WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 25, 2011

มุกหอม วงษ์เทศ: ท่าทีเบื้องต้นกับข้อเสนอเบื้องต้นเพื่อการปฏิรูปอุดมการณ์และวัฒนธรรมกษัตริย์นิยม

ที่มา ประชาไท

“ประเทศไทยมีเสรีภาพทางความคิดไม่ได้”* เป็นวรรคทองแห่งประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ที่ตรงเป้าที่สุด เข้าใจง่ายที่สุด และจริงแท้ที่สุด

อย่างไรก็ตามหากเป็นเมื่อราวหกเจ็ดปีก่อน นึกอย่างไรข้าพเจ้าก็นึกไม่ออกว่าจะมีวันที่การต่อต้านท้าทายกฎหมายหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพโดยเปิดเผย, แต่ในระดับ ท่วงท่า และการเมืองของการแสดงจุดยืนที่แตกต่างกัน, สามารถเกิดขึ้นได้จริงๆ ในสังคมไทย สังคมที่ดูราวกับจะดื่มด่ำกับการดำดิ่งอยู่ในยุคดำมืดไปตลอดชั่วนิจนิรันดร์

เมื่อความตื่นตัวตาสว่างแพร่ระบาดไปทั่วทุกหย่อมหญ้า, เมื่อประชาชนนับร้อยถูกทหารยิงเจ็บยิงตายกลางเมือง, เมื่อผู้บงการและผู้ปฏิบัติงานยังยิ้มแย้มแจ่มใสในความเป็นคนดีผีคุ้ม, เมื่อสื่อส่วนใหญ่ยังร่วมมือร่วมใจใส่ร้ายป้ายสี, เมื่อคนเสื้อแดงยังถูกจับกุมคุมขังแบบไร้ขื่อไร้แป, เมื่อความมีอารยธรรมถูกบิดเบือนตลบแตลงให้เป็นอาชญากรรม ฯลฯ การต่อสู้กับความวิปริตวิตถาร ไล่ล่าหาความยุติธรรม และเรียกร้องกดดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในระดับโครงสร้างย่อมเป็น พันธกิจแห่งยุคสมัยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

แน่นอน, พันธกิจนี้ไม่ใช่ของทุกคน ไม่สามารถเรียกร้องจากทุกคน และไม่จำเป็นต้องกำหนดกฎเกณฑ์มาตรฐานให้เท่ากันทุกคน แต่การมีใจที่จะเห็นความชอบธรรมของพันธกิจนี้ และการไม่เข้าไปร่วมหนุนเสริมพลังฝ่ายจารีตนิยมที่กระเหี้ยนกระหือรือในการ บ่อนทำลายและกวาดล้างพลังแห่งความเป็นสมัยใหม่ ย่อมเป็นการทำความเข้าใจขั้นต้นและการวางตนขั้นต่ำที่ทุกคนพึงมีพึงกระทำ

ในทำนองเดียวกับการเรียกร้องประชาธิปไตยอันมีการเลือกตั้งเป็นประธานซึ่ง เป็นการเรียกร้องความศิวิไลซ์แบบสมัยใหม่ขั้นพื้นฐานเพื่อจะทะลวงออกไปจาก วัฒนธรรมการเมืองแบบศักดินานิยมอันไร้ความศิวิไลซ์ ถึงปัจจุบันขณะนี้การเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ มาตรา 112 ได้กลายเป็นการแสดงท่าทีเบื้องต้นหรือการแสดงจุดยืนขั้นต่ำสุดของการสลัดตัว ออกจากปลักตมของวัฒนธรรมขวาจัดอนุรักษ์นิยมจัดอำนาจนิยมจัดซึ่งสำแดงความ สถุลสามานย์และสกปรกโสโครกเกินกว่าใครก็ตามที่มีสติสัมปัชชัญญะและมโนธรรมจะ รับได้

ความเคลื่อนไหวนี้เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างน้อยก็คล้ายกับจะบังเกิดฉันทามติในระดับหนึ่งว่า การมีอยู่และจารีตการบังคับ-แอบอ้าง-มั่วใช้กฎหมายรอยัลลิสต์อันแสนอนารยะ มาตรานี้ได้สร้างภาวะยุคเข็ญในบ้านเมืองอย่างไม่เคยมีมาก่อน ไม่มีเหตุผลใดนอกจากความไร้เหตุผลจะโต้แย้งข้อเท็จจริงและความจริงที่แยง ทะลุดวงตาทุกข้างที่ไม่บอดว่า กฎหมายหมิ่นฯ เป็นภัยสูงสุดต่อความมีอารยะของสังคมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในทุกอาชีพ และที่ไม่มีอาชีพ หากจะแถมข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรด้วย ก็ควรจะเข้าข่ายเช่นกัน

ทว่าก็เช่นเดียวกับขบวนรถไฟสายก้าวหน้าแทบทุกขบวน ทุกคนที่กระโดดขึ้นไม่จำเป็นต้องหล่อเลี้ยงอุดมการณ์ชนิดหนึ่งชนิดใดเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกัน รวมทั้งยังอาจมีความคิดเห็นแตกต่างกันไปคนละทิศคนละทาง คนละข้างคนละขั้วในเรื่องสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบันซึ่งมี ลักษณะของความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตยอยู่อย่าง เด่นชัด และในเรื่องขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความยุติธรรมของประชาชนคนเสื้อ แดง

หากในที่สุดแล้ว ผลสัมฤทธิ์ของการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับจำนวนเป็นสำคัญ การรณรงค์ทางการเมืองก็จำเป็นต้องอาศัยจำนวนเพื่อผลักดันประเด็นข้อเรียก ร้องเช่นกัน นี่ย่อมเป็นย่างก้าวสำคัญที่การเล็งเห็นปัญหาเกี่ยวกับความเป็นการเมืองของ สถาบันกษัตริย์เริ่มมีที่ทางมากขึ้นทีละน้อย ไม่ว่าการออกมาลงชื่อเรียกร้องของแต่ละปัจเจกบุคคลจะเกิดจากแรงผลักดัน แรงกดดัน หรือแรงจูงใจที่แท้จริงอะไรก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีล่าสุด - จดหมายเปิดผนึกถึงนักเขียนไทยให้ร่วมลงชื่อเรียกร้องการแก้ไขมาตรา 112

ต้องไม่ลืมด้วยเช่นกันว่า การเลือกที่จะแสดงจุดยืนทางการเมืองที่เฉพาะเจาะจงอย่างหนึ่ง เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ในสภาวะทางการเมืองที่ยุ่งเหยิงซับซ้อน ย่อมหมายถึงการเลือก-หรือได้ใช้โอกาสในการเลือกนั้น-ที่จะไม่ต้องแสดงจุดยืน ทางการเมือง แบบอื่น ในกระแสการเคลื่อนไหวขับเคี่ยวทางการเมืองที่เกี่ยวโยงกันแต่ทว่าสร้างความ กระอักกระอ่วนใจกว่า อาทิ ขบวนการเสื้อแดง ซึ่งหลายคนยังตัดสินใจไม่ได้ว่าเป็นพวกเรียกร้องประชาธิปไตยและความเสมอภาค ทางการเมืองจนถูกล้อมปราบ หรือเป็นพวกถูกหว่านล้อมชักจูงจากนักการเมืองฝ่ายทักษิณจนออกมาเผาบ้านเผา เมือง หลายคนหลับหูหลับตาปักใจว่า คือพวกหลังร้อยเปอร์เซ็นต์ และหลายคนก็เห็นอกเห็นใจว่าน่าจะเป็นพวกแรกมากกว่าพวกหลัง แต่ไม่อยากแปดเปื้อนกับภาพลักษณ์ความเกี่ยวโยงกับ “ทักษิณ”, ความเป็น “นักการเมือง” และ “ชาวบ้าน” ที่เต็มไปด้วย “ความไม่ถูกต้องทางการเมือง” รวมทั้งความเป็น “เสื้อแดง” เองที่ถูกรังเกียจจงเกลียดจงชังจากสังคมกระแสหลักและกระแสครอบงำ

สรุปอย่างสั้น การเชิดชูเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการต่อต้านวัฒนธรรมอำนาจนิยมขวา จัด-ล้าหลังคลั่งชาติคลั่งเจ้าจัดค่อยๆ สั่งสมบารมีจนกลายเป็น “ท่าทีเบื้องต้น” หรืออาจกระทั่งเป็น “เทรนด์” ที่นักฉวยโอกาสผู้มีธาตุแท้เป็นพวกชิงชังเสรีประชาธิปไตยสบช่องที่จะมุดแทรก เข้าไปร่วมประกาศตัวเพื่อขอรับเหรียญตราด้วย แต่การเมืองของความเป็นเสื้อแดงและการเมืองของการต่อสู้เรียกร้องการเปลี่ยน แปลงระดับถึงราก ยังไม่ใช่

แม้ว่าแถลงการณ์ของนักเขียนจะเชิดชูสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไม่มาก ไปกว่าการเชิดชูความเป็นนักเขียนเอง เราก็ไม่ควรดูแคลนเจตนารมย์เพื่อยืนหยัดในความถูกต้องยุติธรรมของใคร แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรดูเบาเจตนาเกาะกระแสสร้างภาพของใครเช่นกัน ในแง่ที่งามที่สุด การร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกของนักเขียนและกวีบางคนคือความกล้าหาญทาง จริยธรรมที่น่ายกย่อง แต่ในแง่ที่อัปลักษณ์ที่สุด การร่วมลงชื่อของนักเขียนและกวีบางคนเป็นเพียงการชุบตัว ฟอกตัว และสร้างตัว

ท่ามกลางสภาวะฝุ่นตลบในสมรภูมิที่ฝุ่นใต้ตีนเผยอตนทำตัวเป็นตีนไล่เหยียบไล่ ขยี้คนที่ไม่ยอมเป็นฝุ่น แนวหน้าหรือหัวหมู่ทะลวงฟันของการผลักดันประเด็นทางสังคมการเมืองไปสู่ขอบ ฟ้าใหม่ หากไม่ radical เกินไปจนถูกปัดตก ถอยหนี หรือเมินเฉยไปเสียแต่แรก ก็จะค่อยๆ ขยายแนวร่วมให้กว้างขวางและหลากหลายขึ้นจนเป็นตัวกำหนด “ท่าทีเบื้องต้น” ของแวดวงปัญญาชนโดยรวมซึ่งประกอบไปด้วยผู้คนที่มีอุปนิสัยใจคอและความคิดทาง วัฒนธรรมการเมืองหลายเฉด

ท่าทีเบื้องต้นของแต่ละยุคสมัยนี้เอง คือมาตรฐานทางจริยธรรมการเมืองที่แสดงออกต่อสาธารณะของฝ่ายก้าวหน้าในยุค สมัยนั้นๆ หากการ “เรียกร้องประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการทหาร” ในการเคลื่อนไหวยุค 14 ตุลาได้สร้างแบบแผนของท่าทีเบื้องต้นของยุคสมัยนั้นขึ้นมาท่ามกลางความหลาก หลายทางอุดมการณ์ของขบวนการนักศึกษาและปัญญาชนไทย การเรียกร้องประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่มีการเลือกตั้ง การต่อต้านวัฒนธรรมอำนาจนิยมเผด็จการแบบจารีตและราชการ (เช่น การเซ็นเซอร์ การเทศนาและยัดเยียดมาตรฐานคับแคบทางศีลธรรม ฯลฯ) และการต่อต้านการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างฉ้อฉล ก็คือการแสดงจุดยืนเบื้องต้นร่วมกันของฝ่ายก้าวหน้าในปัจจุบันที่ มิอาจน้อยไปกว่านี้ได้

แน่นอนว่าแค่การเรียกร้องขั้นต่ำสุดให้ “แก้ไข” กฎหมายที่มีปัญหาใหญ่หลวงฉบับนี้ (ซึ่งอันที่จริง ยังไม่ถึงมาตรฐานของสังคมเสรีประชาธิปไตยจริงๆ อีกทั้งมิได้มีลักษณะ radical จนทำให้พวกที่มีความคิดกลางๆ แต่ก็ไม่อยากล้าหลังรับไม่ได้) สำหรับกลุ่มขวาจัด กลุ่มล่าแม่มด และมวลชนนิยมเจ้าซึ่งมีชื่อเสียงระบือลือเลื่องทางด้านการไม่สามารถใช้ เหตุผลและความบ้าคลั่งไม่ลืมหูลืมตาแล้ว ก็ยังทนทานไม่ได้จนต้องดาหน้ากันออกมาแสดงความโง่เขลาและป่าเถื่อนให้ควรค่า กับเกียรติภูมิที่สั่งสมมา

ส่วนการออกมาคัดค้านจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวของนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมด้วยเหตุผลว่าไม่เคยเห็นกฎหมายหมิ่นฯ ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และอ้างว่าประเทศอื่นๆ ต่างเสียดายที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์นั้น ได้แต่เพิ่มพูนความน่าสังเวชเวทนาซ้ำแล้วซ้ำอีกให้กับเกียรติประวัติของนิ พิฏฐ์เองเท่านั้น พร้อมทั้งชวนให้พินิจว่าการยุบกระทรวงวัฒนธรรมไปเลยน่าจะช่วยบรรเทาให้สังคม ไทยไม่ตกต่ำทางวัฒนธรรมมากไปกว่านี้

แน่นอนอีกเช่นกันว่า การแก้ไขหรือยกเลิกตัวบทกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรมเป็นความจำเป็นเฉพาะหน้า แต่ทว่าการปรับเปลี่ยนแก้ไขวัฒนธรรมอุดมการณ์ซึ่งเป็นรากฐานบ่อเกิดของทุก สิ่งทุกอย่างก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำควบคู่กันไปด้วย ต่อให้ตระหนักว่ายากยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นเขาไกรลาสก็ตาม

ในเมื่ออุดมการณ์และวัฒนธรรมเป็นทั้งต้นตอและตัวกำกับโลกทัศน์-ความรู้สึก นึกคิด-พฤติกรรมของปัจเจก วิถีปฏิบัติทางสังคม การบัญญัติ ตีความและบังคับใช้ทาง (นอก) กฎหมาย จารีตประเพณีที่ไม่ได้ตราไว้ในรัฐธรรมนูญ และอะไรต่อมิอะไรอื่นๆ สิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณารณรงค์แก้ไขยกเลิกเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูป สถาบันกษัตริย์ หรือความจริงแล้วคือการทำให้การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เป็นไปได้อย่างแท้จริง จึงคือวัฒนธรรมอุดมการณ์กษัตริย์นิยม อันมีฐานมาจากการผสมปนเปกันระหว่างคติพราหมณ์เรื่องสมมติเทพ คติพุทธเรื่องธรรมราชาและทศพิธราชธรรม อุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ผนวกกับชาตินิยมแบบราชการ ประกอบกับการปลูกฝังการเทิดทูนสักการะสถาบันกษัตริย์อย่างหนักหน่วงในรอบ หลายสิบปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้อุดมการณ์ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีของทุกสังคมวัฒนธรรมในโลก นี้ล้วนถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์แต่มักยึดมั่นถือมั่นกันว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ หรือโองการจากสวรรค์ ขนบธรรมเนียมประเพณีอาจมีความสืบเนื่อง ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่แต่อ้างว่าเป็นของเก่าแก่โบร่ำโบราณ และย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้ตามยุคสมัย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ควรยกเลิกจึงคือขนบธรรมเนียมประเพณีที่กดขี่-ขืน ใจ-ขัดแย้งกับหลักสิทธิเสรีภาพและหลักความเสมอภาคสมัยใหม่อย่างมิอาจเคียง ขนานไปด้วยกันได้ จารีตประเพณีเหล่านี้มีทั้งที่มีมาแต่โบราณ สร้างขึ้นใหม่ รวมทั้งที่เคยถูกยกเลิกไปแล้วแต่กลับมาได้รับความนิยมใหม่ยิ่งกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น ประเพณีการหมอบคลานเข้าเฝ้าเคยถูกประกาศยกเลิกไปแล้วโดยพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ห้าด้วยเห็นว่าเป็นประเพณีที่เป็นต้นเหตุแห่งการ “กดขี่แก่กันทั้งปวง” ในขณะที่บ้านเมืองที่เจริญกว่าอื่นๆ ต่างยกเลิกกันไปหมดแล้ว แต่ในเวลาต่อมาวัฒนธรรมอุดมการณ์กษัตริย์นิยมที่ถูกโหมกระพือขึ้นในยุค ประชาธิปไตยกำมะลอได้ทำให้การหมอบคลานกลายเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงอารยธรรมชั้นสูง อย่างกลับตาลปัตรกับคำประกาศสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

การหมอบคลานซึ่งมีชีวประวัติพลิกผันจากความ “อายฝรั่ง” ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กลายมาเป็นความอยาก “อวดฝรั่ง” ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 นับเป็นกรณีศึกษาที่มหัศจรรย์ล้ำลึกอย่างเหลือเชื่อ

วัฒนธรรมอุดมการณ์กษัตริย์นิยมแบบสุดขั้วดังเช่นที่เป็นอยู่ในสังคมไทยไม่ ควรอย่างยิ่งที่จะดำรงอยู่ในสังคมประชาธิปไตย ข้อเสนอเพื่อการเลิกหรือลดอุดมการณ์และวัฒนธรรมกษัตริย์นิยม หรืออีกนัยหนึ่ง วัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนาย ให้อยู่ภายในระดับอันเหมาะสมและกอปรด้วยรสนิยมอันดีเยี่ยงนานาอารยะประเทศ นี้มิใช่การล้มเลิกสถาบันกษัตริย์ ตรงกันข้าม การปรับเปลี่ยนทัศนะ วัฒนธรรมและประเพณีปฏิบัติต่อสถาบันกษัตริย์กลับจะทำให้สถาบันกษัตริย์และ ปวงชนชาวไทยมีความทันสมัยและสง่างามยิ่งขึ้น นอกจากนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะสูญเสียเอกลักษณ์ไทยในเวทีสากล เพราะการยังคงมีสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยถือเป็นสิ่งพิเศษสุดอย่าง ยิ่งยวดในตัวเองอยู่แล้ว

นอกเหนือจากการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในด้านสถานะและโครงสร้างอำนาจตามที่สม ศักดิ์ เจียมธีรสกุลและคณะนิติราษฎร์ได้เสนอไว้อย่างรอบคอบรัดกุมเพื่อตั้งเป็นหลัก ในอุดมคติที่ควรไปให้ถึงแล้ว การปฏิรูปหรือยกเลิกอุดมการณ์และวัฒนธรรมกษัตริย์นิยม (ซึ่งแฝงฝังอยู่ในธรรมเนียมประเพณี การอบรมบ่มเพาะ การหล่อหลอมด้านการศึกษา และการสื่อสารมวลชนนั่นเอง) ควรจะครอบคลุมถึงขนบธรรมเนียมทางวัฒนธรรมภาษา แบบแผนอากัปกิริยา ประเพณีพิธีกรรม ฯลฯ ที่เสริมสร้างความศักดิ์สิทธิ์และเป็นหัวใจของการปลูกฝังคุณค่าในระดับจิตใจ จิตใต้สำนึกและจิตวิญญาณ

คติความเชื่อ
การใช้ศัพท์เฉพาะ
การหมอบคลาน
การเกณฑ์คน
การเปิด-บรรเลงเพลง

ข้อเสนอเบื้องต้นเหล่านี้เป็นข้อเรียกร้องในส่วนของรัฐบาล หน่วยงานราชการ เอกชน วัด/พระภิกษุ และบุคคลทั่วไปเป็นสำคัญ มิได้เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลในสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนพลเมืองกับสถาบันกษัตริย์ดำรงอยู่ร่วมกันใน ศีลธรรมและรสนิยมอันดีตามครรลองของนานาอารยประเทศที่มีกษัตริย์อยู่ภายใต้ รัฐธรรมนูญ

........................................................

* คำกล่าวของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก