WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, April 20, 2011

การเดินทางครั้งใหม่ของโลกอาหรับ

ที่มา ประชาไท

ถึงคราวที่ผู้นำชาติอาหรับต้องตกเป็นเหยื่อของอภิตำนาน (Meta-Narrative) ที่ตัวเองมีส่วนสำคัญในการวางplot และดำเนินเรื่องตลอดครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาหลังปลดปล่อยตัวเองเป็นอิสระจากจักรวรรดินิยมตะวันตก อภิตำนานดังกล่าวถูกทำให้ดูเสมือนจริงเสียจนผู้สร้างมันเองมากับมือก็คิดว่ามันเป็นเรื่องจริง

อภิตำนานเรื่องนี้กล่าวว่า โลกอาหรับไม่เหมาะกับประชาธิปไตย วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นระบอบการดำเนินชีวิตของมุสลิมในโลกอาหรับ เข้ากันไม่ได้กับระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นผลผลิตของระบบคิดตะวันตก อิสลามกับประชาธิปไตยเป็นความคิดขั้วตรงข้ามที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง อภิตำนานเรื่องนี้ตอกย้ำ “ความไม่เหมาะสม” ของประชาธิปไตยในโลกอาหรับ และเลยเถิดไปจนกระทั่งประณามและผลักไสผู้ที่มีแนวคิดประชาธิปไตยและพยายามต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ให้เป็นพวกนอกรีต (heresy) และเป็นพวกสมคบคิดกับตะวันตกเพื่อทำลายล้างอิสลาม

บรรดาผู้นำ กลไกของรัฐ ตลอดจนนักวิชาการศาสนาซึ่งได้รับเงินเดือนและผลประโยชน์อย่างอื่นจากรัฐ หรือที่เรียกรวมๆ ว่านักวิชาการศาสนาจัดตั้ง (Religious Establishment) เป็นผู้สร้างอภิตำนานนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาอำนาจของตัวเองเอาไว้ให้ยาวนานที่สุด

ในอีกด้านหนึ่ง พวกนักบูรพาคดี (Orientalists) ตลอดจนนักวิชาการด้านความมั่นคงและผู้เชี่ยวชาญด้านก่อการร้าย ได้สร้างภาพให้คนอาหรับ (มุสลิม) เป็นพวกลึกลับ เข้าใจยาก ชอบใช้ความรุนแรงและไม่อดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง (Intolerance) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย “พวกเขา (คนอาหรับ/มุสลิม)” ไม่เหมือน “เรา” ซึ่งยึดคุณค่าบางอย่างเฉพาะ (A particular Values) ของเรา และเรามีอารยธรรมสูงสุดในกระบวนการวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ อภิตำนานเรื่องนี้ฟังดูสมจริงมากขึ้นเมื่อมันถูกขยายความโดย นักวิชาการรัฐศาสตร์ระดับโลกอย่างศาสตราจารย์ แซมมวล ฮันติงตัน ซึ่งชี้ว่าอารยรธรรมอิสลามเข้ากันไม่ได้กับอารยธรรมตะวันตกที่มีระบอบประชาธิปไตยเป็นแรงขับเคลื่อน และท้ายที่สุดมันจะ “ปะทะ (clash)” กัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหตุการณ์โจมตีตึกเวิร์ลเทรดในเดือนกันยายน 2001 หรือที่รู้จักกันในนามเหตุการณ์ 9/11 และเรื่องราวตามมาทั้งสงครามในอีรัก อัฟกานิสถาน และการตอบโต้จากกลุ่มมุสลิม เป็นข้อพิสูจน์คำพูดของฮันติงตัน มีผลทำให้เขากลายเป็นศาสดาไปในชั่วข้ามคืน

