ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
7 พฤษภาคม 2554
ความสูญเสีย-สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จรดน้ำศพพ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 10 เมษายน ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมแบกโลงสหายของพวกเขาที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เดียวกัน และสุดจะกลั้นน้ำตาไว้ได้
********
1.ลงขันเข้ากรุง-คนเสื้อแดงพากันทอดผ้าป่าระดมทุน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเดินทางไปประท้วงใหญ่ที่กรุงเทพฯเรียกร้องให้ยุบสภา เลือกตั้งใหม่
2.คนกรุงแห่รับเสื้อแดง-คนกรุงเทพฯพากันออกมาต้อนรับขบวนคนเสื้อแดงที่เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไม่ได้มีการต่อต้านตามที่สื่อกระแสหลักที่สนับสนุนรัฐบาลยั่วยุ
3.เจรจาไทย2ฝ่าย-การประท้วงนำไปสู่การเจรจาของตัวแทนรัฐบาลกับแกนนำเสื้อแดงออกทีวี ซึ่งจบลงด้วยความล้มเหลว ไม่สามารถหาข้อตกลงได้
4.จุดเปลี่ยน-ผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งเข้าไปในรัฐสภาในวันที่ 7 เมษายน เพื่อกดดันรัฐบาล ถูกการ์ดของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ใช้อาวุธจ่อหัว จึงพากันปลดอาวุธการ์ดรายนี้ นำไปสู่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเย็นวันนั้น และสถานการณ์นำไปสู่ความรุนแรง
5.มือเปล่ากับรถถัง-ทหารซึ่งเคยปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งรัฐบาลสมัคร-รัฐบาลสมชายในการควบคุมการชุมนุมยึดทำเนียบฯ-ยึดสนามบินของพันธมิตร เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสลายการชุมนุมคราวนี้ ในภาพผู้ชุมนุมพากันขวางรถถังที่จะเคลื่อนเข้าปราบปรามที่ราชดำเนิน
6.ไตรรงค์ซับน้ำตา-ภาพผู้ชุมนุมสตรีเสื้อแดงหยิบผืนธงชาติไตรรงค์ขึ้นเช็ดน้ำตาจากการถูกทหารใช้แก๊สน้ำตายิงสลายการชุมนุม 10 เมษายน เป็นภาพที่อาจสื่อความหมายเป็นตัวแทนของเหตุการณ์นองเลือดปี 2553 ตลอดทั้งปี
7.คนละประเทศเดียวกัน-หลัง10เมษาฯ ผู้ชุมนุมยกระดับไปชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ทำให้กลุ่มคนกรุงเทพฯส่วนหนึ่งใส่ชุดหลากสีออกมาต่อต้าน ในภาพเด็กน้อยด้านซ้ายมือเข้าร่วมการชุมนุมกับผู้ชุมนุมหลากสีกดดันให้รัฐบาลเร่งปราบปรามเสื้อแดงคืนชีวิตปกติให้คนกรุง เด็กน้อยเสื้อแดงในภาพขวาวิ่งเล่นซนในม็อบเสื้อแดงกลางแยกราชประสงค์
8.นาทีเปลี่ยนจุดสมดุลการศึก-มือสไนเปอร์ยิงสังหารเสธ.แดงในระยะไกล เพื่อเด็ดหัวขบวนของฝ่ายยุทธวิธีของกลุ่มผู้ชุมนุม จากนั้นมือสไนเปอร์ได้ยิงสังหารผู้ชุมนุมอีกหลายศพ เพื่อกดดันไม่ให้ประชาชนเข้าสมทบการชุมนุมที่ราชประสงค์ และกระชับพื้นที่เพื่อให้แกนนำประกาศยอมจำนนในที่สุด
