WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 1, 2011

มุมมอง บิ๊กซี.พี."ดร.สารสิน วีระผล" จากค่าแรง 300 บาทถึงทฤษฏีสองสูง

ที่มา มติชน







ดร. สารสิน วีระผล ผู้บริหารระดับสูงของ ซีพี เขียนบทความเรื่อง จากค่าแรง 300 บาทถึงทฤษฏีสองสูง ต้องสร้างสมดุล แรงงาน-ธุรกิจ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันประเทศ ในคอลัมน์ คุยกับซีพี มีสาระสำคัญ ดังนี้

เมื่อพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมาก ได้ให้คำมั่นสัญญาในการรณรงค์หาเสียงว่าจะปรับขึ้นค่าแรงงาน 300 บาททั่วประเทศ ปริญญาตรีเริ่มต้นที่ 15,000 บาทต่อเดือน จนกลายเป็นประเด็นร้อนที่หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักถึงโอกาส ความเป็นไปได้


ในมุมของซี.พี. ได้ตั้งข้อสังเกตุในเรื่องนี้ว่า วันนี้ประเทศไทยพัฒนาไปถึงจุดหนึ่งแล้ว ไม่ใช่ประเทศที่ด้อยพัฒนา และไม่ใช่ประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่อยู่กลางๆ ในภาวะ Middle development syndrome ดังจะเห็นจากการประเมินด้านต่างๆ ดัชนีชี้วัดประเทศไทยจะอยู่ในระดับกลางๆ ตลอดเวลา ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีความต้องการไต่อันดับที่ดีขึ้น


“สมัย ก่อนประเทศไทยเป็นประเทศที่โตเร็วที่สุด ในช่วงทศวรรษที่ 80 หรือเมื่อ 30 ปีที่แล้วเพราะประเทศไทยมีความได้เปรียบหลายอย่าง นอกจากจะเป็นประเทศที่เปิดแล้วยังอยู่ในโลกเสรีที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุน นิยม ทำให้ประเทศไทยได้เปรียบในเรื่องค่าแรงงาน นักลงทุนจากอเมริกา ยุโรป ต่างย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ศักยภาพแรงงานราคาถูก สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการ์เม้นท์ ตัดเย็บเสื้อผ้า ที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก แห่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย จนทำให้ในยุคนั้นประเทศไทยมีบทบาทในการส่งออกการ์เม้นท์สูงที่สุดในโลก”

จาก จุดนั้นรัฐบาลมีแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเบา เริ่มตั้งแต่การวางพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค เพื่อทำให้ต้นทุนของธุรกิจถูกลง การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจมุ่งไปในเรื่องของการส่งออกเป็นหลัก สินค้าเกษตรพลอยได้รับอานิสงฆ์ไปด้วย โดยมีการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อส่งออก ทั้งน้ำตาล ข้าวสาร รวมถึงเนื้อไก่


เรียกว่าช่วงเวลานั้นเศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตมากที่สุดในโลกเฉลี่ยปีละ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์

แต่มาในระยะหลังสถานการณ์เปลี่ยน จีนพัฒนาศักยภาพตัวเองเข้ามาแทนที่ประเทศไทยในเรื่องแรงงานราคาถูก ดังนั้น คำถามใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเวลานี้ จึงอยู่ที่ว่า อำนาจการแข่งขันของประเทศไทยอยู่ตรงไหน?


การที่ พรรคการเมืองเสียงข้างมาก แสดงความเป็นห่วงเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้นของประชาชน แล้วมีนโยบายเพิ่มค่าแรงมาแก้ปัญหาตรงนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน เพราะการให้เงินค่าจ้างเพิ่มเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ทุกอย่างจบได้ แต่กลับจะมีผลกระทบตามมาอีกมากมาย


ที่สำคัญการ เพิ่มค่าแรงก็ไม่ได้เป็นมาตรการเดียวในการแก้ไขปัญหานี้ เพราะทันทีที่มีกระแสปรับค่าแรง ราคาสินค้าก็ขยับไปรอท่าแล้ว ดังนั้นจะปรับค่าแรง 300 บาทหรือ 500 บาทก็ไม่เพียงพอสำหรับการแก้ไขปัญหานี้


การปรับ ค่าแรงงาน 300 บาทต้องดูอำนาจการแข่งขันของประเทศไทยด้วยว่าอยู่ตรงไหน เพราะหากเป็นแรงงานที่มีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจในโลก ค่าแรงงาน 300 บาทอาจจะยังน้อยไปด้วยซ้ำ

