ที่มา Thai E-News
อยาก ฝากความคิดถึงพี่น้องเสื้อแดงทุกๆคน ขอให้สู้กันต่อไปนะ คนข้างในนี้ก็ยังสู้อยู่ ฉันโดนโทษ 1 ปี 6 เดือน ตอนนี้ติดมา 1 ปี 3 เดือนแล้ว หลังจากสิ้นเดือนนี้ ฉันก็จะนับถอยหลังไปอีก 3 เดือน 14 วัน เพื่อรอให้ถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน เวลา 9 โมงเช้า ฉันก็จะพ้นโทษออกไปจากที่นี่ และสัญญาว่าจะไปร่วมต่อสู้ด้วยกันกับพี่น้องข้างนอกต่ออย่างแน่นอน-ปากคำนัก โทษหญิงเสื้อแดง
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
31 กรกฎาคม 2554
อาจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐ เขียนลงในเฟซบุ๊คว่า ปัญหาการเยียวยาที่ผ่านมา ทั้่ง นปช. มูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย และพรรค ได้เยียวยาคนเสียชีวิต บาดเจ็บไปพอสมควร ถ้าขาดไปบ้างคงน้อยมาก แต่ที่มีข้ออ่อนคือ ผู้ถูกคุมขัง ซึ่ง ส.ส. ในพื้นที่รับงานไปดูแลยังไม่ทั่วถึง แม้ นปช. ก็เช่นกัน
โดยเฉพาะคน ที่ไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีคนแจ้งเรื่องและติดตามเรื่อง ผู้หญิง 3 คนที่ทัณฑสถานหญิงกลาง คลองเปรม เพิ่งได้ชื่อมา 2-3 วันนี้ ให้ทีมเลขาไปตรวจดู จึงได้เยี่ยมเพียงคนเดียวชื่อนางนฤมล อรุณรุ่งโรจน์ ซึ่งถูกตั้งข้อหายิงเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์พร้อมมีอาวุธสงคราม โดยต้องอยู่ในเรือนจำมาหนึ่งปีกว่าแล้ว และจะตัดสินในวันที่ 10 ส.ค. 54 ที่ศาลแขวงพระโขนง
ยังขาดเยี่ยมอีก 2 คนคือ นางเจียน ทองมาก และนางพยอม บุญสูงเนิน ซึ่งทาง นปช. จะทยอยเข้าเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ต่อไป
ทั้งหมดนี้ มาจากการขาดฐานข้อมูลที่ชัดเจน และคณะผู้ติดตามดูแล นี่จึงเป็นที่มาที่ต้องทำ "กองทุนยุติธรรม" เพื่อคนเหล่านี้ รวมทั้งคนตาย บาดเจ็บ ทั้งต่อสู้คดีและเรียกร้องความเสียหาย
ผู้หญิงยิงฮ.?
ทั้งนี้มีรายงานข่าวช่วง การชุมนุม10เมษายน2553 ในเวลา 17.50 น.เฮลิคอปเตอร์ทิ้งแก๊สน้ำตา 2 ลูก ใกล้บริเวณพื้นที่ชุมนุมสะพานผ่านฟ้า โดยลูกแรกตกที่สี่แยกหน้าหอศิลป์ ลูกที่ 2 ตกบนสะพานหน้าวัดสระเกศ ซึ่งห่างจากสะพานผ่านฟ้า 100 เมตร หลังจากนั้นมีกลุ่มควันแก๊สน้ำตากระจัดจายปกคลุมทั่วบริเวณสะพานผ่านฟ้า ทำให้ผู้ชุมนม แกนนำแดง และผู้สื่อข่าว แตกตื่นวิ่งหนีกระจัดกระจาย พร้อมกับส่งเสียงร้องด้วยความปวดแสบปวดร้อน เนื่องจากพิษของแก๊สน้ำตาทำให้ผิวหนังแสบร้อน ต่างวิ่งหาน้ำมาล้างตาและผิวหนัง
