WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, October 10, 2011

เสวนาเรื่องปรีดี: ชี้ไม่ว่ารัฐประหารกี่ครั้ง ไทยก็ไม่ย้อนกลับไปสู่สมบูรณาญาสิทธิราชอีก

ที่มา ประชาไท

ธเนศมองกรณีข้อถกเถียงนิติราษฎร์ ทำให้เห็นว่า 70 ปีการเมืองไทยยังไม่นิ่ง ระบุรัฐประหาร 2490 ต้นตอปัญหาปัจจุบัน มรกต ชี้ไม่ว่ารัฐประหารกี่รอบ แต่ยังไม่มีใครย้อนกลับไประบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แนะรื้อประวัติศาสตร์ช่วง 2475-2490 ใหม่

(9 ต.ค.54) วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์จัดเสวนาหัวข้อ "ภาพลักษณ์ปรีดี พนมยงค์กับสังคมการเมืองและประชาธิปไตยไทย" ณ อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า กรณี "คณะนิติราษฎร์" ออกมาเสนอว่ารัฐประหารเป็นสิ่งไม่ดี เพราะทำลายระบบนิติรัฐและเสนอลบผลพวงรัฐประหาร โดยที่มีอีกกลุ่มตั้งคำถามไปถึงว่าให้ลบผลพวงตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง 2475 ด้วยหรือไม่นั้น ส่วนตัวมองว่า เป็นมิติที่ดี เพราะทำให้เห็นว่าการเมืองไทยในรอบ 70 กว่าปียังไม่นิ่ง ยังไม่เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบที่ อ.ปรีดีเรียก

เขามองว่า คำถามที่จุดขึ้นมานี้ ไม่ว่าจากกลุ่มไหนก็ตาม นำไปสู่การทำให้ทุกคนต้องหันมามองปัญหาทางการเมืองว่าตกลงพัฒนาการปัจจุบัน เราอยู่ตรงไหน และกำลังไปสู่อะไร นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นว่า 70 กว่าปีที่ผ่านมา ข้อถกเถียงว่าการปฏิวัติรัฐประหารคือการเข้าสู่อำนาจรัฐถูกต้องหรือไม่ก็ยัง ไม่ได้ข้อยุติ

ทั้งนี้ ธเนศกล่าวว่า วิวาทะครั้งล่าสุดนี้ น่าสนใจตรงที่ดึงประเด็นที่เป็นรูปธรรมชัดขึ้นมา โดยนิติราษฎร์เสนอออกกฎหมายแก้รัฐธรรมนูญเพื่อทำให้รัฐประหารครั้งล่าสุดไม่ มีผล ถือเป็นการหลุดจากกรอบของการถูกขนบธรรมเนียมของรัฐประหารกดทับไว้

สำหรับภาพความรับรู้เรื่อง อ.ปรีดีนั้น ธเนศแสดงความเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงขึ้นและลงตามการเมืองไทยและความหมายของ ประชาธิปไตยที่เปลี่ยนไป โดยภาพลักษณ์นั้นเกิดผ่านการเล่าเรื่อง (narrative) ซึ่งมีการเล่าเรื่องสองชุด คือ หนึ่ง ภาพลักษณ์ผู้ทำลายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชหรือระบอบกษัตริย์ ภาพลักษณ์นี้ถูกสร้างผ่านข่าวลือ เช่น ปรีดีอยู่เบื้องหลังคดีสวรรคต การสร้างภาพลักษณ์นี้เกิดในช่วงหลังรัฐประหาร 8 พ.ย.2490 ส่วนชุดที่สองคือ ภาพลักษณ์มันสมองคณะราษฎร ผู้นำระบอบประชาธิปไตยเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งภาพลักษณ์นี้เกิดในช่วงใกล้ๆ เหตุการณ์ 14 ต.ค.2516

ธเนศกล่าวว่า เมื่อศึกษาการเมืองไทยพบว่า เรื่องที่ยังมีปัญหาจนปัจจุบัน มีต้นกำเนิดจากการรัฐประหาร 8 พ.ย.2490 ซึ่งรวมถึงความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ด้วย พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า พรรคประชาธิปัตย์มีปัญหากับประชาธิปไตยที่สุด โดยทุกครั้งหลังรัฐประหาร ทหารต้องให้พรรคประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาลแทน

ธเนศกล่าวว่า รัฐประหาร 2490 เป็นต้นกำเนิดของปัญหาประชาธิปไตยไทยจนถึงวันนี้ แม้จะมีรัฐประหารที่สำคัญมากคือ ในปี 2500-2501 ของจอมพลสฤษดิ์ แต่ก็เชื่อว่า ถ้าไม่มีรัฐประหาร 2490 ก็ไม่มีรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ และจะไม่มีรัฐประหาร 17 พ.ย.14 สมัยจอมพลถนอม รวมถึงเหตุการณ์ 14 ต.ค.16 ด้วย

ทั้งนี้ ธเนศ ระบุว่า การยึดอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ (ในปี 2501) ซึ่งให้เหตุผลของการรัฐประหารว่าเพราะ "กลไกไม่ดี" นำไปสู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับก่อน และตั้งเครื่องมือใหม่ เช่น สภา ส.ส.ร. รวมถึงยกระดับคำประกาศคณะปฏิวัติให้มีศักดิ์เท่ากับกฎหมาย เป็นต้นแบบของรัฐประหารครั้งต่อๆ มา ซึ่งเขามองว่า การที่นักกฎหมายยอมรับว่าศักดิ์ของประกาศคณะปฏิวัติเทียบเท่ากฎหมายปกตินั้น เป็นจารีตที่มีปัญหา

"ระบบยุติธรรมไทยที่เรามีวางอยู่บนการถักทอของอำนาจนอกระบบทั้งนั้น" ธเนศกล่าวและว่า หลายปีที่ผ่านมา ระบอบปฏิวัติอยู่ได้เพราะสร้างความพอใจให้ฐานเสียง ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์จากรัฐบาลปฏิวัติทุกสมัยคือคนในเมือง โดยยกตัวอย่างการปฏิวัติสมัยจอมพลถนอม มีการลดดอกเบี้ย ค่าไฟ ซึ่งคนในเมืองได้ประโยชน์ แต่ไม่เกี่ยวกับชาวบ้านรอบนอก สมัยจอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจมาตรา 17 ของรัฐธรรมนูญ ฆ่าคน ซึ่งคนในกรุงก็ไม่เดือดร้อน ขณะที่ถ้าได้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ทำอะไรก็ไม่เสร็จ

ธเนศชี้ว่า เรามีรัฐบาลที่ให้ผลประโยชน์กับคนในเมืองเยอะ แต่วิธีการเข้าสู่อำนาจนั้นเป็นสีเทา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลัง นักกฎหมายอธิบายว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมายและนิติรัฐ นี่คือความเพี้ยนของกระบวนการกฎหมายของไทย

อย่างไรก็ตาม เขามองว่า ในช่วง 4-5 ปีที่มีเสื้อแดง มีกลุ่มการเมืองต่างๆ ทำให้เห็นว่ามีแรงโต้รัฐประหารจากคนรอบนอกกรุงเทพฯ ซึ่งจะเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในรัฐธรรมนูญ ระบอบรัฐสภา และการเลือกตั้ง ไม่ปล่อยให้คนกรุงเทพฯ และนักกฎหมายในกรุงเทพ ตัดสินฝ่ายเดียวอีกแล้ว ซึ่งหาก อ.ปรีดีสามารถรับรู้ได้ คงมองว่าอย่างน้อยที่สุด สิ่งที่เริ่มจากคณะผู้ก่อการในตอนนั้นไม่หายและขยายไปทั่วทุกที่ในประเทศ เป็นการเมืองของภาคประชาชน


"ไม่ว่าจะรัฐประหารกี่ครั้ง
แล้วก็ทำให้การปกครองไทยเป็นแบบครึ่งใบ เสี้ยวใบ
แต่ไม่เคยมีใครก็ตามกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
อันนี้คือสิ่งที่คณะราษฎรทำ"

มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ โครงการไทยศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ เจ้าของวิทยานิพนธ์ปริญญาโท “ภาพลักษณ์ปรีดี พนมยงค์ กับการเมืองไทย พ.ศ.2475-2526” กล่าวว่า ความทรงจำในสังคมไทยถูกผูกขาดโดยรัฐไทย หรือพูดให้ชัดคือรัฐบาลรัฐประหาร กลุ่มอนุรักษนิยม พรรคการเมืองที่เข้าบริหารประเทศ พร้อมระบุว่า ความสับสนเรื่องรัฐประหาร, ปฏิวัติกับการเมืองไทย เกิดจากปัญหาการสร้างความทรงจำตั้งแต่ปี 2475

"รัฐไทยได้พยายามทำให้การลืมเป็นส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย" มรกตกล่าวและยกตัวอย่างการลืมการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ทำให้ไม่ค่อยมีใครรู้จักว่าสมาชิกของคณะราษฎรคือใครบ้างและทำอะไร พร้อมยกตัวอย่างนิทรรศการนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ที่ต้นถนนราชดำเนินว่า เป็นการสร้างความทรงจำแบบเดียวเท่านั้นในสังคมไทยและก่อให้เกิดปัญหา โดยเรื่องราวของคณะราษฎรนั้นมีเพียงรูปใบเดียวและระบุว่า คณะราษฎรก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2475 แต่ไม่มีรายละเอียดว่าใครทำอะไร

"ความจริงแล้วดูง่ายๆ ว่า [การเปลี่ยนแปลง 2475]เป็นการปฏิวัติและอภิวัฒน์ตามที่อาจารย์ปรีดีเสนอไว้จริงหรือไม่ เอาง่ายๆ นับตั้งแต่ 2475 จนถึงปัจจุบัน มีการรัฐประหารจำนวนมาก มีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ แต่ว่าคณะรัฐประหาร คณะทหารโดยทั่วไป แม้แต่กลุ่มอำนาจนิยม ไม่เคยมีใครต้องการที่จะกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชอีกเลย อันนี้คือความสำคัญอันหนึ่งซึ่งไม่เคยมีใครพูดถึง" มรกตกล่าวและย้ำว่า "ไม่ว่าจะรัฐประหารกี่ครั้ง แล้วก็ทำให้การปกครองไทยเป็นแบบครึ่งใบ เสี้ยวใบ แต่ไม่เคยมีใครก็ตามกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช อันนี้คือสิ่งที่คณะราษฎรทำ"

มรกต กล่าวถึงสาเหตุที่ปรีดีถูกพูดถึงตลอดเวลา ไม่ว่าในช่วงที่สังคมไทยเกิดวิกฤต ช่วงรัฐประหาร ช่วงพรรคการเมืองอยากชนะเลือกตั้ง หรือหลัง พ.ค.35 เพราะนับตั้งแต่ 24 มิ.ย.2475 ปรีดี คือสตีฟ จอบส์ของสยาม เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ซึ่งมีความสำคัญเพราะเป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของคณะราษฎร โดยจุดแข็งคือ มันสมองในแง่ที่ว่าพยายามทำให้การอภิวัฒน์ 2475 เป็นการอภิวัฒน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างหยั่งลึกเต็มที่ ทั้งการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์การผลิตและการเปลี่ยนแปลงโครสร้างเศรษฐกิจ นั่นคือต้องการให้คนธรรมดาสามารถกินดีอยู่ดี ประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎรตั้งแต่เกิดจนตาย ส่วนจุดอ่อนคือ ความต้องการรักษาสถาบันกษัตริย์ไว้ใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ แต่ต้องการลดอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชลง ทำให้กลุ่มที่ไม่ต้องการเสียอำนาจใช้แนวคิดเรื่องคอมมิวนิวส์มาโจมตีปรีดี

มรกต ทิ้งท้ายว่า คณะราษฎร-การเปลี่ยนแปลง 2475 ไม่เคยมีเนื้อที่ในความทรงจำของสาธารณชนชาวไทยอย่างสมศักดิ์ศรี ไม่เคยมีพิพิธภัณฑ์คณะราษฎร ไม่เคยมีอะไรเลย พร้อมเสนอว่า ควรจะต้องมีความพยายามที่จะทำความเข้าใจการเมืองไทยเสียใหม่ โดยเฉพาะในช่วง 2475-2490 โดยชี้ว่าหากยังเป็นแบบเก่า จะไม่สามารถช่วยเป็นทัพหน้าในการสร้างให้เรามองอนาคตไปได้ไกล โดยเมื่อไหร่ที่ปัจจุบันและอนาคตถึงทางตัน เพราะเราไม่รู้จะไปทางไหน ปัญหาประการหนึ่งที่เกิดทั่วโลกคือความทรงจำได้กักขังพวกเราไม่ให้มองอนาคต ในรูปแบบอื่น เพราะว่าอดีตทำให้เรามองความเป็นมาหรือปัญหาของเราในรูปแบบเฉพาะที่เราจะ แหวกกรงล้อมไปไม่ได้