WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 4, 2011

จากดอกส้มสีทอง สู่การวิภาคระบอบสีทองของกาหลิบ

ที่มา Thai E-News


คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
โดย กาหลิบ
3 พฤษภาคม 2554


กรณีละครช่อง ๓ “ดอกส้มสีทอง” ถูกสั่งเซ็นเซอร์จนโด่งดังโครมครามในขณะนี้ ดูเผินๆ ก็คือเรื่องธรรมดาของวงการบันเทิง ผลกระทบก็ไม่น่าจะมากมาย เพราะละครไทยส่วนใหญ่ผลิตมาให้คนหนีจากความเป็นจริง ไม่ได้เผชิญหน้ากับความเป็นจริง และพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอยู่แล้ว แต่เมื่อมาฟังการถกเถียงในรายการคุยข่าวของคุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ทำให้เกิดระลึกได้ว่า นี่ไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัวของวงการบันเทิง แต่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการครอบงำและชี้นำสังคมไทยของฝ่ายที่มิใช่ (และถือว่าเหนือกว่า) ประชาชน เป็นอีกแง่หนึ่งของเผด็จการเบ็ดเสร็จอย่างไทยที่คนส่วนมากมองไม่ค่อยเห็น โดยมีสื่อสายพันธุ์อย่างเดียวกับคุณสรยุทธ์ฯ ช่วยเหลือเอื้อประโยชน์ให้

สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้มิได้เจตนาจะปกป้องละครเรื่องใดหรือคนจัดละครค่ายใด แต่เพื่อชี้ให้เห็นว่าขอบเขตของระบอบเผด็จการไทยมันกว้างขวางเพียงใด และกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นคนถึงขนาดไหน

ตัวแทนของระบอบเก่ามาจากกระทรวงวัฒนธรรมคือคุณลัดดา ตั้งสุภาชัย เป็นผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมเจ้าเก่าที่ออกมาเล่นบทบาทนี้จนคุ้นชิน ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง “ดอกส้มสีทอง” ซึ่งเป็นสุภาพสตรีในวัยเริ่มอาวุโสเช่นกัน ดูแล้วจึงมิใช่การถกเถียงระหว่างคนสองวัยที่ใจไม่ตรงกัน แต่เป็นการถกเถียงอย่างสุภาพที่ต่างฝ่ายต่างถือตำราสิทธิและเสรีภาพคนละฉบับ

เนื้อความที่ทำให้ถูกเซ็นเซอร์เที่ยวนี้ เมื่อฟังการถกเถียงและค้นคลิปละครมาดูก็พบว่า เรื่องหนักหนาที่สุดเห็นจะเป็นการ “ด่า” ตัวละครหญิงคนหนึ่งที่ไปเป็นเมียน้อยเขา จากปากผู้ชายที่รู้สึกว่าจะเคยรักกัน การด่านั้นจิกลงไปถึงเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้หญิงคนนั้นและด่าอย่างยืดยาวไม่ลดราวาศอก อีกเรื่องสองประเด็นคือการปฏิบัติของลูกสาวต่อแม่เหมือนคนใช้ และเรื่องฉากรักที่ผู้กล่าวหาชี้ว่ามากมายเนืองนองเกินไป

ตัวแทนระบอบราชการบอกว่า เหตุที่ต้องกระโดดออกมาใช้อำนาจ เพราะประชาชนร้องเรียนเข้ามามากมายทางโทรศัพท์จนอยู่เฉยไม่ได้ และหน่วยงานของตัวเองก็เห็นด้วยตามนั้น เธอเห็นว่าการใช้เรตระดับ ๑๓ ซึ่งหมายความว่า เด็กอายุ ๑๓ ปีขึ้นไปสามารถดูได้โดยไม่ต้องมีใครควบคุมตักเตือนนั้นคือปัญหา หากเป็นระดับ ๑๘ ปีขึ้นไป เธอ“เชื่อ” ว่าเขามีวิจารณญาณเพียงพอที่จะดูละครเรื่องนี้โดยไม่เกิดความเสียหายทางจิตใจและพฤติกรรม

