WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, May 6, 2011

อนุสรณ์ อุณโณ:ชายแดนใต้ไม่ไกลจากเมืองหลวง

ที่มา ประชาไท

ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยจำนวนไม่น้อยมักเสนอทีเล่นทีจริงให้ทหารที่นิยมก่อรัฐประหารและสังหารประชาชนมือเปล่าไปประจำการในชายแดนภาคใต้ ซึ่งหากมองในแง่ดี ข้อเสนอดังกล่าวเป็นความต้องการให้ทหารได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ควรจะเป็น คือรักษาความสงบเรียบร้อยหรือปกป้องอธิปไตยของประเทศจากผู้รุกราน ไม่ใช่มาแทรกแซงการเมือง แต่หากมองในแง่ร้าย ข้อเสนอดังกล่าวคือความต้องการลงโทษทหารเหล่านี้ เพราะท่ามกลางข่าวการเสียชีวิตของทหารในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การส่งทหารเหล่านี้ (ซึ่งมีนัยของการไม่ได้เป็นทหารมืออาชีพ) ไปประจำการในชายแดนใต้อีกนัยหนึ่งก็คือการส่งทหารเหล่านี้ไปเผชิญกับความตาย

ไม่ว่าจะเป็นในแง่บวกหรือแง่ลบหรือมีความจริงจังเพียงใด ข้อเสนอดังกล่าวสะท้อนสภาวะครอบงำของความรู้และความเข้าใจปัญหาชายแดนใต้ กระแสหลักซึ่งมีข้อที่ต้องทบทวน ทั้งนี้ก็เพราะว่าความรู้และความเข้าใจเช่นนี้มองปัญหาชายแดนใต้ในกรอบของ ความมั่นคงของรัฐเป็นหลัก เหตุการณ์ความไม่สงบถูกเหมารวมว่าเกิดจากน้ำมือของผู้เป็นภัยต่อรัฐและจำ เป็นจะต้องขจัดด้วยวิธีการต่างๆ โดยมีกองทัพเป็นหัวหอก ทว่านอกจากเงื่อนงำที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์จำนวนหนึ่ง

เหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนใต้เป็นเพียงอาการปรากฏอย่างหนึ่งของความตึงเครียดที่ไม่สามารถคลี่คลายได้ด้วยกรอบของความมั่นคงแห่งรัฐในลักษณะที่เป็นอยู่อย่างในปัจจุบัน ตรงกันข้าม ความมั่นคงแห่งรัฐในความหมายดังที่เป็นอยู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเพราะว่าเป็นความมั่นคงที่เน้นศูนย์กลางและเปิดโอกาสให้มีความแตกต่างหลากหลายในท้องที่ต่างๆ ตราบเท่าที่ไปกันได้หรืออยู่ภายใต้การควบคุมของศูนย์กลางเท่านั้น ความต้องการใช้ภาษามลายูเป็นภาษาหลักในพื้นที่ก็ดี ความต้องการให้มีระบบศาลที่ยึดโยงกับศาสนาอิสลามก็ดี รวมทั้งความต้องการมีอิสระในการกำหนดรูปแบบหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตของตน เองก็ดี เหล่านี้เป็นความต้องการของชาวมลายูมุสลิมในชายแดนใต้ที่ราชอาณาจักรไทยถือ เป็นภัยคุกคามต่อความเป็นเอกรัฐของตนและจำเป็นจะต้องยับยั้งทุกวิถีทาง

