WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 25, 2011

สัมภาษณ์ 4 นักเขียนรุ่นใหม่ กับ ม.112 : ถึงเวลาแล้วที่(เรา)จะต้องออกมาพูดเรื่องนี้

ที่มา ประชาไท

นับตั้งแต่ที่เหล่านักเขียนพร้อมใจกันลงชื่อใน “จดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนนักเขียนไทย เรื่อง ขอเชิญร่วมลงชื่อเรียกร้องแก้ไข ม.112” ก็มีกระแสตีกลับจากหลายฝ่ายทั้งในทางที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ประชาไทจึงเข้าไปพูดคุยกับ 4 นักคิด-นักเขียน ประกอบไปด้วย วาด รวี ธิติ มีแต้ม ณรรธราวุธ เมืองสุข และหนึ่งนักเขียนที่ไม่ประสงค์จะเอ่ยนาม ดังนี้

0 0 0

วาด รวี

“จริงๆ เรื่อง นี้เป็นเรื่องของนักเขียนโดยตรง เพราะว่าถ้าไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น คนที่เดือดร้อนก่อนก็ต้องเป็นนักเขียน เพราะนักเขียนคืออาชีพที่แสดงความเห็นอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะงานวรรณกรรม บทความ การแสดงออกทางศิลปะ หรือทางวิชาการก็ตาม”
วาด รวี

เริ่มต้นจากการพุดคุยกับ วาด รวี กวีผู้มีผลงานในโลกออนไลน์อยู่พอสมควรและยังเป็นหนึ่งในตัวตั้งตัวตีในการเขียนแถลงการณ์นี้ เขาเล่าว่า

ทำไมถึงมีจดหมายนี้ออกมา?
เพราะ จากปฏิกิริยาของทหารครับ โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมามีกรณีที่มีการจับกุมคุณสมยศ (พฤกษาเกษมสุข) และมีการฟ้องอาจารย์สมศักดิ์ (เจียมธรสกุล) เป็นประเด็นที่เราเห็นว่าการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองถูกคุกคามโดยเฉพาะ พื้นที่ทางวิชาการ อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็มีการใช้ข้อหานี้ในทางการเมืองตลอด แต่ว่าตอนนี้มันหนักข้อขึ้นทุกที กระทั่งพื้นที่ทางวิชาการถูกข่มขู่ฟ้องร้องในลักษณะนี้ เราในฐานะนักเขียนไม่มีทางที่จะปล่อยให้พื้นที่นี้มันหดต่อไปได้แล้ว เราต้องบอกกับฝ่ายต่างๆ ของสังคมว่าต้องยุติการใช้ข้อหานี้มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง แล้วก็ต้องแก้กฎหมายด้ว

บทบาทของนักเขียนมีความสำคัญต่อการที่จะบอกสังคมในเรื่องนี้?
จริงๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องของนักเขียนโดยตรง เพราะว่าถ้าไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น คนที่เดือดร้อนก่อนก็ต้องเป็นนักเขียน เพราะนักเขียนคืออาชีพที่แสดงความเห็นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะงานวรรณกรรม บทความ การแสดงออกทางศิลปะ หรือทางวิชาการก็ตาม ถ้าเกิดว่าอยู่ในพื้นที่ที่มีเสรีภาพแล้วก็จะมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้าง สรรค์ แต่หากมันถูกคุกคามแล้วมันก็เป็นบรรยากาศที่ไม่น่าทำงาน ไม่น่าอยู่อาศัย นักเขียนไม่อยากอยู่

เราเห็นว่ามันเป็นปัญหาที่เรา ควรจะต้องอภิปรายกันได้แล้ว เพราะมีการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เช่น คดีของ ดา ตอปิโด ที่ไม่ให้ประกันตัวและมีการพิจารณาคดีอย่างปิดลับ และในอีกหลายๆ กรณีที่การบังคับใช้ไม่เป็นธรรม แต่ก็ไม่มีการทักท้วงใดๆ นอกจากนักเขียนและปัญญาชนไม่กี่คนที่ออกมาพูดเรื่องนี้ ถึงเวลาแล้วที่นักเขียนจะต้องออกมาบอกกับคนอื่นๆ ในสังคม

ในแวดวงนักเขียนมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับการที่เราออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้ไหม?
ส่วน น้อยครับ ส่วนใหญ่เห็นด้วย แต่ส่วนที่ไม่เห็นด้วยนั้นไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาแถลงการณ์ แต่ว่าไม่เห็นด้วยเพราะรู้สึกว่าทำไปก็ไม่มีประโยชน์ ไม่อิมแพคสังคม เขามองว่าสังคมไทยเปลี่ยนแปลงได้ยาก ไม่สำเร็จหรอก แต่นั่นก็เป็นส่วนน้อย

มีนักเขียนที่เห็นด้วยแต่ไม่กล้าลงชื่อบ้างไหม?
มี นักเขียนที่ให้เหตุผลของการไม่ลงชื่อว่าเขาไม่แนใจว่าเรื่องนี้จะถูกนำไป ใช้ทางการเมืองอย่างไร เขาก็เลยไม่ลงชื่อ แต่เขากลัวด้วยหรือเปล่า ผมคิดว่าคงมี

สิ่งที่อยากจะฝากกับปัญญาชนที่ดูเหมือนไม่มีบทบาทกับเรื่องนี้นัก
จริงๆ มีคนพูดเรื่องนี้ไปเยอะแล้ว เช่น อ.วรเจตน์ (ภาคีรัตน์) อ.สมศักดิ์ (เจียมธีรสกุล) ว่าพื้นที่ทางวิชาการเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของปัญญาชน ไม่ว่านักเขียน นักวิชาการ หรือปัญญาชนต้องออกมาแสดงจุดยืน มันอาจจะไม่ต้องเหมือนกับแถลงการณ์ฉบับนี้ก็ได้ แต่สิ่งที่น่าจะเห็นร่วมกันก็คือ การใช้ม. 112 อย่างไม่เป็นธรรมและถูกนำไปใช้ทางการเมือง กระทั่งมีการคุกคามเกิดขึ้น นี่ก็เป็นเหตุผลที่เพียงพอต่อการที่ปัญญาชนจะต้องออกมาพูดเรื่องนี้

0 0 0

ธิติ มีแต้ม

“ถ้าเราไม่สามารถแสดงออกความเห็นที่แตกต่างได้
เราก็หมดความหมายของการเป็นมนุษย์”
ธิติ มีแต้ม

ตามด้วย ธิติ มีแต้ม นักเขียน –กวีหนุ่มไฟแรง อดีตบรรณาธิการหนังสือปาจารยสาร ขณะนี้กำลังเริ่มต้นเขียนหนังสืออิสระ เขากล่าวว่า

คิดว่าในขณะนี้ปัญหาใดที่มีความสำคัญที่สุด ม.112 หรือ เสรีภาพในการแสดงออกที่ถูกลิดรอนไป? ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
ทั้ง หมดนั่นเป็นปัญหา มันไม่ใช่แค่เสรีภาพในชีวิตขั้นพื้นฐานในการแสดงออก แต่เชื่อมโยงถึงเรื่องปากท้องของคนทั้งหมด อย่างง่ายที่สุดถ้าวันนี้สังคมรับรู้ว่าสถาบันฯ มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นโครงการราชดำริต่างๆ กระทั่งการถือหุ้นในบริษัทใหญ่ๆ เมื่อสังคมรับรู้ว่ามีการลงทุนสร้างอะไรขึ้นมาที่มีผลกับประชาชน มันเป็นปกติที่ต้องมีการตั้งคำถาม ตรวจสอบ เหมือนที่สังคมตั้งคำถามกับนักธุรกิจ หรือนักการเมือง

แต่การจะพูด เรื่องนี้ กลับถูกควบคุมด้วยจารีตแบบไทยๆ โดยมี ม. 112 เป็นเครื่องมือ จารีตแบบไทยๆ ก็คือ การพูดถึงสถาบันฯ ไปในเชิงที่เห็นต่างจากการสรรเสริญ แม้ไม่ได้เป็นการหมิ่น ดูถูก แต่กลับแสดงออกในที่สาธารณะไม่ได้ เพราะมีความกลัวที่ครอบงำไว้ การเห็นต่างจากการสรรเสริญ ไม่ใช่การหมิ่นฯ แต่เป็นความรู้สึกสามัญของมนุษย์ ถ้าเราไม่สามารถแสดงออกความเห็นที่แตกต่างได้ เราก็หมดความหมายของการเป็นมนุษย์ ซึ่งการเห็นต่างไม่ได้ส่งผลให้สถาบันฯ เสื่อมเสียแต่อย่างใด

