WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, October 9, 2011

"ฐิติมา ฉายแสง" จากตระกูลการเมือง สู่โฆษกฯหญิงคนแรก

ที่มา มติชน



สัมภาษณ์ โดย กฤตยา เชื่อมวราศาสตร์




แรกเห็นนามสกุล ก็ให้สงสัยว่าสาวตาโต น้ำเสียงน่าฟังคนนี้ มีความเกี่ยวข้องอะไรกับ "จาตุรนต์ ฉายแสง" อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่ตอนนี้เป็นหนึ่งในสมาชิกบ้านเลขที่ 111

สืบค้นข้อมูล ก็พบว่า เธอเป็นน้องสาวของจาตุรนต์นั่นเอง เป็นน้องสาวที่ก้าวเข้าสู่แวดวงการเมืองตามรอยพ่อและพี่ชายทั้ง 3 คน

"ฐิติมา ฉายแสง" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ ในรัฐบาลที่มี "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก

เข้า รับตำแหน่งที่มีความสำคัญเทียบเท่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวง ด้วยประสบการณ์ทางการเมืองคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขต 1 จ.ฉะเชิงเทรา 2 สมัย

ครั้งแรกปี 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย ซึ่งทำหน้าที่ได้ไม่ถึง 2 ปี ก็เกิดเหตุการณ์รัฐประหารเสียก่อน

ลง สู่สนามเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคพลังประชาชน ชาวแปดริ้วให้ความไว้วางใจ เลือกเข้าสู่สภาเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลที่มี "สมัคร สุนทรเวช" เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อนายกฯนักทำกับข้าวพ้นตำแหน่ง ผู้นำรัฐบาลเปลี่ยนเป็น "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" มีการยุบพรรคพลังประชาชน เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำรัฐบาล ฐิติมาเปลี่ยนบทบาทมาเป็น ส.ส.ฝ่ายค้าน

"และตอนนี้เองที่ผู้คนรู้จักเธอมากขึ้น !"

ด้วยสมญานามที่ "ประมวล เอมเปีย" ส.ส.เขต อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีพื้นที่ติดกับ จ.ฉะเชิงเทรา เรียกว่า "นางมารร้าย"

"คำว่านางมารร้ายทำให้ดังมากขึ้น ไม่รู้สึกว่าจะต้องเลวร้ายอะไร ดีกว่าเขามาว่าเราเป็นนางงามตุ๊กตา หน่อมแน้มอะไร ไม่ใช่อย่างนั้น"
ฐิติมาเคยแสดงความเห็น

ฉายานี้ เธอได้รับหลังจากเปิดศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่มี "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นนายกรัฐมนตรี

ตอนนั้นอดีต ส.ส.เขตฉะเชิงเทรา รับหน้าที่ซักฟอก "กษิต ภิรมย์" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เธอนำกรณีที่กษิตเคยขึ้นเวทีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ มาใช้ซักฟอก

"ต้องหา ข้อมูลเยอะเพราะรัฐมนตรีเพิ่งรับตำแหน่งได้ไม่ถึงครึ่งปี ยังไม่ได้ทำอะไรผิด แต่กลับมีเรื่องไม่เหมาะสม ต้องการอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่าทำไมจึงเกิดความไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีท่าน นี้ อภิปรายโดยมีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง ไม่ได้พาดพิงบุคคลที่ 3 ไม่ได้ต้องการให้ใครเถียงเพราะเป็นข้อมูลที่อยู่บนหลักเหตุผล ด้วยน้ำเสียงและสไตล์การพูดออกไมค์ขณะอภิปราย บางคนจึงมองว่าฉะฉาน ต่างจาก ส.ส.หญิงท่านอื่นที่มีความนุ่มนวล" เธอย้อนให้ฟัง

ในศึกเลือกตั้งที่ผ่านมา ฐิติมาลงสมัคร ส.ส.เขต 1 ฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคเพื่อไทย ทว่าต้องพ่ายให้กับ "โหรการเมือง" อย่าง "บุญเลิศ ไพรินทร์" ที่ลงสนามเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์

ในลักษณะที่เธอเห็นว่ามี "วาระซ่อนเร้น"

แต่สุดท้าย หน้าที่ใหม่ของเธอ คือตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

"ฐิติมา ฉายแสง" หรือ "เปิ้ล" เกิดเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2503 เป็นบุตรสาวของ "อนันต์ ฉายแสง" อดีต ส.ส.ฉะเชิงเทรา และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ "เฉลียว ฉายแสง"

เป็นน้องสาวคนเล็กของ "จาตุรนต์ ฉายแสง" อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย, "กลยุทธ ฉายแสง" นายกเทศมนตรีเมืองฉะเชิงเทรา และ "วุฒิพงศ์ ฉายแสง" ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ทั้งสี่คนมีอายุไล่เลี่ยกัน ห่างคนละ 2-3 ปี

เริ่ม ต้นการศึกษาที่โรงรียนดัดดรุณี จ.ฉะเชิงเทรา เข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับ "ปรีชา บุญยจินดา" มีลูกสาวด้วยกัน 2 คน คือ "ภัทรจาริน ฉายแสง" อายุ 17 ปี ศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท และ "รวินท์นิภา ฉายแสง" อายุ 14 ปี ศึกษาที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากคุณแม่ที่ติวหนังสือให้ลูกๆ ก่อนสอบ สู่ผู้แทนทำหน้าที่ปากเสียงให้ประชาชน
"โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คือบทบาทใหม่ที่เพิ่งเปิดฉาก"

- ตำแหน่งนี้ นายกฯยิ่งลักษณ์ทาบทามด้วยตัวเอง?

ตั้งแต่ มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าคุณปูจะเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ติดต่อมาว่า "พี่เปิ้ลต้องมาช่วยกันนะ ช่วยปูนะ" เราก็ตอบว่า "ค่ะๆ" โดยที่ยังไม่รู้ว่าต้องทำหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คิดว่าเป็นแค่การช่วยงานธรรมดา เมื่อนายกฯเจาะจงเรา จึงถามว่า "ปูมีคนอื่นไหม? เขาอาจจะทำหน้าที่ได้ดีกว่าพี่นะ" เพราะเราไม่คุ้นกับหน้าที่นี้ นายกฯก็บอกว่า "ไม่ได้ๆ ต้องพี่เปิ้ลนั่นแหละ เอาแบบที่พูดในสภานะ" (หัวเราะ)

ไม่รู้หมือนกันว่าถ้านายกรัฐมนตรี เป็นผู้ชาย เราจะได้ทำหน้าที่ตรงนี้หรือเปล่า (หัวเราะ) เผอิญเราเป็น ส.ส.สอบตก และเมื่อดูรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ที่ห้าม ส.ส.รับตำแหน่งนี้ แถมเรามีผลงานอภิปรายในสภาบ่อยครั้ง หลายอย่างผนวกกันจนผู้ใหญ่เห็นว่านายกฯเป็นผู้หญิง เราก็เป็นผู้หญิง การไปไหนมาไหนด้วยกันย่อมสะดวกใจกว่า

- ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เป็นอย่างไร?

เข้า รับตำแหน่งเมื่อ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา ถือเป็นงานยากมาก ต้องนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ของทุกกระทรวงแทนคณะรัฐบาลให้ประชาชนเข้าใจ โฆษกฯคือผู้ประสานงานกับทุกกระทรวง เพื่อทำความเข้าใจทุกเรื่อง เป็นงานใหญ่ที่ไม่เคยทำมาก่อน

ลักษณะงานส่วนใหญ่ไม่มีเวลาเตรียมตัว เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าว่าขณะนั้นมีเรื่องอะไรบ้าง เช่นตอนนี้ทั่วประเทศเจอน้ำท่วม เราต้องรู้ว่าพื้นที่ใดบ้างกำลังเดือดร้อน ต้องอัพเดตข้อมูลและสถานการณ์ปัจจุบันตลอด จะแก้ไขอย่างไรให้ทันท่วงที

- ตอนนี้งานลงตัวหรือยัง?

ยัง ไม่ลงตัวเท่าไหร่ (หัวเราะ) เพราะที่สำนักฯมีเจ้าหน้าที่กว่า 60 คน ถือว่าเยอะ แบ่งการทำงานเป็นหลายแผนกซึ่งทำหน้าที่แยกกันชัดเจน ต้องอาศัยความเข้าใจ ทั้งยังไม่มีเวลาเตรียมงานนัก โทรศัพท์ดัง งานเข้าตลอดเวลา เป็นคนสาธารณะมากขึ้น

จากเดิมชีวิตเราคือ ส.ส. พอมีเวลาพักผ่อนบ้าง แต่เป็นโฆษกฯงานเข้าตลอด ไม่มีวันหยุดเลย

- ระหว่างโฆษกฯ กับ ส.ส.ชอบบทบาทไหน?

