WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, January 16, 2012

FAQ กับ “ครก. 112”

ที่มา ประชาไท

นักวิชาการและนักเขียนซึ่งร่วมกันเสนอแก้ไข ม.112 ในนาม “คณะรณรงค์แก้ไข ม. 112 (ครก. 112)” ร่วมตอบคำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับการรณรงค์ให้แก้ไขมาตราดังกล่าว เช่น “พวกคุณเป็นคนไทยหรือเปล่า” “ขนาดมีกฎหมายยังเหิมกริมขนาดนี้ ถ้าไม่มีไม่ยิ่งหมิ่นกันทั่วหรือ” “ถ้าไม่ได้ทำผิดจะกลัวทำไม” ฯลฯ

ตามที่มีการจัดกิจกรรมเปิดตัว "คณะรณรงค์แก้ไข ม. 112" หรือ "ครก. 112" เพื่อเสนอการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุาภาพในวันนี้ (15 ม.ค.) ที่ห้องประชุมศรีบูพา (หอประชุมเล็ก) มธ.ท่าพระจันทร์นั้น

ในช่วงหนึ่ง คณะนักวิชาการและนักเขียนซึ่งร่วมขับเคลื่อนการเสนอ แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในนาม "คณะรณรงค์แก้ไข ม. 112" หรือ "ครก. 112" ได้กันร่วมตอบคำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับการรณรงค์ให้แก้ไขมาตราดังกล่าว โดยผู้ร่วมตอบคำถามประกอบด้วย พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการจากคณะรัฐศ่าสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ยุกติ มุกดา วิจิตร จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ., สาวตรี สุขศรี นักกฎหมายอาญา จากกลุ่มนิติราษฎร์ และวาด รวี นักเขียน โดยเวียงรัฐ เนติโพธิ์ นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬา.ฯ เป็นผู้รวบรวมคำถามพบบ่อยและทำหน้าที่พิธีกร

000

การแก้ไข ม. 112 จะทำให้สถาบันฯ มั่นคงได้อย่างไร

พวงทอง ภวัครพันธุ์: ประเด็นสำคัญในที่นี้ คือ การดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์ จะต้องสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย นั่นคือ สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยไม่อยู่ภายใต้ความกลัว เช่นเดียวกับในต่างประเทศที่สถาบันฯ ดำรงอยู่ได้ เนื่องมาจากการปรับตัวเข้ากับคุณค่าของสังคมสมัยใหม่คือประชาธิปไตย ทั้งนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน คือ มาตรา 112 ซึ่งหากดำรงอยู่ ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตย และหากจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน จำเป็นต้องทำภายใต้หลักประชาธิปไตย

ในต่างประเทศเอง ประชาชนสามารถวิพาษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิด และไม่ถูกคุกคามจากฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เพราะเขามองว่า การวิพากษ์วิจารณ์จะทำให้สถาบันฯ เรียนรู้ถึงคุณค่าของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และเป็นหัวใจของการปรับตัวและการอยู่รอดของสถาบัน ทั้งนี้ ไม่มีสถาบันใดที่จะอยู่ได้อย่างมั่นคงโดยไม่มีการปรับเปลี่ยน

นอกจากนี้ เวลาสื่อต่างประเทศเขียนถึงมาตรา 112 ที่เป็นไป อย่างกว้างขวาง จะกล่าวว่ากฎหมายดังกล่าวมีบทลงโทษสูงสุด ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ต่อประชาคมโลกอย่างแน่นอน

ที่สำคัญ ต้องเข้าใจว่า การวิจารณ์โดยสุจริตมีเหตุผล ไม่เท่ากับเป็นการล้มล้างสถาบัน จึงเป็นที่หวังว่า การแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง จะไม่เพียงแต่เป็นการรักษาความมั่นคงให้สถาบันฯ แต่ต้องเป็นการประกันสิทธิกับเสรีภาพของประชาชนด้วย