0 0 0

ณรรธราวุธ เมืองสุข

ทางด้าน ณรรธราวุธ เมืองสุข สื่อ มวลชน-นักเขียนที่คลุกคลีอยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งในภาคใต้ มีผลงานหนังสือชื่อ “เป็นเขาและเป็นแขก” เขาจะมีความคิดเห็นอย่างไรต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯขณะ นี้

“จะเรียกผมว่าเป็นฝ่ายเอาเจ้าก็ได้ หรือพวกเฉยๆ ก็ได้ ผมพูดถึง "คุณ" ของสถาบันก็ได้
จะให้วิจารณ์ก็ได้ เพราะอย่างที่บอกในตอนต้นว่า
ผมไม่เคยรู้สึกว่าอยู่ในประเทศนี้แล้วมาตรา 112 ทำให้ขาดสิทธิเสรีภาพทางความคิด
ไม่เคยรับรู้หรืออีนังขังขอบกับมันเลยด้วยซ้ำ”

“เพราะคำว่าพันธกิจของนักเขียนในมุมของผม
ผมไม่ได้จำกัดแค่ประชาชนเท่านั้น โลก จักรวาล ต้นไม้ ใบหญ้า
มันเป็นพันธกิจได้ทั้งนั้น อยู่ที่ว่านักเขียนจัดวางตัวเองไว้ในมุมไหน”
ณรรธราวุธ

ทำไมถึงลงชื่อในแถลงการณ์นี้?
ผม ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์นี้ในฐานะของคนทำงานเขียนหนังสือ หรือสื่อที่ไม่ได้มีผลกระทบจากทางใดทางหนึ่งของมาตรา 112 เลย และผมไม่เคยรู้สึกอย่างนั้น เพราะอย่างไรเสีย งานที่ผมทำอยู่ไม่มีทางและไม่มีวันไปเกี่ยวข้องกับกฏหมายหรือเนื้อหาข้อ บังคับจากมาตรานั้นอย่างแน่นอน

เพราะฉะนั้นคำถามคือ เหตุใดผมจึงร่วมลงชื่อ แน่นอน ไม่ใช่การโหนกระแสไปกับเพื่อนนักเขียน ผมว่ามันไร้สาระที่ใครวิจารณ์เช่นนั้น การลงชื่อไม่ทำให้หนังสือผมขายได้มากขึ้นหรือทำให้คนชื่นชมผมมากขึ้นแน่ แม้ ว่าผมจะสนิทสนมกับหลายคนที่ร่วมลงชื่อเป็นเพื่อนพี่น้องที่มีความเข้มข้นใน มิตรภาพมาก แต่ในระดับความคิดความเชื่อทางการเมืองมีความแตกต่างกันพอสมควร ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ผมแวะไปที่ออฟฟิศของไรเตอร์ นั่งดื่มนั่งคุยกันกับคุณวรพจน์ พันธุ์พงศ์ และคุณต้อ บินหลา(สันกาลาคีรี) รู้กันอยู่ว่าวรพจน์ พันธุ์พงศ์ ความคิดความเชื่อแกเป็นอย่างไร ผมเห็นต่างกับแกเยอะมาก แต่.. ความเป็นเพื่อนเป็นพี่น้องมันต้องคุยกันได้ คุณบินหลาเสียอีกที่เราคิดเห็นคล้ายกันหลายเรื่อง แต่ทั้งสองคนนั้นยังทำงานด้วยกันได้ในฐานะคณะ บ.ก.ไรเตอร์ ฉะนั้น ในความแตกต่างนี้มันจึงมีจุดเชื่อมถึงกันอยู่ สถานะคนในแวดวงวรรณกรรมนั่นคือหนึ่ง

