WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, April 22, 2011

เครื่องมือทางการเมือง

ที่มา มติชน



โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 21 เมษายน 2554)

ผู้สนใจแวดวงการเมืองไทย มักคุ้นชินกับแนวคิดประเภท "คน/กลุ่มบุคคลใด คน/กลุ่มบุคคลหนึ่ง ต้องตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ถูกใช้สอยโดยคน/กลุ่มบุคคลอีกคน/กลุ่ม อยู่เสมอ" เป็นอย่างดี

ล่าสุด ความสัมพันธ์ระหว่าง "ผู้ใช้" กับ "ผู้ถูกใช้" หรือ "ผู้กระทำ" กับ "ผู้ถูกกระทำ" ทางการเมือง ก็ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่ออื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

ด้านหนึ่ง ก็มีผู้เห็นว่าอดีตนายกรัฐมนตรี "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" ใช้ "กลุ่มคนเสื้อแดง" และ "พรรคเพื่อไทย" มาจนถึง "ทางแพร่ง" ที่ต้องเลือกว่าจะใช้ฝ่ายใดเป็นกำลังหลักทางการเมืองของตนเองในการเลือกตั้งซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น

ในทางกลับกัน บางคนก็มองว่า "กลุ่มคนเสื้อแดง" หลากหลายกลุ่ม กำลังใช้ "พ.ต.ท.ทักษิณ" เป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้เคลื่อนไหว โดยพวกเขาไม่ได้ตกเป็น "เครื่องมือทางการเมือง" ของอดีตผู้นำแต่เพียงฝ่ายเดียว

กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ ต่างฝ่ายต่างใช้ซึ่งกันและกัน

นอกจากนี้ การกล่าวปราศรัยอัน "สุ่มเสี่ยง" และ "หวาดเสียว" บนเวทีเสื้อแดงของ "จตุพร พรหมพันธุ์"

ก็ไม่แน่ว่าจะเกิดจากความคิดใคร่ครวญมาแล้วอย่างถ้วนถี่ในฐานะ "ผู้กระทำ" ทางการเมือง หรือบรรยากาศแวดล้อมอันเต็มไปด้วย "คนเสื้อแดง" ได้ปลุกกระตุ้นฉุดดึงให้ "จตุพร" ถลำนำพาตนเองไป "ไกลสุดกู่" ถึงขั้นนั้นกันแน่

เช่นกันกับบทบาทการลาออกจากพรรคเพื่อไทยของ "พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ" ที่สลับซับซ้อนไม่น้อย ทั้งในฐานะ "ผู้ถูกใช้" และตัวแสดงที่เป็น "ผู้กระทำ" ทางการเมือง

ยิ่งกว่านั้น หากพิจารณาให้ดี บรรดาพรรคการเมือง หน่วยงานภาครัฐบางหน่วย ตลอดจนแทบทุกองค์กรในสังคมการเมืองไทย

ก็ล้วนแล้วแต่สลับสับเปลี่ยนบทบาทของตนเองไปมาระหว่างการเป็น "ผู้ใช้" และ "ผู้ถูกใช้" อยู่ตลอดเวลา

ทั้งในช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านี้ เรื่อยไปจนถึงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา

เพราะฉะนั้น หากสภาพการเมืองในอนาคตหรือการเลือกตั้งครั้งหน้า จะส่งผลให้ความขัดแย้งของสังคมไทยคลี่คลายตัวลง หรือขมวดปมจนหนักหน่วงตึงเครียดยิ่งขึ้นและลุกลามไปอีกหลายปี

นี่ก็ย่อมเป็นผลลัพธ์มาจากการกระทำและความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่าง "ผู้ใช้" กับ "ผู้ถูกใช้" หรือ "ผู้กระทำ" กับ "ผู้ถูกกระทำ" ในสังคมการเมืองไทยทั้งสิ้น

เนื่องจากลักษณะของความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ "สองทาง" หรือ "หลายทิศทาง" ที่ปรากฏอย่างเด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมการเมืองไทยร่วมสมัย

ได้ทำให้เราตระหนักแล้วว่า ไม่มีใคร/องค์กรใดซึ่งข้องแวะกับการเมืองแม้เพียงคน/กลุ่มเดียว ที่จะมีสถานะเป็นเพียง "เครื่องมือที่ถูกใช้" หรือ "ผู้ถูกกระทำ" อยู่อย่างสม่ำเสมอ

โดยไม่เคยพลิกบทบาทของตนเองกลับไปเป็น "ผู้กระทำ" หรือผู้ฉวยใช้ประโยชน์จากบุคคลฝ่ายอื่นๆ และสถานการณ์ทางการเมืองในวาระต่างๆ เลย