WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, April 17, 2011

ทนายความ ดา ตอร์ปิโด: จดหมายชี้แจงกรณีบทความในมติชน คำสั่งศาลอุทธรณ์หมายความอย่างไรแน่

ที่มา ประชาไท

วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2554
จดหมายเปิดผนึก
เรียน คุณสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม
(ผ่าน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน*)
อ้างถึง บทความเรื่อง ศาลอุทธรณ์พิพากษา “ยก” คดี ดา ตอร์ปิโด มีความหมายอย่างไร
ตามที่หนังสือพิมพ์มติชนฉบับลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ได้ลงบทความของคุณสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม เรื่อง ศาลอุทธรณ์พิพากษา “ยก” คดี ดา ตอร์ปิโด มีความหมายอย่างไร นั้น ผมในฐานะทนายความของคุณดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด จำเลยในคดีดังกล่าว เห็นว่าข้อมูลของคุณสิทธิศักดิ์ ยังมีความคลาดเคลื่อนบางประการ จึงขอชี้แจงดังนี้
ข้อโต้แย้งของจำเลยเกี่ยวกับการพิจารณาคดีลับ ไม่ใช่การโต้แย้งคำสั่งศาลอาญาที่สั่งให้พิจารณาคดีลับ รวมทั้งการร้องขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ก็ไม่ใช่ประเด็น คำสั่งศาลอาญาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ หากแต่ประเด็นที่จำเลยโต้แย้ง คือ ประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา มาตรา 177 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่
โดยที่ศาลอาญาสั่งให้พิจารณาคดีนี้เป็นการลับ เป็นการสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายมาตรานี้ การโต้แย้งว่ากฎหมายมาตรานี้ ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ จึงมีผลต่อคำสั่งศาลอาญาที่สั่งให้พิจารณาคดีลับดังกล่าว โดยหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา มาตรา 177 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ศาลอาญาก็ไม่มีอำนาจสั่งให้พิจารณาคดีลับ คำสั่งของศาลอาญาให้พิจารณาคดีลับรวมทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่หากประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา มาตรา 177 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ศาลอาญาย่อมมีอำนาจสั่งให้พิจารณาคดีลับตามมาตรานี้ และการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี(การสืบพยาน)ต่อมาย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม ตามรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ศาลรอการพิพากษาคดีไว้ก่อนจนกว่าจะมีการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาของศาลอาญาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังเหตุผลต่อไปนี้
คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลอาญาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2551 ขอให้ส่งความเห็นของจำเลยว่า ประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา มาตรา 177 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ศาลอาญาสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 25 มิถุนายน 2551 ว่า “พิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ศาลสั่งให้พิจารณาเป็นการลับโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา มาตรา 177 มิได้มีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของจำเลย เนื่องจากจำเลยมีทนายความเข้ามาแก้ต่างให้และสามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของตนเองและหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ คำโต้แย้งของจำเลยจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่จะส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 211 ยกคำร้อง”
คำสั่งของศาลอาญาเช่นนี้ เป็นการวินิจฉัยเสียเองว่า ประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา มาตรา 177 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังจะเห็นได้จากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ “...เห็นว่า มาตรา 211 ดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องการส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ในวรรคหนึ่งบัญญัติไว้ว่า...........ตามบทบัญญัติมาตรานี้ การที่จะวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรม หากคู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและเป็นกรณีที่เข้าองค์ประกอบครบถ้วนตามมาตรา 211 ดังกล่าวแล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องส่งความเห็นของคู่ความเช่นว่านั้นตามทางการ เพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจเพื่อไม่ส่งไม่ได้.....”