เป็นงานที่มีเกียรติทั้งสองงาน แต่ชอบงาน ส.ส. มากกว่า ได้ลงพื้นที่ ใกล้ชิด คลุกคลีกับประชาชน ซึ่งเป็นธรรมชาติ เป็นสไตล์เดิมของเรา

ส่วน งานโฆษกฯเป็นงานที่ไม่ค่อยมีเวลาว่าง ทำให้ไม่ได้พบกับพี่น้องประชาชนที่เคยถามสารทุกข์สุขดิบกัน เริ่มกลายเป็นความห่างเหินจนคิดถึงพวกเขาอยู่เหมือนกัน

- ทำไมตัดสินใจเข้ามารับหน้าที่นี้?

หน้าที่ ของโฆษกและตัวสำนักทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล ถามว่าหน้าที่เชิงลึกเป็นอย่างไร มันชุลมุนชุลเกอยู่ 1 สัปดาห์เหมือนกัน เพราะมันเหมือนเป็นงานใหม่สำหรับคนที่ไม่เคยอยู่ในฝ่ายบริหาร

ช่วง แรกของการทำงานมองว่าทุกเรื่องมีความสำคัญเท่ากันหมด แต่ความจริงไม่อาจแถลงทุกเรื่อง เราต้องเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ เรื่องที่ประชาชนสนใจหรือเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากๆ

หลังได้รับคำ แนะนำจากผู้มีประสบการณ์จึงไม่เก็บเอามารกสมอง เช่นวันนี้เป็นเรื่องของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการ ปรองดองแห่งชาติ (คอป.) หรือเรื่องน้ำท่วม ถือเป็นปัญหาสาหัสของประชาชนในขณะนี้ ที่รัฐบาลต้องช่วยเหลือ หรือเรื่องนโยบายรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก อะไรแบบนี้

- มีความเห็นอย่างไรกับการสอบตกในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา?

(หัวเราะ) สอบตกก็ไม่ดีอยู่แล้ว เพราะยังอยากได้ความไว้วางใจจากประชาชน เป็นปากเสียงแทนพวกเขา

แต่ การสอบตกครั้งนี้มีความไม่โปร่งใส ถ้าสู้กันแบบยุติธรรมผลลัพธ์คงไม่เป็นแบบนี้ แพ้ไปไม่กี่พันแต้ม เกิดจาก "วาระซ่อนเร้น" โดยการใช้อำนาจบางอย่างทำให้คนเขวโดยฉับพลัน แม้กระทั่งคนที่เชียร์ก็เขวได้ มีชาวบ้านจำนวนมากมาร้องไห้ที่บ้านหลังผลการเลือกตั้งออกมาว่าเราแพ้

- ครอบครัวมีอิทธิพลกับงานทางการเมืองไหม?

เป็น นักการเมืองกันทั้งบ้าน อย่างคุณพ่อชีวิตและจิตใจของท่านเป็นการเมืองจริงๆ ท่านไม่พูดเรื่องอื่นเลย อยู่ในรถก็พูดการเมือง กินข้าวก็พูดการเมือง เป็นอย่างนี้จริงๆ ตอนแรกครอบครัวจะให้เป็นแม่บ้าน ไม่ได้ตั้งใจทำงานการเมือง แต่มันซึมซับเข้ามาโดยที่เราไม่รู้ตัว ไม่มีใครบังคับหรือชักชวน ตั้งแต่นั้นก็เลยออกจากวงการการเมืองไม่ได้เลย (หัวเราะ)

สนใจการเมืองอย่างจริงจังเมื่อเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ตอนนั้นเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา รู้ว่าอะไรเป็นอะไร มีการกวาดล้างผู้นำนักศึกษา แล้วพี่ชาย (จาตุรนต์ ฉายแสง) ขณะนั้นเป็นนายกสโมสรนักศึกษา ม.เชียงใหม่ ต้องระเห็จเข้าป่า ทำให้เรารู้ว่าตอนนั้นสถานการณ์บ้านเมืองไม่ปกติ ที่โรงเรียนมัธยมมีการติดบอร์ดเพื่อให้ความรู้ว่าประชาธิปไตยคืออะไร นักเรียนก็ทำการบ้านส่ง บวกกับพ่อเป็นนักการเมืองก็เลยสนใจเรื่องนี้มากกว่าคนอื่น

- รู้สึกอย่างไรกับฉายาที่คนพรรคประชาธิปัตย์ตั้งให้?

เป็น ฉายาที่ได้รับหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจคุณกษิต ภิรมย์ เราพูดบนพื้นฐานของเหตุผล ไม่ได้พาดพิงใคร ทำให้ท่านประท้วงหรือเถียงไม่ได้จึงลุกออกจากที่ประชุม หลังจากนั้นท่านจะออกจากที่ประชุมเมื่อเราจะพูดทุกครั้ง และเผยทีหลังว่าทนฟังไม่ได้ "คนนี้พูด เป็นเหมือนนางมารร้าย" เมื่อเริ่มมีคนแซว ถามว่ารู้สึกอย่างไร ก็บอกว่า "ดังมากขึ้นน่ะสิ" (หัวเราะ)

ส่วนหนึ่งอาจด้วยน้ำเสียงบวกสไตล์การพูด ดูฉะฉาน แตกต่างจากคนอื่นที่มีน้ำเสียงนุ่มนวล

แต่ ที่รู้สึกอีกอย่างคือ สงสัยว่าทำไมเขาถึงพูดกับเราอย่างนั้น เพราะห้องประชุมสภาคือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นการพูดต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ ทุกคนต้องมีมารยาท จะพูดเลอะเทอะ ไม่ให้เกียรติสถานที่ไม่ได้ คนที่บอกว่าเราเป็นนางมารร้ายก็โดนผู้ใหญ่ติงเหมือนกัน

- คิดว่าผู้หญิงทำงานการเมืองได้ดีกว่าผู้ชายไหม?

อาจ ตัดสินไม่ได้ว่าผู้หญิงทำงานการเมืองดีกว่า เพราะทั้งหญิงและชายต่างมีข้อดีที่เหมาะสมกับงานการเมืองคนละแบบ แต่ด้วยความเป็นผู้หญิงทำให้การประสานงานง่ายขึ้น ดูนุ่มนวล เข้าได้กับทุกคน ส่วนผู้ชายก็เคารพในความเป็นผู้หญิงของเรา

อย่าง การลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วมไม่มีข้อกำหนดว่าผู้หญิงลุยน้ำ ลุยโคลนไม่ได้ ภาพที่เห็นคือ "บ่ยั่น" ทั้งท่านนายกฯและโฆษกฯทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น ตรงนี้แหละที่ทำให้ทำงานกับนายกฯ สนุกสนานขึ้น

ไม่ใช่ว่าผู้หญิงต้องพูดแต่เรื่องของผู้หญิง ไม่ใช่อย่างนั้น

แต่ ผู้ชายบางคน เมื่อเห็นว่าเป็นผู้หญิงก็ส่งไปเป็นกรรมาธิการเด็กและสตรี คือต้องเข้าใจว่า แม้ผู้หญิงจะมีความละเอียดอ่อน มีความเป็นแม่ ที่เข้าใจเรื่องนี้ได้ดีก็จริง แต่ผู้หญิงก็มีสิทธิคิดเรื่องอื่น มีศักยภาพพอที่จะสามารถทำงานด้านอื่นด้วย อย่างบางประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้หญิงอุ้มท้องตรวจกองทหารเกียรติยศกันเลย ทีเดียว การเมืองต้องไม่แบ่งแยกชาย-หญิง

- เป็นพวก "เฟมินิสต์" ไหม?

ไม่ๆๆ (ปฏิเสธทันทีแล้วหัวเราะ) ไม่จำเป็นต้องไปต่อว่าใครว่าทำไมไม่มาเปิดประตูให้ฉัน บางคนอาจจะเป็น แต่ตัวเองไม่ เป็นคนธรรมดาทั่วไป อย่าให้ใครเขามาแบ่งแยก เช่น การพยายามจับกลุ่มผู้หญิงด้วยกันเอง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนอื่นเลย นั่นคือเราแบ่งแยกตัวเราเอง ทำให้คนอื่นเขาดูถูกตัวเอง แต่ถ้าไม่ไปอยู่ตรงนั้น ไม่แบ่งแยกตัวเอง ก็เป็นเหมือนปกติ ซึ่งก็คือเท่าเทียม

อย่างการไปอยู่กลุ่มแม่บ้าน จัดกิจกรรมทำกับข้าว จักสาน ฯลฯ นั่นแหละตัวเราทำตัวเอง

"ต้องไม่ไปเป็นอย่างนั้นเลยทีเดียว แต่ก็เข้าใจงานแบบนั้นด้วย"



หน้า 17,มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2554