ที่มา Thai E-News
18 มกราคม 2555
ที่มา Voice TV
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ปฏิเสธสนับสนุนแก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตาม ที่ปรากฏเป็นข่าวต่อสื่อมวลชนหรือสาธารณะโดยทั่วไป ในทำนองว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สนับสนุนการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ นั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอเรียนว่า เรื่องนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ เป็นบทบัญญัติ ที่ปกป้องพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขของประเทศ
ฉกเช่นเดียวกับประมุขของรัฐต่างประเทศ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๓ แห่งกฎหมายนี้ และเป็นหลักสากลที่นานาอารยประเทศให้การปกป้องประมุขของประเทศในหลักการ เดียวกัน ดังนั้น ข่าวที่ปรากฏต่อสื่อมวลชนหรือสาธารณะโดยทั่วไปว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสนับสนุนการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ นั้น จึงเป็นข่าวที่คลาดเคลื่อนและไม่มีมูลความจริงแต่ประการใด จึงขอทำความเข้าใจต่อทุกฝ่าย มา ณ โอกาสนี้
อนึ่ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอยืนยันว่าจะปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยยึดหลักความสมดุลระหว่างสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นกับการรักษา พระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๑๘ มกราคม ๒๕๕๕
0 0 0 0 0
ไทยอีนิวส์ขอนำเสนออีกครั้งกับ "ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน: มอบแด่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทยที่เอียงกะเท่เร่"
ที่ได้จัดให้คณะกรรมการสิทธิเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2554
สืบเนื่องจากกรณีข่าวร้อน "กรรมการสิทธิด้วยกันใจไม่ด้านพอ เบรกรายงานฉบับหมอชูชัย 92 ศพ ผิดสมควรตาย ไล่กลับไปเขียนใหม่" ไทย อีนิวส์ขอนำเสนอปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักการระดับชั้นประถมศึกษา เพื่อเป็นวิทยาทานแก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่นำโดยศาสตราจารย์อัม รา พงศาพิชญ์
ทั้งนี้ทีมข่าวไทยอีนิวส์ ได้นำเสนอเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2554 " ในสภาวะที่ทุกหลักการในประเทศไทยถูกฉีกกระจุย "ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน" รับรองสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์" จึงขอนำเสนออีกครั้งมา ณ ที่นี่
The Universal Declaration of Human Rights from Seth Brau on Vimeo.
ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 45 ประเทศร่วมก่อตั้งสหประชาชาติในปี 2488 และร่วมเซ็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในปี 2491
ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนที่ตระหนักในศักดิ์ศรีแห่งมนุษยชาติทุกชีวิตบนพื้นพิภพว่าเท่าเทียมกันและได้รับการคุ้มครองเสมอเหมือนกัน
สำนักงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยเขียนเรื่องบทบาทของระบบสหประชาชาติในไทย ไว้ว่า . .
ไทย เป็นประเทศผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่งของสหประชาชาติ ประเทศไทยได้ส่งบุคลากรไปร่วมกับกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ และรับรองมติด้านสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาและสนธิสัญญาเกี่ยวกับแรงงานและสิ่งแวดล้อม องค์กรสหประชาชาติระดับภูมิภาคเป็นจำนวนมากจัดตั้งสำนักงานในกรุงเทพฯ รวมทั้งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่ง สหประชาชาติ (UN Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - UNESCAP) และสำนักงานระดับภูมิภาคที่เพิ่งเปิดใหม่ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme - UNDP-RCB)
ในสภาวะที่ความ เชื่อถือในกระบวนการ นิติบัญญัติ ตุลาการ และรัฐสภาไทย อยู่ในช่วงตกต่ำ ไร้หลักการ ทั้งสังคมสับสน หวาดหวั่น และไม่แน่ใจว่า "อะไรคือหลักการที่ถูกต้อง ยุติธรรม และชอบธรรม" ที่ควรยึดถือปฏิบัติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ไทยให้สัตยาบัญนับตั้งแต่ปี 2491 คือแม่แบบแห่งหลักการประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเท่าเทียมที่มนุษย์ในทุกสังคมต่างปราถนา
ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่อง สิทธิมนุษยชน
ด้วย เหตุที่การยอมรับศักศรีประจำตัวและสิทธิที่เสมอกันไม่อาจโอนแก่กันได้ของ สมาชิกทั้งปวงแห่งครอบครัวมนุษย์ เป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรมและสันติภาพ
ด้วย เหตุที่การเฉยเมยและดูหมิ่นเหยียดหยามสิทธิมนุษย์ด้วยกันเอง ได้ก่อให้เกิดการกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อนทารุณ กระทบกระเทือนมโนธรรมของมนุษยชาติอย่างรุนแรง โดยเหตุที่ได้มีการประกาศปณิธานสูงสุดของสามัญชนว่า ถึงวาระแห่งโลกแล้วที่นมุษย์จะมีเสรีภาพในการพูด ในความเชื่อถือ และทั้งมีเสรีภาพจากความกลัวและความต้องการ
ด้วย เหตุที่เป็นสิ่งจำเป็นที่สิทธิมนุษยชนควรได้รับการคุ้มครองโดยหลักนิติธรรม ถ้าไม่ต้องการให้มนุษย์ถูกบีบบังคับ ให้หาทางออกโดยการกบฎต่อทรราชย์และการกดขี่อันเป็นที่พึ่งสุดท้าย
ด้วย เหตุที่เป็นสิงจำเป็นที่จะส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างชาติ ต่างๆด้วยเหตุที่บรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ยืนยันไว้ในกฎบัตร ถึงความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ในศักดิ์ศรีและคุณค่าของตัวบุคคล และความเสมอกันแห่งสิทธิทั้งชายหญิง และได้ตัดสินใจที่จะส่งเสริมความก้าวหน้า ทางสังคมตลอดจนมาตฐานแห่งชีวิตให้ดีขึ้น มีเสรีภาพมากขึ้น
ด้วยเหตุที่ความเข้าใจตรงกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ มีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้คำปฎิญาณนี้เกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างเต็มเปี่ยม
ดังนั้น ณ บัดนี้ สมัชชา จึงขอประกาศให้....
ปฏิญญา สากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตราฐานร่วมกันแห่งความสำเร็จ สำหรับประชาชนทั้งหลายและประชาชาติทั้งปวง ด้วยจุดประสงค์ที่จะให้ปัจเจกบุคคล ทุกผู้ทุกนามและองค์กรของสังคมทุกหน่วย โดยการรำลึกเสมอถึงปฏิญญานี้ พยายามสั่งสอนและให้การศึกษาเพื่อส่งเสริม การเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพเหล่านี้ ด้วยมาตรการที่เจริญก้างไปข้างหน้า ทั้งในและระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งการยอมรับและถือปฎิบัติต่อสิทธิเหล่านั้น อย่างเป็นสากลและได้ผล ทั้งในหมู่ประชาชนของรัฐสมาชิกเอง และในหมู่ของประชาชนแห่งดินแดน ที่อยู่ภายใต้ดุลอาณาของรัฐสมาชิกดังกล่าว.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 1
มนุษย ทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฎิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง
ข้อ 2
บุคคล ชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพตามที่ระบุไว้ในปฏิญญานี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเ รื่องใดๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด
นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่าง โดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมือง ทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราช อยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเอง หรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด
ข้อ 3
บุคคลมีสิทธิในการดำเนินชีวิต ในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย
ข้อ 4
บุคคลใดจะถูกบังคับให้เป็นทาส หรืออยู่ในภาระจำยอมใดๆมิได้ การเป็นทาสและการค้าทาสจะมีไม้ได้ทุกรูปแบบ
ข้อ 5
บุคคลใดจะถูกทรมานหรือได้รับการปฎิบัติ หรือลงทัณฑ์ซึ่งทารุณโหด ไร้มนุษยธรรมหรือเหยียดหยามเกียรติมิได้
ข้อ 6
ทุกๆคนมีสิทธิที่จะได้รับ การยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมาย ไม่ว่า ณ ที่ใดๆ
ข้อ 7
ทุกๆ คน ต่างเสมอกันในกฎหมายและชอบที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฎิบัติใดๆ ทุกคนชอบที่จะได้รับการคุ้มครองอย่างเสมอหน้าจากการเลือกปฎิบัติใดๆ อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญานี้ และต่อการยุยงส่งเสริมให้เกิดการเลือกปฎิบัติเช่นนั้น
ข้อ 8
บุคคล มีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอย่างได้ผล โดยศาลแห่งชาติซึ่งมีอำนาจเนื่องจากการกระทำใดๆ อันละเมิดต่อสิทธิขั้นมูลฐาน ซึ่งตนได้รับจากรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย
ข้อ 9
บุคคลใดจะถูกจับ กักขัง หรือเนรเทศโดยพลการมิได้
ข้อ 10
บุคคล ชอบที่จะเท่าเทียมกันอย่างบริบูรณ์ ในอันที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมและเปิดเผย โดยศาลที่เป็นอิสระและ ไร้อคติ ในการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนข้อที่ตนถูกกล่าวหาใดๆ ทางอาญา
ข้อ 11
บุคคล ที่ถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางอาญา มีสิทธิ์ที่จะได้รับการสันนิฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะจะมีการพิสูจน์ว่า มีความผิดตามกฎหมาย ในการพิจารณาโดยเปิดเผย ณ ที่ซึ่งตนได้รับหลักประกันทั้งหมดที่จำเป็นในการต่อสู้คดี
บุคคล ใดจะถูกถือว่ามีความผิดอันมีโทษทางอาญาใดๆ ด้วยเหตุที่ตนได้กระทำหรือละเว้นการกระทำใดๆ ซึ่งกฎหมายของประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ในขณะที่ได้กระทำนั้นมิได้ถูกระบุว่ามีความผิดทางอาญามิได้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นหนักกว่าโทษที่ใช้อยู่ในขณะที่การกระทำความผิดทาง อาญานั้นเกิดขึ้นมิได้