ดังนั้น ก่อนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในเบื้องต้นรัฐบาลต้องยอมรับสภาพธุรกิจในปัจจุบันก่อนว่าเป็นอย่างไร แล้วสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยมีค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ ต้องดีดลูกคิดออกมาให้ดี เนื่องจากโรงงานแต่ละแห่งภาระต้นทุนด้านแรงงานแตกต่างกัน ยกตัวอย่างโรงงานชำแหละไก่ในอลาบาม่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้แรงงานน้อยกว่าโรงงานชำแหละไก่ในประเทศไทยถึง 3 เท่า เพราะที่สหรัฐฯใช้เครื่องอัตโนมัติในการเฉือนเนื้อไก่ออกจากโครงกระดูก วัฒนธรรมการบริโภคของคนอเมริกาจึงนิยมรับประทานเนื้อบริเวณหน้าอก ส่วนเศษเนื้อชิ้นเล็กๆก็นำไปทำอาหารสัตว์ ในขณะที่ประเทศไทยใช้แรงงานเลาะเนื้อไก่ออกจากโครงกระดูก ดังนั้นถ้าจะเพิ่มค่าแรงต้องดูว่าแต่ละธุรกิจใช้แรงงานเป็นสัดส่วนเท่าไร ของกระบวนการทั้งหมด


แน่นอนว่าค่าจ้างแรง งานไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่ถ้าคุณภาพแรงงานยังไม่มีการพัฒนา แล้วจะให้ผู้ประกอบการเพิ่มค่าจ้าง ทุกคนคงอยู่ลำบากแม้แต่ซี.พี.เอง เพราะต้องดูแลแรงงานเป็นแสนคน


การสัญญาว่าจะให้ เป็นเสมือนการให้ความหวังกับแรงงาน ซึ่งเบื้องหลังความหวังนั้นมีปัจจัยที่ต้องพิจารณามากมาย อุปมาอุปมัยเหมือนการซื้อล็อตเตอรี่ ทุกคนหวังว่าจะถูกรางวัล แต่ระหว่างที่นั่งรอความหวังทุกคนก็ต้องปรับปรุงการทำงานของตัวเอง ไปพร้อมๆกันด้วย


ดั่งนโยบายสองสูงของนาย ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งพูดถึงเรื่องการปรับค่าแรงในภาวะที่ค่าครองชีพสูงเช่นปัจจุบันว่า เมื่อเพิ่มรายได้ให้ “สูง” ขึ้นแล้ว จะต้องมีการเพิ่ม “ประสิทธิภาพในการทำงาน”ให้สูงขึ้นตามไปด้วย


ทฤษฏี นี้ก็เป็นความหวังเพราะเจ้าสัวธนินท์ไม่ได้บอกว่าจะเกิดขึ้นทันที แต่จะค่อยๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ วันนี้จึงอยากเตือนสติคนไทยที่ตั้งความหวังกับเรื่องการปรับค่าแรงงาน เพราะมิเช่นนั้น จะมีสภาพไม่ต่างจากนิทานสอนใจของจีน

เรื่อง “โส่ว จู ไต้ ทู่” ที่เล่าไว้ว่า วันหนึ่งมีชาวนากำลังทำนา อยู่ดีๆ มีกระต่ายตัวหนึ่งวิ่งไม่ดูตาม้าตาเรือมาชนต้นไม้คอหักตาย เมื่อชาวนาเห็น ก็คิดว่า นี่คือความหวัง แล้วบอกกับตัวเองว่า ต่อจากนี้ไปจะไม่ทำนาให้ลำบากอีกแล้ว แต่จะมานั่งเฝ้าโคนต้นไม้รอให้กระต่ายวิ่งมาชนโคนต้นไม้ นับตั้งแต่วันนั้นชาวนาก็เลิกทำนา มานั่งเฝ้าโคนต้นไม้ ให้กระต่ายวิ่งมาชนต้นไม้


ซึ่งหากเปรียบเทียบ การที่กระต่ายวิ่งชนโคนต้นไม้กับเรื่องการปรับค่าแรง จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ เป็นการสร้างความหวังให้กับผู้ใช้แรงงาน


แต่ ถ้าวันนี้ทุกคนไม่อยู่กับความหวังอย่างเดียว แต่คิดต่อว่าจะเปลี่ยนจากการทำนามาเลี้ยงกระต่ายเพื่อเอาเนื้อ เอาขนไปแปรสภาพเป็นเงิน หรือหากมองว่ากระต่ายสามารถสร้างรายได้ที่ดี ก็อาจจะทำกับดักกระต่ายไว้เยอะๆ ไม่นั่งรอให้กระต่ายวิ่งมาชนโคนต้นไม้เพียงอย่างเดียว ผู้ใช้แรงงานก็เช่นกันระหว่างรอการปรับค่าแรงก็ต้องพัฒนาตัวเองเพื่อให้มี โอกาสได้ค่าแรง 300 บาท