ภายหลังจากที่แกนนำแดง และผู้ชุมนุมได้บรรเทาอากาศแสบร้อนจากแก๊สน้ำตาแล้ว แกนนำได้ขึ้นปราศรัย เพื่อไม่ให้ผู้ชุมนุมแตกตื่น และสั่งให้ปล่อยโคมลอยและลูกโป่งสวรรค์ เพื่อสกัดเฮลิคอปเตอร์ ทั้งนี้มีเฮลิคอปเตอร์บินวนไปวนมาอยู่บริเวณสะพานผ่านฟ้าCRY FREEDOM-สตรีเสื้อแดงยกผืนธงชาติไตรรงค์ขึ้นเช็ดน้ำตา หลังจากถูกฮ.ของทหารโปรยแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมเมื่อ 10 เมษา 53 ภาพนี้กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญภาพหนึ่งของการชุมนุมปี 53 ในฐานะเป็นภาพที่แพร่หลายที่สุดภาพหนึ่ง
เมื่อ สัปดาห์ก่อนนี้มีการจัดกิจกรรม"ของขวัญสีแดงแก่นักโทษเสื้อแดง"ขึ้น โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รายงานว่า มีนักโทษเสื้อแดงชายที่มีภรรยาติดคุกคดีก่อการร้ายพร้อมกัน แต่ติดอยู่คนละแดน ได้ร้องขอให้กลุ่มที่ทำกิจกรรมได้ไปเยี่ยมนักโทษหญิงด้วย เพราะอยู่ในสภาพถูกหลงลืม
โดยผู้ใช้ชื่อว่า ป๋าจอมตั๊ป กลุ่มสหายสีแดง รักราษฎรเขียนบันทึกใน เฟซบุ๊คป๋าจอมตั๊บฯว่า
หลังจากเข้าเยี่ยมและมอบของขวัญแด่นักโทษการเมืองเสื้อแดง 49 คนในเรือนจำชายเรียบร้อยแล้ว (อ่านรายละเอียด:เสียงเล็กๆจากคนเสื้อแดงหลังลูกกรง บทสัมภาษณ์นักโทษการเมืองคดี 112 จากกิจกรรม"ของขวัญสีแดงแด่เพื่อนสีแดง")
ทาง ทีมงานกิจกรรม"ของขวัญสีแดงแด่เพื่อนสีแดง" นำโดยทีมทนายจากสำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ และพี่นกแดง ก็เดินทางต่อมายังทัณฑสถานหญิง เพื่อตีเยี่ยมนักโทษการเมืองหญิงที่เหลืออยู่ 4 คน ในเรือนจำหญิงแห่งนี้แต่ละคนแต่ละสายก็แบ่งหน้าที่กันเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังกันชุดละสามคน ทั้งพี่ดา ตอร์ปิโด และคนอื่นๆอีก3คน
ตัว ผม พี่บี้ อัฐพล และพี่เอก เอกชัย(ผู้ต้องหาคดี112ที่ได้ประกันตัวออกมาสู้คดี) ได้ตีเยี่ยมผู้ต้องขังหญิงเสื้อแดง ที่ต้องโทษคดีพกพาวัตถุระเบิด คุณพยอม หนูสูงเนิน ชาวจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งศาลพิพากษายืน จำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา
พวก เราได้พูดคุย สอบถาม ให้กำลังใจ รวมทั้งขอสัมภาษณ์สั้นๆมาเพื่อนำสาส์นนี้มาเผยแพร่ให้กับพี่น้องเสื้อแดงภาย นอกได้รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น
พี่พยอมเล่าว่า สามีของพี่เขา ชื่อพี่โชค (โชคอำนวย สุรการ) ติดคุกคดีก่อการร้าย ที่ฝั่งเรือนจำชายเช่นกัน พี่โชคถูกจับในวันที่ 17 พ.ค. 53 ส่วนพี่พยอมถูกจับในวันที่ 18 ที่บริเวณคอนโด หลังจากแวะกลับไปอาบน้ำ
พี่ เอกชัยได้แจ้งกับพี่พยอมว่า เมื่อเช้าเข้าไปเยี่ยมในเรือนจำชาย พี่โชคก็ฝากความคิดถึงมา ฝากมาบอกว่าพี่โชคยังไม่ลืม และยังเป็นห่วงพี่พยอมเสมอ ให้อดทนเอาไว้ พี่โชคก็จะอดทนเช่นกัน พี่พยอมก็ตอบว่าก็มีแต่พี่โชคนี่แหล่ะที่ยังเป็นกำลังใจให้กันและกัน เขียนจดหมายคุยกันข้ามกันไปข้ามกันมาในสองเรือนจำนี่แหล่ะ
ต่อไปเป็นบทสัมภาษณ์พี่พยอม หนูสูงเนิน นะครับ
ผม : สภาพความเป็นอยู่ข้างในเป็นอย่างไรบ้างครับ?
พี่ พยอม : ตอนนี้ก็ลำบาก จริงๆก็ลำบากมาตลอด อยู่เฉยๆไม่ได้เลย มันคิดมาก มันฟุ้งซ่าน ไม่รู้จะทำยังไง ตอนหลังนี่เขาก็ให้พี่ไปปูกระเบื้อง ไปช่วยบำเพ็ญประโยชน์อยู่ข้างในนี้
ผม : ตอนนี้ขาดเหลืออะไรบ้างมั๊ยครับ พวกผมจัดกิจกรรมช่วยเหลือคนข้างในจะพยายามจัดส่งเข้าไปให้ครับ
พี่ พยอม : ตอนนี้หน้าฝน ลำบากมากเรื่องเสื้อผ้า ก็ขอเป็นชุดผ้าบาง(แบบไม่มีแถบ) ชุดชั้นใน กางเกงใน ผ้าถุง ผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก สบู่ แชมพู ผ้าอนามัย พวกนี้ ยังไงก็ขอบคุณพวกเรามากนะที่ยังไม่ลืมกัน
ผม : ที่ผ่านมามีใครมาเยี่ยมพี่พยอมบ้างมั๊ยครับ
พี่พยอม : ...(ไม่พูดอะไร แต่หยิบผ้าปิดปากขึ้นมาซับน้ำตา ร้องไห้... ผมอดน้ำตาซึมไปด้วยไม่ได้) ... 4 เดือนแล้ว ไม่มีใครมาเยี่ยมเลย วันนี้นกแดงเขามาด้วยมั๊ย พี่คิดถึงนกแดง มีแต่เขาที่คอยมาเยี่ยมคนในนี้อยู่ตลอด
ผม : ตอนที่พี่พยอมอยู่ในที่ชุมนุมเป็นการ์ดนปช.เหมือนกันใช่มั๊ยครับ ?
พี่ พยอม : ตอนแรกน่ะนะ พี่กับพี่โชค ก็เป็นพ่อค้าแม่ค้าขายเสื้อแดงธรรมดานี่แหล่ะ ไปๆมามาพอรู้จักคนเยอะเข้า ก็เริ่มมีลูกน้อง แล้วก็เข้าไปทำงานกับการ์ดส่วนกลาง ไปขึ้นตรงกับพี่อารีย์(อารีย์ ไกรนรา) แล้วพอดีว่าในลูกน้องที่เป็นการ์ดนั้น มันมีสายจากฝั่งตรงข้ามมาแฝง คอยรายงานนายมัน ชื่อไอ้โต้ง กับไอ้ตี๋ แล้วก็ยังมีอีกหลายคน ส่วนใหญ่ที่โดนจับกันก็เพราะไอ่ที่เป็นสายมาแฝงตัวนี่แหล่ะ
ผม : แล้วพี่พยอมได้รับความช่วยเหลือจากทางนปช.หรือทางพรรคบ้างมั๊ยครับ หรือมีใครจากทางนั้นมาเยี่ยมบ้างไหม?
พี่ พยอม : ...ตั้งแต่ติดคุกมา 1 ปี 3 เดือน ได้จากพรรคช่วยเหลือมา 600 บาท ตอนนั้นให้ญาติไปทำเรื่อง ไปเซ็นต์ไปขอเบิกมา โอ๊ย ยากเย็นจริงๆน่ะ เรื่องคนจะมาเยี่ยมก็ได้แต่รอคอยความหวังกันไป
ผม : ทางคุณอารีย์ ไกรนรา หัวหน้าการ์ดที่พี่พยอมเคยทำงานให้นี่เขาได้ส่งข่าวคราวหรือแวะมาเยี่ยมบ้างรึยังครับ?
พี่พยอม : ไม่เคยนะ
ผม : พี่พยอมอยากฝากอะไรถึงพี่น้องเสื้อแดงที่ยังร่วมกันต่อสู้เพื่อความยุติธรรมด้วยกันอยู่ข้างนอกมั๊ยครับ ?
พี่ พยอม : ก็อยากจะฝากความคิดถึงพี่น้องเสื้อแดงทุกๆคน ขอให้สู้กันต่อไปนะ คนข้างในนี้ก็ยังสู้อยู่ ฉันโดนโทษ 1 ปี 6 เดือน ตอนนี้ติดมา 1 ปี 3 เดือนแล้ว หลังจากสิ้นเดือนนี้ ฉันก็จะนับถอยหลังไปอีก 3 เดือน 14 วัน เพื่อรอให้ถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน เวลา 9 โมงเช้า ฉันก็จะพ้นโทษออกไปจากที่นี่ และสัญญาว่าจะไปร่วมต่อสู้ด้วยกันกับพี่น้องข้างนอกต่ออย่างแน่นอน
ผม : วันที่ 14 พ.ย. นี้พี่พยอมจะพ้นโทษแล้วใช่มั๊ยครับ มีญาติๆรู้ข่าวกันบ้างรึยังครับ มีใครจะมารับรึปล่าวครับพี่ ?
พี่พยอม : ก็อยากให้มีคนมารับเหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าญาติๆพี่ที่ชัยภูมิเขาจะสะดวกมากันรึปล่าวจ้ะ
ผม : ถ้าอย่างนั้นพวกผมทั้งพี่นกแดงแล้วก็พี่น้องเสื้อแดงจะมาต้อนรับพี่ออกจากเรือนจำด้วยกันครับ เช้าวันที่ 14 พ.ย.นี้ นะครับ
พี่พยอม : ยิ้มๆ แล้วก็บอกว่าขอบคุณทุกๆคนที่มาเยี่ยมพี่มากๆเลยนะ
จาก นั้นเราทั้ง 3-4 คนก็ร่ำลากัน แล้วก็แยกย้ายกันออกมา ข้าวของเครื่องใช้ที่ขาดเหลือจะให้ทางสำนักงานกฎหมายราษฎรประสงค์ส่งเงิน เพื่อจัดซื้อสิ่งของที่ยังขาดอยู่เข้าไปให้กับพี่พยอมและนักโทษคนอื่นๆต่อไป ครับ
ทั้งนี้ ผมจึงขอเชิญชวนพี่น้องเสื้อแดงทุกๆคนที่สนใจไว้ล่วงหน้า เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ต้อนรับเพื่อนเรากลับบ้าน ในวันที่ 14 พ.ย. 54 นี้ เวลา 9 โมงเช้า ขอเชิญร่วมแสดงความยินดีกับอิสรภาพที่พี่น้องเรากำลังจะได้รับ แม้จะยังไม่ครบทุกคน
********
ขอมั่งดิ
ส่วนผู้ใช้นามว่าบี้ อัฐพล ก็เขียนลงในเฟซบุ๊คเล่าเรื่องนี้ว่า
25 ก.ค. 2554
12.30 น. เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
ผมยืนอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ซึ่งเต็มไปด้วยเพื่อน ๆ พี่น้อง ลุงป้าน้าอา ส่วนใหญ่แต่งเครื่องแบบสีแดงกันเต็มยศ
แทบทุกคนกำลังพยายามสื่อสารสื่อสารข้ามแผ่นกระจกหนาขนาดใหญ่ที่กั้นกลางระหว่างพวกเขากับผู้ชายในเครื่องแบบสีเหลืองกลุ่มหนึ่ง
บาง คนได้ใช้โทรศัพท์พูดคุย หลายคนตะโกน บ้างก็ชูมือชูไม้ส่งสัญลักษณ์สื่อความหมาย ให้กำลังใจกับคนอีกฟากฝั่งหนึ่ง เสียงดังเซ็งแซ่เหมือนนกกระจอกแตกรัง
"สู้!...สู้!"
"เราชนะแล้วนะ เดี๋ยวก็จะได้ออกมาแล้ว"
"อดทนหน่อย ข้างนอกกำลังช่วยอยู่"
"ทำไมวันนี้ใส่สีเหลืองล่ะ?"...(ฮา)
การเข้าเยี่ยมวันนี้ อาจจะเป็นวันที่มีคนเข้าเยี่ยมและคนถูกเยี่ยมมากที่สุดก็เป็นได้
ผมยืนมองชายชุดเหลืองฝั่งตรงข้าม เห็นหลายคนพูดคุยผ่านโทรศัพท์กับคนที่มาเยี่ยมด้วยความตื่นเต้น ดีใจ
ถึง แม้พวกเขาแทบจะไม่รู้จักกันเลยก็ตาม หลายคนยืนยิ้มโบกไม้โบกมือกับคนชุดแดงฝั่งนี้ แต่มีหลายคนยืนชิดผนังด้านหลัง สีหน้าเรียบเฉย ยากจะเดาความรู้สึก
"พวกนั้นมันน้อยใจน่ะ ยังไม่ได้คุยกับใครเขาเลย" พี่นกแดงที่คุ้นเคยกับพวกเขาดี อธิบายเวลามีน้อย โทรศัพท์ก็มีน้อยไปในวันนี้
ขณะ ที่ผมกำลังยืนสังเกตเหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่นั่นเอง พี่ชายผมสีดอกเลา รูปร่างค่อนข้างบึกบึนในชุดเหลืองคนหนึ่ง สบตาผมแล้วชี้มือชี้ไม้มาที่กระจกพร้อมกับป้องปากพูดอะไรบางอย่าง
ผมตรงเข้าไปใกล้กับกระจก พยายามฟัง แต่ความหนาของมันทำให้เราทั้งคู่ไม่ได้ยินเสียง
พี่ชายคนนั้นหาทางสื่อสารกันใหม่ แกก้มตัวลงพูดผ่านแถบโลหะที่ปิดไว้ด้านล่างสุดของกระจก ผมก้มลงฟัง คราวนี้ได้ยินชัดขึ้น
"ไปเยี่ยมฝั่งผู้หญิงด้วยนะ!"
ผมทำหน้างง ๆ "อะไรนะพี่?"
"ช่วยไปเยี่ยมฝั่งผู้หญิงด้วย แฟนผมอยู่ฝั่งโน้น ผมเป็นห่วง" สีหน้าดูกังวลด้วยความเป็นห่วงเป็นใย
ผมรับปาก แต่ในใจไม่มั่นใจนัก...
14.30 น.
ฑัณทสถานหญิงกลาง
พี่นกแดงพาพวกเรามาเยี่ยมผู้ต้องขังหญิง
ผม,จอม และเอกชัย(ผู้ถูกกล่าวหา 112 แต่ได้ประกันตัว) ได้เข้าเยี่ยมพี่พยอม โชคดี...พี่พยอมเป็นคนที่พี่ชายฝั่งโน้นฝากให้มาเยี่ยม
จอม กับเอกชัยพูดคุยกับพี่พยอมผ่านไมโครโฟน (ไม่เหมือนฝั่งโน้นที่ใช้โทรศัพท์) การพูดคุยคราวนี้เรียกน้ำตาจากทั้งสองฟากกระจก โดยไม่ต้อง"บิ้วด์" อารมณ์ หวังเรตติ้งคนดู แบบเดียวกับรายการทอล์คโชว์งี่เง่าทั้งหลาย (ของผมกับจอมแค่น้ำตาซึมนะ... เพื่อรักษาภาพความเป็นแมน แหะ แหะ)
ถึงคิวผม
"พี่ ครับ พวกผมมาให้กำลังใจพี่นะครับ เมื่อกี้ผมไปฝั่งโน้นมา แฟนพี่เค้าฝากให้มาเยี่ยมพี่ให้ได้ พี่เค้าเป็นห่วงพี่มากนะครับ ส่วนพี่เค้าสบายดี"เอ่อ...ประโยค หลังนี่ พี่ผู้ชายไม่ได้ฝากมานะครับ ผมขออนุญาตพูดแทนก็แล้วกัน แหะ แหะ (คิดว่าพี่เค้าคงอยากบอกแหละน่า แต่ตามธรรมชาติคนต่างจังหวัด มักจะไม่ค่อยแสดงความรู้สึกดราม่าซักเท่าไหร่ มันจะเขินเขินน่ะ -> สรุปจากตัวเองหรือเปล่าเว้ย?)
"พี่เค้าฝากบอกให้พี่ดูแลตัวเองให้ดี เค้าคิดถึงพี่มากนะครับ"...
หลังจากส่งสาร ไม่มีคำพูดใด ๆ ออกมาจากปากพี่พยอม เห็นแต่หยาดน้ำใส ๆ ที่เริ่มเอ่อออกมาซึมดวงตาอีกครั้ง พร้อม ๆ กับเห็นความพยายามอย่างมากที่จะสะกดกลั้นอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองให้เป็น ปกติ
ผมเชื่อว่า ตอนนี้ในใจของพี่พยอม คงเต็มไปด้วยกำลังใจที่จะช่วยให้ก้าวผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายนี้ไปให้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคำพูดหวาน ๆ ซึ้ง ๆ ไม่จำเป็นต้องจ้องหน้าสบตากัน ทั้งสองคนได้รับรู้ว่าในช่วงเวลาที่แสนเลวร้าย ยังคงมีคนที่คอยยืนหยัดอยู่เคียงข้างกันเสมอและตลอดไป
เท่านี้ก็คงเพียงพอแล้ว
ผม จากที่นั่นมา พร้อมกับความรู้สึกอิ่มใจที่ได้ทำตามสัญญา ขณะเดียวกันก็มีอาการแปลก ๆ เกิดขิ้นกับผม มันเป็นอาการแสบ ๆร้อน ๆ ที่บริเวณขอบตา
มันเกิดขึ้นตอนที่ผมกำลังคิดในใจว่า
"ขอ มั่งดิ ขอมั่ง...ขอฟิลโรแมนติกประมาณนี้กับกรูบ้าง อะไรบ้าง จะได้ไหม?...แต่ขอแบบไม่ต้องมีรั้วคอนกรีตหนา ๆ ไม่ต้องมีลูกกรง ไม่มีลวดหนามมากั้นนะเว้ย...กรูป๊อดดด!"...********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:
-สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์:กิจกรรม“ของขวัญสีแดงแด่เพื่อนสีแดง” ทะลุเป้า ! : คำขอบคุณที่แทรกผ่านลูกกรงจากเพื่อนสู่เพื่อน
-เสียงร้องหาความเป็นธรรมจากเรือนจำมหาสารคาม
-ผู้ตาย บาดเจ็บ ถูกคุมขัง และสูญหายจากเหตุการณ์
ดร.กฤตยา อาชานิจกุล รองผอ.สถาบัน วิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะตัวแทนศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณีเม.ย.-พ.ค. 2553 (ศปช.) แสดงข้อมูลไล่เรียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงรายละเอียดของผู้เสียชีวิต 92 ราย
นางกฤตยา กล่าวว่า รัฐบาลไม่สมควรสั่งทหารใช้ปืนสไนเปอร์กับประชาชน และยังมีข้อเท็จจริงจากศปช.ด้วยว่า มีการใช้จำนวนกระสุนปืนสไนเปอร์ในเหตุการณ์ทั้งหมด 2,000 กว่านัด จาก 3,000 กว่านัด ทั้งๆ ที่สิทธิการใช้ปืนชนิดนี้จะต้องเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยพิเศษเท่านั้น ไม่ใช่ทหารทุกคนจะสามารถใช้ได้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคงคลี่คลายได้ยาก หากความจริงกับการพูดของแต่ละฝ่ายยังบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยเฉพาะการทำงานของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) และตำรวจ ยังล่าช้าไม่มีความคืบหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เอกสารของศปช.ระบุว่า จากการติดตามรวบรวมข้อมูลของศปช. จำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม มีทั้งสิ้น 92 ราย แบ่งเป็นขอคืนพื้นที่ วันที่ 10 เม.ย. 26 ราย กระชับพื้นที่ วันที่ 14-19 พ.ค. 57 ราย ในจำนวนนี้มี 3 ราย ไม่ทราบชื่อ เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตอีก 9 ราย ในเหตุการณ์ปะทะย่อยรวมถึงเหตุปะทะในต่างจังหวัด
นอกจากนี้ข้อมูลของ ศปช. ณ วันที่ 1 เม.ย. 2554 ยังระบุว่า ภายหลังจากประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน วันที่ 7 เม.ย. โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์แล้วนั้น พบว่าปัจจุบันยังมีผู้ต้องขังที่ไม่ได้รับการประกันตัวทั่วประเทศอีก 133 ราย เป็นชาย 121 ราย หญิง 12 ราย ชาวต่างด้าวอีก 3 ราย ซึ่งข้อหาส่วนใหญ่ คือ การละเมิดพ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยการชุมนุมเกิน 5 คนขึ้นไป การร่วมวางเพลิง สถานที่ราชการ และก่อการร้าย อีก 5 ราย ฯลฯ โดยไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการออกหมายจับ และการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุม ของกลุ่มนปช. ต่อ สาธารณะ อย่างเป็นระบบ
ทั้งนี้ ศปช.ยังได้รับข้อมูลคนหายในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าวจากมูลนิธิกระจกเงา จำนวน 20 ราย ซึ่งบางส่วนพบว่ามีการทำให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐอีกด้วย
แต่เราก็ยังคงต้องยืนหยัดสู้ร่วมกันต่อไป