9.ผู้ก่อการร้ายพ่อ..ง-ผู้ชุมนุมรายหนึ่งได้ถอดเสื้อผ้าออกแล้วตะโกนบอกทหารว่า ผู้ชุมนุมไม่ได้เป็นผู้ก่อการร้าย ไม่มีอาวุธ อย่างมากก็มีแค่หนังสติ๊ก หรือพลุตะไล อย่างมากก็เผายางรถอำพรางไม่ให้โดนยิง หรือมีแค่ตัวเปล่าๆ ทหารต้องหยุดสังหารหมู่ผู้ประท้วงได้แล้ว แต่สุดท้ายก็ไร้ผล
10.เสื้อแดงคนสุดท้าย-หลังแกนนำนปช.ประกาศยอมจำนนเข้ามอบตัว และเกิดจลาจลหลายจุดทั่วประเทศ สตรีรายนี้นั่งยืนหยัดอยู่หน้าเวทีการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ หลังจากนั้นเสื้อแดงที่ไม่ยอมแพ้ก็ทยอยตามเธอออกมายืนหยัดต่อสู้ต่อไป แม้ไร้แกนนำ แต่ก็มีแกนนอนเกิดขึ้นมาแทน
11.ที่นี่มีคนตาย-ผู้ชุมนุมนอนเสียชีวิตอยู่ที่ลานหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ เสมือนตอกย้ำว่าที่นี่มีคนตาย แต่หลัง19พ.ค.คนกรุงส่วนหนึ่งได้ออกมาปัดกวาดล้างคราบเลือดแล้ว และจะจัดฉลองปีใหม่ จัดฉลองสงกรานต์ ณ บริเวณที่ผู้ชุมนุมรายนี้นอนตายอยู่ เหมือนไม่เคยเกิดอะไรขึ้น ( ที่นี่มีคนตาย!...แต่ไม่เห็นเป็นไรพร้อมกระจายความสุขสู่ชาวกรุง ความทุกข์มีแค่ว่าตกลงใครเผาห้าง? )
12.สิ่งที่ประเทศได้หลังความสูญเสีย-หลังการสังหารหมู่ที่ราชประสงค์ มีการตามล่าสังหารเสื้อแดงอีก 5 ศพ รวมเป็นเกือบ 100 ศพ ระบอบปกครองอำมาตย์ โดยมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหุ่นเชิดยังลวงโลกต่อไปว่า นี่คือประชาธิปไตย
และนาทีนี้พวกเขากำลังเผชิญหน้ากับมวลมหาประชาชนว่า จะยินยอมคืนความยุติธรรม จัดสรรอำนาจ แบ่งปันทรัพยากร และความเป็นมนุษย์ให้กับประชาชนร่วมแผ่นดินด้วยวิธีสันติ ผ่านการเลือกตั้ง
หรือเลือกที่จะกำหราบปราบปรามประชาชน โดยมีเดิมพันสุดท้ายคือการสิ้นสลายลงของระบอบทรราชย์อำมาตย์
**********
เพลง “ไพร่ พฤษภา"
โดย อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง
ใจสลาย เมื่อพฤษภา สุดโศกอาลัย เธอรู้ตัวบ้างไหมว่าใครเฝ้าคอย
ใจดวงน้อยล่องลอยอ้างว้าง มันเปลี่ยวร้างจวนแทบจะวาย
เธอจากไปไหน หรือดับสลาย ไม่คืนกลับมา
โชค(โอ) ชะตาทำไมทารุณโหดร้าย บอกได้ไหม ฤ ชีวิตไพร่ ค่ามันไม่มี
หลับตานอนนะเธอคนดี หนึ่งใจนี้มีเธอเท่านั้น
คือความรักคือความผูกพัน คืนและวันจดจำเสมอ
หลับตาลงฉันก็ได้เจอ เจอแก้วตาดวงใจ
กราบชีวิตที่ยิ่งใหญ่ คนไพร่ พฤษภา
อยากจะขอเป็นคราวสุดท้าย หยุดเถอะจองเวร
เพียงแค่มองแค่เห็น ไพร่มันก็คน
เกิดมาจนมันเลวใช่ไหม ชีวิตเขาด้อยค่าตรงไหน
ทำผิดอะไร ทำผิดสื่งใด ถึงทำอย่างนั้น(ลงโทษทัณฑ์)