ขนาดมีกฎหมายยังเหิมกริมขนาดนี้ ถ้าไม่มีไม่ยิ่งหมิ่นกันทั่วหรือ

พวงทอง: ปัจจุบันอาจจะมีการหมิ่นฯ มาก แต่เชื่อว่าหากมีการแก้ไขมาตรา 112 สำเร็จ เชื่อว่าการวิพากษ์วิจารณ์ของสถาบันที่จะลดลง คือ การวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะใช้อารมณ์ ดูหมิ่น หรือคำวิพากษ์วิจารร์ที่ปรากฏในทางลับจะลดลง เพราะหลังจากเรามีตัวกฎหมายที่จะคุ้มครองการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสุจริต มีหลักฐานชัดเจนไม่ต้องกลัวว่าจะถูกคุกคาม เราจะสามารถเปิดเวทีให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยน การหมิ่นฯ ในทางลับ ไม่เปิดเผย เพราะการหมิ่นฯ ลักษณะนั้นป็นผลมาจาการที่ประชาชนมีข้อสงสัย แต่ไม่มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนรับฟังข้อมูลต่างๆ ถาเรามีเวทีที่ถูกต้องชอบธรรม มีเหตุผล การกระทำที่ใช้อารมณ์ก็จะลดน้อยลงไป ไม่มีการไปติดตามข้อมูลที่เป็นการใช้อารมณ์หรือหยาบคาย

แต่เราก็ต้องยอมรับว่าการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตก็จะเปิดกว้างมากขึ้น เพราะการรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์เป็นการปรับตัวที่สำคัญของสถาบันการเมือง ทุกสถาบันในโลกนี้

การแก้ไข ม. 112 จะช่วยฟื้นฟูประชาธิปไตยได้อย่างไร

ยุกติ มุกดาวิจิตร: ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยมา ตั้งแต่ พ.ศ.2475 การฟื้นฟูประชาธิปไตย จึงหมายถึงการฟื้นฟูหลักการสำคัญของคณะราษฎรตามคำประกาศฉบับที่ 1 ได้แก่ เอกราช ความปลอดภัยภายในประเทศ ความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ ความเสมอภาค เสรีภาพ และการศึกษา หลักการดังกล่าวสามารถมีได้ตามหลักประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐ ธรรมนูญ การฟื้นฟูหลักดังกล่าว จึงเป็นการยืนยันตามหลักที่คณะราษฎรได้ประกาศไว้

จะเห็นว่ากฎหมายอาญามาตรา 112 ในปัจจุบัน ไม่ได้ให้หลักประกันกับประชาชนในหลักสิทธิเสรีภาพ เนื่องจากเราไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้เท่าๆ กัน เนื่องจากเมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์แล้วคนๆ นั้นก็จะถูกจับ ในขณะที่มีคนบางกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันแต่กลับถูกยกเว้นจากการดำเนิน คดีด้วยอภิสิทธิ์บางอย่างในสังคม

การแก้ไข 112 ต้องการดูหมิ่นเจ้าอย่างเสรี เป็นข้ออ้างของพวกไม่เอาเจ้า

ยุกติ: เรื่องเอาเจ้าไม่เอาเจ้าเป็นภาษาชาวบ้าน มันไม่เป็นประเด็น ผู้ที่เสนอให้แก้ไขไม่ได้เสนอให้ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์เป็นประมุข แต่เป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เป็นข้อตกลงที่เราเห็นพ้องร่วมกัน ที่กล่าวหาว่าเรากลับไปใกล้ 2475 ซึ่งตลกมากคือจริงๆ เราต้องก้าวต่อไป แต่เราต้องกลับไปรื้อฟื้นเพราะที่ผ่านมาประวัติศาสตร์การเมืองไทยทำลายมติ ของคณะราษฎร์

ผมอยากตั้งข้อสังเกตว่า สิทธิในการแสดงออกเรามีไม่เท่ากัน ถ้ามีไม่เท่ากันแสดงว่ากฎหมายนี้ไม่ได้ให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพในการ แสดงออกอยู่ตลอดเวลา คือถ้าคุณไปอ่านข้อมูลในวิกิลีกส์ คุณจะพบว่าคนบางกลุ่มในสังคมสามารถวิพากษ์วิจารณ์สถาบันได้อย่างเปิดเผยโดย วิธีของเขา แสดงว่ามีคนบางคนเท่านั้นหรือเปล่าที่จะมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์สถาบัน ดังนั้น การวิพากษ์วิจารณ์ควรจะเปิดเผย และถึงที่สุดมันไม่ได้มีผลในการทำลายสถาบันกษัตริย์ เพราะรัฐธรรมนูญรับรองสถานะของสถาบันอยู่ และทุกคนที่ดำเนินการเรีบกร้องให้แก้ไขกฎหมายนี้ก็เพราะเหตุผลว่า เราต้องการรักษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยและปกป้องสถาบันกษัตริย์

