WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 14, 2011

แก้"พ.ร.บ.กลาโหม" ทุบ"กล่องดวงใจ"เหล่าทัพ

ที่มา มติชน


(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 14 ตุลาคม 2554 น.11)



คำสัมภาษณ์ของ "ศักดา คงเพชร" ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ที่พูดถึงพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 ว่าคลอดออกมาจาก "มดลูก" เผด็จการ เป็นการเปิดหน้าชนโดยตรงต่อกองทัพที่ได้อานิสงส์จากการมี พ.ร.บ.ฉบับนี้อยู่

โดยเฉพาะจาก "มาตรา 25" ที่กำหนดว่า การแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการ อันประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (เป็นประธาน) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นกรรมการและเลขานุการ

หมากเกมแรก ขับเคลื่อนโดย "ประชา ประสพดี" ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ที่เตรียมชงผลการบังคับใช้ พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ กมธ.พิจารณาศึกษาข้อดี-ข้อเสีย เป็นการเปิดทางสู่กระบวนการถัดๆ ไป

แต่ท่าทีดังกล่าว สวนกับท่าทีของ "น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี "พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือแม้แต่ "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรีที่ยังแบ่งรับแบ่งสู้

เพราะ "เซียนการเมือง" ย่อมรู้ดีว่า เป็น "ของร้อน" หากบุ่มบ่ามแตะไป รังแต่จะแตกหักก่อนเวลา

เพราะ ด้วยโดยเนื้อแท้แล้ว รัฐบาลปัจจุบัน กับ กองทัพ เป็นคนละเนื้อเดียวกันอยู่แล้ว เพียงแต่ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา ที่ "พรรคเพื่อไทย" ชนะอย่างท่วมท้น ทำให้ทหารไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวใดๆ ในทางการเมือง

แต่ทว่า มีเงื่อนไขในใจว่า "การเมือง" ก็อย่ามายุ่งกับ "ทหาร"

การ บริหารจัดการบุคลากรภาครัฐ กับการแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายราชการ มีมาแต่ในอดีต ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่ายุคสมัยใด ย่อมเข้ามาจัดวางพวกวางคนของตัวทั้งสิ้น

เป็นเหตุแห่งที่มาของคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่เร่งวางภูมิคุ้มกัน "โรคแทรกแซง" เอาไว้ใน พ.ร.บ.ดังกล่าว

จริง อยู่ที่ "มาตรา 25" ตรึงอำนาจของ รมว.กลาโหมไว้ เพราะมีเพียง 1 เสียง และไม่มี รมช.กลาโหมมาช่วยอีก 1 เสียง แต่กระนั้นถ้าแก้ไขแล้ว ก็ไม่มีเครื่องการันตีทิศทางการแต่งตั้งโยกย้ายระดับนายพล

แม้ข้อ เสนอทางวิชาการที่บอกให้ตั้งเป็นคณะกรรมการหมือนคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ (กตช.) ก็ไม่สามารถ "การันตี" ถึงความปลอดภัยได้ เพราะกรรมการโดยตำแหน่งส่วนใหญ่มาจากฝ่ายประจำ เช่น ปลัดกระทรวง ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ฝ่ายประจำจะกล้าโหวตสวนทางกับ รมว.กลาโหม

และ หากฝ่ายบริหาร เข้ามาแต่งตั้ง 500 กว่านายพลได้จริง จะวุ่นวายหรือไม่ จะมีมาตรการกันบรรดานักการเมืองตัวดีคือบรรดา ส.ส. ที่จะเข้ามาฝากฝังคน หรือใช้อำนาจใช้งานอย่างไร จะซ้ำรอยผู้ว่าฯ นายอำเภอ ที่ถูกการเมืองใช้งานชี้นิ้ว เพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่

ต่อไปนายทหารตัวเล็กๆ จะต้องเดินตามนัการเมืองหรือไม่ เพื่อให้ได้เติบโตทางการงาน ซึ่งเกิดมาแล้วกับองค์กรตำรวจ ตามที่รู้กัน

