WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 22, 2011

คนงานเหนือหนุน300 สภาลูกจ้างวอนปูสร้างรพ.ให้คนไข้ประกันสังคมเลิกเป็นผู้ป่วยพลเมืองชั้น2

ที่มา Thai E_New

ผู้ ใช้แรงงานทั่วประเทศออกมาสนับสนุนค่าแรง300บาท ในภาพเป็นคนงานย่านรังสิต ล่าสุดคนงานภาคเหนือออกโรงหนุน(ภาพล่าง) ส่วนสภาองค์การลูกจ้างยื่น4มาตรการ 5ข้อเสนอ 33 วิสัยทัศน์ให้รัฐบาลปู1คลอดเป็นนโยบาย รวมทั้งสร้างโรงพยาบาลเฉพาะผู้ป่วยประกันสังคม ไม่ให้เป็นพลเมืองชั้น2ทั้งที่จ่ายเต็มเม็ดเต็มหน่วยถูกหักทุกเดือน

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
21 สิงหาคม 2554

หมายเหตุไทยอีนิวส์:วันนี้มีเวทีสัมมนาคนงาน นักวิชากภาคเหนือ หนุนนโยบาบรัฐบาลค่าจ้าง 300บาท และส่งจดหมายถึง นายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงแรงงาน ในนามของกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ สหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ สหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้


21 สิงหาคม 2554

เรียน นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฯ นาย เผดิมชัย สะสมทรัพย์

เรื่อง สนับสนุนนโยบายค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศของรัฐบาลประชาธิปไตย คืน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ”ความยุติธรรม”ให้กับผู้ใช้แรงงาน


สืบเนื่องมาจาก ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้ทำลายระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทยทำให้สิทธิเสียงของประชาชนไม่มีความหมาย ในทางการเมือง ทำให้สิทธิสียงไม่มีความหมายในการต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีกว่า เพื่อความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันของผู้ใช้แรงงานและสังคมไทย เนื่องเพราะอำนาจตกอยู่ในมือของฝ่ายนอกระบบประชาธิปไตย

ต่อมาเมื่อมีการเรียกร้องให้ยุบสภา จัดการเลือกตั้งใหม่ ทำให้หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงของประชาชนกลับมีความหมายขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ผู้ใช้แรงงานก็เช่นกันได้มีส่วนร่วมทางการเมืองที่จะเลือกพรรคการเมือง นักการเมือง เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน

ในช่วงที่มีการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยได้เสนอนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เป็นผลให้ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ได้สนับสนุนในการเลือกพรรคเพื่อไทย เนื่องเพราะนโยบายนี้จะทำให้ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภายหลังจากที่นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยนับเป็นเวลาร่วม หลายสิบปีไม่ได้มีนโยบายที่มีจุดยืนเคียงข้างผู้ใช้แรงงานเช่นนี้ แต่กลับเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนเท่านั้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีสภาพความเป็นอยู่อย่างอัตคัต มีหนี้สินล้นพ้นตัว จักมีชีวิตอยู่รอดได้ต้องทำให้หนักขึ้น ต้องทำงานล่วงเวลา ต้องไม่มีวันหยุด เป็นการทำลายความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้แรงงาน

นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการคืน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”ให้กับผู้ใช้แรงงาน และคืน “ความยุติธรรม” ให้กับผู้ใช้แรงงาน ในฐานะผู้ใช้แรงงานเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม เป็นผู้สร้างสรรค์ผลิตสรรพสิ่งให้กับสังคม ในฐานะผู้ใช้แรงงานมีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญ ความมั่งคั่งให้กับประเทศ

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางที่ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่สนับสนุนนโยบายนี้ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย กลับมีนายทุน องค์กรนายจ้าง เครือข่าย สื่อมวลชน นักวิชาการ ของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ที่ออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว

เราในฐานะผู้ใช้แรงงาน ภาคเหนือ มีความคิดเห็นว่า การคัดค้านนโยบายนี้ ก็เพียงเพื่อยึดผลประโยชน์ที่เห็นแก่ตัวของนายทุนที่สนับสนุนฝ่ายอำมาตยา ธิปไตยมาตลอดเท่านั้นเอง

เราขอเรียกร้องให้

1.รัฐบาลประชาธิปไตยภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ผู้ได้รับคะแนนเสียงข้างมากจากประชาชน ต้องไม่ไหวเอนไปตามการคัดค้านของนายทุนและเครือข่ายอำมาตยาธิปไตย ทั้งหลาย และจงมุ่งมั่นทำตามนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ

จงเชื่อเถิดว่าผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่สนับสนุนนโยบายที่มีจุดยืนเคียงข้าง ผู้ ใช้แรงงาน เพื่อ คืน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ”ความยุติธรรม”ให้กับผู้ใช้แรงงาน

2. จัดกระบวนการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานต่างๆ ของผู้ใช้แรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและมีความยุติธรรมให้กับผู้ใช้แรงงาน เช่น การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานในปัจจุบันทุกฉบับ การรับรองสัตยบัน ILO มาตราที่ 87 และ 98 ฯลฯ โดยมีตัวแทนผู้ใช้แรงงานทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาด้วย

ด้วยความเคารพ

(นายอนุชา มีทรัพย์ )
กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ

(นายวิสิษฐ์ ยาสมุทร)
ประธานสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์

(นายอัครเดช ชอบดี)
ประธานสหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์


สภาองค์การลูกจ้างยื่น 4 มาตรการ 5 ข้อเสนอ 33 วิสัยทัศน์ หนุนรัฐบาลคลอดเป็นนโยบายเพื่อผู้ใช้แรงงาน
สภา องค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ร่วมกับสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย สหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ยื่นเสนอนโยบายแรงงานต่อพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลเพื่อประกอบการจัดทำเป็นนโยบายในการแถลงต่อรัฐสภา ในวันที่ 24 สิงหาคมที่จะถึง ดังนี้

4 มาตรการ 5 ข้อเสนอ 33 วิสัยทัศน์ นโยบายของผู้ใช้แรงงาน

1. มาตรการทางกฎหมาย
2. มาตรการทางเศรษฐกิจ
3. มาตรการทางการเมือง
4. มาตรการการจัดการ

1. มาตรการทางกฎหมาย
1.1 ให้ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทุกฉบับ

2. มาตรการทางเศรษฐกิจ

- เร่งจัดเก็บภาษีอากรเพื่อจัดงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เช่น ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน ภาษีสำนักทรัพย์สิน
- มาตรการทางภาษี ยกเลิกมาตรการภาษีที่ซ้ำซ้อน ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ใช้แรงงาน

3. มาตรการทางการเมือง

- ให้มีการแสดงออกถึงสิทธิ เสรีภาพครบบริบูรณ์ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ยกเลิกกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
- ให้ยึดหลักประชาธิปไตยอย่างเคร่งครัด เช่น ให้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมทุกฝ่ายและทำข้อตกลงร่วมกัน
- รัฐต้องไม่แทรกแซงและขัดขวางใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อผู้ใช้แรงงานแสดงออกตามวิถีทางประชาธิปไตย หรือเรียกร้องสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้

4. มาตรการจัดการร่วม

- ให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมระหว่าง รัฐ กระทรวง นายจ้าง ลูกจ้าง และศาล เพื่อเป็นมติในการดำเนินการร่วมกัน
- การจัดประชุม 2 ฝ่าย ระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง
- จัดประชุม 3 ฝ่าย หรือ 4 ฝ่าย ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

5 ข้อเสนอ

1. เร่งดำเนินการรัฐสวัสดิการ เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล ที่อยู่อาศัย
2. เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าแพงมีผลกระทบต่อผู้บริโภค ให้จัดหาสินค้าราคาถูกไปจำหน่ายในย่านอุตสาหกรรมเพื่อลดค่าครองชีพ เพิ่มมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น ค่าไฟฟ้าฟรี, ค่าน้ำประปาฟรี, ค่ารถไฟฟรี, ค่ารถเมล์ฟรี ฯลฯ ให้ทั่วถึงและเป็นจริง
3. รับรองอนุสัญญา 87,98
4. การเพิ่มค่าจ้าง
5. การพัฒนาฝีมือแรงงานตอบสนองรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆที่กำลังเกิดขึ้น

33 วิสัยทัศน์ นโยบายแรงงาน

1. * ต้องสร้างความร่วมมือด้วยกันทุกฝ่าย คือ 1) ภาครัฐ กระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) ภาคการลงทุนคือผู้ประกอบการ สถาบันการเงินสมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า และ 3 ) ภาคการผลิตอุตสาหกรรม คือผู้ใช้แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน สหภาพแรงงาน 4) ภาคเกษตรกรรม ชาวไร่ ชาวนา พ่อค้าแม่ค้าและประชาชนทั่วไป

2. * เร่งจัดตั้งรัฐบาลให้มีเสถียรภาพและเป็นประชาธิปไตย (การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ยกเลิกกลุ่ม หรือคณะบุคคลหรือองค์กรที่ไม่ผ่านการเลือกตั้ง)

3. * จัดระบบค่าจ้าง ความปลอดภัย สวัสดิการ สิทธิทางการเมือง ตามที่บัญญัติไว้ในหลักกฎหมายและบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ

* กระทรวงแรงงานต้องจัดการกระบวนการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด / จัดระบบคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน

* กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ขยายวงเงินให้กับผู้ถูกเลิกจ้าง ปรับปรุงเงื่อนไขให้เหมาะสมและสอดคล้องในการรับสิทธิประโยชน์ให้ลูกจ้างมี สิทธิ กรณีมีการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินค่าชดเชย

4. สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนต้องได้รับการตอบสนองครบถ้วน การเตรียมการจัดตั้งโรงพยาบาลสำหรับผู้ประกันตน

5. * พัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับการลงทุน และการผลิต

* พัฒนาผีมือแรงงานให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี
* จัดทำแผนแม่บทว่าด้วย การทำงานในต่างประเทศ / การใช้แรงงานประเภทต่าง ๆ
* เสริมทักษะด้านการใช้ภาษาพูดและเขียน

6. * ให้ตรากฎหมายจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยขึ้น โดยรัฐต้องรับผิดชอบเป็นการสำคัญ

7. * ให้มีสถานดูแลเด็กอ่อน โดยการทำข้อตกลงระหว่างสถานประกอบการกับลูกจ้าง และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน

8. * ให้ตรากฎหมายแรงงานต่างด้าว

* สิทธิประโยชน์ให้ได้รับเท่ากับแรงงานไทยในภาคการผลิตเดียวกัน
* จัดตั้งหน่วยงานขึ้นรับผิดชอบอย่างชัดเจน /ควบคุมดูแลไม่ให้เกิดกระทำผิด

9. * นำที่ดินที่ถือครองและไม่ทำประโยชน์ มาจัดสรรให้กับผู้มีรายได้น้อย

10. * ต้องมีที่อยู่อาศัยลดอัตราดอกเบี้ย เพิ่มสิทธิในการเป็นเจ้าของ

* ขยายโครงการรัฐสวัสดิการ

11. *กำหนดแผนปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ใช้แรงงานและประชาชน

12. * เร่งดำเนินการโครงการเม็กกะโปรเจ็ก เช่น ขุดท่าเรือน้ำลึก แลนบิด โครงการผันน้ำโขง ฟื้นฟู 26 ลุ่มน้ำ รถไฟรางคู่

13. * ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร ทำโครงการพลังงานทดแทนทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานถ่านหิน

* โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตรและรักษาสภาพแวดล้อม

14. สนับสนุนสถาบันวิจัยแห่งชาติร่วมเอกชนพัฒนาสินค้า

15. * ให้กระทรวงแรงงานและการท่องเที่ยวร่วมดำเนินการโดยมีคณะกรรมการร่วม
* สร้างความเชื่อมั่นต่อต่างชาติ

16. *กฎหมายแข่งขันทางการค้า ต้องใช้อย่างเคร่งครัด กำหนดกระบวนการขึ้น โดยกระทรวงแรงงานและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

17. * สร้างวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนโดยผ่านนักศึกษา เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน และนายจ้าง

18. * พัฒนาระบบคมนาคม เชื่อมทางขนส่งไป ลาว เวียดนาม จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น
* สร้างท่าเรือน้ำลึก และสายการบินขนส่งสินค้า

19. * การค้าเสรีมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลชุดพิเศษ

20. * จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเกษตรกรรม

21. * กำหนดการอุทธรณ์เรื่องภาษีให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 3 เดือน

22. * จัดระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีแผนแม่บทและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

23. * ส่งเสริมพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่องเป็นจริง

24. * กระทรวงแรงงานต้องร่วมมือกับกระทรวง ไอ ซี ที สำนักนายก รัฐสภา พัฒนาระบบและจัดตั้งโครงข่าวสื่อสารพื้นฐาน

* จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ โดยกระทรวงแรงงานดำเนินการ

25. * กำหนดแผนจัดการด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อมในสภาพปัญหาปัจจุบัน

* ให้รับสิทธิประโยชน์ตอบแทนตามมติต่างๆ โดยการประสานงานของกระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรฯ รัฐสภา สำนักนายก

26. * กำหนดแผนรับผู้ใช้แรงงานที่ผ่านการฝึกฝนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

* โครงสร้างการศึกษาของประเทศต้องกำหนดมาตรฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

27. * เร่งรัดการจัดตั้งกองทุนเพื่อสร้างนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

28. * ด้านการต่างประเทศดำเนินการตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัดและให้มีการประชุมร่วมหลายฝ่ายขึ้น

29. * ยกเลิก พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

* รวบรวมจัดทำประมวลกฎหมายแรงงาน โดยจัดตั้งคณะกรรมการร่วม หลายฝ่าย

30. เร่งรัดจัดตั้งองค์กรปฏิรูปกฎหมาย ภายใน 3 เดือนและจัดประชุมหลายฝ่าย
31. * ยกเลิกกฎหมาย พรบ. พรก. ที่ปิดกั้นข้อมูล ข่าวสาร
* ผู้ใช้แรงงานต้องใช้สื่อของรัฐได้
* รัฐและสถานประกอบการต้องร่วมกันจัดตั้งศูนย์กลางรับข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต

32. * ยกเลิก กฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่ควบคุมสื่อของรัฐให้จำกัดอยู่ในเฉพาะเพื่อความมั่นคง

33. * ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และนำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาบังคับใช้และปรับปรุงแก้ไข
* ยกเลิกกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน

โดย สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย
สหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย

สิงหาคม 2554

สภาองค์การให้สมาชิก6หมื่นคนส่งแบบสำรวจเรื่องค่าครองชีพ เพื่อสนับสนุนนโยบายค่าแรง300