WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, October 12, 2011

สำนักพิมพ์นิติราษฎร์ อีกหนึ่งภารกิจนิติศาสตร์เพื่อราษฎร

ที่มา ประชาไท

“ถึง เวลาแล้ว ที่จะต้องทำให้บรรดานักนิติศาสตร์และนักกฎหมายทั้งปวงเห็นว่าวิชานิติศาสตร์ ในรัฐเสรีประชาธิปไตย ต้องเป็นศาสตร์ที่มุ่งตรงไปที่ความยุติธรรมและความมั่นคงแน่นอนแห่งนิติฐานะ ที่สำคัญวิชานิติศาสตร์ต้องเป็นวิชาการที่เป็นไปเพื่อราษฎร การเรียนการสอนในทางนิติศาสตร์ไม่ควรจำกัดอยู่แต่การท่องจำตัวบท คำอธิบายกฎหมาย หรือคำพิพากษาของศาล การเรียนการสอนในทางนิติศาสตร์ไม่ควรเป็นไปเพื่อให้ผู้เรียนตัดขาดตัวเองออก จากสังคม ไต่เต้าบันไดแห่งความสำเร็จทางวิชาชีพเพียงเพื่อในที่สุดแล้วจะได้อยู่ในที่ สูงกว่าราษฎร และใช้อำนาจหรือการผูกขาดความรู้ทางกฎหมายเอารัดเอาเปรียบกดขี่ข่มเหงราษฎร วิชานิติศาสตร์ควรจะสอนให้ผู้เรียนได้ตระหนักว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาและ เริ่มต้นประกอบวิชาชีพโดยเข้าไปเป็นองค์กรของรัฐและทรงอำนาจในการกระทำการ ทางกฎหมาย อำนาจที่ตนกำลังใช้อยู่นั้นโดยเนื้อแท้แล้ว หาใช่อำนาจของตนเองไม่ แต่เป็นอำนาจของราษฎร ผู้ที่ศึกษาวิชานิติศาสตร์ควรจะศึกษาอย่างมีจิตใจวิพากษ์วิจารณ์ และเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว จะต้องใช้กฎหมายโดยซื่อตรงต่อหลักวิชาที่ยอมรับกันเป็นยุติว่ามีเหตุผล อธิบายได้ ไม่คำนึงถึงหน้าคน การใช้กฎหมายเช่นนี้ในที่สุดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ราษฎรทั้งหลาย”

ข้างต้นคือ คำประกาศสำนักพิมพ์นิติราษฎร์ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งของ คณะนิติราษฎร์:นิติศาสตร์เพื่อราษฎร นอกเหนือจาก เว็บไซต์ www.enlightened-jurists.com ที่เปิดตัวมาได้ร่วม 1 ปี ในการต่อสู้ทางความคิด

คำประกาศดังกล่าวได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการตั้งสำนักพิมพ์ว่า “เพื่อหวังเป็นกลไกอีกประการหนึ่งในการสถาปนาอุดมการณ์นิติรัฐ-ประชาธิปไตย ให้เจริญงอกงามในวงวิชาการนิติศาสตร์ เพื่อผลิตตำราทางนิติศาสตร์ที่มีคุณภาพ เพื่อนำเอาตำราทางนิติศาสตร์ในอดีตที่สนับสนุนหลักนิติรัฐ-ประชาธิปไตยกลับ มาพิมพ์ขึ้นใหม่เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าได้อย่างสะดวกขึ้น เราหวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากหนังสืออันทรงคุณค่าต่างๆที่เราจะได้จัด พิมพ์ขึ้น”

ผลงานหนังสือเล่มแรกของสำนักพิมพ์นิติราษฎร์ คือการจัดพิมพ์หนังสือกฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป โดยวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ซึ่งเป็นตำราที่ปรับปรุงและขยายความมาจากหนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง : หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้อธิบายความหมายของฝ่ายปกครอง ความหมายของกฎหมายปกครอง หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง ตลอดจนการกระทำของฝ่ายปกครอง ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งทางปกครอง กฎ ปฏิบัติการทางปกครอง สัญญาทางปกครอง นอกจากนี้ยังได้อธิบายการพิจารณาทางปกครอง การบังคับทางปกครอง และความรับผิดของฝ่ายปกครองในส่วนของความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ด้วย

