความเสียหายในราคาพิเศษ
(7) โครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุด 60 งวด อัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรกอัตราคงที่ร้อยละ 4 ต่อปี หลังจากนั้นดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากประจำ 6 เดือนบุคคลธรรมดา + ร้อยละ 1.65 ต่อปี ปลอดเงินต้น 6 เดือน
2. มาตรการด้านภาษี
2.1 การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินชดเชยที่ผู้ประสบอุทกภัยได้รับจากภาครัฐ
2.2 การยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนความเสียหายที่ได้รับสำหรับผู้ ประสบอุทกภัยที่ได้ลงทะเบียนไว้กับศูนย์หรือหน่วยงานให้ความช่วยเหลือของทาง ราชการ
2.3 การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ประสบอุทกภัยได้รับจากการ ประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหายดังกล่าวเฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของ ทรัพย์สินที่เหลือจากการหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาแล้ว
2.4 การบริจาคให้กับผู้ประสบอุทกภัยผ่านหน่วยงานส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลองค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือผ่านเอกชนที่เป็นตัวแทนรับบริจาคที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสรรพากร เพื่อนำไปบริจาคต่อให้กับผู้ประสบอุทกภัยนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในทางภาษีได้ 1.5 เท่า สำหรับการบริจาคระหว่างวันที่ 1 กันยายน – 31 ธันวาคม 2554 และผู้ได้รับบริจาคได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค มาถือเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้
2.5 การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำสินค้าไปบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
2.6 กระทรวงการคลังจะพิจารณาขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพากรสำหรับผู้ ประกอบการในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยรุนแรงตามความจำเป็นและสมควร
3.มาตรการด้านงบประมาณและการเบิกจ่าย
3.1 มาตรการการสนับสนุนจังหวัดและส่วนราชการในการใช้จ่ายเงินทดรองราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย พิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยกรมบัญชีกลาง ซึ่งจังหวัดที่ประสบภัยสามารถขอขยายวงเงินมายังกรมบัญชีกลางจากเดิมที่มี สิทธิใช้ได้ 50 ล้านบาท เป็น 250 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน (หากเกินกว่านี้ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงการคลังในการ พิจารณาอนุมัติ) โดยจนถึง ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2554 ได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 4,260 ล้านบาท และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการใน 3 จังหวัด คือ กำแพงเพชร อุทัยธานี และสระบุรี
3.2 การขยายระยะเวลาและผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกันเงินงบประมาณปี 2554 ไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ผูกพันได้อีก 6 เดือน จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2555 เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกจ่ายเงินตามระบบ GFMIS ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในรายการเพื่อช่วยเหลือแก้ไขและฟื้นฟูภายหลังอุทกภัย
4. มาตรการด้านอื่นๆ
4.1 มาตรการด้านที่ราชพัสดุ โดยกรมธนารักษ์
(1) กรณีที่พักอาศัยเสียหายบางส่วน ให้ยกเว้นการเก็บค่าเช่า 1 ปี และ 2 ปีสำหรับรายที่เสียหายทั้งหมด
(2) กรณีเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อทำการเกษตร ให้ยกเว้นการเก็บค่าเช่า 1 ปี
(3) กรณีเช่าอาคารราชพัสดุ หากไม่สามารถประกอบอาชีพได้เกิน 3 วัน ให้ยกเว้นการเก็บค่าเช่า 1 ปี
4.2 มาตรการด้านการประกันภัย โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งจะเร่งรัดให้บริษัทประกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างรวดเร็ว โดยให้ผู้ที่ประสบภัยสามารถติดต่อขอรับบริการผ่านสายด้วนประกันภัย โทร 1186
4.3 การจัดตั้งศูนย์วายุภักษ์ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม จังหวัดลพบุรี เพื่อรับผิดชอบดูแลปัญหาอุทกภัยในจังหวัดลพบุรี โดยศูนย์ดังกล่าวจะเป็นศูนย์กลางในการรับแจ้งข้อมูลการขอความช่วยเหลือ และการประสานงานให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในจังหวัดลพบุรีที่ประสบ ปัญหาอุทกภัย ซึ่งปัจจุบันมี 2 หน่วยที่ดำเนินการ คือ
(1) ท่าวุ้ง (ที่ทำการ ธ.ออมสิน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี) เปิดดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม2554
(2) ท่าศาลา (ใกล้ห้างบิ๊กซี สาขา 1 อ.เมือง จ.ลพบุรี) เปิดดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2554
4.4 การจัดตั้งสายด่วนรับแจ้งเหตุอุทกภัย กระทรวงการคลัง โทร 1689 เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการรับแจ้งเหตุอุทกภัย และการขอรับความช่วยเหลือ
4.5 การจัดตั้งศูนย์พักพิงช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี โดยใช้สถาบันพัฒนาการจัดเก็บภาษี กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสนามบินน้ำ โดยศูนย์ฯ ดังกล่าวมีห้องประขุมสัมนาและห้องพักประมาณ 200 ห้องและสามารถรองรับผู้อพยพในเบื้องต้นได้จำนวนไม่น้อยกว่า 1,000 คน ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง (นายกฤษฎา อุทยานิน) เป็นผู้รับผิดชอบ
5. การเตรียมการรองรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่เสี่ยงภาคใต้
จาก การสำรวจพื้นที่ พบว่า พื้นที่เสี่ยงที่มีโอกาสเกิดอุทกภัยสูงในภาคใต้อยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี และปัตตานี กระทรวงการคลังจึงได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อม ในการรองรับสถานการณ์ดังกล่าว โดยจะดำเนินการจัดตั้งศูนย์วายุภักษ์ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วมใน 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฎร์ธานี รวมทั้งได้จัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นไว้ล่วงหน้าเพื่อให้สามารถดำเนินการให้ ความช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง (นายประสิทธิ์ สืบชนะ) เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งคาดว่าการเตรียมการดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์