เมื่อศาลชั้นต้น(ศาลอาญา)ไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่า กฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจเพื่อสั่งไม่ส่งความเห็นของจำเลยไปตามทางการให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย อีกทั้งการที่รัฐธรรมนูญ กำหนดให้ศาลรอการพิพากษาไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาของศาลอาญาที่ให้จำคุกจำเลย 18 ปี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขณะนี้จึงเท่ากับคดีนี้ศาลอุทธรณ์สั่งให้ย้อนกลับไปดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ให้ถูกต้อง โดยเริ่มตั้งแต่การส่งความเห็นจำเลยเป็นทางการไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จากนั้น(หลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว)จึงค่อยดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีใหม่ทั้งหมด เพียงแต่ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่แค่ไหน เพียงใด ต้องถึงกับสืบพยานใหม่ทั้งหมด หรือไม่ ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ขณะนี้จึงเท่ากับคดีย้อนสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นใหม่ โดยถือว่ายังไม่มีคำพิพากษาของศาลอาญา คำสั่งหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ศาลชั้นต้นกลับไปดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ให้ถูกต้อง โดยเริ่มใหม่จากจุดที่ดำเนินกระบวนพิจารณาคดี ไม่ถูกต้อง นี้ ภาษากฎหมายเรียกว่าการ “ย้อนสำนวน” เป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว บางคดีรอจนคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา และศาลฎีกาสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่เฉกเช่นคดีนี้ ก็เคยมีมาแล้ว
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงมีผลเป็นการ “ยก” คำพาพากษาศาลอาญา อย่างถาวร หาใช่ยกชั่วคราวอย่างที่ท่านโฆษกชี้แจงไม่ การที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลอาญา จึงเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว การที่ท่านโฆษกชี้แจงโดยใช้คำว่า “ยกชั่วคราว” ต่างหากที่รังแต่จะเกิดความเข้าใจผิดว่า คำพิพากษาศาลอาญาที่ให้จำคุกจำเลย 18 ปี ยังคงอยู่แต่ให้ระงับไว้ก่อนเป็นการ “ชั่วคราว” เท่านั้น หรือท่านโฆษกเห็นว่า หลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ศาลอาญาจะยังคงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 18 ปี เป็นการแน่นอน จึงได้ใช้คำว่า “ยกชั่วคราว”
ดังที่กล่าวข้างต้นว่า การโต้แย้งของจำเลยในคดีนี้ ไม่ใช่การโต้แย้งคำสั่งศาลอาญาว่า ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากแต่เป็นการโต้แย้งตัว “กฎหมาย” ที่ศาลอาญาใช้อ้างอิงในการสั่งให้พิจารณาคดีลับ จึงไม่ใช่กรณีโต้แย้งดุลพินิจของศาลอาญา และการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาเช่นนี้ ก็ไม่ใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีความเห็นต่างจากศาลอาญา หากแต่เป็นกรณีที่ ศาลอาญาดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์จึงสั่งให้ศาลอาญาดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่า คือ ศาลอาญา โดยผู้พิพากษาศาลอาญา ถือได้ว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย โดยเฉพาะผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีนี้ นายพรหมมาศ ภู่แส เป็นผู้พิพากษาอาวุโสสูง หลังพิพากษาคดีนี้เสร็จก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และตัวบทรัฐธรรมนูญมาตรา 211 ก็เขียนไว้ชัดเจน แต่ศาลอาญาโดยนายพรหมมาศ ภู่แส กลับปฏิเสธการส่งความเห็นจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2552 จนกระทั่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลอาญา ให้ส่งความเห็นจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ดังที่ศาลอาญาได้อ่านเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 การปฏิเสธไม่ส่งความเห็นจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ของศาลอาญาโดยนายพรหมมาศ ภู่แส ดังกล่าว ทำให้เสียเวลาอีกเกือบ 2 ปี กว่าที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาย้อนสำนวนให้ศาลอาญาส่งความเห็นจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยดังกล่าว เป็นการสูญเสียเวลาไปเปล่าๆทั้งๆที่จำเลยถูกคุมขังมาตลอดตั้งแต่ถูกจับกุม โดยศาลอาญาปฏิเสธไม่ให้จำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวแม้จะเสนอหลักประกันสูงถึง 1,000,000 บาท ปฏิเสธทั้งที่จำเลยเจ็บป่วย การที่ศาลอาญาโดยนายพรหมมาศ ภู่แส ปฏิเสธไม่ส่งความเห็นของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จึงมีผลทำให้คดีนี้ล่าช้ากว่าที่ควร เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ทำให้จำเลยถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดี “เพิ่มขึ้น” อีกเกือบ 2 ปี เป็นการล่าช้าทำให้จำเลยถูกคุมขังเพิ่มขึ้นเพราะศาลอาญาโดยนายพรหมมาศ ภู่แส ปฏิเสธ ไม่ส่งความเห็นของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยตรง
โดยที่คำสั่งศาลอาญาโดยนายพรหมาศ ภู่แส เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และก่อความเสียหายแก่จำเลยอย่างมากดังกล่าว จำเลยได้ฟ้องร้องดำเนินคดีกับนายพรหมมาศ ภู่แส เป็นคดีอาญาต่อศาลอาญาในข้อหา เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามคดีหมายเลขดำที่ อ.40/2553 แดงที่ อ.36/2553
ท้ายนี้ขอแก้ไขข้อมูลที่คลาดเคลื่อนของท่านโฆษกศาลยุติธรรม คดีนี้ศาลอาญานัดพร้อมเพื่อฟังผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 เวลา 9.00 น. ไม่ใช่วันที่ 25 พฤษภาคม 2554
ขอแสดงความนับถือ
(นายประเวศ ประภานุกูล)

*ยังไม่มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน