WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, April 19, 2011

สัมภาษณ์ อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา: ทำไมต้องต้าน พ.ร.บ. คอมฯ ฉบับใหม่

ที่มา ประชาไท

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ (iLaw) http://ilaw.or.th ซึ่งดำเนินการรณรงค์ให้เกิดการเสนอกฎหมายใหม่ หรือแก้ไขกฎหมายโดยประชาชนมีส่วนร่วม กำลังรณรงค์เรียกร้องและเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ร่วมกันแสดงออกเพื่อหยุดการนำร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม ความพยายามนี้อาจจะล่าช้าเกินไป เมื่อมีกระแสข่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาหลักการโดยคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่จะมีขึ้นในวันพุธที่จะถึงนี้

ประชาไทสัมภาษณ์ อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา ผู้จัดการไอลอว์ ถึงสิ่งที่ไอลอว์จะดำเนินการต่อ และเหตุผลที่ต้องออกมาคัดค้านการนำ ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่เข้าสู่การพิจารณา โดยเธออธิบายเหตุผลหลักๆ คือ กฎหมายนี้จะกระทบกับเสรีภาพของประชาชนทั่วไป และเป็นกฎหมายที่ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน


อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา ผู้จัดการ iLaw

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้มีความสำคัญอย่างไร ถึงได้มีการรณรงค์ต่อต้านเกิดขึ้นในอินเทอร์เน็ต?

ตอนนี้เรามีร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับหนึ่งใช้อยู่ คือ ฉบับปี พ.ศ. 2550 ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้ หลายๆฝ่ายต่างพูดว่ามีปัญหามาก ทั้งในแง่ของโทษที่เอาผิดได้อย่างกว้างขวาง การให้อำนาจเจ้าหน้าที่ที่มากล้น หลายฝ่ายเล็งเห็นว่าจะต้องมีการแก้ไข รวมทั้งกระทรวงไอซีทีเองด้วย และโดยไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย มีข่าวออกมาว่าไอซีทีได้จัดทำร่างฉบับใหม่ออกมาแล้ว และเมื่อเราไปดูรายละเอียดในร่าง พบว่าเนื้อหาที่เป็นปัญหาทุกอย่างที่อยู่ในฉบับเก่าไม่ได้หายไป แสดงว่ายังไม่ได้เกิดการแก้ไข ร่างฉบับใหม่เพียงแต่เพิ่มจำนวนมาตราขึ้นเท่านั้น ของเดิมน่ากลัวอยู่แล้ว ก็มีการเพิ่มความน่ากลัวเข้าไปอีก ล้วนเป็นการกระทบพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วๆไป

อะไรบ้างที่น่ากลัว?

มีมาตราที่พูดถึงการสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบุว่าการสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์มีความผิด ในกฎหมายใช้คำว่าการสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยประการที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย ถือว่ามีความผิด แล้วมันแปลว่าอะไร? ถ้าเราอ่านเราคงจะตีความว่าเป็นมาตราที่จะจัดการเรื่องลิขสิทธิ์ มีคนพูดๆกันว่า ที่มาของมาตรานี้มาจากการผลักดันจากค่ายเพลงใหญ่ค่ายหนึ่ง

อีกมาตราหนึ่งก็คือ มาตราที่พูดถึงการแฮก (Hack-การเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต) บอกว่าถ้าคุณครอบครองโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพที่จะทำสิ่งเหล่านี้ได้ คุณก็มีความผิดในทันที แม้ว่าเราจะยังไม่ได้แฮกก็ตาม ถ้าเปรียบเทียบในโลกความจริง ถ้าคุณมีมีดแต่ยังไม่ได้อะไร คุณก็มีความผิดแล้ว นี่มันเกินไปหรือเปล่า?

มองจากตัวกฎหมายแล้วเราสามารถตีความได้กว้างมาก การใช้พร็อกซี (Proxy) ก็อาจจะเข้าข่ายนิยามตามกฎหมายก็ได้อีกข้อหนึ่งที่น่าจะผิดก็คือ การมีโปรแกรมบิตทอร์เรนต์ (BitTorrent) คุณจะโหลดหรือยังไม่รู้ แต่คุณมีโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพในการสำเนาข้อมูลคุณก็ผิดแล้ว ทำไมแค่การครอบครองก็มีความผิดได้ในเมื่อคุณยังไม่ได้ลงมือกระทำ? กฎหมายอาญาน่าจะดูเจตนากับการกระทำไม่ใช่หรือ?

อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องคณะกรรมการ ที่ผ่านมาอำนาจต่างๆจะอยู่ที่กระทรวงไอซีที จะมีตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ ค้นหาข้อมูล ขอสำเนาไฟล์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ แต่ในร่างกฎหมายใหม่นี้เพิ่มกลไกหนึ่งขึ้นมา ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ และมีอำนาจหน้าที่ในการขอสำเนาข้อมูลทางคอมฯ มันอาจจะดีก็ได้ที่มีคณะกรรมการชุดนี้ที่อาจจะมีช่องทางที่ประชาชนสามารถตรวจสอบได้มากกว่าเดิม แต่ว่าที่มาของคณะกรรมการฯ ก็ไม่มีสัดส่วนใดที่เชื่อมโยงกับประชาชนเลย

ที่ผ่านมาจะเป็นกระทรวงไอซีที สำนักกำกับเทคโนโลยี ที่จะทำหน้าที่ตรงนี้ เรามีความเชื่อว่าการมี ป.ป.ค.อาจจะดีขึ้น แต่อาจจะต้องเพิ่มสัดส่วนที่มาจากประชาชน และตั้งคำถามถึงที่มาของคณะกรรมการฯ ด้วย

อีกประเด็นหนึ่งคือ พ.ร.บ. คอมฯ ไม่ควรพูดถึงการเอาผิดในเชิงเนื้อหา นี่เป็นข้อเสนอของเราตั้งแต่ พ.ร.บ.ฉบับเดิม เพราะกฎหมายอาญาก็ครอบคลุมอยู่แล้ว มีข้อหนึ่งที่เราคิดว่าน่าเกลียดกว่า พ.ร.บ. ฉบับเดิมคือ การใช้คำที่ว่า การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ถือว่าเป็นความผิด ซึ่งเรารู้สึกว่ามันฟังดูการเมืองมากๆ สมมติว่า มีคนพูดว่า “ทหารยิงประชาชน” ใครจะเป็นคนพูดว่าอะไรคือความจริง และที่ผ่านมารัฐก็อาศัยการบล็อกเว็บตลอด รัฐเป็นผู้ครอบครองความจริง การแสดงความคิดเห็นไม่ควรจะต้องถูกควบคุม ทำไมจะต้องอยู่ในกรอบที่เขากำหนด? ถ้าอย่างนั้นเราไม่สามารถพูดอะไรได้เลย เราคงพูดได้แค่ว่า “พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก”

ถ้าอย่างนั้น หากมีโปรแกรมเวิร์ดก็เป็นความผิดได้สิ?

(หัวเราะ) เราไม่สามารถตีความแทนศาลหรือผู้ร่างกฎหมายได้ เห็นไหม มันกว้างมาก เกิดคำถามอย่างมากมายในอินเทอร์เน็ต มีโปปรแกรมมากมายที่เป็นโปรแกรมพื้นฐานที่เราสามารถทำอะไรก็ได้ มีคนพูดว่า ถ้าอย่างนั้นไปดูที่เจตนาสิ หากไม่ตั้งใจให้เกิดความเสียหายหรอก คำถามคือ แล้วทำไมไม่เขียนกฎหมายให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น?

คนกลุ่มไหนที่จะได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.นี้?

ทุกคน แม้แต่คนที่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต เพราะการสร้างบรรยากาศให้ประชาชนไม่สามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การเมืองก็ไม่สามารถพัฒนาได้ “อุ๊ย พูดอย่างนี้ก็กลายเป็นเรื่องการเมืองทันที” และยังกระทบไปถึงวงการอื่นๆ ด้วย เช่น วงการการศึกษา การค้นหาข้อมูล การเสพสื่อศิลปะทางอินเทอร์เน็ต ก็คงต้องเปลี่ยนไปแน่ๆ

หากเรายับยั้งร่างนี้ไม่ได้ เราอาจจะต้องทำร่างคู่ขนาน ซึ่งเมื่อสภาพิจารณาก็จะได้พิจารณาหลายๆร่างไปพร้อมๆกัน คือ ล่ารายชื่อ 10,000 ชื่อ เพื่อทำร่างแก้ไขจากฉบับปี พ.ศ. 2550

ในต่างประเทศ กฎหมายการป้องกันการสำเนาข้อมูลเข้มงวดแบบนี้ไหม?

กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้เขียนเข้มแบบนี้ แต่เต็มไปด้วยข้อยกเว้น เช่น หากนำไปใช้ในการสร้างสรรค์ ก็ไม่มีความผิด หรือว่านำข้อมูลนี้ไปใช้กี่เปอร์เซ็นจากข้อมูลทั้งหมด ก็ไม่มีความผิด แต่ว่ามาตราใน พ.ร.บ.คอมฯ นี้ มันตีขลุมมากๆ

เวลาที่มีการต่อต้านกฎหมายฉบับใดๆ ก็ตาม คำถามที่มักจะถูกถามก็คือ คนที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านกฎหมายนั้นเดือดร้อนอะไร?

สังคมประชาธิปไตย คือ สังคมที่มีความขัดแย้ง ถูกไหม? สิ่งที่ดีที่สุด คือ เราจะต้องอยู่บนความขัดแย้งได้ อยู่กับความคิดเห็นที่หลากหลายได้ แต่ก่อนที่เราจะมีโลกแบบนั้นได้ เราจะต้องมีเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและแสดงความคิดเห็นก่อน

ที่ต่อต้าน พ.ร.บ.นี้ เพราะมองมันเป็นเรื่องการเมืองหรือเปล่า?

เพราะเราเห็นประสบการณ์จาก พ.ร.บ. ฉบับเก่า ที่ชัดเจนว่าถูกนำมาใช้ในการเมือง เราไม่ได้เริ่มต้นต่อต้านจากจุดยืนทางการเมืองของเรา แต่เราเห็นว่ามีคนที่ถูกละเมิดจากฉบับเก่า และเห็นว่าการแก้ครั้งใหม่ ทำให้ทุกอย่างมันหนักข้อไปกว่าเดิม เราไม่รู้ว่าจะปล่อยให้ประวัติศาสตร์มันซ้ำซากทำไม

คิดว่าร่างใหม่ที่ออกมามีเป้าประสงค์ทางการเมือง?

หนีไม่พ้นที่เราจะต้องสงสัย เพราะไม่มีเหตุจำเป็นอะไรที่จะต้องรีบผลักดันร่างกฎหมายนี้อย่างเร่งด่วนและเงียบเชียบ เรามีกลไกหนึ่งใช้อยู่แล้ว ซึ่งก็คือ พ.ร.บ.ฉบับเดิม แทนที่เราจะค่อยๆศึกษา แก้ปัญหา และพัฒนาจากฉบับเดิม ทำไมถึงต้องรีบร้อนอะไรขนาดนั้น

iLaw ทำอะไร หลังจากมีข่าวว่า พ.ร.บ.นี้ กำลังถูกผลักดันเข้าสู่กระบวนการครม.?

เรารู้ว่ามันกำลังเข้าสู่กระบวนการแล้ว และถ้าผ่านการรับหลักการไปแล้ว การจะแก้ไขอะไรจะทำได้ยากขึ้น คนในภาครัฐจะพูดว่า ไม่ต้องห่วง สบายใจได้ ยังมีอีกหลายขั้นตอน คุณไปแก้ในชั้นสภาก็ได้ หาคนมาเป็นตัวแทนกรรมาธิการก็ได้ แต่คำถามคือทำไมเราต้องรอไปถึงขั้นนั้น? ในเมื่อถ้าเราเอาประชาชนคนไทยที่เล่นอินเตอร์เน็ตมาช่วยกันร่างกฎหมาย อาจจะร่างได้ดีกว่านั้นก็ได้

เราพยายามหาทางยื่นหนังสือที่สำนักนายกฯ เนื้อหาคือ หยุด อย่าเพิ่งพิจารณา ใจเย็นๆ ให้ประชาชนได้ร่วมกันคิด และหวังว่าจะมีการพิจารณาสิ่งที่เรานำเสนอ และเลื่อนการเสนอร่างนี้ออกไปด้วย

มีอะไรทีประชาชนที่ใช้อินเทอร์เน็ตควรทำ?

เรื่องนี้ไม่ควรเงียบหลังจากที่รู้ว่า ครม.จะพิจารณาหรือไม่พิจารณา ถ้าครม.จะพิจารณาต่อก็จะเป็นประเด็นที่ลากยาว หากนายกฯประกาศยุบสภา หลังจากนี้ก็จะมีการเลือกตั้ง สภาจะปิด มีการหาเสียงเลือกตั้ง เราคงต้องทวงถามนักการเมืองที่จะเข้าสู่สนามเลือกตั้ง คุณจะทำให้กฎหมายฉบับนี้สนองประโยชน์ต่อประชาชนหรือเปล่า?

จากที่ไอลอว์ได้ศึกษารวบรวมข้อมูลคดีตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตราที่ใช้บ่อยมาที่สุด คือมาตราไหน?

มาตรา 14 มาตรา 15 และมาตรา 20

มาตรา 14 คือ มาตราที่เป็นการเอาผิดกับเนื้อหา เช่น การกล่าวข้อมูลอันเป็นเท็จ การละเมิดความมั่นคง การมีภาพโป๊

มาตรา 15 คือ มาตราเกี่ยวกับผู้ให้บริการ ผู้ดูแลระบบ ในแง่ของจำนวนคดีมีไม่มาก แต่มีผลกระทบในแง่ของสังคมแน่ๆ เพราะทุกคนต้องปรับตัว

มาตรา 20 คือ มาตราเป็นเรื่องการบล็อกเว็บ มีการยื่นต่อศาลทุกเดือน เดือนละหลายๆครั้ง ครั้งหนึ่งก็ 400-500 url

โดยสรุปแล้ว พ.ร.บ.คอมฯ เน้นไปที่ตัวเนื้อหา ทั้งๆที่น่าจะเป็นกฎหมายที่มุ่งประเด็นไปที่เทคนิค เพราะว่านั่นเป็นอาชญากรรมที่น่ากลัวกว่าจริงๆ