ตัวแทนของละคร ซึ่งอาจเป็นตัวแทนของระบอบประชาชน (เชิงพาณิชย์) โต้ว่า ละครเรื่องนี้จงใจชี้ข้อบกพร่องทางสังคมในหลายมุม จำเป็นต้องแสดงความหยาบช้าและความมัวหมองต่างๆ ให้เป็นที่ประจักษ์ จะไปหดตัวตาม “ความน่าจะเป็น” จนหลุดจาก“ความเป็นจริง” นั้นคงผิดจุดยืน ความจำเป็นของคำ “ด่า” พฤติกรรมของลูกสาวคนหนึ่งต่อแม่ และฉากรัก ตั้งอยู่บนแนวคิดนี้ทั้งนั้น ส่วนการจัดเรตว่าอะไรเป็น ๑๓ หรือ ๑๘ หรือใครจะตัดสินใจว่าอะไรดีอะไรชั่ว เธอไม่ได้แสดงความเห็นมากนัก

สรุปแล้วระบอบราชการถือว่า ตนเองเป็นตัวแทนของประชาชนและมีสิทธิ์ใช้อำนาจชี้นำสังคมโดยอ้างประชาชนได้

ผู้เขียนบทละครก็บอกว่าเธอเป็นประชาชน เธอมีสิทธิ์ที่จะแสดงภาพสังคมในรูปละครอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ เพื่อความบันเทิงและเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนเช่นเดียวกัน

เรื่องนี้น่าคิดและควรนำมาใคร่ครวญกันให้มาก

ลึกลงไปแล้ว ข้อถกเถียงในเรื่องนี้มาจากความคิดที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วในทางสังคม ระบอบเผด็จการใดๆ ก็ตามมักเชื่อว่าตนเองเป็นอภิสิทธิ์ชนที่สามารถทำอะไรมากกว่าคนธรรมดาได้เสมอ

ไม่ว่าจะเซ็นเซอร์ละครโดยอ้างมาตรฐานและอำนาจที่ “สูงกว่า”

การออกกฎบัตรกฎหมายมาบังคับควบคุมจนประชาชนแทบจะเดินไม่ได้

การใช้อำนาจตุลาการผ่าน “ศาล” มาแยกแยะถูกผิดและลงโทษทาง “กฎหมาย”

จนกระทั่งถึงการใช้กองทัพเข้ารัฐประหารและเข่นฆ่าประชาชนที่ลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมของเขา

ทั้งหมดนี้คือความคิดชนิดเดียวกันทั้งนั้น

“ดอกส้มสีทอง” จะถูกผิดอย่างไรต้องหาทางให้ประชาชนตัดสินเอง และไม่ใช่อ้าง

ประชาชนหยิบมือเดียวที่รู้หมายเลขโทรศัพท์ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมมาอ้าง เพื่อใช้อำนาจนั้นระงับสิทธิ์ของคนที่ไม่ได้คิดอย่างนั้นอีกเป็นล้านคน

เพราะสังคมไม่ได้มีเพียง “ครู” ข้าราชการกับ “นักเรียน” ประชาชน

ไม่ได้แบ่งเป็นผู้สูงส่งและพงศ์ต่ำต้อย เหมือนศรีปราชญ์เคยประกาศไว้ว่า “...อย่าว่าเราเจ้า-ข้า ร่วมพื้น ดินเดียว...” อันเป็นคำประกาศที่ไม่ได้ตายไปตามตัว

ต้องจำไว้ว่าจะอ้างกฎหมายและระเบียบกี่ฉบับ การจัดเรตกันกี่ครั้งกี่ประเภท หรือโทรศัพท์กี่ร้อยกี่พันสายก็ไม่ได้ทำให้เผด็จการกลายเป็นประชาธิปไตยขึ้นมาได้

ผู้มีพฤติกรรมขี้ข้าเผด็จการทุกคนและทุกประเภทพึงสังวรไว้.