แต่สอง ผมว่าคือการมองเห็นผลร้ายของการใช้มาตรา 112 ที่ผ่านมา คนอย่างสมศักดิ์ เจียมฯ ไม่ควรใช้ ม.112 มาย่ำยีเสรีภาพของแก เพราะเรื่องที่แกพูดมันทำให้แกดูเป็นคนเหงามากพออยู่แล้ว แต่ความกล้าหาญทางจริยธรรมของนักวิชาการของแกไม่ควรทำลายกัน ซึ่งคนที่ทำลายไม่ใช่ใครที่ไหน มันดันเป็นทหาร มันย้ำภาพเดิมให้ชาวบ้านชาวช่องเขาด่าอีกว่า ทหารนี่มันใช้เท้ามากกว่าหัว เอะอะก็ตบเท้า ตบเท้า

ผมเชื่อว่าในเกือบสองร้อยรายชื่อที่ลงไป ความเห็นทางการเมืองไม่เหมือนกันทั้งหมด บางคนแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หลายคนคงจะออกตัวเหมือนกันผมคือ ลงชื่อเพื่อแก้ไขเพื่อป้้องกันการนำมาตรา 112 ไปใช้ทำลายกัน เพราะมองเห็นการใช้ 112 เพื่อทำลายกันที่ผ่านมา แต่บอกชัดเจนว่า ผมลงชื่อเพื่อการแก้ไขเท่านั้น หากเป็นการลงเพื่อยกเลิก หรืออนาคตใครจะเอาแถลงการณ์นี้ไปใช้ในการณ์อื่น ผมจะขอถอนชื่อและจะพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป

คนทำงานสื่อมันมีความเป็น เสรีชนสูง วงการนี้ไม่มีใครจูงจมูกใครง่ายๆ หรอก เพราะฉะนั้นน่าจะเข้าใจกันได้ว่ามันไม่ใช่เรื่องที่เราประชุมโต๊ะยาวๆ โยนเงินลงมาโครม! เอาชื่อเราไปใช้ ผมว่าคนคิดแบบนั้นมันโง่มากๆ

คิดว่าประเด็นใดสำคัญที่สุดที่จะต้องมีการผลักดันเปลี่ยนแปลงแก้ไข ม.112 หรือ การลิดรอนเสรีภาพทางความคิด? หรือทั้งหมด?
จะ เรียกผมว่าเป็นฝ่ายเอาเจ้าก็ได้ิ หรือพวกเฉยๆ ก็ได้ ผมพูดถึง "คุณ" ของสถาบันก็ได้ จะให้วิจารณ์ก็ได้ เพราะอย่างที่บอกในตอนต้นว่า ผมไม่เคยรู้สึกว่าอยู่ในประเทศนี้แล้วมาตรา 112 ทำให้ขาดสิทธิเสรีภาพทางความคิด ไม่เคยรับรู้หรืออีนังขังขอบกับมันเลยด้วยซ้ำ นั่นเฉพาะตัวผมนะครับ คนอื่นผมไม่ทราบ

นับตั้งแต่หลังจากรัฐประหาร 19 กันยา ผมเห็นการใช้มาตรา 112 มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลแกโดน แล้วแกพูดถึงความกลัวของแก แกเป็นนักวิชาการ ใช้สมองและความรู้ ใช้การค้นคว้าเพื่อมาส่งเสียง คนที่ฟ้องต้องอ่านมาก ศึกษางานของแกมาก ไม่อย่างนั้นคุณไม่สามารถทะลุกรอบวิชาการเข้าไปตีโต้ได้เลย แต่สุดท้ายมาใช้อารมณ์ ใช้ความเชื่อ ไม่ได้ใช้ความรู้ กระทั่งอาจารย์สมศักดิ์เขาเริ่มโดนคุกคาม ผมจึงคิดว่าไม่ไหวแล้ว นี่มันไม่ได้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์เลย แต่มันเป็นแค่ประชาชนเรานี่แหละ คือคนที่ตีกรอบบัญญัติกฏเกณฑ์ทางสังคมว่าอะไรได้ไม่ได้

