WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, August 2, 2011

ใบตองแห้ง-วอยซ์ทีวี: อุดมการณ์สื่อ SAGA: จัดระเบียบเชิงอุดมการณ์

ที่มา ประชาไท

ฐานันดร ที่ 4 ทุกวันนี้ดูเหมือนจะกลายเป็นสถาบันที่มีเกียรติยศศักดิ์ศรีเป็นพิเศษในสังคม ไทย ดูได้ตอนแบลคฮอว์คตก ศพนักข่าวช่อง 5 เอาออกมาก่อนใครพร้อมศพ ผบ.พล 5 ผมไม่คิดว่าบังเอิญ แต่เป็นความจงใจ ถือเป็นเกียรติอย่างสูงสำหรับสถาบันสื่อ ที่ได้รับเกียรติเทียบชั้นหรือน้องๆ นายพล
ในบางสถานการณ์ สื่อมีความสำคัญต่อการชี้ทิศทางของสังคมและการเมืองมากกว่านายพลอีกนะครับ จะบอกให้
โลก วันนี้ต่อสู้ช่วงชิงกันด้วยข้อมูลข่าวสาร สื่อจึงมีความสำคัญ กระทั่งตัวสื่อเอง ก็กลายเป็นบุคคลสาธารณะ และกลายเป็นข่าวเสียเอง ตั้งแต่สื่อระดับโลกอย่างนิวส์ออฟเดอะเวิลด์ มาจนถึงระดับประเทศอย่างมติชนกับประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ที่กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ในวงการสื่อ
แบบว่ายุคแมลงวันไม่ตอมแมลงวัน กลายเป็นอดีตไปนานแล้ว ยุคนี้เป็นยุคแมลงวันเจาะไข่แมลงวันต่างหาก
แหล่ง ข่าวเล่าว่า เย็นวันนั้น ประสงค์ยังไม่ทันย่างเท้าออกจากตึกมติชนด้วยซ้ำ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ก็ตีข่าวสนั่นเมือง ขนาดนักข่าวมติชนหลายรายยังรู้ข่าวจากผู้จัดการออนไลน์ เห็นไหมล่ะ โลกยุคข้อมูลข่าวสาร ไม่มีใครปกปิดได้ ไม่เว้นแม้สื่อด้วยกันเอง ยังโดนเจาะยาง ฮิฮิ
“มิพักต้องสงสัย” เลยว่าทำไม้ สื่อถึงเจาะลึกไปได้ถึงในที่ประชุมพรรคหรือที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
“พลัน ที่” (ยืมสำนวนเสถียร จันทิมาธร) ได้ยินข่าวมติชนเลิกจ้างประสงค์ คำถามแรกที่ผมถามด้วยความเป็นห่วงคือ แล้วประสงค์ได้เงินชดเชยหรือเปล่า แหล่งข่าวในมติชนเปิดเผยว่า ได้รับตามระเบียบว่าด้วยการเกษียณอายุของบริษัทมติชน เป็นกรณีพิเศษ
ก็ ระเบียบที่มติชนเคยคิดจะแก้ไข แต่มี “มือมืด” เอามาเขียนประจานลงประชาไท จนเสี่ยช้าง ขรรค์ชัย บุนปาน ต้องกัดฟันกรอดๆ คงไว้ตามเดิมนั่นแหละครับ พนักงานอายุ 60 เกษียณแล้วมีสิทธิได้รับบำเหน็จเป็นเงินเดือนคูณด้วยจำนวนปี ถ้าอายุ 55 ขอเกษียณก่อนกำหนด บวกให้อีก 5 ปี
ในกรณีนี้ ประสงค์อายุไม่ถึง 55 ดูเหมือน 50 แต่ผู้บริหารมติชนยอมบวกเพิ่มให้ 10 ปี แปลว่าประสงค์ได้บำเหน็จเป็นเงินเดือน 36 เท่า จากอายุงาน 26 ปี
แหล่ง ข่าวเขาว่ายังงั้น จริงไม่จริงประสงค์ช่วยยืนยันด้วย เพราะผมก็ไม่ได้สนิทสนมถึงขั้นสอบถามเป็นส่วนตัว แต่เท่าที่ฟัง ประสงค์ก็พอใจเงื่อนไขการ “เลิกจ้าง”
ที่พูดนี่ไม่ ได้จะมาตรวจบัญชีทรัพย์สินประสงค์ (ฮา) แต่ผมเป็นห่วงแค่นี้ เพราะผมมองว่ามติชนกับประสงค์อวสานกันไปตั้งนานแล้ว เหลือแต่ว่ามติชนจะชดเชยให้ประสงค์อย่างเป็นธรรมหรือไม่ในฐานะที่เป็นหัว เรี่ยวหัวแรงสร้างชื่อเสียงให้ค่ายประชาชื่นมาตลอด เมื่อออกมาเป็นการ “เลิกจ้าง” และชดเชยเป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่มติชนบีบให้ลาออก ก็ถือว่าแยกทางกันด้วยดี ไม่เหมือนการรถไฟแห่งประเทศไทยกับสาวิทย์ เสียงหวาน ที่ยังเรียกค่าเสียหายตั้ง 15 ล้าน
แน่ นอนว่ามติชนกระทบกระเทือน ในแง่เสรีภาพสื่อ ย่อมถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าปิดกั้นความเห็นต่าง ตั้งแต่เด้งประสงค์ออกจาก บก.มติชนออนไลน์ ให้ประสงค์เขียนเลิกเขียนบทความ (ซึ่งประสงค์เอาไปโพสต์ลงเฟซบุค ทวิตเตอร์ เว็บบอร์ด) ย้ายประสงค์ไปเป็น บก.สำนักพิมพ์ (ซึ่งประสงค์เอาไปโพสต์ลงเฟซบุค ทวิตเตอร์ เว็บบอร์ด) จนในที่สุดก็เรียกมาตกลง “เลิกจ้าง”
แต่พูดไปทำไม มี เพราะผมไม่เชื่อเรื่องเสรีภาพสื่อแบบเพ้อฝัน ที่เคยพูดๆ กันตอนร่างรัฐธรรมนูญว่าสื่อต้องมีเสรีภาพ นายทุนแทรกแซงไม่ได้ ผมฟังแล้วหัวร่อก๊าก ก็นายทุนเขาออกเงินจ้างเรา แล้วเขาสั่งไม่ได้ เขาจะจ้างเราไว้ทำไม
เสรีภาพสื่อจึงต้องอยู่ที่ เปิดกว้างให้มีสื่อหลากหลาย สื่อทางเลือก อย่างเช่นที่ปัจจุบันมีทีวีดาวเทียม มีอินเตอร์เน็ต ถ้าจะบอกว่าต้อง “เป็นกลาง” ก็คือสื่อของรัฐเท่านั้น
ถามว่าพูด อย่างนี้ผมยอมรับที่ถูกห้ามเขียนในไทยโพสต์หรือ ก็ยอมรับสิครับ ไม่ได้ประท้วงอะไรเลย ผมพูดเสมอว่าที่ให้ผมเสนอความเห็นต่างมา 3 ปีก็เป็นความใจกว้างเหลือเชื่อแล้ว เถ้าแก่เปลวเขียนอยู่ข้างบน ผมขัดคออยู่ข้างล่าง ทุกวันเว้นวันอาทิตย์ ตลอด 3 ปี เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในวงการหนังสือพิมพ์ แต่เมื่อถึงเวลาที่ไทยโพสต์ให้ผมหยุดเขียน ผมก็ลาออก เท่านั้นเอง
ถ้า เปรียบไป ผมก็หัวอกเดียวกับประสงค์ ต่างกันแค่ไทยโพสต์จน ไม่มีเงินบำเหน็จ (ถ้ามีผมก็คงไม่ออกง่ายๆ ฮิฮิ) ไทยโพสต์ไม่ได้บอกให้ผมออก ไม่ได้บีบให้ผมลาออก แค่บอกให้หยุดเขียน แล้วให้ทำงานอื่นไป ไม่ได้ห้ามทำสัมภาษณ์ด้วย แต่ผมเห็นว่าไม่ได้เขียนแล้วผมจะมาอยู่กินเงินเดือนฟรีๆ ทำไม ผมก็ลาออก โดยไม่ได้ดิ้นรนให้เลิกจ้างเอาค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ผมลาออกปลายเดือนตุลาคม ทั้งที่สามารถอยู่เปล่าๆ อีก 2 เดือน ลาพักร้อนมั่ง ลากิจมั่ง รับโบนัสปลายปีแล้วค่อยออกก็ได้ (โบนัสแค่ครึ่งเดือน เดี๋ยวจะหาว่าไทยโพสต์รวย)