บุคคลทั่วไปยังมีกฎหมายเพื่อคุ้มครองเกียรติยศชื่อเสียง เมื่อเป็นถึงกษัตริย์ย่อมต้องมีกฎหมายคุ้มครองเป็นพิเศษหรือไม่

สาวตรี สุขศรี: ในที่สุดแล้ว ประเทศประชาธิปไตยต่างๆ มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่บุคคลพิเศษ โดย มาจากหลักการที่ว่า บุคคลที่เป็นประมุข มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะที่มากกว่า มีสิ่งที่ต้องแบกรับมากกว่า จึงต้องได้รับการคุ้มครองที่มากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองดังกล่าวต้องห้ามมาจากฐานันดร หรือชาติกำเนิดพิเศษ เพื่อยืนยันหลักการว่าบุคคลนั้นมีความเท่าเทียมกัน

เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายคุ้มครองประธานาธิบดี ซึ่งโดยความคุ้มครองพิเศษนี้ หมายถึงการมีโทษที่หนักกว่า ซึ่งมิได้ใช้กับพระมหากษัตริย์เพียงเท่านั้น แต่หมายถึงประมุขของรัฐในทุกรูปแบบ และหากว่าเรากลับไปดูข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ก็จะพบว่ามีข้อที่ให้ความคุ้มครองพิเศษแก่ประมุขด้วย ทั้งนี้ มีข้อสังเกตสองประการคือ ความคุ้มครองพิเศษดังกล่าวจำเป็นต้องเหมาะสมแก่เหตุ และสอดคล้องกับประชาธิปไตย ซึ่งในประเทศไทย บทลงโทษบุคคลธรรมดาในข้อหาหมิ่นประมาท มีจำนวน 1 ปี ในขณะที่บทลงโทษของกฎหมายอาญามาตรา 112 คือ 3-15 ปี ซึ่งจะเห็นว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

จริงๆ แล้วกฎหมายไม่ได้มีปัญหาที่ตัวบท แต่มีปัญหาที่การบังคับใช้ แก้ที่การบังคับใช้ไม่ดีกว่าเหรอ

สาวตรี: คำพูดแบบนี้มักจะออกมาจากนักกฎหมาย เรียนว่าที่ตอบแบบนี้ ณ ปัจจุบัน ไม่ต้องตอบก็ได้ เพราะตอบยังไงก็ถูก เหมือนการพูดว่าประชาชนคนไทยต้องกินข้าว แต่ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ได้มีกับมาตรา 112 เท่านั้น เมื่อมีปัญหาก็มักจะบอกว่ามีปัญหาที่การบังคับใช้เท่านั้น แต่มันจะแย่มากๆ เลยถ้านักกฎหมายตอบเพื่อจะกลบปัญหาว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาในระดับตัวบท บัญญัติเช่นกัน อย่างน้อย 3 ประการ

หนึ่ง อัตราโทษ ถ้าเราย้อนกลับไปบทบัญญัติคุ้มครองพระมหากษัตริย์ก่อนที่จะแก้ไขในปี 2519 โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีเท่านั้น นี่ปัญหามากกับยุคปัจจุบันที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

โทษที่กำหนดไว้มีอัตราโทษขั้นต่ำด้วย มีปัญหาแน่นอน เพราะผู้บังคับใช้กฎหมาย คือศาล ไม่สามารถใชดุลพินิจลงโทษน้อยกว่า 3 ปี ได้เลย

ประเด็นที่ 2 คือ การไม่มีบทยกเว้นความผิดและบทยกเว้นโทษ เรื่องนี้อาจารย์วรเจตน์ได้พูดแล้ว และข้อเสนอนี้นิติราษฎร์ได้เสนอเช่นเดียวกัน คือเราต้องเพิ่มบทยกเว้นความผืดขึ้นมา คือ ถ้าเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย แต่ วันนี้ไม่มีบทบัญญัตินี้เลย

ประเด็นที่ 3 มาตรา 112 เป็นอาญาแผ่นดิน เปิดโอกาสให้ใครก็ได้ฟ้อง หรือกล่าวโทษต่อเจ้าพนักงาน

จากปัญหาที่กล่าวมา นักกฎหมายก็ต้องตอบว่าปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาบทบัญญัติต่างหาก

ทำไมต้องคิดตามฝรั่ง คนไทยก็มีสิ่งที่เราศรัทธาในแบบของเราเอง?