ผมเรียกว่า “เผด็จการทางสังคม” เหมือนผู้คุมกฏ พอนานเข้ามันรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ ใช้สิ่งที่เหนือกฏหมายและจริยธรรมมาเล่นงานคนอื่นมากขึ้น ผมคิดว่าเราต้องล้างสิ่งนี้ ล้างคนทำตัวเป็นผู้คุมออกไป และทำให้มาตรานี้ไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร ไม่มีใครกล้าทำตัวเป็นผู้คุมกฏ ทำให้ประชาชนที่เขาต้องการใช้เสรีภาพเรื่องนั้นไม่อึดอัด

ที่ผมร่วม ลงชื่อและรู้ว่ามันเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้มาก แต่อย่างน้อยมันทำให้คนรู้ว่า คนที่เป็นนักเขียน เป็นสื่อเขาไม่ได้วางเฉยแขวนตัวเองไว้ในถ้ำอย่างเดียว

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคิดว่าทำไมนักเขียน ปัญญาชนถึงหลบเงียบ ไม่ออกมาพูดเรื่องนี้?
ที่ ผ่านมานักเขียนไม่ได้หลบเงียบนะ เราต้องถามว่าใคร? และคุณได้อ่านงานเขาหรือเปล่า หรือคุณเป็นคนที่อยู่นอกเหนือจาก 7 บรรทัดในประเทศของเรา แต่อย่างที่บอก คนทำงานเขียนหนังสือเลี้ยงชีวิตหลายคนเขาไม่ได้รู้สึกว่า เราต้องแบกรับอะไรที่เป็นกระแส นักเขียนมันมีความเป็นปัจเจกสูง ดีชั่วคิดกันเอาเอง ใครจะคิดจะเชื่ออะไรก็เรื่องของคนนั้นรับผิดชอบกันเอาเอง

คือผมไม่ ได้เชื่ออย่างที่นักเขียนหลายคนเชื่อ อย่างเรื่อง พันธกิจของนักเขียน หรือความรับผิดชอบต่อประชาชน อะไรก็แล้วแต่ คือถ้าหลายคนเงียบเรื่อง 112 ผมจะไม่โทษเลย เช่นเดียวกับการตายที่ราชประสงค์ ผมเชื่อว่าเขามีสภาวะหรือคำอธิบายของเขาอยู่ เพราะคำว่าพันธกิจของนักเขียนในมุมของผม ผมไม่ได้จำกัดแค่ประชาชนเท่านั้น โลก จักรวาล ต้นไม้ ใบหญ้า มันเป็นพันธกิจได้ทั้งนั้น อยู่ที่ว่านักเขียนจัดวางตัวเองไว้ในมุมไหน บางคนอาจไม่เข้าใจตรงจุดนี้ เหมือนผม เลือกที่จะตั้งคำถามในหลายเรื่อง ซึ่งรู้ว่าพูดไปก็โดนด่า อย่างเช่น ผมพูดถึงความตายของคนภาคใต้ 4,000 กว่าศพนะ ผมเอาตัวเองลงไปคลุกกับมัน แต่ที่ผ่านมาผมไม่ส่งเสียงเรื่องการตายที่ราชประสงค์ ผมเลือกจะไม่พูดถึงเอง เพราะคำถามในใจของผมมีเยอะ และมันยังไม่เจอคำตอบที่ดี

ฝากอะไรถึงปัญญาชน นักเขียนรุ่นใหม่ไหม?
ไม่ มีอะไรจะฝาก เชื่อว่าพวกเขาก็ปัจเจกพอดู หลายคนอาจเลือกพูดในเรื่องที่เป็นประโยชน์ในมุมของเขา ซึ่งในวินาทีนั้นเราอาจนั่งกระดิกเท้าเล่น Facebook อยู่ก็ได้ ประเด็นผมก็คือ ถ้าเราจะสนับสนุนเสรีชน เราก็ต้องสนับสนุนอย่างจริงจัง อย่าเรียกร้องให้พวกเขาคิดหรือทำอย่างที่เราเชื่อ มันไม่มีความจริงใดเป็นที่สุดหรอก ยุคนี้เราพูดกันมากเรื่องความเป็นเสรีชน อย่าให้มันแปลกแปร่งลักลั่นมากนัก วิพากษ์ได้ วิจารณ์ได้ แต่อย่าวิพากษ์แบบรวมศูนย์ความจริง เพราะสุดท้ายคำถามนั้นจะย้อนกลับไปสู่คนถามเองว่า แล้วในขณะที่คุณตั้งคำถาม คุณได้ลงมือทำอะไรต่อเรื่องนี้บ้างหรือยัง?