ข้อ 12
การ เข้าไปสอดแทรกโดยพลการในกิจส่วนตัว ครอบครัว เคหะสถาน การส่งข่าวสาร ตลอดจนการโจมตีต่อเกียรติยศและ ชื่อเสียงของบุคคลนั้นจะทำมิได้ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายจากการสอดแทรก และการโจมตีดังกล่าว
ข้อ 13
บุคคลมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและในถิ่นที่อยู่ภายในขอบเขตดินแดนของแต่ละรัฐ
บุคคลมีสิทธิที่จะเดินทางออกนอกประเทศใดๆ รวมทั้งของตนเอง และมีสิทธิที่จะกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอน
ข้อ 14
บุคคลมีสิทธิที่จะแสวงหาและพักพิงในประเทศอื่นๆ เพื่อลี้ภัยจากการถูกกดขี่ข่มเหง
สิทธิ นี้จะถูกกล่าวอ้างมิได้ในกรณีการฟ้องคดี ซึ่งโดยจากความจริงเกิดจากความผิดที่ไม่ใช่เรื่องทางการเมือง หรือจากการกระทำที่ขัดต่อความมุ่งประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ
ข้อ 15
บุคลลมีสิทธิในการถือสัญชาติ
การถอนสัญชาติโดยพลการ หรือปฎิเสธสิทธิที่จะเปลี่ยนสัญชาติ ของบุคคลใดนั้น จะกระทำมิได้
ข้อ 16
ชาย หญิงเมื่อเจริญวัยบริบรูณ์แล้ว มีสิทธิที่จะสมรสและสร้างครอบครัว โดยไม่มีการจำกัดใดๆเนื่องจาก เชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา บุคคล ชอบที่จะมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องการสมรส ในระหว่างการสมรส และในการขาดจากการสมรส
การสมรสจะกระทำได้โดยการยินยอมอย่างเสร ี และเต็มใจ ของคู่ที่ตั้งใจจะกระทำการสมรส
ครอบครัวคือ กลุ่มซึ่งเป็นหน่วยทางธรรมชาติและพื้นฐานทางสังคม และชอบที่จะได้รับความคุ้มครองโดยสังคมและรัฐ
ข้อ 17
บุคคลมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยลำพังตนเอง และโดยการร่วมกับผู้อื่น
การยึดเอาทรัพย์สินของบุคคลใดไปเสียโดยพลการจะกระทำมิได้
ข้อ 18
บุคคล มีเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และศาสนา สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะเปลี่ยนศาสนา หรือความเชื่อ และเสรีภาพที่จะแสดงให้ศาสนาหรือความเชื่อประจักษ์ในรูปแบบการสั่งสอน การปฎิบัติกิจ การเคารพสักการะบูชา สวดมนต์ และพิธีกรรม ไม่ว่าจะโดยลำพังตนเอง หรือร่วมกับผู้อื่นในประชาคม ในที่สาธารณะหรือในที่ส่วนตัว
ข้อ 19
บุคคล มีสิทธิและเสรีภาพในความเห็น และการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่น ในความคิดเห็นโดยปราศจากการสอดแทรก และที่จะแสวงหารับ ตลอดจนการแจ้งข่าว รวมทั้งความคิดเห็นโดยผ่านสื่อใดๆ โดยมิต้องคำนึงถึงเขตแดน
ข้อ 20
บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม และสมาคมโดยสงบ
การบังคับให้บุคคลเป็นเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมจะกระทำมิได้
ข้อ 21
บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลของตนไม่ว่าจะโดยหรือผู้แทนที่ผ่านการเลือกอย่างเสรี
บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตน
เจต จำนง ของประชาชน จะเป็นฐานอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงนี้จะแสดงออกโดยการเลือกตั้ง เป็นครั้งเป็นคราวอย่างแท้จริง โดยการให้สิทธิออกเสียงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมและโดยการลงคะแนนลับ หรือโดยวิธีการลงคะแนนอย่างเสรี
ข้อ 22
ใน ฐานะสมาชิกของสังคม ด้วยความเพียรพยายามของชาติตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศ และโดยสอดคล้องกับการจัดระเบียบและทรัพยากรของแต่ละรัฐบุคคลมีสิทธิในความ มั่นคงทางสังคม และชอบที่จะได้รับผลแห่งสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งจำเป็นต่อศักดิ์ศรีและการพัฒนาบุคลิกภาพ อย่างเสรีของตน