คำพูดและท่าทีของผู้นำโลกอาหรับผู้ที่ถูกขับไล่ออกไปแล้ว (มูบาร๊อค/อียิปต์ และเบน อาลี/ตูนีเซีย) และผู้ที่กำลังจะพ่ายแพ้ต่อพลังของประชาชน (อับดุลเลาะห์ ซอและห์/เยเมน กัดดาฟี/ลิเบีย กษัตรย์ อะห์หมัดอีซา อัล-คอลีฟะฮ์/บาเรน ) สะท้อนให้เห็นว่าพวกเขามุ่งมั่นและเชื่อจริงๆว่าพลังประชาธิปไตย เป็นแค่ปฏิกิริยา (Reaction) ของพวกชนชั้นล่างที่ขาดโอกาสทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการบริหารงานทางด้านเศรษฐกิจที่ล้มเหลวของคณะรัฐมนตรี “พวกชาวบ้านว่างงาน ข้าวของแพง จึงโกรธแค้นและรวมตัวกันประท้วงรัฐบาล” มาตรการการแก้ไขปัญหาจึงเพียงแค่เพิ่มการจ้างงาน หรือไม่ก็ปลดรัฐมนตรีทั้งคณะ ดังที่ผู้นำอียิปต์ จอร์แดน เยเมน และบาเรน นำมาใช้ในช่วงต้นๆของการรับมือกับการประท้วงของประชาชน

พวกผู้นำชาติอาหรับมิได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่ก่อตัวอย่างรวดเร็วในรอบสิบปีที่ผ่านมา เนื่องจากติดกับดักของอภิตำนานข้างต้น พวกเขาคิดว่าสังคมในขณะนี้ยังคงเหมือนสังคมอาหรับในช่วงทศวรรษ 60s และ70s ที่โลกอาหรับรวมตัวกันทำสงครามต่อต้านอิสราเอล หรือช่วง 80s และ 90s ที่ภัยจากการปฏิวัติของพวกชีอะฮ์ในอิหร่านและสงครามอ่าวได้ตรึงผู้คนเอาไว้อย่างเหนียวแน่น มันเป็นช่วงเวลาที่สังคมอยู่ในภาวะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว โดยมีผู้นำอยู่สูงสุด ขนาบข้างด้วยอำนาจทางทหารและผู้นำศาสนา มันเป็นช่วงเวลา “เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย” หรือ ช่วงเวลา “คุณพ่อรู้ดีที่สุด (Father know best)” แต่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของพวกเขา ได้ผ่านพ้นไปแล้ว

พวกผู้นำโลกอาหรับไม่ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรที่คนวัยหนุ่มมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดในสังคม (โครงสร้างประชากรในสังคมมุสลิมแตกต่างอย่างมากกับสังคมอื่นเนื่องจากทัศนคติด้านส่งเสริมการแต่งงานและต่อต้านการคุมกำเนิด) พวกเขาเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ส่งทวีตเตอร์ เล่น เฟซบุค สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ พวกเขาเริ่มไม่เชื่อฟัง “ผู้ใหญ่” และนักวิชาการ “อาวุโส” ทางศาสนา อำนาจทางสังคมจากที่เคยหลอมรวม และมีลำดับชั้น (Hierarchy) เริ่มแตกกระจาย (Fragmented) อย่างยากที่จะควบคุมได้อีกต่อไป ความรู้ทั้งทางโลกและศาสนา สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายจากอินเตอร์เนต ปัจจุบันหากต้องการอ่านงานเขียนอย่าง อิห์ยา อูลูม อัดดีน (การฟื้นตัวขึ้นใหม่ของศาสนศาสตร์) ของอิหม่ามฆอซาลี นักเทววิทยาผู้โด่งดังในศตวรรษที่ 10 รวมทั้งบทวิจารณ์หนังสือ (commentary) ดังกล่าว เพียงแค่คริ๊กก็สามารถศึกษาได้ด้วยตัวเอง จากที่ในอดีตจะต้องเดินทางหลายร้อยหรือหลายพันไมล์ไปศึกษากับผู้รู้ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่คน การผูกขาดความรู้โดยรัฐ ผู้อาวุโส นักวิชาการศาสนา ทั้งที่เป็นลูกคู่ของรัฐและผู้ที่สถาปนาตัวเองเป็นผู้รู้ ได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับโดยสังคมสมัยใหม่

เห็นได้ชัดว่าภาวะดังกล่าวข้างต้นไม่อาจแก้ไขได้เพียงแค่ปลดหรือปรับคณะรัฐมนตรี หรือเพิ่มการจ้างงาน หากแต่เป็นภาวะบังคับให้รัฐ จะต้องมองในเรื่องอำนาจเสียใหม่ นั่นคืออำนาจมิได้ผูกขาดอยู่กับตัวอีกต่อไป และอำนาจของตัวจะมีความชอบธรรมได้ก็ต่อเมื่อผ่านการถกเถียง เจรจา ต่อรอง ของผู้คนในสังคม ความเข้าใจเรื่องอำนาจอันใหม่นี้ มิใช่เพียงแค่การ “เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม” เท่านั้น หากแต่เป็นการ “ยอมรับ” การมีตัวตนอยู่จริงของสิทธิของผู้คน ในอันที่จะพูด เขียน โต้แย้ง กำหนด ปริมลฑลส่วนตัว (Private Sphere) และปริมลฑลสาธารณะ (Public Sphere)

