ที่มา ข่าวสด
เมฆหมอกการเมืองเริ่มสลาย
เมื่อกกต.ประกาศรับรองผลเลือกตั้งส.ส.รอบ 4 จำนวน 94 คน รวมกับของเดิม 402 คน เท่ากับมีส.ส. ผ่านการรับรองทั้งสิ้น 496 คน
มากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 95 หรือ 475 คน สามารถเปิดประชุมสภาได้ภายใน 30 วันหลังเลือกตั้ง
โดยทางสำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา วันที่ 1 สิงหาคม นี้
ในจังหวะการเมืองขยับเดินหน้าตามระบบ
ทำให้ กกต.ลดแรงเสียดทานที่พุ่งเข้าใส่ตลอดหลังเลือกตั้ง 3 ก.ค.เป็น ต้นมา
ไม่ เพียงจากกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ยื่นร้องทุกทิศทุกทาง อ้างว่าการปฏิบัติหน้าที่จัดการเลือกตั้งของกกต. มีข้อผิดพลาดบกพร่องมากมาย พยายามให้การเลือกตั้งโมฆะให้ได้
นอกจากนี้ตามกระแสข่าวยังมี "มือที่มองไม่เห็น"ที่พยายามแทรกแซงกกต.
เป้า หมายสกัดไม่ให้พรรคเพื่อไทยได้เข้ามาเป็นรัฐบาลเพราะกลัวถูกเช็ก บิล วิธีหนึ่งที่ลือกันมากคือให้กกต.ยื้อ ไม่รับรองผลเลือกตั้งส.ส.ครบร้อยละ 95 ซึ่งจะทำให้เปิดประชุมสภาไม่ได้
แต่ความจริงก็คือเมื่อการเมืองเดินหน้ามาไกลขนาดนี้
จาก ผลเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค. พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะท่วมท้น คือเครื่องบ่งชี้เจตนารมณ์ประชาชนว่าต้องการให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี และพรรคใดเป็นแกนนำรัฐบาล
สิ่งที่เรียกว่า"อำนาจนอกระบบ"จึงไม่สามารถสวนกระแสความต้องการของประชาชนได้
กกต.ยอมรับว่าส.ส.ที่ประกาศรับรองรอบ 4 จำนวน 94 คน ไม่มีใครไม่มีเรื่องร้องคัดค้าน
แต่เพราะกฎหมายให้ประกาศรับรองไปก่อนร้อยละ 95 เพื่อให้เปิดประชุมสภาได้ กกต.จึงต้องปล่อยไปก่อน เพราะเก็บไว้ก็ไม่มีประโยชน์
อีก อย่างคือนับแต่หลังเลือกตั้งจนถึงปัจจุบันมีการร้องคัดค้านเข้ามารวม 500 เรื่อง ไม่มีทางที่ กกต.จะพิจารณาเสร็จทันวันที่ 1 ส.ค.ได้
ที่เหลือเป็น"ติ่ง"ไว้ก็เฉพาะในรายของนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. ที่ยังไม่รู้ว่าจะกระตุ้นอารมณ์คนเสื้อแเดงมากน้อยขนาดไหน
ส่วน 94 คนล็อตหลังสุดได้ชื่อเป็นรุ่น"ปล่อยผี" ใครจะโดน "สอย" ภายหลังหรือไม่ ต้องติดตามต่อไป
อย่างไรตามในจังหวะการเมืองได้ฤกษ์เริ่มต้น นับหนึ่ง
ดูเหมือนจะมีแต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เท่านั้นที่มั่นใจได้เกินร้อยกับตำแหน่งนายกฯ หญิงคนแรกของประเทศไทย
ส่วนตำแหน่งอื่นไล่มาตั้งแต่ประธานสภาผู้แทนฯ รองประธานสภา รองนายกฯ รัฐมนตรี ที่มีชื่อโผล่กระจัดกระจายตามหน้าหนังสือพิมพ์
เอาเข้าจริงก็เป็นเพียงแค่โผรายชื่อ ที่ยังมีเปอร์เซ็นต์ความไม่แน่ไม่นอนอยู่สูง
กว่า จะไปถึงจุดที่ชัดเจนหรือ"นิ่ง"จริงๆ ต้องรอให้กระบวนการเลือกประธานสภาผู้แทนฯ และที่สำคัญคือต้องให้ผ่านขั้นตอนการโหวตนายกฯ เรียบร้อยเสียก่อน
จากปฏิทินที่กำหนดไว้แล้วคร่าวๆ คือ หลัง รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา 1 ส.ค. วันที่ 2 ส.ค. จะประชุมสภาเพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนฯ
จากนั้นวันที่ 4 ส.ค. จะเป็นคิวโหวตเลือกนายกฯ
ถัด จากนั้นอีก 2 วัน คือวันที่ 6 ส.ค. คาดว่าจะนำรายชื่อคณะรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ทั้งหมดเพื่อต้องการให้มีรัฐบาลอำนาจเต็ม ก่อนถึงวันสำคัญ 12 ส.ค.
กล่าว ถึงตำแหน่งประธานสภานั้น ที่มีชื่อผลัด กันเป็นตัวเก็ง คือ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กับ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ซึ่งมีข้อเด่น-ข้อด้อยกันคนละอย่าง
แต่การที่พ.อ.อภิวันท์ มีภาพของคนเสื้อแดงติดแน่นอยู่มากเกินไป ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบันที่เบาลง
อาจ เป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งทำให้คนที่อยู่ต่างประเทศ ชั่งน้ำหนักตัดสินใจเลือก ว่าใครคือคน ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง"ท่านประธาน" ง่ายขึ้น
สําหรับ ตำแหน่งอื่นๆ ที่เริ่มปล่อย กันออกมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะเก้าอี้ตัวใหญ่ เช่น รมว. กลาโหม ที่มาลงตรงชื่อของ"บิ๊กอ๊อด"พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ส่วน นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ที่จะมานั่งรองนายกฯ คุมเศรษฐกิจควบเก้าอี้"ขุนคลัง"นั้น หลังสุดข่าววงในแจ้งว่า เริ่มไม่แน่นอน เพราะเป็นตำแหน่งสำคัญ ต้องพิจารณาให้รอบคอบจนนาทีสุดท้าย
ขณะที่ นายวิกรม คุ้มไพโรจน์ อดีตทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ซึ่งมีความสนิทสนมกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นทุนเดิม อาจควบ"ม้ามืด" เข้ามานั่งเป็นรมว.การต่างประเทศ
ล่าสุดยังมีข่าวโยก นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ไปเป็นรองนายกฯ เปิดทางให้ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก นั่งเก้าอี้ มท.1 ส่ง นายโอฬาร ไชยประวัติ ไปเป็นรมว.ศึกษาธิการ
ที่นิ่งมาแต่โผแรกเลย คือ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.แรงงาน นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง กลับไปเป็นรมว.ยุติธรรม พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี รมว.คมนาคม นายวิรุฬ เตชะ ไพบูลย์ รมว.พาณิชย์
นาย วิชาญ มีนชัยนันท์ รมว.สา ธารณสุข น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.การพัฒนาสังคมฯ นายคณวัฒน์ วศินสังวร รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ที่เซอร์ไพรส์เล็กๆ คือชื่อ นายธงทอง จัน ทรางศุ เป็นรมต.ประจำสำนักนายกฯ ส่วนรมว. พลังงาน มีข่าวทาบทามนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ผู้บริหาร ปตท. เข้ามารับตำแหน่ง
จาก ราย ชื่อที่เปิดกันออกมา ถึงแม้น.ส. ยิ่งลักษณ์ จะยืนยันว่า ครม.ชุดใหม่จะจบลงบนโต๊ะคณะกรรมการบริหารพรรค ไม่เกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แต่ในความจริงเป็นอย่างไรก็รู้กันอยู่
อย่างไรก็ตามไม่ว่าพ.ต.ท.ทักษิณ จะมีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะคน "เคาะ" โผขั้นสุดท้ายหรือไม่
แต่ เบื้องต้นต้องยอมรับว่าบรรดาชื่อที่โยนกันออกมา ยังไม่มีเสียง"ยี้"ให้ได้ยิน อย่างมากมีแต่"มือใหม่หัดขับ" ที่ยังต้องให้โอกาสพิสูจน์ฝีมือ
ยกเว้นมีการพลิกโผครั้งใหญ่ ต้องไปว่ากันอีกที