วาด รวี: ถ้าหากใช้ข้อโต้แย้งนี้ ก็อาจบอกได้ว่า ประเทศไทยเดินตามฝรั่งมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 คือตั้งแต่มีการคำนวนสุริยุปราคา อย่างไรก็ตาม ไทยก็มิได้เอาความทันสมัยของฝรั่งมาทั้งหมดโดยยังตกค้างสิ่งที่ล้าหลังเอา ไว้ ทั้งนี้ เขาชี้ว่า ประชาธิปไตยเป็นหลักการสากลที่ทันสมัย เป็นภูมิปัญญาของมนุษยชาติ เพราะฉะนั้น จึงไม่เกี่ยวกับการเดินตามฝรั่ง และประชาธิปไตยเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่เคารพสิทธิและเสรีภาพ ซึงที่มาของอำนาจมาจากประชาชน มิใช่กษัตริย์

คนไทยด้วยกัน หยวนๆ อยู่แล้ว แม้ว่าโทษแรงมากๆ ในที่สุดก็อภัยโทษทำไมต้องรณรงค์ขอให้ลดโทษ

วาด รวี: คนต้องมีสิทธิเสรีภาพ การอภัยโทษทีหลังแต่ลงโทษก่อนแบบไม่ได้สัดส่วนความผิด ถือว่าผิดหลักยุติธรรม ละเมิดสิทธิเสรีภาพ

(เวียงรัฐสรุปว่า เราไม่ต้องการอภัยโทษ เราต้องการเสรีภาพ)

ทำไมไม่รณรงค์ให้ยกเลิก 112 ไปเลย

พวงทอง:ในช่วงปีที่ผ่านมา ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ทำให้ต้องเผชิญกับแรงปะทะเยอะมากทั้งหลายภาคส่วน ทั้งนี้ คณะรณรงค์ฯ ไม่มีปัญหากับกลุ่มที่เรียกร้องให้ยกเลิก และสนับสนุนด้วยซ้ำ ให้ช่วยกันจัดเวทีรณรงค์และเคลื่อนไหวให้ยกเลิก แต่สังคมไทยยังเป็นสังคมที่มีความหลากหลายและความขัดแย้งยังรุนแรง ทำให้จำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่ค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องของวัฒนธรรม ความเชื่อที่ถูกปลูกฝังในสังคมไทยนานนับศตวรรษ ทำให้จำป็นต้องคิดถึงกระแสสังคมด้วย

เอามาตรา 112 ไปเทียบกับต่างประเทศได้อย่างไรเพราะสถาบันกษัตริย์ไทยมีลักษณะเฉพาะ

พวงทอง: สถาบันกษัตริย์ของอังกฤษ หรือของญี่ปุ่นก็มีลักษณะเฉพาะ สถาบันกษัตริย์ประเทศไหนก็มีลักษณะเฉพาะของเขา มีประเพณี วัฒนธรรมที่เฉพาะของเขาไป และประชาชนที่เคารพยกย่องกษัตริย์ของเขาก็มีด้วยเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ เสปน หรือประเทศอื่นๆ แต่สิ่งที่สถาบันกษัตริย์ทประเทศอื่นๆ มีก็คือความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ให้เข้ากับสังคมประชาธปิไตย และสถาบันกษัตริย์เหล่านั้อยู่เหนือการเมือง ไม่มีบทบาททางการเมืองเพราะการมีบทบาททางการเมืองนั้นอยู่ในฐานะที่เสี่ยง ต่อตัวสถาบันเอง ถ้าเราจะพูดถึงลักษณะเฉพาะของสถาบันกษัตริยไทย ก็ต้องเป็นคุณค่าทางบวก ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม แต่อย่าเอากฎหมายที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน อย่าเอากฎหมายที่ทำให้เกิดความกลัวมาเป็นลักษณะเฉพาะของสถาบันกษัตริย์ของ ไทย

เรื่องนี้เป็นเรื่องเล็ก เกิดกับคนกลุ่มน้อย เหตุใดไม่เอาเวลาไปแก้เรื่องอื่น

ยุกติ: ลักษณะแบบนี้จะทำให้เกิดพิษภัยสังคมสอง ประการ อย่างแรกคือ ทำให้เกิดความกลัวในการแสดงความคิดเห็น กลัวการใช้เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ เช่น ในกรณีการประท้วงระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง โดยนายจ้างได้ใช้กลไกทางกฎหมายหมิ่นฯ ทำให้ลูกจ้างกลัว โดยการเปิดเพลงสรรเสรญพระบารมีทุกๆ 15 นาทีเพื่อกดดันลูกจ้าง และอย่างที่สองคือ ปัญหาควาไม่เป็นธรรม ด้วยการเปิดโอกาสให้ใครก็ได้เอากฎหมายนี้ไปฟ้องร้อง และยังเป็นการสร้างความกดดันในสังคม เช่น การไม่กล้าอภิปรายเรื่องนี้โดย ส.ส. หรืออาจารย์ นักศึกษา

เมื่อไม่ศรัทธา ทำไมไม่ไปอยู่ที่อื่น

ยุกติ: อันนี้เป็นเรื่องที่เราต้องมาคิดกันให้มาก คือมีคนวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวครั้งนี้ว่ากลุ่มของ ครก. และนิติราษฎร์ มักจะเคลื่อนไหวในลักษณะใช้เหตุผลเป็นหลัก คือเราเป็นนักวิชาการเป็นนักเขียน เราพูดถึงกฎหมาย กฎหมายก็เป็นเรื่องของความเป็นเหตุเป็นผล แต่การอยู่ในสังคมไม่ได้อยู่ด้วยความเป็นเหตุเป็นผลอย่างเดียว นั้นเป็นเรื่องรับได้ แต่ปัจจุบันนี้เราอยู่ในสังคมที่มีความรักสถาบันเกินกว่าที่จะรับฟังเหตุผล และคำวิพากษ์วิจารณ์ได้ นี่คือความรักที่เป็นความศรัทธา เราต้องเข้าใจว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลาย เรามีพระมหากษัตริย์ที่มีคนรักในลักษณะศรัทธา และมีคนรักในฐานะประมุขด้วยความเป็นเหตุเป็นผล ในขณะที่ฝ่ายเชื่อมั่นในลักษณะศรัทธา เขาอยากจะให้เรารักแบบเขา มันเป็นคนละเรื่องกัน เป็นคนละเรื่องกับความเป็นเหตุเป็นผล แล้วจะอยู่ด้วยกันอย่างไร ผมขออนุญาตอ้างถึงคุณวสิษฐ เดชกุญชร ที่มีความเห็นเรื่องการเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 112 โดยกล่าวถึงคนที่เรียกร้องให้แก้ไขมาตราดังกล่าว ก็ขอพื้นที่ใหความศรัทธาบ้าง ผมอยากเรียนกลับว่าคนที่รักเทิดทูนสถาบันศรัทธาเกินเหตุผลก็ขอพื้นที่ให้คน ที่เคลื่อนไหวในเชิงเป็นเหตุเป็นผลบ้าง ถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็จะอยู่ด้วยกันครับ

ทำไมต้องให้สำนักราชเลขาเป็นผู้สั่งฟ้อง

สาวตรี: ถ้าใช้ข้อโต้แย้งนี้ ก็อาจจะต้องบอกกลับไปว่า เป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่ให้ประชาชนมาฟ้องร้องในเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยว ข้องกับประชาชนโดยตรง นอกจากนี้ การฟ้องร้องด้วยกฎหมายหมิ่น จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณและความอดทนส่วนบุคคลเป็นตัวตัดสิน ว่าบุคคลนั้นรู้สึกว่าถูกดูหมิ่นเหยียดหยามหรือไม่ และเนื่องจากความอดทนของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไปตามภูมิหลังทางสังคม จึงไม่ควรให้ใครก็ได้นำกฎหมายนี้ไปฟ้องร้องกันเอง

เมื่อกลับมาที่ข้อเสนอของนิติราษฎร์ นับว่าเป็นข้อเสนอขั้นต่ำที่สุดแล้วที่ให้สำนักราชเลขาเป็นผู้ฟ้องร้อง เมื่อเทียบกับข้อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษหรือฟ้องร้องด้วนตนเอง ด้วยข้อจำกัดทางสังคมต่างๆ ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์จึงกำหนดให้สำนักราชเลขาเป็นผู้ฟ้องเอง

อุดมการณ์ราชาชาตินิยม จะเปลี่ยนเป็นอุดมการณ์ประชาธิปไตยได้อย่างไร

เวียงรัฐ เนติโพธิ์: ขอตอบเองว่า ก็ทำอย่างที่ทำ คือทำให้กฎหมายสอดคล้องกับประชาธิปไตยเสีย

ความผิดตามมาตรา 112 เป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐหรือไม่

