WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, May 5, 2011

เปิดนม แม่ชี เรยา และสไนเปอร์

ที่มา มติชน



โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 5 พฤษภาคม 2554)

กรณีเด็กสาววัยรุ่น 3 คน "เปิดนม" โชว์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก่อให้เกิดเสียงสะท้อนเชิงวิพากษ์ที่น่าสนใจตามมามากมาย

ล่าสุด คือข้อเสนอของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ว่า "นมผู้หญิง" นั้นเป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยกันอยู่แล้วในชีวิตจริง

ทว่า ความคุ้นเคยดังกล่าวกลับไป "ขัดขืน" หรือกระทั่ง "ล่วงละเมิด" ต่อวัฒนธรรมไทยตามอุดมคติของชนชั้นนำ ที่ทำงานผ่านกลไกอำนาจเชิงสังคมและกฎหมาย

เพื่อผดุงโครงสร้างอำนาจอันไม่เท่าเทียมเอาไว้

อาจกล่าวได้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณี "เปิดนม" มีที่มาจากการปะทะกันระหว่าง "คุณค่า" หรือ "ความเชื่อ" ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการผูกขาดอำนาจในการนิยาม "วัฒนธรรม" ไว้ที่ผู้มีอำนาจหรือชนชั้นนำกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

เช่นกันกับกรณีคำสอนเรื่อง "การแก้กรรม" ของแม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม หรือกรณีความห่วงใยในเนื้อหาของละครโทรทัศน์เรื่อง "ดอกส้มสีทอง"

ซึ่งแรกๆ ดูเหมือนกระทรวงวัฒนธรรมที่ออกมาเล่นบท "คุณพ่อรู้ดี" คอยเฝ้าระวัง "หลักคำสอนแท้จริง" ทางพุทธศาสนา และ "ชีวิตครอบครัวอันดีงาม" ตามอุดมคติชนชั้นกลาง จะกลายเป็น "พระเอก"

แต่สุดท้าย "พระเอก" ก็ยังต้องถูกตั้งคำถาม เมื่อเขากำลังใช้ชีวิตอยู่ในสังคมไทยปัจจุบันที่มีความหลากหลายทางความคิดความเชื่อ

ทั้งคำถามที่ว่า ทำไมกระทรวงวัฒนธรรมจึงพยายามใช้อำนาจของตนเองไปปิดทับ กีดกัน หยุดยั้ง ความเชื่ออื่นๆ ที่ผิดแผกไปจากความเชื่อหลักในสังคม

แทนที่จะเปิดพื้นที่ให้การถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์ และตรวจสอบความเชื่อที่หลายคนเห็นว่างมงาย (แต่อีกหลายคนก็เชื่ออย่างนั้นจริงๆ) อย่างมีเหตุผล

หรือถ้ามีการหวั่นวิตกว่า "ดอกส้มสีทอง" จะส่งผลกระทบต่อเยาวชนผู้ดูละครจริงๆ

สิ่งที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบควรทำ คงไม่ใช่การแบนละคร เร่งให้ละครจบเร็วขึ้น หรือบีบผู้จัดและสถานีด้วยวิธีการต่างๆ

แต่ต้องช่วยเปิดเวทีในการวิพากษ์วิจารณ์ ถกเถียง และเพิ่มเติมความคิดหรือความรู้หลากแง่มุม ซึ่งเท่าทันต่อความสลับซับซ้อนของสังคม ให้แก่เยาวชนเหล่านั้นใช่หรือไม่

การครอบงำผูกขาดทางวัฒนธรรม ผ่านการเฝ้าระวัง การแบน การห้าม อาจเป็นเครื่องมือล้าสมัยไปแล้วในยุคนี้

เพราะแค่มีการ "ปิดพื้นที่" และพยายามผูกขาดความคิดทางการเมืองมา 4-5 ปี สังคมไทยก็ยังย่ำแย่หนัก

หากจะมา "ปิดพื้นที่" และใช้อำนาจผูกขาดทาง "วัฒนธรรม" ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวผู้คนมากกว่า และไวต่อความเปลี่ยนแปลงมากกว่า สังคมไทยก็คงจะยิ่งพังไปกันใหญ่

ขออนุญาตยืมวรรคทองล่าสุดของ อ.นิธิ มานำเสนอซ้ำอีกครั้งว่า ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสังคมไทย จน "วัฒนธรรมไทย" ถูกท้าทายอย่างหนักนั้น

"สไนเปอร์อย่างเดียวหยุดการท้าทายนี้ไม่ได้"