เพราะฉะนั้น สำหรับผมต้องเปิดใจให้กว้างว่าสังคมเรามีคนเห็นต่างกันเยอะ มันไม่ใช่เรื่องที่เขาขี้ขลาดแอบอยู่หลังคำอธิบายแบบปัจเจกชน เพราะสิ่งที่คุณเรียกร้องอาจเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับอีกคน ผมเชื่ออย่างนั้น จะว่าผมวิพากษ์ทวนกระแส อ.ชูศักดิ์ก็ได้ เพราะผมไม่ได้เชื่ออย่างนั้น หลายคนอาจสะใจที่แกวิพากษ์กวี นักเขียน ในขณะที่ผมเศร้า เศร้าเพราะ มาตรา 112 มันจำกัดเสรีภาพของบางคนอยู่แล้ว ยังมีคนมาตีความจำกัดทางเดินให้นักเขียนหรือกวีอีก ผมว่ามันเป็นเรื่องน่าเศร้า

0 0 0

นักเขียนผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

“จริงๆประเด็นที่ผมสนใจไม่ใช่ตัวกฏหมาย 112 ผมคิดว่าทางนิติราษฎร์พูดไว้ละเอียดแล้ว
แต่ที่น่าสนใจคือการเคลื่อนไหวของตัวจดหมาย”

“แต่ในทางกลับกันมันก็กลายเป็น 'การกระทำทางปัญญาของปัญญาชน'
ที่แยกตัวเอง ลอยตัวเองออกจากความขัดแย้งพื้นฐาน”

นักเขียน – คอลัมนิสต์ผู้ร่วมลงชื่อ แต่ไม่ประสงค์จะออกนาม

นักเขียนผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

คิดอย่างไรกับการลงชื่อในแถลงการณ์นี้?
เพราะ ว่าเห็นด้วยกับเนื้อหาในจดหมายครับ จริงๆ ในส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับตัวกฏหมาย ทางนิติราษฏร์ได้ฉายภาพปัญหาในเรื่องตัวบทและการบังคับใช้ของมันหมดแล้ว ซึ่งเราก็เห็นตามนั้น

แน่นอนว่าอย่างที่เราเห็นคือมันถูกใช้เป็น เครื่องมือทางการเมืองในการ ทำลายผู้อื่น แต่สิ่งที่เราสนใจคือการที่เราไม่ตระหนักว่าแม้กฎหมายฉบับนี้จะไม่เกี่ยว ข้องกับเราเลยไปตลอดทั้งชีวิต แต่การดำรงคงอยู่อย่างคลุมเครือ และการถูกนำมาใช้อย่างไม่มีทางตอบโต้ของมันนั้นขัดแย้งกันเองกับหลักการพื้น ฐานของประชาธิปไตย การสร้างความกลัวถึงขนาดระดับที่แค่พูดถึงก็ไม่สามารถพูดได้ จะมีแต่ทำให้ทุกอย่างแย่ลง แม้กระทั่งการให้สัมภาษณ์นี้ถึงที่สุดก็ต้องระมัดระวังอย่างที่สุด อันนี้คือบรรยากาศแห่งความกลัว ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีใครคิดร้ายต่อใครเลย

จริงๆ ประเด็นที่ผมสนใจไม่ใช่ตัวกฏหมาย 112 ผมคิดว่าทางนิติราษฎร์พูดไว้ละเอียดแล้ว แต่ที่น่าสนใจคือการเคลื่อนไหวของตัวจดหมาย

