WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, October 11, 2011

‘ยูเอ็น’ ย้ำอีกครั้ง ไทยต้องแก้กฎหมายหมิ่นฯ – พ.ร.บ. คอมพ์ฯ

ที่มา ประชาไท

‘แฟรงค์ ลา รู’ ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพด้านการแสดงออก ออกแถลงการณ์จากกรุงเจนีวา เรียกร้องให้รัฐบาลไทยจัดเวทีสาธารณะเพื่อแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ –พ.ร.บ. คอมพ์ฯ พร้อมเสนอความร่วมมือกับ ‘คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย’ เพื่อแก้ไข กม. ดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล

แฟรงค์ ลา รู
ภาพโดย Janwikifoto (CC BY-SA 3.0)

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2554 ‘แฟรงค์ ลา รู’ (Frank La Rue) ผู้ตรวจการพิเศษด้านเสรีภาพการแสดงออกแห่งสหประชาชาติ ส่งแถลงการณ์จากเจนีวา เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ พร้อมเสนอตัวในการ ‘ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์’ กับ ‘คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย’ เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล

แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมืองมา ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) รัฐบาลไทยพึงมีพันธะผูกพันในการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยสากลที่ระบุไว้ใน อนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งรับรองสิทธิของบุคคลในการเสาะหา ได้รับ และเผยแพร่ข้อมูลและความคิดทุกประเภท

แฟรงค์ ลา รู กล่าวว่า ถึงแม้ว่าสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกจะมาพร้อมกับความรับผิดชอบ ทำให้จำเป็นต้องมีข้อจำกัดในบางสถานการณ์ที่จำเป็น เช่น การป้องกันสิทธิส่วนบุคคล และปกป้องความมั่นคงของชาติ แต่เขาชี้ว่า กฏหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีความคลุมเครือและไม่ชัดเจน ประกอบกับบทลงโทษที่สูงเกินความเหมาะสม จึงจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล

ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิด้านเสรีภาพการแสดงออก ยังระบุว่า เขายินดีที่จะให้ความช่วยเหลือ โดย “มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์กับรัฐบาลไทย และคณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย ผู้ซึ่งมีหน้าที่ทำการปฏิรูปกฎหมายไทยเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษย ชนสากล”

ทางไพโรจน์ พลเพชร คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ปฏิเสธที่จะให้ความคิดเห็นใดๆ ต่อเรื่องนี้ โดยกล่าวว่ายังไม่ทราบเรื่อง จึงไม่สามารถให้ความคิดเห็นทั้งในนามส่วนตัวหรือคณะกรรมการปฏิรูปกฏหมายได้ นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า ทางคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณากฎหมายหลายฉบับ ไม่ได้จำกัดแค่กฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งโดยเฉพาะ

ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยมีศาสตราจารย์คณิต ณ นครเป็นประธาน และคณะกรรมการอีก 10 คนซึ่งมาจากการสรรหา ประกอบด้วย สุนีย์ ไชยรส, ไพโรจน์ พลเพชร, สมชาย หอมลออ เป็นต้น โดยมีหน้าที่ “เพื่อการปฏิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของ ประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนั้นประกอบด้วย"

000

แถลงการณ์ฉบับเต็ม (แปลเป็นภาษาไทยโดยประชาไท)


ประเทศไทย/ เสรีภาพในการแสดงออก: ผู้เชี่ยวชาญแห่งสหประชาชาติแนะให้ไทย
แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

เจนีวา – วันนี้ แฟรงค์ ลา รู ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพ ในการแสดงออก แนะให้รัฐบาลไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ระบุว่าใครก็ตามที่ดูหมิ่น เหยียดหยาม อาฆาต มาดร้ายพระมหากษัตริย์ ราชินี มกุฎราชกุมาร หรือผู้สำเร็จราชการ จะได้รับบทลงโทษโดยการจำคุก 5 – 15 ปี