วาด รวี: ความผิด 112 เป็นการกระทำโดยวาจา มันไม่เป็นเหตุเป็นผลเพราะการเป็นอยู่ของรัฐจะไม่ถูกสั่นคลอนเพราะตัว หนังสือ แต่การเอาผิดอย่างรุนแรงและไม่ได้สัดส่วนเพราะตัวหนังสือนั้นต่างหากที่ สะท้อนว่ารัฐนี้ไม่มั่นคงในตัวเอง

รัฐที่มั่นคงในระบอบประชาธปิไตย ไม่มีรัฐไหนถือสาหาความความผิดด้วยวาจาโดยการลงโทษอย่างรุนแรง

ถ้าบริสุทธิ์จริง ทำไมไม่ไปต่อสู้ตามกระบวนการกฎหมาย ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมไทยหรือ

วาด รวี: ที่ผ่านมาศาลไทยไม่เคยต่อต้านการรัฐประหารเลยนะ นอกจากไม่ต่อต้านยังคล้อยตามและยอมรับ นอกจากคล้อยตามและยอมรับแล้วยังมีผู้พิพากษาระดับสูงไปรับใช้ เพราฉะนั้นพฤติกรรมของศาลไทยสะท้อนอุดมการณ์ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

ในฐานะที่คดีความที่เกิดจากการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกลับถือสาเอาความและ ลงโทษอย่างรุนแรง มันสะท้อนว่าศาลไทยมีอุดมการณ์กษัตริย์นิยมแบบเก่า เราไม่มีความเชื่อมั่นในความยุติธรรมของศาลไทยหรอก จนกว่าศาลไทยจะมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยและเคารพเสรีภาพของประชาชน

มาตรา 112 เกี่ยวพันกับมาตรา 8 ถ้ายกเลิกมาตรา 112 ก็ต้องยกเลิก มาตรา 8 ด้วย

สาวตรี: คำถามนี้เป็นคำถามที่ค่อนข้างซีเรียส คือ ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงของมาตรา 8 และมาตรา 112 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำตอบ ว่าสองมาตรานี้มีความเกี่ยวข้องกัน มักจะมาจากคำตอบของนักกฎหมายทั้งหลาย รวมถึงนักการเมืองที่เข้าใจผิด

หากเราดูให้ดี มาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญ จะเขียนไว้ว่า องค์พระมหากษัตริย์จะดำรงไว้ด้วยสถานะที่เป็นที่เคารพสักการะ และ ละเมิดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงวรรคแรก โดยมีวรรคที่สองของมาตรา 8 ในรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า ผู้ใดจะกล่าวหรือฟ้อง ร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ นั้นมิได้

ตรงนี้ต้องเรียนว่า หากเราไปดูรัฐธรรมนูญฉบับแรกในประเทศไทย สมัยพ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะไม่มีวรรคแรก กล่าว คือไม่มีข้อความที่บอกไว้ว่า พระมหากษัตริย์ดำรงไว้ซึ่งฐานะเคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ แต่จะมีวรรคสองเพียงเท่านั้นที่เขียนว่า ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางคดีมิได้ ตรงนี้ ต้องการสื่อว่า วรรคแรกที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ว่าด้วย เรื่องสถานะของพระมหากษัตริย์เกิดขึ้นมาในรัฐธรรมนูญฉบับที่สอง คือฉบับ 10 ธันวาคม 2475

เจตนารมย์ของมาตรา 8 ต้องการเขียนไว้เพื่อให้สอดรับกับหลักการที่บอกว่า The King can do no wrong คือให้พระมหา กษัตริย์พ้นไปจากความรับผิดใดๆ แต่พระมหากษัตริย์จะพ้นจากความรับผิดใดๆ ไปก็ต่อเมื่อท่านพ้นไปจากการเมืองอย่างแท้ จริง และที่กล่าวเช่นนี้ ไม่ได้บอกว่ามีการเกี่ยวพันทางการเมืองเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ต้องการกล่าวถึงเจตนารมย์ของกฎหมายว่า เป็นแบบนั้น เอาเข้าจริงแล้ว มาตรา 8 ต้องการเพียงจะบอกว่า จะมีการกล่าวโทษฟ้องร้องพระมหากษัตริย์มิได้ เพราะว่า ทรงมิได้ทำอะไรในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากมีคนอื่นทำให้ คือใช้อำนาจแทนในทางตุลาการ นิติบัญญัติ และบริหาร ถ้าเกิดข้อผิดพลาดขึ้นเมื่อใดในทางการบริหารประเทศ นั่นหมายความว่า ไม่ใช่เรื่องของกษัตริย์ แต่เป็นเรื่องของหน่วยงานที่ทำหน้าที่เหล่านั้น

