WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, April 18, 2011

ปัญหาอยู่ที่ ก.พ.ค.หรือมหาดไทย ?

ที่มา มติชน



คอลัมน์ ณ ริมคลองประปาโดย ประสงค์ วิสุทธิ์

อ่านข่าวคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา มอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปศึกษาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) กรณีมีคำสั่งคืนตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครองให้แก่

นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ และยกเลิกคำสั่งแต่งตั้ง นายมงคล สุระสัจจะ เป็นอธิบดีกรมการปกครองแล้วเกิดคำถามว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต้องการยื้อที่จะไม่ทำตามคำวินิจฉัย ก.พ.ค.เพราะกลัวผลกระทบทางการเมือง ไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งกับพรรคภูมิใจไทยที่คุมกระทรวงมหาดไทยอยู่ หรือปัญหาอยูที่คำวินิจฉัยขอ ก.พ.ค.กันแน่

จากคำอธิบายของนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ประเด็นข้อโต้แย้งในคณะรัฐมนตรีสรุปได้ดังนี้

หนึ่ง คำวินิจฉัยของ ก.พ.ค.สามารถที่จะสั่งการเพื่อลบล้าง (ยกเลิก) คำสั่งการแต่งตั้งโยกย้ายนายวงศ์ศักดิ์และนายมงคล ได้เลยหรือไม่

สอง ก.พ.ค.มีอำนาจเพียงแจ้งผลการวินิจฉัยว่า ผู้ร้องทุกข์ไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างไร ต้องแจ้งไปให้ผู้บังคับบัญชาเปลี่ยนแปลงหรือพิจารณาดำเนินการเพื่อให้ความเป็นธรรม แต่ไม่ได้มีผลที่จะไปลบล้างคำสั่งเลย

ในกรณีของนายวงศ์ศักดิ์ ได้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค.ว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการถูกโยกย้ายจากอธิบดีกรมการปกครองไปเป็นผู้ตรวจราชการ และมีการแต่งตั้งนายมงคลมาดำรงตำแหน่งแทนซึ่ง ก.พ.ค.มีคำวินิจฉัยสรุปว่าการดำเนินการเสนอย้ายนายวงศ์ศักดิ์เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการขัดต่อมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ2551 จึงทำให้คำสั่งของกระทรวงมหาดไทย 3 ฉบับและและประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 1 ฉบับ ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย

ดังนั้น อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนมาตรา 124 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 123 วรรคสาม จึงวินิจฉัย ยกเลิกคำสั่งและประกาศสำนักนายกฯทั้งหมด

มาตรา 124 ตามที่อ้างในคำวินิจฉัยระบุว่า ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้ ก.พ.ค....มีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามระเบียบที่ ก.พ.ค.กำหนด

จากบทบัญญัติดังกล่าว เห็นว่ากรณีผู้ร้องทุกข์ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้บังคับบัญชากรณีต่างๆ เช่น การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม, การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ, ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรมตามมาตรา 42 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน (กฎ ก.พ.ค.ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ฯข้อ 7) ก.พ.ค.มีอำนาจ ดังนี้

1.สั่งให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการแก้ไขให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์

2.ยกเลิกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

3.เยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

ส่วน ก.พ.ค.จะมีคำวินิจฉัยอย่างไรและเช่นไรขึ้นอยู่กับระดับการกระทำของผู้บังคับบัญชาว่าไม่ถึงกับขัดหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่เป็นธรรม เช่น มีอำนาจในการสั่งโยกย้าย แต่ข้ามลำดับอาวุโสหรือไม่ได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถ กรณีนี้ ก.พ.ค.อาจสั่งให้ผู้บังคับบัญชาไปแก้ไขให้ความเป็นธรรมกับผู้ร้องทุกข์

แต่กรณีที่เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย เช่น ใช้ดุลพินิจโดยไม่สุจริตหรือตามอำเภอใจ หรือกลั่นแกล้งอย่างชัดเจนในการแต่งตั้งโยกย้าย ก.พ.ค.ก็อาจมีคำวินิจฉัยยกเลิกคำสั่งดังกล่าวได้

ทั้งนี้ ในกรณีของนายวงศ์ศักดิ์ ก.พ.ค.วินิจฉัยชัดเจนว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย คำสั่งต่างๆ ที่ตามมาไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย จึงมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อ ก.พ.ค.มีคำวินิจฉัยอย่างไรแล้ว มาตรา 123 วรรคสาม บัญญัติว่า เมื่อ ก.พ.ค.ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ประการใดแล้ว ให้...ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค.

นอกจากนี้ กฎ ก.พ.ค.ข้อ 57 ระบุด้วยว่า คำวินิจฉัยร้องทุกข์ให้ผูกพันคู่กรณีในการร้องทุกข์และผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่กำหนดไว้ในคำวินิจฉัยร้องทุกข์นั้น

จากระเบียบและกฎหมายดังกล่าว ก.พ.ค.จึงน่าจะมีอำนาจในการสั่งยกเลิกคำสั่งมหาดไทยและประกาศสำนักนายกฯได้ เพียงแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การที่นายมงคลซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค.โดยตรง ก็สามารถใช้สิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้เช่นกัน

แต่มิใช่เหตุที่กระทรวงมหาดไทยจะนำมาอ้างไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค.เพื่อประวิงเวลาเพราะมองกันว่า ตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครองมีผลไม่มากก็น้อยต่อการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในเร็วๆ นี้