“ผมสนับสนุนให้ประเทศไทย จัดทำเวทีหารือสาธารณะที่มีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างกว้างขวาง เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อผูกพันทางหลักสิทธิมนุษยชนสากล” แฟรงค์ ลา รู กล่าว “การดำเนินคดีโดยตำรวจศาลในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ได้เพิ่มสูงขึ้นมาก นี่ ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขกฎหมายดังกล่าว”

ในขณะเดียวกัน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ยังถูกใช้เป็นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยอีกทางหนึ่ง โดยกฎหมายดังกล่าวมีบทลงโทษจำคุกห้าปี สำหรับการแสดงออกในอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ หรือที่ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง

“โทษการจำคุกที่ยาวนานและความคลุมเครือของการแสดงออกว่า อะไรที่เข้าข่ายการดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือเป็นภัยต่อสถาบัน ทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเองและจำกัดการถกเถียงในเรื่องที่เป็นประโยชน์ สาธารณะ ซึ่งเป็นการทำลายสิทธิของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก” ลา รู กล่าว “มิหนำซ้ำ การที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้สามารถฟ้องตำรวจด้วยข้อหานี้ และการดำเนินคดีลับ ก็ยิ่งแสดงให้เห็นปัญหาดังกล่าวชัดเจนขึ้น”

ผู้ตรวจการพิเศษได้เน้นว่า ประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 ซึ่งมีพันธะผูกพันด้านสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายตามกฎหมาย รวมถึงพันธะในการรับรองสิทธิของคนในการเสาะหา ได้รับ และเผยแพร่ข้อมูลและความคิดทุกประเภท

ลา รู เข้าใจว่าการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ย่อมมาพร้อมหน้าที่และความรับผิดชอบ และด้วยเหตุผลนี้ ภายใต้สถานการณ์พิเศษบางอย่าง สิทธินี้อาจจะถูกจำกัดได้ เช่น การปกป้องสิทธิของบุคคลและการปกป้องความมั่นคงของชาติ

อย่างไรก็ตาม ในการป้องกันการใช้ข้อยกเว้นดังกล่าวไปในทางละเมิดเกินระบุไว้ในกฎหมาย ข้อกำหนดใดๆ ที่จำกัดสิทธิของเสรีภาพในการแสดงออก ต้องกำหนดชัดเจนและไม่คลุมเครือว่าการแสดงออกแบบใดที่ถูกห้าม พร้อมทั้งพิสูจน์ให้ชัดว่าจำเป็นและสอดคล้องกับจุดประสงค์ดังกล่าว

“ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มิได้เข้าข่ายข้อกำหนดนั้น กฎหมายดังกล่าวมีความคลุมเครือและกว้างมาก ส่วนบทลงโทษที่รุนแรง ก็เกินความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับการปกป้องสถาบันกษัตริย์หรือความมั่นคงของ ชาติ” เขาตั้งข้อสังเกต

ผู้ตรวจการพิเศษ ยังแสดงความกังวลต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และการใช้โดยกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ไอซีที) ที่ร่วมมือกับกองทัพไทยเพื่อปิดกั้นเว็บไซต์หลายพันแห่งที่มีเนื้อหาเกี่ยว กับสถาบันฯ

“ผมได้ยกข้อกังวลที่มีต่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และความไม่สอดคล้องของกฎหมายดังกล่าวกับข้อพันธะทางสิทธิมนุษยชนสากลของ ประเทศไทย ในการรายงานอาณัติของผม” ลา รู กล่าว โดยระบุว่าประเด็นนี้ถูกพูดถึงในระหว่างกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิยูพี อาร์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาในกรุงเจนีวา

“ดังนั้น ผมยินดีที่จะมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์กับรัฐบาลไทย และคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ผู้ซึ่งมีหน้าที่ทำการปฏิรูปกฎหมายไทยเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษย ชนสากล” แฟรงค์ ลา รู ระบุ