ทั้งนี้ การจะปรับค่าแรงต้องฟังเสียงนักลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนในประเทศไทย แล้วใช้มาตรฐานตรงนั้นมาปรับปรุงเรื่องค่าแรงให้เป็นมาตรฐานสากล เพราะวันนี้ไม่ว่าประเทศไทยจะดีแค่ไหนไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากนักลงทุนมีทางเลือกเยอะ ไม่มาประเทศไทยก็ไปประเทศอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นบังคลาเทศ เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย ขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้หรือเปล่า


การดำเนินการเรื่องค่าแรงจึงไม่ควรเอาโจทย์เรื่องค่าแรง 300 บาทนำหน้า เพราะจะเหมือนกับการเอาตัวรถม้ามาอยู่ข้างหน้าม้า การขับเคลื่อนไปข้างหน้าจึงไม่สามารถทำได้


เรื่องนี้ต้องพิจารณาถึงทักษะของม้าและรถม้าไปพร้อมๆ กัน

ซึ่ง “ม้า”ในที่นี้ คือ นายจ้างหรือเจ้าของธุรกิจ

ส่วน “รถม้า” คือ แรงงาน

การจะเพิ่มค่าแรงจะต้องดูทั้งกระบวน ทั้งตัวม้า รถม้า และทางที่รถม้าจะวิ่ง

มา ถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่ารูปธรรมเป็นอย่างไร วิธีการ คือ รัฐบาลต้องดูในรายละเอียดว่า ธุรกิจที่มีอยู่ในประเทศไทยวันนี้เป็นอย่างไร เพราะบางธุรกิจ ค่าจ้างแรงงาน 300 บาทต่อวันอาจจะไม่เพียงพอ เนื่องจากใช้แรงงานฝีมือที่หายากในตลาด แต่ในบางธุรกิจ การจ่ายค่าแรงงาน 300 บาทอาจจะมากเกินไป


ดังนั้นจึงต้องมาดูว่า ม้า หรือธุรกิจ ในวันนี้พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าหรือยัง แล้วน้ำหนักของรถตัวรถม้าเป็นอย่างไร สมดุลกับม้าหรือเปล่า ที่มากกว่านั้นต้องดูว่าสภาพถนนที่จะวิ่งไปเป็นอย่างไร เป็นถนนคอนกรีต ลาดยาง หรือว่าเป็นถนนที่เต็มไปด้วยหลุม บ่อ เพระทันทีที่ไม่มีความสมดุลรถม้าก็ไม่สามารถวิ่งต่อไปได้ โดยเฉพาะธุรกิจส่งออกที่ต้องแข่งขันกับต่างประเทศแล้วต้องใช้แรงงานจำนวน มาก หากมีการปรับค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน โอกาสในการแข่งขันก็จะน้อยลง ทันที


แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสภาพถนนจะดีแค่ไหน ถ้าเอาตัวรถม้ามาอยู่หน้าม้า โอกาสความเป็นไปได้ก็แทบจะไม่มี ยิ่งตอนนี้ประเทศไทยอยู่ในสภาพ Middle development syndrome ประเทศกำลังพัฒนาก็ไม่ใช่ พัฒนาแล้วก็ไม่เชิง สภาพถนนก็ไม่ราบเลียบเหมือนในอดีต แต่เป็นทางขึ้นเขาที่เต็มไปด้วยหลุม บ่อ ประเทศไทยจะใช้เครื่องมือแบบเดิมๆ ไม่ได้แล้ว ต้องมีการพัฒนาในทุกด้านไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะเรื่องระบบสาธารณูปโภคของประเทศที่ขาดการปรับปรุงพัฒนามานานนับ 10 ปี


เพราะการ จะแข่งขันกับต่างชาติ เรื่องโลจิสติกส์สำคัญมาก แต่ประเทศไทยกลับมีปัญหาเรื่องโลจิสติกส์มากที่สุด ถ้ารัฐบาลแก้ไขสิ่งเหล่านี้ให้รถม้าสามารถวิ่งได้ฉลุย แล้วมีการพัฒนาทักษะ ความสามารถของผู้ใช้แรงงาน แล้วปรับค่าแรงขึ้นมาเป็น 300 บาท ภาวะสมดุลจึงจะเกิด