แบบว่าขอเท่ซักหน่อย อยากเท่ก็ต้องยอมกลืนเลือด
การ ลาออกเมื่อเกิดความขัดแย้ง เป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับคนหนังสือพิมพ์รุ่นเก่า ถือเป็นเกียรติประวัติด้วยซ้ำ ผมตามอายุษ ประทีป ณ ถลาง ยกทีมออกจากแนวหน้าหลังพฤษภาทมิฬ โดยไม่เรียกร้องค่าชดเชยซักแดง มีแต่ตอนออกจาก INN ที่ฟ้องศาลแรงงานแก้เผ็ด (ชนะอีกต่างหาก ฮิฮิ ชนะคดี INN บริษัทในเครือสำนักงานทรัพย์สินฯ) แล้วก็มาถูก “เลิกจ้าง” ที่สยามโพสต์ พร้อมเถ้าแก่เปลว อายุษ รวม 5 คน ดีใจแทบแย่ที่ถูก “เลิกจ้าง” เพราะได้สตางค์ติดกระเป๋าก่อนยกทีมกันมาตั้งไทยโพสต์
ผม จึงลาออกโดยไม่โวยวายอะไร เพียงแต่ไทยโพสต์ก็ “ชดเชย” ให้ผมด้วยการจ้างพิเศษ ให้เขียนเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองซึ่งผมทำอยู่ก่อนแล้ว อย่างน้อยก็ช่วยยาไส้ แม้ลำบากหน่อย ต้องแบมือขอเมียใช้ แต่ก็มีเงินจ่ายประกันสังคมไปถึงอายุ 55 ครบ 15 ปีได้เงินชราภาพ (วาสนาทำมาแค่นี้ ฮิฮิ)
พูดอย่างนี้เหมือนผมไม่ โกรธ เหมือนผมเห็นว่ายุติธรรมแล้ว ไทยโพสต์ทำถูกต้องแล้วหรือ โห ธรรมดา คนเราก็ต้องยัวะ ไม่งั้นจะออกทำไม เราเคยมีเสรีภาพกลับมาถูกจำกัดเสรีภาพ เพียงแต่ผมมองโลกในความเป็นจริง และมองโลกในแง่ดี มองน้ำครึ่งแก้วที่กินไปแล้ว มากกว่าจะมองอีกครึ่งที่เขาไม่ให้กิน เอาใจเขาใส่ใจเรา ถ้าผมมีเงินทำหนังสือพิมพ์ จ้างเถ้าแก่เปลวมาเขียนแล้วเขียนสวนทางกับที่ผมอยากให้เขียน ผมจะทนแกได้ถึง 3 ปีหรือเปล่า
ผมก็มาหาที่ที่ผมเขียนได้อย่างมี เสรี จากใบตองแห้งไทยโพสต์ก็เป็นใบตองแห้งออนไลน์ ฉันใดก็ฉันนั้น จากประสงค์ วิสุทธิ์ ก็เป็นประสงค์ดอทคอม ปล่อยให้ไทยโพสต์เขาเป็นไปอย่างที่เขาอยากเป็น ปล่อยให้มติชนเขาเป็นไปอย่างที่เขาอยากเป็น
หลัง จากเวลาผ่านไป พอเริ่มตกผลึก ผมก็มองว่าเคสอย่างผมอย่างประสงค์ ไม่เหมือนเคสในอดีตที่ “นายทุน” ขัดใจสื่อ หรือ “นายทุน” โดนใบสั่งให้เอาไอ้คนนั้นอีคนนี้ออก เพราะไปขัดผลประโยชน์ของนักการเมืองรายนั้นกลุ่มนี้ แต่มันเป็นเคสใหม่ที่สื่อแสดงอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างชัดเจน แล้วตัวบุคคลขัดแย้งกับอุดมการณ์ทางการเมืองของต้นสังกัด
คือ จนบัดนี้ ผมก็ยังไม่รู้และไม่ถาม ว่าห้ามผมเขียนเพราะอะไร แต่ถ้าให้มองภาพกว้าง ไทยโพสต์ตั้งแต่หัวจดหางคิดต่างกับผม ผู้อ่านไทยโพสต์ส่วนใหญ่ก็คิดต่างกับผม จะไปนั่งตอบจดหมายเถียงกันทำไม
แบบเดียวกัน ผมว่าคนในมติชนส่วนใหญ่ตอนนี้ก็คิดต่างกับประสงค์ ไม่ใช่แค่เสี่ยช้าง หรือฐากูร บุนปาน แต่รวมคนอ่านมติชน ข่าวสดด้วย
ผม มองว่าสื่อไทยเริ่ม “จัดระเบียบเชิงอุดมการณ์” ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่เพิ่งจะเกิดขึ้นใน 4-5 ปีนี้ ที่ผ่านมา สื่อไม่ได้เลือกข้างชัดเจนทางอุดมการณ์ ก็แค่ทำข่าวรายวัน ด่านักการเมือง ด่าคอรัปชั่น ใครมาเป็นรัฐบาลก็ด่าหมด แต่ 4-5 ปีมานี้มันเกิดการเลือกข้างทางอุดมการณ์กันชัดเจน เป็นเหลือง เป็นแดง หรือพูดให้ครอบคลุมก็ต้องใช้ภาษาของเกษียร เตชะพีระ ว่าเป็นฝ่ายที่เชียร์ชนชั้นนำตามประเพณีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง กับฝ่ายที่เชียร์ชนชั้นนำทางธุรกิจการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
ซึ่ง ไม่ใช่เรื่องแปลก สื่อเมืองนอกก็แยกข้างกันชัดเจน อย่าง Fox News ของรูเพิร์ท เมอร์ด็อก สนับสนุนพรรครีพับลิกันอย่างเปิดเผย เป็นอนุรักษ์นิยม ขวาสุดขั้ว ของเราก็เอามั่ง ASTV ชัดเจนก่อนเพื่อน ไทยโพสต์ แนวหน้า ชัดเจน ค่ายเนชั่น ค่ายมติชน ก็เห็นทิศทางชัดเจน (เสื้อแดงถือข่าวสด เสื้อเหลืองอ่านคมชัดลึก-ซึ่งขนาดคอลัมน์ต่างประเทศยังด่าทักษิณ) มีแต่ไทยรัฐ ที่เป็นยักษ์ใหญ่ ขายคนอ่านวงกว้าง จึงปล่อยให้มีความเห็นทั้งสองข้าง
ผมจึงปลงตก ก้มหน้ารับกรรม จากที่เคยคิดว่าตัวเองทำหนังสือพิมพ์ “ฝ่ายก้าวหน้า” ตื่นขึ้นมากลายเป็นหนังสือพิมพ์จารีตนิยมโจมตีพวก “ล้มเจ้า” เป็นเรื่องของทัศนะที่แตกต่าง จะไปโทษใครได้
ฉะนั้น เวลามีใครกล่าวหาว่าเถ้าแก่เปลวเอาใจ ปชป.เพราะได้ค่าโฆษณา ผมจะเถียงแทนเสมอ ว่านักเลงโบราณอย่างเถ้าแก่เปลว ไม่ฆ่าลูกน้องเพื่อนักการเมืองหรอก นักการเมืองมันเรื่องขี้หมา ไม่ว่าพรรคไหน คนทำหนังสือพิมพ์มาตลอดชีวิต รู้ทั้งนั้นแหละว่านักการเมืองต่างมาแล้วก็ต่างไป แต่นี่มันเป็นเรื่องใหญ่กว่า คือเป็นเรื่องความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ ของแก-และของผม
ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่การแยกทาง กันด้วยดี ซึ่งกรณีของผม ก็เป็นไปด้วยดี กรณีของประสงค์ ก็เป็นไปด้วยดี ตามเงื่อนไขของแต่ละที่ ผมจึงถามคำเดียวว่าประสงค์ได้เงินชดเชยหรือเปล่า เมื่อรู้ว่าได้อย่างเป็นธรรมและเป็นกรณีพิเศษด้วยซ้ำ ก็ถือเป็นก่ารแยกทางกันด้วยดี นับแต่นี้ประสงค์ก็จะได้ไปเป็น ผอ.สถาบันอิศราแบบฟุลไทม์ และเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมายแบบพาร์ทไทม์ ไม่ต้องนั่ง 3 ตำแหน่งให้น้องๆ มันนินทา (ฮิฮิ)
แน่ นอน ประสงค์ก็คงเจ็บปวดคับข้องไม่ต่างจากผม แต่ประสงค์ก็พูดอะไรไม่ได้ เพราะในเชิงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ถือว่ามติชนแฟร์ที่สุดแล้ว
แต่ การวิพากษ์วิจารณ์ในแวดวงสื่อ และที่ลามออกไปข้างนอกสิครับ ไม่แฟร์ ตรงที่มีการโจมตีค่ายมติชนทำนองว่า เลิกจ้างประสงค์รับรัฐบาลใหม่ ยอมศิโรราบต่ออำนาจรัฐที่มาพร้อมผลประโยชน์มโหฬาร
คำ ถามคือ ก่อนหน้านี้มติชนเลียรัฐบาลประชาธิปัตย์แผล็บๆ โจมตีพรรคเพื่อไทย ด่าท้กษิณ แล้วพอพรรคเพื่อไทยชนะ ก็หันมาเชลียร์ยิ่งลักษณ์ อย่างนั้นหรือเปล่าละครับ ถ้าอย่างนั้นก็สมควรด่า ว่าเป็นสื่อที่กลับกลอก เห็นแก่ผลประโยชน์ ไม่มีจุดยืน
แต่ความจริงก็คือ มติชนเขาเลือกจุดยืนนี้มานานแล้ว อย่างน้อยก็ร่วม 3 ปี ที่ถูกพวกเสื้อเหลืองพวกสลิ่มด่าเป็น “สื่อหัวแดง” มติชนเขายืนหยัดไม่ยอมศิโรราบต่ออำนาจรัฐในยุครัฐบาลประชาธิปัตย์ ซึ่งเราก็รู้กันอยู่ว่ามีกองทัพ ตุลาการ และ “อำมาตย์” หนุนหลัง 3 ปีที่ผ่านมา มติชนเจอแรงกดดันมากมาย อย่างน้อยก็เห็นได้ว่ามติชนแทบไม่ได้ค่าโฆษณาหน่วยงานรัฐ มติชนเป็นบริษัทในตลาดหุ้น มีทุนหมุนเวียนเป็นพันๆล้าน แต่เขากล้าเสี่ยง ทั้งที่รู้ว่าสู้กับ “มือที่มองไม่เห็น” ทั้งที่ถ้าเขายอมเชลียร์ประชาธิปัตย์ เขาอาจจะได้รายการวิทยุทีวี ให้ประสงค์กับนงนุช สิงหะเดชะ ไปจัดออกช่อง 9 ช่อง 11
เรื่อง เหล่านี้ทำไมพวกที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่พูดบ้างล่ะ ทำไมมากล่าวหาเขาตัดตอน ว่าให้ “ซองขาว” วันก่อนหน้าที่ยิ่งลักษณ์จะไปเยี่ยมมติชน เพราะเห็นกันชัดเจนว่า อุดมการณ์ของประสงค์กับอุดมการณ์ของมติชน สวนทางกันมาตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ตอนที่ย้ายประสงค์จาก บก.ประชาชาติ จาก บก.มติชนออนไลน์ ซึ่งก็เกิดในยุคประชาธิปัตย์
คือ ถ้าจะวิพากษ์วิจารณ์ว่ามติชนปิดกั้นความเห็นต่าง ก็ว่าไปสิครับ แต่ที่ไปกล่าวหาเขาว่าทำเพื่อผลประโยชน์ มันไม่แฟร์ แต่ถ้าคุณวิพากษ์วิจารณ์ว่ามติชนปิดกั้นความเห็นต่าง คุณก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์ไทยโพสต์ ASTV แนวหน้า ฯลฯ เพราะผมก็ไม่เคยเห็นพนักงาน ASTV กล้ามีความเห็นต่างจากสนธิ ขณะเดียวกันถ้าคุณกล่าวหาว่ามติชนทำเพื่อผลประโยชน์ แล้วที่ผ่านมา ที่รับโฆษณาหน่วยงานรัฐกันครึกโครม และที่เนชั่น โพสต์ทูเดย์ ได้จัดรายการวิทยุทีวีล่ะ
ที่จริงในความเห็นผม ผมก็เห็นว่ามติชนเอียงมากไปหน่อย เราควรมีจุดยืนประชาธิปไตย แต่ไม่จำเป็นต้องเชียร์พรรคเพื่อไทยตะพึดตะพือ และผมก็ไม่เห็นด้วยกับการไม่ให้ประสงค์เขียนคอลัมน์ ปล่อยให้เขาเขียนไปสัปดาห์ละครั้ง คนอ่านเปรียบเทียบได้เอง
แต่ ถ้าเราจะวิจารณ์กันอย่างนั้น ก็คือวิจารณ์ในแง่จุดยืน คุณว่าเขาเลือกข้างถูกผิดก็ว่ากันไป เขาก็มีสิทธิว่าคุณเช่นกันว่าเลือกข้างถูกหรือผิด ไม่ใช่มากล่าวหากันว่า “เซ็นเซอร์ตัวเอง” ทำเพื่อผลประโยชน์
สื่อทุกค่าย ต่างก็ “จัดระเบียบเชิงอุดมการณ์” ปิดกั้นความเห็นต่างในค่ายตัวเอง ไม่ได้แตกต่างกันเลย มันไม่ใช่เกิดแค่ในมติชน ไทยโพสต์ แต่แทบทุกแห่ง ช่วงม็อบเสื้อแดงปีที่แล้ว เดลินิวส์ยุคมีผัวเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็สั่งห้าม “เบญจมาศ” เขียน เพียงแต่เขาทำกันภายในเงียบๆ
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อ 2 ปีก่อน มติชนเองก็เคยปลดเสถียร จันทิมาธร กับจุฬาลักษณ์ ภู่เกิด แล้วเก็บเข้ากรุ ว่ากันว่าเพราะ “แดงเกินไป” จะโดนแรงกดดันจากระดับไหนผมก็ไม่ทราบ เพียงแต่ทั้งคู่ไม่ได้ลาออก
ถาม ว่าตอนนั้นมีใครในแวดวงสื่อวิพากษ์วิจารณ์มติชนว่าปิดกั้นความเห็น ต่างหรือเปล่า ยอมจำนนเพื่อผลประโยชน์หรือเปล่า เปล่า ไอ้พวกที่วิพากษ์วิจารณ์อยู่ตอนนี้สะใจเยาะเย้ยเสถียรกับจุฬาลักษณ์ด้วยซ้ำ เช่นกัน คนพวกนี้ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ไทยโพสต์ คนพวกนี้ไม่ได้คัดค้านการประกาศ พรก.ฉุกเฉินแล้วปิดประชาไท ปิดเว็บไซต์ วิทยุชุมชน ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หรือใช้มาตรา 112 คุกคามจับกุมจีรนุช เปรมชัยพร, สมยศ พฤกษาเกษมสุข
ฉะนั้น อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ การที่คนพวกนี้โจมตีมติชน ก็เพียงเพราะเห็นว่าประสงค์เป็นพวกตัวเอง เป็นคนขุดคุ้ยเรื่องหุ้นทักษิณ เป็นคนที่ไม่ลดราวาศอกเรื่องหุ้นยิ่งลักษณ์ แล้วก็ฉวยโอกาสแปลงประสงค์เป็นอาวุธ รุมถล่มมติชนที่ตัวเองเกลียดชัง เท่านั้นเอง ไม่ใช่เรื่องของการปกป้องสิทธิเสรีภาพสื่ออะไรหรอก
เพราะ ถ้าสังเกตดูง่ายๆ ขณะที่ด่ามติชนไป พวกนี้ก็ด่าภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ไปด้วย โทษฐานที่บินไปสัมภาษณ์ทักษิณถึงดูไบ ทำนองว่าถ้าไทยพีบีเอสปลดภิญโญ พวกนี้ก็จะแซ่ซ้องสรรเสริญ
ปกป้องสิทธิเสรีภาพขี้หมาอะไร แถมยังไม่เข้าใจการทำหน้าที่สื่ออีกต่างหาก
ผม ละขำปนเศร้า เพราะตอนภิญโญสัมภาษณ์ณัฐวุฒิ ซักหนักๆ พวกเสื้อแดงก็ไม่พอใจ เขียนด่าในเว็บบอร์ดว่าภิญโญเป็นพันธมิตร พอไปสัมภาษณ์ทักษิณ สามารถทำให้ทักษิณสารภาพผิดออกอากาศ ต่อหน้าคนไทยทั้งประเทศ ยอมรับว่าผิดไปแล้วกรณีฆ่าตัดตอนยาเสพย์ติดกับอุ้มฆ่าภาคใต้ พวกเสื้อเหลืองพวกสลิ่มกลับหาว่าไปอวยทักษิณ
โห ถ้าคนวิจารณ์ไม่ใช่สื่อ ผมจะไม่ว่าอะไรเลย แต่ถ้าเป็นสื่อด้วยกัน ถ้าไม่ใช่ไอ้ควายก็คือคนที่มีแต่อคติและความเกลียดชัง
ถาม ว่าใครคือคนที่น่าสัมภาษณ์ที่สุด หลังพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง ถ้าคนตอบยังมีวิญญาณนักข่าว ก็ต้องตอบว่าทักษิณ แล้วคุณจะทำยังไงให้ทักษิณพูด คุณก็ต้องทำให้เกิดความไว้วางใจ ไม่ใช่ไปถึงก็ไปชวนทะเลาะ
เทคนิคพื้นฐานของคน สัมภาษณ์ มันก็ต้องตะล่อมให้คนที่เราจะสัมภาษณ์ยอมพูด คุยไปเรื่อยๆ ให้เขาวางใจ แล้วค่อยๆ ไปสู่ประเด็นที่เราต้องการ ผมสัมภาษณ์คนมาสิบกว่าปื ต่อให้คนที่ไม่ชอบหน้า ผมก็ต้องสุภาพอ่อนน้อม หรือแม้แต่อวยบ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง ผมสัมภาษณ์สนธิ ลิ้ม ทั้งที่ต่างฝ่ายต่างรู้ว่าความเห็นตรงข้ามกัน ผมก็เก็บตัวตนของผม ให้สนธิพูด ผลออกมาพวกพันธมิตรปลื้ม แต่คนที่เกลียดสนธิก็ยิ่งเกลียด
มีคนเดียวมั้งที่ผมสัมภาษณ์แล้วทะเลาะไปด้วย คือพี่เปี๊ยก พิภพ ธงไชย เพราะเป็นกันเองจนเถียงกันได้
ผม ไม่เห็นว่าภิญโญทำงานไม่เข้าเป้าตรงไหน แต่พวกไร้สติยังหาว่าไทยพีบีเอสใช้เงินภาษีประชาชนบินไปสัมภาษณ์ น.ช.ทักษิณ อ้าวเฮ้ย ภาษีเหล้าบุหรี่ที่เอามาให้ไทยพีบีเอส มันเป็นของพวกเสื้อเหลืองหรือพวกสลิ่มข้างเดียวซะเมื่อไหร่ มันเป็นของพวกเสื้อแดงเขาด้วย
เอาเข้าจริงก็คือคน พวกนี้คิดว่าไทยพีบีเอสควรจะเป็นของตัวเอง เป็นของเสื้อเหลือง เป็นของสลิ่ม เป็นของแมลงสาบ ใครมีความเห็นต่างหน่อยเดียว ก็หาว่ารับผลประโยชน์
ซึ่งที่จริง ไทยพีบีเอสที่ตั้งขึ้นมาในยุครัฐประหาร ก็เอาสื่อที่เกลียดทักษิณทั้งนั้น เข้าไปนั่งบริหารเงิน 2 พันล้านต่อปี ใครว่าเทพชัย หย่อง เป็นกลาง แต่อย่างน้อยเทพชัยก็ยังมีวิญญาณนักข่าว ที่เห็นว่าในเชิงข่าวคุณต้องสัมภาษณ์ทักษิณ ถึงอนุมัติค่าเครื่องบินให้ภิญโญไปสัมภาษณ์
พวกที่ ออกมาโวยวายยังตีโพยตีพายถึง “อนาคตสื่อในมือระบอบทักษิณ” ทำนองว่าถ้ารัฐบาลใหม่เข้ามา ก็ต้องถอดรายการเจิมศักดิ์ รายการของค่ายเนชั่น เข้าไปแทรกแซงสื่อผ่านค่าโฆษณารัฐ อ้าว เฮ้ย ก็ 5 ปีที่ผ่านมาคุณเลือกข้างซะชัดเจนขนาดนั้น เขาจะเอาคุณไว้ทำบิดาหรือ ถ้าคุณคิดว่าคุณมีอุดมการณ์หนักแน่นมั่นคงจริง คุณก็ทำสื่อของคุณไปโดยไม่ต้องแยแสโฆษณารัฐ
ทีฮูทีอิท อยากเท่ก็ต้องกลืนเลือดบ้างสิครับ รู้จักทำตัวเป็นเสืออย่าทำเป็นหมา เวลาโดนเข้ามั่งก็ร้องเอ๋งๆ
สื่อ ทั้งหลายควรยอมรับได้แล้วว่า พวกคุณเลือกข้าง แบ่งเป็น 2 ข้าง จะสนับสนุนใครระหว่าง “ชนชั้นนำตามประเพณีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง” กับ “ชนชั้นนำทางธุรกิจการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง” ซึ่งเป็นเรื่องของทัศนะ เรื่องของอุดมการณ์ทางการเมือง ที่มองพัฒนาการของประชาธิปไตย หรือตีความประชาธิปไตยแตกต่างกัน (โดยส่วนใหญ่ตีความประชาธิปไตยเป็นสนับสนุนรัฐประหาร ฮิฮิ)
ถ้า คุณอยากยืนสู้กัน ก็ต้องสู้กันเรื่องทัศนะ เรื่องอุดมการณ์ ไม่ใช่กล่าวหากันพล่อยๆ ว่าใครที่ไม่เห็นด้วยกับกรูคือรับเงินรับผลประโยชน์ เพราะที่เห็นๆ ก็มีผลประโยชน์กันทุกค่าย
ความ เป็นสื่อมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แค่เป็นนักข่าว 5-10 ปี เฮโลสาระพากันทำข่าวปิงปอง แล้วบอกว่าตัวเองเป็นนักข่าวที่ดี เพราะไม่เคยรับผลประโยชน์จากนักการเมือง แล้วก็ยกตนขึ้นมาเป็นผู้ตัดสิน ทั้งที่ควรจะเป็นแค่กระจกหรือผู้สังเกตการณ์
เกียรติภูมิ ของสถาบันสื่อ สั่งสมมาจากรุ่นบรรพชน ที่เขาต่อสู้กับเผด็จการตั้งแต่สมัยกุหลาบ สายประดิษฐ์, อารีย์ ลีวีระ, อิศรา อมันตกุล ฯลฯ ทำให้คนรุ่นหลังเพียงได้ชื่อว่าเป็นนักข่าว ก็ได้รับการยกย่อง ให้เกียรติ จนสำคัญผิดว่าตนเองยิ่งใหญ่ นักการเมือง ข้าราชการ ต้องเกรงใจ ขออะไรก็ให้
ความเป็นสื่อมัน ควรจะต้องเรียนรู้โลกกว้าง มองพัฒนาการของสังคม ความเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ใช่ฝังหัวอยู่แค่ “เกลียดนักธุรกิจการเมือง” หรือ “เกลียดนายทุน” เช่นคุณจะทำข่าวเรื่องป่าไม้ ที่ดิน คุณก็ต้องรู้ว่าอะไรคือ สค.1 นส.3 นส.3 ก. สปก.4-01 ภบท.5 เขตป่าสงวน เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ฯลฯ ไม่ใช่พาดหัว “นายทุนรุกป่า” แล้วก็เฮโลสาระพากันไปเป็นพักๆ สุดท้ายก็เงียบหายไป โดยไม่ได้แก้ปัญหาที่แท้จริง
อุดมการณ์ สื่อเป็นเรื่องที่กว้างไกลกว่าอคติและความเกลียดชัง อย่างน้อย อุดมการณ์สื่อต้องเชิดชูสิทธิเสรีภาพ ก่อนจะด่าคนอื่น พวกคุณยอมรับเสรีภาพของคนที่มีความเห็นต่างหรือไม่