แม้โดยหลักแล้ว ผู้เขียนมุ่งหวังให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือประกอบการฟังคำบรรยายวิชา กฎหมายปกครอง แต่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจวิชาการทางด้านกฎหมายปกครอง ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ในทางกฎหมายปกครองในประเทศไทยต่อไป

..........................

คำประกาศสำนักพิมพ์นิติราษฎร์

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เราปฏิเสธไม่ได้ว่ากฎหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือช่วงชิงอำนาจ สร้างความชอบธรรมให้กับอำนาจ ตลอดจนทำลายอำนาจ การช่วงชิง สร้างความชอบธรรม และทำลายล้างในนามของกฎหมายและความยุติธรรมนั้น ไม่เพียงแต่สร้างบาดแผลที่ลึกอย่างยิ่งให้กับวงการกฎหมายและวงวิชาการ นิติศาสตร์ไทยเท่านั้น แต่ยังมีผลสร้างความอยุติธรรมอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นกับผู้คนในสังคมโดยรวม ด้วย เหตุที่ทำให้เกิดสภาพการณ์แบบนี้ขึ้นในสังคม ก็เนื่องจากผู้คนจำนวนหนึ่งที่มีบทบาทชี้นำสังคม และนักกฎหมายที่เป็นชนชั้นนำปิดล้อมความคิดความอ่านของผู้คนด้วยการยกเอาข้อ ธรรม ความเชื่อในทางจารีตประเพณี ตลอดจนบุคคลที่ถูกสร้างให้เป็นที่ยึดถือศรัทธาขึ้นเป็นกรงขังการใช้เหตุผล และสติปัญญาของผู้คน

เพื่อจะไปให้พ้นจากสภาวะเช่นนี้ สังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงการกฎหมายและวงวิชาการนิติศาสตร์จะต้องก้าวข้ามยุคมืดไป สู่ยุคแห่งความสว่างไสวทางสติปัญญาหรือที่บางท่านเรียกว่ายุคภูมิธรรมหรือ ยุคพุทธิปัญญา (Enlightenment; les Lumières; Aufklärung) ดังที่ได้เคยเกิดมาแล้วในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคภูมิธรรมหรือพุทธิปัญญาในช่วงศตวรรษที่ ๑๗ และ ๑๘ ซึ่งในที่สุดแล้วเป็นรากฐานสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมไป สู่ความเป็นประชาธิปไตย ลักษณะสำคัญของ Enlightenment คือ การเกิดความเคลื่อนไหวทางความคิดในทุกแขนงวิชา โดยการเคลื่อนไหวทางความคิดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการตั้งคำถาม การวิพากษ์วิจารณ์ การสงสัยต่อสิ่งที่ยอมรับเด็ดขาดเป็นยุติ ห้ามโต้แย้ง ห้ามคิดต่าง เช่น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือคำสอนทางศาสนา ทั้งนี้โดยที่ถือว่า “เหตุผล” มีคุณค่าเท่าเทียมกับ “ความดี” การใช้สติปัญญาครุ่นคิดตรึกตรอง ไม่หลงเชื่ออะไรอย่างงมงายมีค่าเป็นคุณธรรม ถือว่ามนุษย์ทั้งหลายสามารถที่จะได้รับการฝึกฝนให้ใช้สติปัญญาได้ และถือว่าเหตุผลเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการรับรู้ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นรอบ ตัวอย่างเท่าทัน ยุคนี้เป็นยุคที่เกิดการเรียกร้องให้มีขันติธรรมในเรื่องความเชื่อทางศาสนา กล่าวให้ถึงที่สุด ยุคแห่งความสว่างไสวทางสติปัญญา คือ ยุคที่เสรีภาพจะเข้าแทนที่สมบูรณาญาสิทธิ์ ความเสมอภาคจะเข้าแทนที่ระบบชนชั้น เหตุผล ความรู้ วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์จะเข้าแทนที่อคติและความงมงายทั้งหลาย