เพราะฉะนั้น มาตรา 8 มีความหมายเพียงเท่านี้ คือ ห้ามฟ้องร้อง ห้ามกล่าวหา อย่างไรก็ตาม มาตรา 8 ไม่ได้เป็นบทที่จะคุ้มครองหรือปกป้องไม่ให้ประชาชนทั่วไปวิพากษ์วิจารณ์ สถาบันฯได้ ในเชิงสถาบันหรือสัญลักษณ์ ฉะนั้น ใครที่ตีความเอามาตรา 8 มาเกี่ยวพันกับมาตรา 112 แล้วบอกว่า ถ้ามีมาตรา 8 และมาตรา 112 แล้ว จึงไม่สามารถพูดถึง กล่าวถึง หรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตมิได้เลย อันนี้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง ฉะนั้นจึงต้องทำความเข้าใจให้ดี

มีตัวอย่างกรณีการฟ้องร้องกันไปที่ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป โดยคนฟ้องร้องนั้นเป็นคนสเปน กรณีของศาลรัฐธรรมนูญ แห่งยุโรป ซึ่งเกิดขึ้นในยุคของฮวน คาร์ลอส กษัตริย์สเปน ซึ่งได้เสด็จไปเปิดศูนย์การไฟฟ้าที่แคว้นบาสก์ในปี ค.ศ. 2003 ผู้กล่าวหากษัตริย์ เป็นโฆษกของกลุ่มสมาชิกรัฐสภา ซึ่งให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวโดยกล่าวว่า กษัตริย์ฮวน คาร์ลอส เป็นความ น่าละอายทางการเมืองอย่างแท้จริง ที่ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยความปลอดภัยสูงสุดของฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ของเส ปน และรัฐบาลได้จำคุกผู้ร่วมขบวนการปลอดปล่อยแคว้นบาสก์ และมีการทรมาณด้วย โดยเขาได้พูดเชิงกล่าวหาว่า กษัตริย์สเปนได้สนับสนุนรัฐบาลในการทำการกดขี่นักโทษชาวบาสก์ที่ถูกกักขัง อยู่

รัฐบาลสเปนจึงได้ฟ้องร้องบุคคลผู้นี้ในฐานะหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ อย่างร้ายแรง และต่อมาศาลสเปนได้ตัดสินลงโทษจำคุกหนึ่งปี ตัดสิทธิการสมัครการลงเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวและรอลงอาญา และถึงแม้ว่าจำเลยจะได้ขออุทธรณ์และฎีกาขึ้นไป ศาลฎีกาก็ได้ยืนยันตามคำตัดสินนี้ว่า จำเป็นต้องลงโทษในข้อหาหมิ่นพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนุญก็ยืนยันด้วยว่าการตัดสินนี้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม จำเลยผู้นี้ก็ได้ร้องเรียนคำตัดสินของศาลสเปนต่อศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป ปรากฎว่าศาลสิทธิฯ ยุโรปได้ตัดสินให้กรณีนี้ขัดต่อสิทธิ เสรีภาพและสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และสั่งให้ศาลสเปนต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับจำเลยดังกล่าว โดยเขาให้เหตุผลที่น่าสนใจและอาจเทียบเคียงได้กับมาตรา 8 ของไทยว่า

"วันที่ 3 กรกฎาคม ปี 2006 [สืบเนื่องจาก] ศาลรัฐธรรมนูญของประเทศสเปน ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปพิจารณาเห็นว่า หลักการที่ปรากฎอยู่ในคำวินิจฉัยก่อนหน้านี้ ในปัญหาว่าด้วยการให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดแก่การคุ้มครองประมุขแห่งรัฐนั้น ย่อมมีผลบังคับได้ในระบอบราชาธิปไตยเช่นที่เป็นอยู่ในสเปน ซึ่งพระองค์ดำรงอยู่ในสถาบันอันมีลักษณะพิเศษ แม้ว่ากษัตริย์สเปนทรงดำรงพระองค์ในทางเป็นกลางในทางการเมือง ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐ แต่สถานะที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายนี้ ย่อมไม่อาจปกป้องพระองค์จากข้อวิจารณ์อันชอบธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครง สร้างทางรัฐธรมนูญแห่งรัฐสเปนได้ ศาลแห่งรัฐบาสก์ได้อ้างเเหตุผลในเรื่องนี้ไว้ว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น นั้น ย่อมมีได้ในการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องโครงสร้างที่ว่านี้ แต่ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปยืนยันว่า เสรีภาพดั่งว่านี้ย้อมมีค่ามากขึ้นไปอีก ในกรณีการแสดงความเห็นที่กระทบอย่างรุนแรงที่คัดค้านต่อระบบที่มีอยู่ของ สเปน

