ที่มา ข่าวสด
เวลา 14.00 น. วันที่ 10 ต.ค. ที่ห้องประชุม 100 ปี สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก นายวินัย ดำรงมงคลกุล อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) แถลงกรณีที่นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ไม่ยื่นฎีกาคดีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร และนางกาญจนาภา หงส์เหิน เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษีอากรและร่วมกันแจ้งความเท็จโดย จงใจเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ระบุว่า คณะทำงานอัยการที่รับผิดชอบพิจารณาสำนวนคดีที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจ สอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียแก่รัฐ (คตส.) ได้พิจารณามีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกนายบรรณพจน์ จำเลยที่ 2 ปี และปรับ 100,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา และให้ยกฟ้องคุณหญิงพจมาน และนางกาญจนาภา จำเลยที่ 2-3 นั้นชอบแล้ว เห็นควรไม่ฎีกาคดีนี้ทุกคนทุกข้อหาเสนอต่อ นายจุลสิงห์ อสส.พิจารณาโดยรอบครอบแล้วเห็นพ้องกับคณะทำงานจึงมีคำสั่งไม่ฎีกาคดีนี้
“ที่ มีการวิพากษ์วิจารณ์ อสส.สั่งคดีตามอำเภอใจเป็นไปไม่ได้ แม้อัยการมีอิสระในการสั่งคดี แต่ต้องอยู่ในกรอบกฎหมาย ไม่นำกระแสการเมืองมาพิจารณา และไม่ได้คำนึกว่าจำเลยจะชื่อนามสกุลใด คดีที่เกี่ยวกับตระกูลชินวัตร อสส.ก็สั่งฟ้องหลายคดีทั้งคดีที่ดินรัชดาและยึดทรัพย์ 46,000 ล้านบาท” โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าว
นายวินัย กล่าวว่า ตามที่มีผู้กล่าวอ้างว่าการสั่งไม่ฎีกาคดีนี้ทำให้ประเทศสูญเงินภาษีจำนวน มากนั้นเป็นเรื่องเข้าใจคลาดเคลื่อน คดีที่สั่งไม่ฎีกานั้นเป็นเฉพาะคดีอาญา ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้แยกจากคดีประเมินภาษีซึ่งเป็นเรื่องทางแพ่งอย่าง ชัดเจน คดีประเมินภาษีไม่ต้องรอผลคดีอาญา โดยในคดีประเมินภาษีนั้นเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหนังสือประเมินภาษีนายบรรณ พจน์ จำเลยที่ 1 จำนวน 273,060,000 บาท นายบรรณพจน์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร โดยวางเงินประกันค่าภาษีรวมเงินเพิ่มค่าปรับจำนวน 546,120,000 คณะกรรมการพิจารณาฯและได้มีคำวินิจฉัยให้ปลดภาษีเรียกเก็บมาแล้วจำนวน 546,120,000 บาทของนายบรรณพจน์เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551และมีผลให้คืนหลักประกัน ดังนั้นการสั่งไม่ฎีกาคดีอาญานี้จึงไม่มีผลต่อคดีประเมินภาษี
“การ ยื่นภาษีเงินได้นั้นเป็นเรื่องส่วนบุคคล และตั้งแต่บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการเสียภาษีรายได้มา ได้เคยสอบถามรองอธิบดีกรมสรรพากรตอบไม่เคยมีใครถูกจำคุกในความผิดฐานนี้มา ก่อน คดีนี้ถือเป็นคดีแรกด้วยซ้ำไป คดีนี้เกิดตั้งแต่ปี 2540 แต่เจ้าหน้าที่มาเรียกเก็บในปี 2550 คิดดูเอาเองละกัน และศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้แล้วว่ามีการเรียกเก็บภาษีคดีนี้ไม่ถูกต้อง ดังนั้นอัยการจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องยื่นฎีกา”โฆษกสำนักงานอัยการสูง สุดกล่าว
เมื่อถามว่าที่ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ขอเอกสารหลักฐาน และความเห็นของอัยการที่สั่งไม่ฎีกาคดีนี้ นายวินัย กล่าวว่า กำลังพิจารณาว่าจะสามารถมอบเอกสารชิ้นใดให้ได้บ้าง แต่เอกสารบางอย่างที่ขออัยการก็ไม่มี ซึ่ง นายจุลสิงห์ อสส.ได้ส่งมอบให้กับวุฒิสภาจำนวน 1 แฟ้มใหญ่ประกอบการชี้แจ้งแล้ว
เมื่อ ถามว่าพรรคประชาธิปัตย์อาจยื่นถอดถอน อสส. นายวินัย กล่าวว่า ไม่ทราบจะถอดถอนด้วยเรื่องอะไร เพราะอัยการมีความเห็นโดยถูกต้องแล้ว โดยคณะทำงานของอัยการตรวจสอบคดีคตส.ก็มีความเห็นพ้องไปในทางเดียวกัน โดยชอบด้วยกฎหมาย