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้นักคิดสกุลหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) และนักคิดในสายถอดรื้อโครงสร้าง (Deconstruction) จะปฏิเสธคุณค่าภววิสัยและความจริงปรมัตถ์และเห็นว่าตรรกะไม่ใช่รากฐานเพียง ประการเดียวของความรู้ของมนุษย์ก็ตาม แต่เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหากเราไม่เริ่มต้นตั้งคำถาม และใช้สติปัญญาของเราอันเปรียบเสมือนแสงสว่างขับไล่ความมืดมนคืออคติและความ งมงายแล้ว เราก็คงจะสร้างสรรค์สังคมมนุษย์ที่ยุติธรรมไม่ได้ แม้ว่ายุคแห่งความสว่างไสวทางสติปัญญาจะเป็นเพียงยุคสมัยหนึ่งในประวัติ ศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่การใช้เหตุผลและสติปัญญาแสวงหาความจริงเป็นกระบวนการที่ไม่รู้จักจบสิ้น เราปฏิเสธความเชื่อ จารีตอันงมงายอันปรากฏในวงวิชาการนิติศาสตร์ และอยู่บนหนทางของการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ และท้าทายสถาบันทั้งหลายทั้งปวงในทางกฎหมายที่ไม่ตั้งอยู่บนรากฐานของเหตุผล ที่สามารถยอมรับได้ เราเห็นด้วยกับคำขวัญของยุคแห่งความสว่างไสวทางสติปัญญา คำขวัญที่ Immanuel Kant (ค.ศ.๑๗๒๔-๑๘๐๔) นักปรัชญาผู้เรืองนามชาวเยอรมันให้ไว้ว่า “จงกล้า ที่จะใช้ปัญญาญานแห่งตน!” (Habe Mut, dich deines eigenen Verstandes zu bedienen!)

หากเราย้อนกลับไปที่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบที่กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแล้ว เราจะพบความจริงประการหนึ่งว่าวิธีคิดของคนในวงการนิติศาสตร์และระบบตลอดจน โครงสร้างขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลยุติธรรม มีความเปลี่ยนแปลงน้อยมาก อาจกล่าวได้ว่าอุดมการณ์ประชาธิปไตยซึ่งเป็นอุดมการณ์ของการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองนั้น ไม่ได้ถูกปลูกฝังบ่มเพาะให้เข้าสู่ความรับรู้ของบุคคลในวงการกฎหมายอย่างที่ ควรจะเป็น การเกิดสิ่งที่เรียกว่า “ตุลาการภิวัตน์” ในช่วงก่อนการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ย่อมต้องถือว่าเป็นผลพวงของความล้มเหลวในอันที่จะสถาปนาอุดมการณ์นิติ รัฐ-ประชาธิปไตยให้เป็นอุดมการณ์หลักในวงการกฎหมายและวงวิชาการนิติศาสตร์ เหตุผลของความล้มเหลวดังกล่าวมีอยู่หลายประการ แต่เหตุผลที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการที่สถาบันที่อบรมให้ ความรู้ทางวิชาการและฝึกฝนวิชาชีพทางกฎหมายตัดตัวเองออกจากการเรียนการสอน กฎหมายมหาชนในแง่ของหลักการและคุณค่าที่แท้จริง นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา เราจึงได้เห็นการรัฐประหารและล้มล้างรัฐธรรมนูญครั้งแล้วครั้งเล่า เราเห็นบรรดานักกฎหมายรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่พร้อมจะรับใช้คณะรัฐประหารและผู้ ที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร และพร้อมที่จะละทิ้งหลักวิชาที่ร่ำเรียนมาเพื่อตอบสนองความต้องการของการทำ รัฐประหาร เราเห็นศาลยอมรับบรรดาประกาศคำสั่งของคณะรัฐประหารให้มีค่าบังคับเป็นกฎหมาย โดยแทบจะไม่มีการตั้งคำถามถึงความยุติธรรมในทางเนื้อหาของบรรดาประกาศหรือคำ สั่งเหล่านั้น สิ่งเหล่านี้นอกจากจะมีผลทำลายคุณค่าของวิชานิติศาสตร์ลงอย่างถึงรากแล้ว ในที่สุดยังเท่ากับเป็นการทำร้ายราษฎรผู้เป็นเจ้าของอำนาจรัฐด้วย

ถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องทำให้บรรดานักนิติศาสตร์และนักกฎหมายทั้งปวงเห็นว่าวิชานิติศาสตร์ ในรัฐเสรีประชาธิปไตย ต้องเป็นศาสตร์ที่มุ่งตรงไปที่ความยุติธรรมและความมั่นคงแน่นอนแห่งนิติฐานะ ที่สำคัญวิชานิติศาสตร์ต้องเป็นวิชาการที่เป็นไปเพื่อราษฎร การเรียนการสอนในทางนิติศาสตร์ไม่ควรจำกัดอยู่แต่การท่องจำตัวบท คำอธิบายกฎหมาย หรือคำพิพากษาของศาล การเรียนการสอนในทางนิติศาสตร์ไม่ควรเป็นไปเพื่อให้ผู้เรียนตัดขาดตัวเองออก จากสังคม ไต่เต้าบันไดแห่งความสำเร็จทางวิชาชีพเพียงเพื่อในที่สุดแล้วจะได้อยู่ในที่ สูงกว่าราษฎร และใช้อำนาจหรือการผูกขาดความรู้ทางกฎหมายเอารัดเอาเปรียบกดขี่ข่มเหงราษฎร วิชานิติศาสตร์ควรจะสอนให้ผู้เรียนได้ตระหนักว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาและ เริ่มต้นประกอบวิชาชีพโดยเข้าไปเป็นองค์กรของรัฐและทรงอำนาจในการกระทำการ ทางกฎหมาย อำนาจที่ตนกำลังใช้อยู่นั้นโดยเนื้อแท้แล้ว หาใช่อำนาจของตนเองไม่ แต่เป็นอำนาจของราษฎร ผู้ที่ศึกษาวิชานิติศาสตร์ควรจะศึกษาอย่างมีจิตใจวิพากษ์วิจารณ์ และเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว จะต้องใช้กฎหมายโดยซื่อตรงต่อหลักวิชาที่ยอมรับกันเป็นยุติว่ามีเหตุผล อธิบายได้ ไม่คำนึงถึงหน้าคน การใช้กฎหมายเช่นนี้ในที่สุดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ราษฎรทั้งหลาย

เราก่อตั้งสำนักพิมพ์นิติราษฎร์ขึ้น เพื่อหวังเป็นกลไกอีกประการหนึ่งในการสถาปนาอุดมการณ์นิติรัฐ-ประชาธิปไตย ให้เจริญงอกงามในวงวิชาการนิติศาสตร์ เพื่อผลิตตำราทางนิติศาสตร์ที่มีคุณภาพ เพื่อนำเอาตำราทางนิติศาสตร์ในอดีตที่สนับสนุนหลักนิติรัฐ-ประชาธิปไตยกลับ มาพิมพ์ขึ้นใหม่เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าได้อย่างสะดวกขึ้น เราหวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากหนังสืออันทรงคุณค่าต่างๆที่เราจะได้จัด พิมพ์ขึ้น และจะได้ติดตามผลงานของสำนักพิมพ์นิติราษฎร์ในอันดับถัดๆไป

คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร
ก่อตั้ง ๑๙ กันยายน ๒๕๕๓