ข้อเท็จจริงที่ว่า กษัตริย์ย่อมปราศจากความรับผิดใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดในทางอาญา โดยผลของรัฐธรรมนูญสเปนที่บัญญัติไว้แล้ว จักให้มีผลรวมถึงการจำกัดคำวิพากษ์วิจารณ์โดยอิสระต่อความรับผิดของกษัตริย์ อันมิมีขึ้นได้ในเชิงสถาบัน หรือแม้ในเชิงสัญลักษณ์ด้วยนั้น หาอาจกระทำได้ไม่ ทั้งนี้ ภายในขอบเขตอันเป็นไปเพื่อปกป้องพระเกียรติในฐานะประมุข ซึ่งเป็นบุคคลคนหนึ่ง"

โดยสรุปแล้ว ศาลยุโรปจึงตัดสินว่า กฎหมายยืนยันปกป้องกษัตริย์ในฐานะที่เป็นสถาบันกษัตริย์เท่านั้น แต่ไม่ได้ป้องกันจากป้องกันจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชน ประชาชนคนไทย จึงมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ได้ตามกรอบของกฎหมายและอยู่ในหลัก ของกฎหมาย

การร่วมเสนอชื่อ ผิดกฎหมาย ม. 112 หรือเปล่า

สาวตรี: นี่เป็นคำถามที่สะท้อนว่ามาตรา 112 เป็นปัญหาจริงๆ เราไปตีความว่าการไม่ยืน เป็นความผิดตามาตรา 112 มาถึงวันนี้ไปตีความว่าการขอให้ยกเลิก การขอให้แก้ไขเป็นความผิด ซึ่งไม่ใช่ เพราะมาตรา 112 ไม่ใช่ตัวสถาบัน สิทธิในการเข้าชื่อแก้ไขกฎหมายเป็นสิทธิตามรัฐธรมนูญนะคะ รัฐธรรมนูญยังแก้ไขได้ ทำไม กฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายอาญา จะแก้ไขไม่ได้

การพูดว่าการแตะต้องมาตรา 112 เท่ากับการหมิ่นสถาบันฯ ถ้าเป็นคำพูดที่ออกจากปากนักการเมือง ทหาร อดีตนายทหาร ต้องไล่ให้กลับไปอ่านกฎหมายให้เข้าใจเสียก่อนว่าสิทธิในการแก้ไข หรือสิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิทธิตามกฎหมายไม่ผิดอะไร แต่ถ้าคนที่พูดแบบนี้เป็นนักกฎหมาย จะบอกว่า ขอให้ท่านคืนปริญญาบัตรนิติศาสตร์เลยค่ะ

พวกมึงเป็นคนไทยหรือเปล่า

ยุกติ: คือผมคิดว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีคนหลากหลาย มีความคิดหลากหลาย จะเปลี่ยนให้ทุกคนคิดเหมือนกัน ให้ทุกคนแต่งตัวเหมือนกัน ไปอยู่เกาหลีเหนือดีกว่าครับ

เราอยู่ด้วยกันบนพื้นฐานของความแตกต่าง นอกจากนั้นสังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่ได้หยุดนิ่ง มีความเปลี่ยนแปลงเสมอ แต่เราไม่รู้สึก วันนี้เป็นวันหนึ่งที่ผมคิดว่าเรา คือสีงคมไทยกำลังรู้สึกถึงควาเปลี่ยนแปลง จะปฏิเสธว่าคนจำนวนมากที่นั่งอยู่ที่นี่ไม่ใช่คนไทยไม่ได้

ตอนนี้สังคมกำลังเกิดความไม่ไว้วางใจ ชนชั้นสูงไม่ไว้วางใจชนชั้นล่าง ชนชั้นล่างไม่ไว้วางใจชนชั้นสูง ในภาวะแบบนี้ หลักการที่สำคัญในการเคลือ่นไหว คือ หลักการของ "อภัยยะ" คือการวางใจกัน ไม่ใช่แค่ในความหมายที่ว่า “อย่ากลัว” แต่ “วางใจกัน” ผมอยากจะบอกว่า “ไว้ใจเราเถอะครับ” เรายังไม่เปลี่ยนแปลงไวขนาดนั้นหรอกครับ