ข้อ 23
บุคคลมีสิทธิที่จะทำงาน และเลือกงานอย่างเสรี และมีสภาวะการทำงานที่ยุติธรรมและพอใจ ที่จะได้รับการคุ้มครองจากการว่างงาน
บุคคลมีสิทธิที่จะรับค่าตอบแทนเท่ากัน สำหรับการทำงานที่เท่ากัน โดยไม่มีการเลือกปฎิบัติใดๆ
บุคคล ที่ทำงานมีสิทธิในรายได้ซึ่งยุติธรรม และเอื้อประโยชน์เฟื่อเป็นประกันสำหรับตนเอง และครอบครัวให้การดำรงค์มีด่าควรแก่สักดิ์ศรี ของมนุษย์ และถ้าจำเป็นก็ชอบที่จะได้รับการคุ้มครองทางสังคมอื่นๆ เพิ่มเติม
บุคคลมีสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน เพื่อคุ้มครองผลประดยชน์ของตน
ข้อ 24
บุคคลมีสิทธิในการพักผ่อนและเวลาว่าง รวมทั้งการจำกัดเวลาทำงานที่ชอบด้วยเหตุผล และมีวันหยุดเป็นครั้งคราวที่ได้รับค่าตอบแทน
ข้อ 25
บุคคล มีสิทธิในมาตราฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี สำหรับตนเองครอบครัว รวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาลและบริการทางสังคมที่จำเป็น และสิทธิในความมั่นคงในกรณีย์ว่างงาน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เป็นหม้าย วัยชรา หรือการขาดปัจจัยในการเลี้ยงชีพ อื่นใดในพฤติการณ์อันเกิดจากที่ตนควบคุมได้
มารดา และบุตรชอบที่จะได้รับการดูและความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เด็กทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นบุตรในหรือนอกสมรส ย่อมได้รับการคุ้มครอง ทางสังคมเช่นเดียวกัน
ข้อ 26
บุคคล มีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์โดยไม่คิดมูลค่า อย่างน้อยที่สุดในขั้นประถมศึกษษ และขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ขั้นเทคนิคและประกอบอาชีพเป็นการศึกษาที่ต้องจัดให้มีโดยทั่วๆไป ขั้นสูงสุดเป็นขั้นที่จะเปิดให้ทุกคนเท่ากันตามความสามารถ
การ ศึกษาจะมุ่งไปทางการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่ เพื่อเสริมพลังการเคารพสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานให้แข็งแกร่ง และมุ่งเสริมความเข้าใจ ขันติและมิตรภาพระหว่างประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติและศาสนา และจะมุ่งขยายกิจกรรมของสหประชาชาติเพื่อธำรงสันติภาพ
ผู้ปกครองมีสิทธิก่อนผู้อื่นที่จะเลือกชนิดของการศึกษา สำหรับบุตรหลานของตน
ข้อ 27
บุคคล มีสิทธิที่จะเข้าร่วมการใช้ชีวิตทางวัฒนธรรมในประชาคมออย่างเสรี ที่จะพึงพอใจในศิลปะและมีส่วนในความคืบหน้า และผลประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์
บุคคล มีสิทธิในการได้รับการคุ้มครองประโยชน์ทางด้านศีลธรรม และทางวัตถุอันเป็นผลได้จากการประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม และศิลปธที่ตนเป็นเจ้าของ
ข้อ 28
บุคคล ชอบที่จะได้รับประโยชน์จากระเบียบสังคมและระหว่างประเทศ อันจะอำนวยให้การใช้สิทธิและเสรีภาพบรรดาที่ได้ระบุไว้ใน ปฏิญญานี้ทำได้อย่างเต็มที่
ข้อ 29
บุคคลมีหน้าที่ต่อประชาคมอันเป็นที่เดียวซึ่งบุคลิกภาพของตนจะพัฒนาได้อย่างเสรีเต็มความสามารถ
ใน การใช้สิทธิและเสรีภาพบุคคลต้องอยู่ภาพใต้เพียงเช่นที่จำกัดโดยกฎหมายเฉพาะ เพื่อความมุ่งประสงค์ ใหเได้มาซึ่งการยอมรับ และเคารพในสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดขอลศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และสวัสดิการโดยทั่วๆไป ในสังคมประชาธิปไตย
สิทธิและเสรีภาพเหล่านี้ มิว่าด้วยกรณีย์ใด จะใช้ขัดกับความมุ่งประสงค์และหลักการ ของสหประชาชาติไม่ได้
ข้อ 30
กรรมการสิทธิด้วยกันใจไม่ด้านพอ เบรกรายงานฉบับหมอชูชัย92ศพผิดสมควรตาย ไล่กลับไปเขียนใหม่