การ อธิบายจะทำให้ผมเสี่ยงทางวรรรกรรมมากเลยฮะ ฮา! คือคิดไว้ตั้งแต่ลงชื่อแล้วว่าจริงๆ ตัวจดหมายนี้ไม่ได้มุ่งหวังความเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม ประเภทช่วยสมยศออกจากคุกอะไรแบบนั้น แต่เป็นการมุ่งหวังที่จะโยนหินลงไปในบึงของนักเขียน( ปัญญาชน?) ที่นิ่งสนิทมากกว่าครับ พลังของมันคือการก่อให้เกิดการถกเถียงในแวดวงมากกว่าพลังทางสังคมอื่นๆ ซึ่งจะว่าไปมีแถลงการณ์น้อยชิ้นมากที่จะส่งผลได้ไกลอย่างที่ตัวบทมันเขียน ส่วนการล่าแม่มดเป็น side effect ประการหนึ่ง

ทีนี้ถ้าวิเคราะห์ตัว จดหมายดีๆ ผมเองเห็นว่ามันเป็นจดหมายที่เปิดพื้นที่กว้างพอสมควร คือไม่ว่าจะเป็นสายไหนสีไหนก็สามารถคิดเรื่องนี้ได้ แต่ในทางกลับกันมันก็กลายเป็น 'การกระทำทางปัญญาของปัญญาชน' ที่แยกตัวเอง ลอยตัวเองออกจากความขัดแย้งพื้นฐาน เพราะการต่อสู้ทางการเมืองเรื่องสีเป็นมวลชน แต่สิทธิเสรีภาพทางการพูดเป็นเรื่องของปัจเจกชน การลอยตัวอยู่หนือความขัดแย้งนี้จึงปรากฏให้เห็นว่าเรามีนักเขียนจากทั้ง ฝั่งแดง หรือฝั่งตึก (ไม่ใช่ฝั่งเหลือง) มาร่วมกันลงชื่ออย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันภายใต้คำว่า “นักเขียน” เพราะจริงๆจดหมายนี้ไม่ได้แปดเปื้อนความป็นแดง ความเป็นขี้ข้าทักษิณหรืออะไร แต่อย่างที่บอกนี่้ไม่ใช่เรื่องดีหรือไม่ดี มันเป็นข้อขัดแย้งในตัวมันเอง แต่ก็ขอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ครับ

เห็น ด้วยมากที่แถลงการณ์นี้ทำให้เกิด แรงกระเพื่อมกับคนที่อยู่นิ่งๆ เกิดการตั้งคำถามต่อสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะคนนอก Facebook ที่มีการตั้งคำถามว่า สิ่งที่เป็นอยู่ควรเปลี่ยนแปลงไหม แล้วทีนี้หลังจากที่เราโยนหินถามทางแล้ว แผนต่อไปคืออะไร?
ผมเอง ก็ไม่ใช่หัวหอกในการแถลงนะฮะ แต่คงต้องรอดูวงน้ำกระเพื่อมอีกครั้ง ว่าจะไปทางไหนต่อถ้ามันนำไปสู่การพูดคุยเรื่องนี้ในวงกว้าง (จริงๆอย่างน้อยในแวดวงนักเขียนหรือคนทำสื่อก็อาจจะช่วยได้ ถ้่าเรายังหวังกับนักเขียนขนาดนั้น) ว่าจะต่อยอดเรื่องนี้ออกไป แต่ที่ประมาทไม่ได้ และเริ่มโดนไปกันบ้างแล้วคือการล่าแม่มด

พูดถึงเรื่องการล่าแม่มดนี่ เราหรือเพื่อนนักเขียนเจอล่าแล้วหรือยัง? แล้วมีมาตรการรับมือ จัดการกับมันยังไง?
ผม ยังไม่เจอฮะ (รอบนี้) แต่จัดการไม่ได้หรอกมั้งฮะ ต้องเร้นตัวกันอย่างเดียว อย่าที่คานธีว่า ถ้าแกล้งหลับคงปลุกไม่ได้ แต่นี่ก็อธิบายบรรยากาศแห่งความกลัวได้เลย มันไม่ได้กลัวชั้นเดียวว่าเราจะโดนเล่นงานโดยกฏหมาย แต่เราอาจโดนเล่นจากกฎหมู่ซึ่งอันตรายกว่า ไม่มีการควบคุม และเล่นกันถึงเลือดถึงเนื้อมากกว่าด้วย