ทั้งนี้ เพราะเหตุที่เน้นความมั่นคงของศูนย์กลางภายใต้จินตนาการทางการเมืองแบบเอกรัฐ ความรู้และความเข้าใจชุดดังกล่าวจึงผลักให้ปัญหาชายแดนใต้เป็นเรื่องห่างไกล จากชีวิตของคนในเมืองหรือแม้กระทั่งคนส่วนใหญ่ของประเทศ หรือเป็นเพียงปัญหาเฉพาะของคนส่วนน้อย (เช่น ภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อ) ที่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในเขตใจกลางประเทศไม่มีอะไรเกี่ยวข้องด้วย ทว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะปัญหาที่ชาวมลายูมุสลิมในชายแดนใต้ประสบเป็นผลพวงของการจัดความสัมพันธ์ที่ไม่เสมอกันในสังคมไทยที่คนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ต่างประสบเหมือนกันเพียงแต่ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น คนส่วนใหญ่ในประเทศถือครองที่ดินในจำนวนที่ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับคนส่วนน้อยของประเทศที่ถือครองที่ดินส่วนใหญ่ สำคัญแต่เพียงว่าคนส่วนน้อยเหล่านี้เป็นชนชั้นนำทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ขณะที่คนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นล่างไปจนถึงชนชั้นกลางระดับล่าง

นอกจากนี้ ผลการสำรวจช่องว่างรายได้ระหว่างคนจนกับคนรวยในประเทศไทยล่าสุดโดยธนาคารโลก พบว่าห่างกันถึง 15 เท่า จะเป็นรองก็แต่เฉพาะประเทศโคลอมเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีลักษณะไร้ขื่อแปสูง มากเท่านั้น ทั้งนี้ แม้ที่ผ่านมาชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ไม่สู้จะเคลื่อนไหวในประเด็น ปัญหาปากท้องหรือทรัพยากรเหมือนเช่นคนระดับล่างๆ ส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่ประสบปัญหาเหล่านี้ ตรงกันข้าม พวกเขาประสบปัญหาในเรื่องเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง แต่สาเหตุที่พวกเขาไม่ปิดถนนหรือเดินขบวนประท้วงเมื่อราคายางพารา ผลไม้ หรือกุ้งตกต่ำก็เพราะว่าพวกเขาไม่ต้องการตกเป็นเป้าเพ่งเล็งจากเจ้าหน้าที่ รัฐมากไปกว่านี้ เพราะลำพังเฉพาะการเคลื่อนไหวในปัญหาเชิงอัตลักษณ์หรือวัฒนธรรม เช่น ศาสนา และชาติพันธุ์ ก็สร้างความยากลำบากในการดำเนินชีวิตให้กับพวกเขามากพออยู่แล้วจนส่วนใหญ่ เลือกที่จะปิดปากเงียบเสียมากกว่า

อย่างไรก็ดี แม้ชาวมลายูมุสลิมในชายแดนใต้ไม่สู้จะเคลื่อนไหวเรียกร้องในที่สาธารณะ (ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น) แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่สนใจติดตามข่าวสารบ้านเมืองหรือเป็นผู้ที่มี ความเฉื่อยชาทางการเมืองแต่อย่างใด ตรงกันข้าม พวกเขาให้ความสำคัญกับความเป็นไปในประเทศนี้ค่อนข้างมาก การคุยหรือแม้กระทั่งการถกเถียงกันเรื่องการเมืองระดับชาติในร้านน้ำชาใน หมู่บ้านเป็นเรื่องปกติ ขณะที่ร้านน้ำชาบางร้านในหมู่บ้านเปิดโทรทัศน์รายการข่าวเพื่อเอาใจ “คอการเมือง” เป็นการเฉพาะ และมีอยู่บ่อยครั้งที่ “คนนอก” อย่างผมต้องทำตัวเป็นนักวิเคราะห์ข่าวสมัครเล่นเมื่ออยู่ในร้านน้ำชาเหล่า นี้เพราะไม่สามารถ “ขัดศรัทธา” บรรดา “คอการเมือง” ที่ว่านี้ได้

