WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, May 24, 2011

กรุงเทพโพลล์ ชี้คนกรุงอยากได้"ยิ่งลักษณ์" เป็นนายกฯ เลือก"เพื่อไทย"ทั้งปาร์ตี้ลิสต์และเขต

ที่มา มติชน

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,178 คน โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 20 - 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา พบว่า เกณฑ์ที่คนกรุงเทพฯ ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ อันดับแรก ดูจากผลงานที่ผ่านมาในอดีต (ร้อยละ 31.7) รองลงมาดูนโยบายที่หาเสียง (ร้อยละ 31.2) และดูพรรคที่สังกัด (ร้อยละ 16.6) ตามลำดับ

สำหรับ คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง (ส.ส.) ในระบบบัญชีรายชื่อ พบว่า พรรคที่ได้คะแนนนิยมมากที่สุดได้แก่ พรรคเพื่อไทย (ร้อยละ 25.8) รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 14.7) และพรรครักประเทศไทย (ร้อยละ 2.0) อย่างไรก็ตามมีถึงร้อยละ 52.0 ที่ระบุว่ายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกคนของพรรคใด

ส่วน คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในระบบแบ่งเขต พบว่า คนกรุงเทพฯ ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยมากที่สุด (ร้อยละ 26.3) รองลงมาคือ ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 15.2) และผู้สมัครจากพรรครักประเทศไทย (ร้อยละ 1.7) ขณะที่มีถึงร้อยละ 51.9 ระบุว่ายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร

เมื่อสอบถามว่าอยากได้ใคร มาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด พบว่าอันดับแรกได้แก่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ร้อยละ 26.9) รองลงมาคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 17.4) และนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ (ร้อยละ 3.6) ขณะที่อีกร้อยละ 49.2 ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกใครดี

ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบ คุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมพบว่า ร้อยละ 66.1 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย ขณะที่ร้อยละ 33.9 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก