WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, October 10, 2011

พิษน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมฯ อยุธยา ฉุดจีดีพีประเทศร่วง ชมภาพ"ฮอนด้า"จมน้ำ

ที่มา มติชน


ภาพ REUTERS



ภาพ REUTERS



ภาพ REUTERS



ภาพจาก hondajazz-club.com



ภาพจาก Singburinews.com


ทีมข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2554

วิกฤตน้ำท่วมในพื้นที่ 20 จังหวัด เริ่มรุนแรงส่งผลกระทบขยายวงตั้งแต่เดือนสิงหาคมเริ่มต้นของอุทกภัยครั้ง ใหญ่ในไทย กระทั่งสถานการณ์ล่วงเลยถึงเดือนตุลาคม พบว่าน้ำท่วมกินพื้นที่แล้ว 3 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง รวม 59 จังหวัด 572 อำเภอ 4,083 ตำบล ประชาชนเดือดร้อน แบ่งเป็น 2,280,420 ครัวเรือน 8,009,289 คน ยังไม่นับรวมมวลน้ำมหาศาลกำลังพุ่งเป้ามาที่กรุงเทพมหานคร

ผลกระทบในแง่เศรษฐกิจเกิดขึ้นทั้งในภาคเกษตรกรรม แยกเป็นไร่นา สวนผักและผลไม้ และประมงน้ำจืด รวมทั้งนอกการเกษตร แยกย่อยเป็น ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคการค้า

สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่ผ่านมา มักมีสรรพกำลังป้องกันน้ำท่วมสูง พื้นที่ถูกยกเหนือกว่าระดับปกติ จึงไม่เข้าข่ายเสี่ยงถูกน้ำท่วม เดิมกระทรวงอุตสาหกรรมประเมินความเสียหายโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่น้ำท่วม 18 จังหวัด ความเสียหายเพียงแค่ประมาณ 500 ล้านบาท มีนิคมอุตสาหกรรมได้รับความเสียหาย คือ นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย 2 แห่ง นิคมอุตสาหกรรมหนองแค 16 แห่ง นิคมอุตสาหกรรมลำพูน นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร และนิคมอุตสาหกรรมราชบุรี 18 แห่ง

แต่ช่วงดึกของวันที่ 5 ตุลาคม ระดับน้ำใน จ.พระนครศรีอยุธยา ได้เพิ่มระดับอย่างรวดเร็วและเข้าท่วมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร อ.นครหลวง ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในนิคมฯจำนวน 49 แห่ง มูลค่าการลงทุนประมาณ 9,472 ล้านบาท บนพื้นที่โครงการรวม 2,050 ไร่ จมน้ำในพริบตา มูลค่าความเสียหายในพื้นที่ประมาณ 30,000 ล้านบาท

ตัวเลขดังกล่าวคำนวณจากระยะเวลาเสียหายและฟื้นฟูเบื้อง ต้นใช้เวลาประมาณ 3 เดือน แบ่งเป็น 6 รายการ คือ 1.ความเสียหายจากคำสั่งซื้อและสูญเสียรายได้ 24,500 ล้านบาท 2.ความเสียหายอาคารโรงงานและเครื่องจักร 1,960 ล้านบาท 3.วัตถุดิบเสียหาย 490 ล้านบาท 4.แรงงานทั้งสิ้น 14,696 คนขาดรายได้ช่วง 3 เดือน 360 ล้านบาท 5.ความเสียหายของบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น หอพัก รถรับส่งคนงาน 150 ล้านบาท และ 6.ผลิตภัณฑ์ของโรงงานเสียหาย 980 ล้านบาท

ความเสียหายนี้นักลงทุนญี่ปุ่นได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีสัดส่วนการลงทุนมากถึง 70% รองลงมาคือไทย 20% และอื่นๆ 10% ประเภทอุตสาหกรรม คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมยาง พลาสติก เครื่องหนัง เครื่องแต่งกาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรงงานขนาดเล็กราว 120 โรง จากทั้งหมด 1,500 โรง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ หรืออยู่ในที่ลุ่ม เสียหายรวม 150 ล้านบาท

ระยะเวลาผ่านไปปริมาณน้ำยังไม่มีท่าทีจะลด ตรงกันข้ามกลับเพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว จากการระบายน้ำของเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ รวมกับปริมาณน้ำฝนกำลังเคลื่อนพาดผ่านจังหวัดต่างๆ ทั้งจากพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มคำนวณเวลาเสียหายเพิ่มขึ้นไปถึง 5 เดือน มูลค่าในส่วนของคำสั่งซื้อ แรงงาน จึงมีสิทธิทวีคูณทีเดียว

โดยเฉพาะล่าสุดพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน เขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ และเขตประกอบการแฟคตอรี่แลนด์ วังน้อย เขตอุตสาหกรรมนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดอีกแห่งหนึ่งของไทย ก็ยากจะหนีผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

ในส่วนนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) เป็นนิคมฯร่วมดำเนินงานระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กับบริษัท ไทยอินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด เริ่มก่อตั้งปี 2532 ตั้งอยู่บริเวณถนนสายเอเชีย-นครสวรรค์ อำเภอบางปะอิน มีพื้นที่โครงการรวม 2,379 ไร่ มีโรงงานทั้งสิ้น 143 ราย จำนวนแรงงาน 51,186 คน มูลค่าการลงทุนสูงถึง 65,312 ล้านบาท ประเภทอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมยาง พลาสติก เป็นต้น

นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน เป็นนิคมฯร่วมดำเนินงานระหว่าง กนอ.กับบริษัท ที่ดินบางปะอิน จำกัด เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2532 ตั้งอยู่พื้นที่อำเภอบางปะอิน พื้นที่โครงการรวม 1,962 ไร่ มีโรงงานทั้งสิ้น 90 ราย จำนวนแรงงานทั้งสิ้นประมาณ 60,000 คน มูลค่าการลงทุน 60,000 ล้านบาท ประเภทอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมยาง พลาสติก เป็นต้น

เขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา บริหารโดย บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) ภายใต้การกำกับของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีโรงงานตั้งอยู่มากที่สุด คือ 198 โรง มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท มีจำนวนแรงงานทั้งสิ้น 90,000 คน อุตสาหกรรมส่วนใหญ่คือ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยเฉพาะโรงงานประกอบรถยนต์ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล จำกัด

สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้าได้เร่งขนย้ายรถจำนวน 3,000 คัน ตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค. แต่ยังคงเหลือรถที่ยังจอดอยู่ภายในโรงงานประมาณ 200 คันจมน้ำ ค่าเสียหายหลายหมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีเขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ วังน้อย ของบริษัท วังจุฬาเรียลเอสเตท จำกัด พื้นที่ 130 ไร่ โรงงาน 76 แห่ง ถือเป็นเขตประกอบการที่หลายคนประเมินว่าน่าจะอยู่รอดปลอดภัย เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่น้ำยังไม่เข้าท่วม แต่ก็ประมาทไม่ได้ ในยามน้ำมากขนาดนี้ จึงคงต้องหาทางป้องกันเช่นกัน

ทุกฝ่ายประเมินว่าหากน้ำท่วมเบ็ดเสร็จจะสร้างความเสียหายหลายแสนล้านบาท นั่นคือ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค และเขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ เพราะประเมินจากมูลค่าลงทุน มูลค่าสินค้า และความเสียหายจะตามมาหากโรงงานได้ความเสียหาย

เพราะนิคมอุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี เปรียบเป็นแขนขาของอุตสาหกรรมใน จ.ระยอง จ.ฉะเชิงเทรา และต่างประเทศ รับหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนเพื่อป้อนให้โรงงานจังหวัดต่างๆ นำไปประกอบเป็นหลัก คิดเป็นมูลค่ามากถึง 500,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 5% ของจีดีพีประเทศทีเดียว

ถึงเวลานี้ภาพความเสียหายของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตสินค้าส่งออกสร้างราย ได้ให้ประเทศคิดเป็นสัดส่วนสูง จากทั้งหมด 70% ของรายได้รวมต่อปี ได้เริ่มขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ จากการประเมินของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมก่อนหน้านี้

ที่ผ่านมา นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาระบุว่า เบื้องต้นน้ำท่วมในหลายจังหวัดทั่วประเทศส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของ ประเทศ (จีดีพี) ไม่มากนัก ประเมินความเสียหาย คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านบาท

แต่ก็เป็นเพียงการประเมินในระยะเริ่มต้น โดยยังไม่เห็นภาพของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในส่วนต่อมา เพราะผู้ว่าแบงก์ชาติกล่าวย้ำว่า หากเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนสถานการณ์ไม่คลี่คลายและรุนแรงมากขึ้น จะกระทบจีดีพีมากกว่า 20,000 ล้านบาทอย่างแน่นอน

ขณะที่นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ก่อนหน้านี้ประเมินว่า สถานการณ์น้ำท่วมได้ส่งผลกระทบก่อความเสียหายเป็นวงกว้างมากขึ้นทั้งในภาค การเกษตร อุตสาหกรรม การค้า และบริการ รวมถึงการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม-5 ตุลาคม 2554 น้ำท่วมจากพายุโซนร้อนนกเตน ได้สร้างความเสียหาย 104,027 ล้านบาท หรือผลกระทบต่อจีดีพี 0.8-1.0% ความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐยังไม่เต็มที่ ได้ส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของครึ่งปีและทั้งปี 2554 ลดลง ทั้งปีคาดการณ์เดิม 4.4% เหลือ 3.6% จากปี 2553 ขยายตัว 7.8%

นายธนวรรธน์แนะนำว่า สิ่งที่รัฐบาลควรกระทำคือ จัดระดับความสำคัญของการใช้นโยบายและมาตรการเยียวยาต้องเร็วและเหมาะสม กระตุ้นงบประมาณเพื่อการจ้างงานและการกู้ยืมให้คล่องตัวภายในสิ้นปีนี้ โดยวงเงินไม่ควรต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อและสร้างความเชื่อมั่นการบริโภคในไตรมาสสุดท้ายของปี

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ ยังไม่นับรวมความเสียหายที่กำลังจะตามมาอีกมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นด้านการขนส่ง ด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะหากไม่สามารถป้องกันพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ศูนย์รวมเศรษฐกิจของประเทศเอาไว้ได้

ถือเป็นโจทย์สำคัญที่รัฐบาลจะต้องเร่งหาทางแก้ไข ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน รัฐบาลยิ่งลักษณ์หวังพึ่งพิงกำลังซื้อในประเทศ แต่เมื่อต้องมาเจอกับสถานการณ์น้ำท่วมหนักเช่นนี้ ยิ่งทำให้ทุกอย่างยากขึ้นเป็นทวีคูณ

มาคอยดูว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ วิกฤตจะสร้างวีรสตรี หรือแก้ปัญหาได้แค่กระพี้ไม่ถึงแก่นกันแน่