นอกจากนี้ ขณะที่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในเขตใจกลางประเทศจำนวนมากยังไม่เห็นหรือยัง ไม่ได้เชื่อมโยงสิ่งที่เคลื่อนไหวเรียกร้องเข้ากับปัญหาชายแดนใต้ ชาวมลายูมุสลิมในชายแดนใต้จำนวนไม่น้อยเห็นว่าปัญหาทั้งสองเป็นเรื่องเดียว กัน คือ ปัญหาความเป็นธรรม พวกเขาเห็นว่าปัญหา “สองมาตรฐาน” โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในส่วนของการบังคับใช้กฎหมายและในกระบวนการยุติธรรมเป็น ปัญหาเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมซึ่งพวกเขาเผชิญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันและเป็น เวลานานมาแล้ว ต่างกันแต่เพียงว่าความไม่เป็นธรรมที่พวกเขาได้รับไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะใน แง่ของการเมืองเลือกตั้งและกระบวนการยุติธรรม (โดยเฉพาะข้อหลังซึ่งมีความรุนแรงอย่างมาก) หากแต่เป็นความไม่เป็นธรรมทางสังคมและวัฒนธรรมที่แฝงฝังอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งกินความตั้งแต่ชื่อที่ตั้ง ภาษาที่ใช้ โรงเรียนที่เข้า หนังสือที่อ่าน ไปจนถึงรายการโทรทัศน์ที่ดู ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่เข้าใจได้หากพวกเขาจะยินดีด้วยเมื่อเห็นข่าวการยืดคืนสถานี ทวนสัญญาณโทรทัศน์ไทยคมจากทหารประสบความสำเร็จ รวมทั้งแสดงความเห็นใจเมื่อเห็นข่าวการล้อมปราบผู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่ ราชประสงค์เมื่อปีกลาย

เพราะเหตุนี้ ความท้าทายจึงตกอยู่ที่ฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยโดยเฉพาะที่อยู่ในเขตใจกลางของประเทศว่าจะสลัดพันธนาการชิ้นสำคัญที่รัดรึงอยู่นี้อย่างไร เพราะสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ชนชั้นนำไทยประสบความสำเร็จในการปกครองก็คือ การอาศัยกลวิธีทางวัฒนธรรมแสดงให้เห็นว่าพวกเขาปกป้องและมีผลประโยชน์ร่วม กันกับประชาชนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นในเชิงศาสนาหรือชาติพันธุ์ ซึ่งในแง่หนึ่งก็ส่งผลให้ผู้ที่มีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างออกไป เช่นชาวมลายูมุสลิมในชายแดนใต้กลายเป็น “คนอื่น” ที่ยากจะเข้าใจ น่าสงสัย และฉะนั้นจึงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของศูนย์กลางอย่างเข้มงวด ทว่ากลวิธีทางวัฒนธรรมเช่นนี้อำพรางการจัดความสัมพันธ์ที่ไม่เสมอกันที่ทั้ง คนส่วนใหญ่ของประเทศและคนส่วนน้อยเช่นชาวมลายูมุสลิมต่างอยู่ในตำแหน่งที่ ถูกเอารัดเอาเปรียบพอกัน ฉะนั้น แทนที่จะส่งทหารประเภทกเฬวรากลงไปชายแดนใต้

สิ่งที่คนส่วนใหญ่ในประเทศโดยเฉพาะผู้เรียกร้องประชาธิปไตยพึงเรียกร้องคือ การลดจำนวนทหารหรือลดอำนาจกองทัพในพื้นที่ลง ซึ่งไม่เพียงแต่จะสอดคล้องกับข้อเสนอลำดับต้นๆ ของชาวมลายูมุสลิมส่วนใหญ่ในการคลีคลายเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนใต้ หากแต่ยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับวิธีการแก้ปัญหาวิกฤติการเมืองของประเทศใน ขณะนี้ที่หนึ่งในนั้นคือการให้ทหารกลับเข้ากรมกอง ไม่ใช่ออกมาเข้าแถวตบเท้าข่มขู่ประชาชนอย่างเช่นทุกวันนี้

ที่มา:คอลัมน์ คิดอย่างคน หนังสือรายสัปดาห์ มหาประชาชน ประจำวันที่ 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2554