ก่อนหน้านั้นสิทธิอันนี้ถูกปิดบัง หรือบดบัง ด้วยอภิตำนานเรื่องความไม่เหมาะสมของแนวคิดประชาธิปไตยที่เน้นสิทธิเสรีภาพ แต่เมื่ออภิตำนานดังกล่าวถูกทุบแตกกระจายด้วยภาวะทางสังคมแบบใหม่ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น พลังของมันจึงโชว์ออกมา รวมทั้งพิสูจน์ให้โลกเห็นอีกครั้ง (หลังจาก เอ็ดวาร์ด ซาอิด ได้พิสูจน์ในหนังสือ Orientalism อันโด่งดังของเขา) ว่า “พวกเขาเหมือนเรา” คนอาหรับ/มุสลิม เหมือนเรา พวกเขาช้อบปิ้ง กินแม็คโดนัล ดูหนัง บ้าดารา ดูซีเอ็นเอ็น(CNN) อัลจาซีเราะห์(Al-Jazeerah) เล่นเฟซบุ๊ค ส่ง ทวิตเตอร์ รักเสรีภาพ เคารพในสิทธิของผู้อื่น ฯลฯ เหมือนกับเรา

ดูเหมือนท้ายที่สุด อดีตประธานาธิบดี ฮอสนี่ มูบาร๊อคและเหล่านายทหารที่ยืนเคียงข้างเขา พอที่จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงอันนี้ อียิปต์จึงสามารถหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมืองมาได้อย่างหวุดหวิด แต่พันเอก มูฮัมมัด กัดาฟี ผู้นำลิเบียยังคงอยู่ในโลกแบบเก่า โลกที่ตัวเองสร้างขึ้น เขาจึงทำทุกวิถีทางที่จะรักษาอำนาจตัวเองเอาไว้แม้จะเป็นการนำประเทศเข้าสู่สงครามกลางเมือง และสร้างเงื่อนไขเชื้อเชิญมหาอำนาจให้มารุมกินโต๊ะ ดังเช่นที่ อดีตประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุซเซน แห่งอิรักได้กระทำกับประเทศและประชาชนของตัวเองไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ท้ายที่สุด ลิเบียจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆจากสงครามและความขัดแย้งและต้องใช้พลังทางเศรษฐกิจและพลังทางสังคมอย่างมหาศาลในการฟื้นฟูให้ประเทศกลับสู่สภาพเดิมอีกครั้ง จากบทเรียนของอิรักและอัฟกานิสถานกระบวนการฟื้นฟูจะกินเวลาครึ่งศตวรรษหรือมากกว่านั้น

โลกอาหรับได้ผ่านการเดินทางมาหลายครั้งตลอดช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ หลังจากปิดเส้นทางการปกครองในระบอบคอลีฟะฮ (กาหลิบ)ในปี 1924 โลกอาหรับได้สำรวจเส้นทางใหม่ๆ เพื่อนำสังคมของพวกเขาไปสู่สันติภาพและความรุ่งเรือง ทั้งเส้นทางของระบบสังคมนิยมที่อิงอยู่กับอดีตสหภาพโซเวียต เส้นทางชาตินิยมอาหรับ (Pan-Arabism) เส้นทางอิสลามนิยม (Islamism) แบบอนุรักษ์ของซาอุดิอารเบีย หรือเส้นทางอิสลามนิยมแบบปฎิวัติของอิหร่าน แต่ดูเหมือนครั้งนี้โลกอาหรับกำลังถูกซัดเข้าสู่เส้นทางที่พวกผู้นำมีอำนาจผูกขาดน้อยลงเรื่อยๆ ในการกำหนดชะตากรรมของสังคม

หากพวกผู้นำและเหล่าทหารซึ่งกุมอำนาจอยู่ในขณะนี้ไม่ตระหนักถึงข้อเท็จจริงของสภาวะสังคมดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เราจะได้เห็นสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในอีกหลายประเทศในโลกอาหรับ

มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง