ที่มา มติชน กลุ่ม "มรสุมชายขอบ" ซึ่งเป็นคณะทำงานเฉพาะกิจ มี ดร. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นผู้ริเริ่มและที่ปรึกษาของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความจริงในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 คณะทำงานตั้งข้อสังเกตว่าการดำเนินการสืบหาข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าว ขาดข้อมูลพื้นฐานในแง่ลำดับเวลาและความสับสนในลำดับเวลา สถานที่เกิดเหตุและการปะทะ ตลอดจนรายชื่อผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ดังนั้น จึงประสงค์รวบรวมตรวจสอบลำดับเหตุการณ์จากเอกสารแหล่งต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่สอดคล้องกันมากที่สุด เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนในวงกว้างต่อไป 11.00 – 11:30 น. เปิดประเด็นซักถามงานวิจัย
นอกจากนี้ ทางกลุ่มยังได้จัดทำนิทรรศการ "คำถามต่อความเป็นมนุษย์" อันเป็นการต่อยอดจากข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ ซึ่งได้รับแรงเร้าอย่างสำคัญจากบรรยากาศหลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 เมื่อสังคมไทยถูกปกคลุมด้วยความเงียบ ปราศจากคำถาม ตลอดจนความพยายามอย่างจริงจังที่จะแสวงหาคำตอบให้กับโศกนาฏกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ โดยสามัญสำนึกทั่วไปของมนุษย์นั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์พัฒนาตนเองและสังคมไปได้ก็ด้วยการตั้งคำถามกับชีวิตและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเสมอมา จึงเป็นเรื่องน่าเศร้า เมื่อคำถามในส่วนต่างๆ ของนิทรรศการ ไม่ว่าจะเป็น "ความรุนแรงเดินทางมาอย่างไร?", "เราทำลายใคร?", "อะไรทำลายเรา?" และ "เรากำลังทำอะไร?" ซึ่งเป็นคำถามพื้นฐานง่ายๆ ที่มนุษย์มักจะถามเมื่อต้องเผชิญหน้ากับโศกนาฏกรรมหนึ่งๆ กลับกลายเป็นคำถามที่ยากเย็นเสียเหลือเกินหากใครคนหนึ่งจะเอ่ยปากถามตนเองและสังคม กระทั่งกลายเป็นเรื่องยากเย็นเสียเหลือเกินที่ใครคนหนึ่งจะลุกขึ้นมาทำลายความเงียบเพื่อยืนยันและปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ดังนั้น ทางกลุ่มจึงได้จัดงานเสนอเอกสารข้อเท็จจริงกรณีเหตุรุนแรงเดือนพฤษภาคม 2553 และงานเปิดนิทรรศการหัวข้อ "คำถามต่อความเป็นมนุษย์" ในวันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม 2554 ณ ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลา (ตึกหลัง) สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง โดยมีกำหนดการ ดังนี้
09:00 – 09:30 น. ลงทะเบียน
09:30 – 10:00 น. ปาฐกถานำ โดย ศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
10:00 - 11.00 น. กล่าวแนะนำโครงการและเอกสาร โดย ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ หัวหน้าโครงการฯ
11:30 – 12:00 น. เปิดตัวนิทรรศการเรื่อง "คำถามต่อความเป็นมนุษย์"