หาก จำได้ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ภาพกองทัพถูกแทรกแซงจากการเมืองอย่างหนัก ดั่งภาพ ตท.10 เพื่อนร่วมรุ่น "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกฯขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญจำนวนมาก ภาพของ ผบ.หน่วยทหารที่ต้องเดินตาม "พ.ต.ท.ทักษิณ" ไปทัวร์นกขมิ้น คอยรับคำสั่งเจียดงบประมาณและส่งกำลังซ่อมแซมสาธารณูปโภคตามจังหวัดต่างๆ ที่ส่งผลต่อคะแนนนิยมพรรคการเมือง ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนาหู

แล้วจะหาจุดสมดุลได้อย่างไร ที่ไม่ให้กองทัพกังวลจนต้องตั้ง "รัฐอิสระ" และไม่ให้การเมืองเข้า "ล้วงลูก" อย่างน่าเกลียด

สำหรับ กองทัพ เคยมีอดีตนายทหารทำการวิจัยศึกษาการแต่งตั้งโยกย้ายเทียบเคียงกรณีต่าง ประเทศ ซึ่งสมดุลที่คิดคือ ฝ่ายการเมืองควรแต่งตั้งในระดับผู้บัญชาการทหาร อาทิ ผบ.สส. ผบ.ทบ. ผบ.ทร. ผบ.ทอ. ได้เนื่องจากต้องทำงานสอดรับประสานงานกับฝ่ายบริหารโดยตรง

ส่วนนายพล ระดับล่าง ตั้งแต่ ผบ.กรม ผบ.กองพลขึ้นมา ควรให้ทหารตั้งกันเอง เพราะทหารมีวัฒนธรรมการเลือกใช้คนที่ไว้ใจ สั่งให้ไปตายแทนกันได้ในยามศึกสงคราม บางครั้งจึงสะท้อนภาพของการขึ้นยกแผงของรุ่นเดียวกันนั่นเอง

เมื่ออยากแตะ "ของร้อน" ก็ต้องใส่ถุงมือ และมีลีลาชั้นเชิงมากกว่านี้

อาการ บุ่มบ่ามกระหายใคร่แก้จาก ส.ส.เพื่อไทยและกลุ่มเสื้อแดง ที่มุ่งแต่ประเด็นเดียว คือ อำนาจการแต่งตั้งโยกย้ายทหาร ย่อมบีบให้เดินสู่ "ความหมางใจ"

หัวอกชายชาติทหารอย่าง "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ผบ.ทบ. ที่เหลืออายุราชการถึงปี 2557 ย่อมหวาดระแวงเป็นธรรมดา หากถูก "ย้าย" หรือ "ปลด" กลางอากาศ

และ "กองทัพ" ยังจำได้ถึงอำนาจของนายกฯ ตามมาตรา 11 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ที่สามารถสั่งให้ข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม มาช่วยราชการสำนักนายกฯได้

นั่นคือการ "ปลด" กลางอากาศ ทั้งในยามปกติ และในยามต่อสู้กันทางการเมือง เช่นการทำ "รัฐประหาร"

อย่า ลืมเหตุการณ์สำคัญ คืนวันที่ 19 กันยายน 2549 "พ.ต.ท.ทักษิณ" พยายามใช้อำนาจดังกล่าว "ปลด" "พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน" พ้น ผบ.ทบ. แต่ไม่สำเร็จ

หรือย้อนไปไกลกว่านั้น "พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ" อดีตนายกฯเคยพยายามหาเหตุปลด "พล.อ.สุจินดา คราประยูร" อดีต ผบ.ทบ. แต่ถูกรัฐประหารเสียก่อน

ทั้งหมดคือเหตุผลที่พูดกันว่า "ของร้อน" นี้ แตะไม่ดี อาจเจอ "รถถังและกระบอกปืน" กันอีกรอบ..