WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 20, 2012

เวียงรัฐ เนติโพธิ์: จดหมายถึงอ.เกษียร ว่าด้วยอ.สุวินัย ซามุไร ใช่ไหม?

ที่มา Thai E-News

20 มกราคม 2555
ที่มา เฟสบุ๊ค
Viengrat Nethipo

อันเนื่องมาจากจม.โต้ตอบระหว่าง 2 มิตร 2 โลกทัศน์ เมื่อ "เกษียร เตชะพีระ" วิพากษ์ ซามูไร "สุวินัย ภรณวลัย http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1326898985&grpid=&catid=03&subcatid=0305

อ.เกษียรที่เคารพรัก

รู้สึกยินดีปรีดามากค่ะ ที่ได้อ่านจดหมายของอาจารย์ถึงอ.สุวินัย ได้กดไลค์ไปหลายครั้งตามที่ต่างๆ ด้วยรู้สึกว่ามันต้องมียังงี้สักที ที่ใครจะกล้าวิพากษ์ด้วยความสุภาพและชี้ให้เห็นปัญหาของคนแบบอ.สุวินัยแบบ กระจ่างชัดว่าตัวเขามีมายาคติอะไรบ้าง จึงทำให้แกเขียนและพูดเช่นนั้น และต้องขอชื่นชมความกล้าหาญของอาจารย์ ที่อุตส่าห์อธิบายให้ ทั้งๆที่รู้ว่าอ.สุวินัยคงไม่ฟัง หรือไม่หวั่นไหวกับคำอธิบายเหล่านี้ เพราะคิดกันคนละโหมดอยู่กันคนละโลกจริงๆ

และก็เห็นด้วยกับ อาจารย์อย่างยิ่งในประเด็นที่ว่าอ.สุวินัยใช้มายาคติแบบตะวันออกเหนือกว่า ตะวันตก จนบดบังเหตุผลและข้อเท็จจริง ยังไงก็ตาม มีส่วนเล็กๆที่ทำให้เรา (และน่าจะรวม คำ ผกาเพื่อนร่วมสถาบันด้วย) แอบไม่ยอมคือประโยคที่บอกว่า "เป็นมายาคติที่อ.สุวินัยไปติดมาจากเรียนญี่ปุ่น" โอ๊ย เสียชื่อมาก แถมเรียนที่มหาวิทยาลัยเกียวโตที่เดียวกันเสียอีก เสื่อมเลยค่ะ ส่วนตัวแล้วเห็นว่าอ.สุวินัยไปได้ไกลขนาดนั้นคือมายาคติของตัวแกเอง โดยเอาคำว่าโลกตะวันออก เอาปรัชญาซามูไร หรืออะไรต่างๆเหล่านี้มาเคลือบให้เกิดความน่าเชื่อถือในความ “อิน” กับเรื่องไสยศาสตร์ ภูตผี วิญญาณของแกมากกว่า เอาง่ายๆอยู่ญี่ปุ่นมาเกือบ 10 ปีไม่เคยเจอหรือได้รู้จักคนที่เชื่อเรื่องลึกลับ พลังพิเศษ หรือไสยศาสตร์แบบอ.สุวินัยเลย ยิ่งภายในรั้วมหาวิทยาลัยยิ่งไม่มี แต่เมืองไทยมีคนแบบอ.สุวินัยเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด

ถ้า ถามว่าการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกียวโตนั้น อ.สุวินัย มาเผยแพร่อะไรบ้าง? เอาเฉพาะที่เป็นการรับรู้แบบวงกว้างในสังคมไทยนะคะ หนังสือเรื่อง “ความรักกับจอมยุทธ์” ที่อ.สุวินัยเขียนนั้น ได้รับความนิยมอย่างสูง อ่านสนุก เพลิดเพลิน แถมมีอะไรลึกซึ้งเป็นปรัชญาชีวิต มีอะไรซึ้งๆให้น้ำตาซึมได้อีก เรื่องนี้สะท้อนได้เห็นแนวทางการใช้ชีวิตทั้งส่วนตัว และโลกทัศน์ของแกอย่างชัดเจน แกนหลักของหนังสือเล่มนี้ คือการฝึกมวยจีนสายสำนักเส้าหลิน และการดำเนินชีวิตแบบจอมยุทธ์ เรียกว่าเป็นศิษย์มีสำนัก ในเรื่องนี้ตัวเอกของเรื่องมีครูที่พร่ำสอนอบรมวิชาแห่งจอมยุทธ์ ให้ร่างกายแข็งแกร่ง จิตใจเข้มแข็ง พร้อมที่จะเป็นนักสู้แบบคลาสสิค นอกจากนั้นในชีวิตประจำวันก็ต้องดำเนินชีวิตตามวิถีของนักรบจีน มีความกล้าหาญ สงบเยือกเย็น อ่อนน้อมถ่อมตน แต่ก็ไม่เกรงกลัวใครในการต่อสู้ และนั่นคือเรื่องราวของนักเรียนทุนญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ได้เรียนที่มหาวิทยาลัย เกียวโต นับว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้นมากนะคะ ใครได้อ่านคงจะซาบซึ้งตามไปด้วยว่าการเป็นนักเรียนญี่ปุ่นนี่ทำให้เข้าถึง จิตวิญญาณตะวันออกทั้งร่างกาย จิตใจ และวัตรปฏิบัติ เลยทีเดียว

แต่ เอาเข้าจริงๆโรงเรียนสอนมวยจีนที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โชรินจิ” (Shorinji-วัดเส้าหลิน)นี้ ก็เหมือนๆกับโรงเรียนสอนกีฬาทั่วๆไป ใครๆก็ไปเรียนไปเล่นได้ แม้ว่าจะไม่ค่อยได้รับความนิยมในหมู่นักเรียนไทยนัก แต่บังเอิญเรามีเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นศิษย์โชรินจิ มันจะไปฝึกทุกเสาร์อาทิตย์ และบ้าฝึกซ้อมของมันไป รู้สึกว่าจะฝึกขั้นสูงด้วย แต่ไม่เห็นมันจะจอมยุทธ์ หรือจิตวิญญาณอะไร ก็แค่ออกกำลังกายให้รูปร่างหล่อดี ตอนนี้เพื่อนคนนี้เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ทำงานอยู่ Silicon Valley ไม่ได้จิตฯอะไรเลยแม้แต่น้อย ดังนั้นเรื่องจอมยุทธ์ของอ.สุวินัยจึงเป็นกึ่งนิยายที่เขียนเล่าให้น่า ติดตาม แท้จริงๆแล้วก็คืองานอดิเรกหรือการออกกำลังกายของนักเรียนคนหนึ่งที่เขาอาจ จะ “อิน” และหลงใหลการออกกำลังกายจนพาให้เห็นว่าเป็นวิถีแห่งจอมยุทธ์ ก็ต้องชื่นชมในจินตนาการ และความสามารถในการเล่าเรื่องของอ.สุวินัยว่าเป็นขั้นจอมยุทธ์จริงๆ และแน่นอนไม่ปฏิเสธว่าเป็นแรงบันดาลใจของคนจำนวนมากในการฝึกฝนมวยจีนเพื่อ สุขภาพกายและจิต

ส่วนสำนักในทางวิชาการของอ.สุวินัยก็คือคณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกียวโต อาจารย์แทบทุกคนในคณะเศรษฐศาสตร์สมัยนั้นเป็นมาร์กซิสต์ โดยเฉพาะช่วงที่อ.สุวินัยไปเรียนยิ่งเข้มข้นและสุดขั้วอยู่ อาจารย์แกอาจจะโชคดีที่ได้ฝึกความเป็นวิชาการจากอาจารย์ที่เน้นทฤษฎีแบบเข้ม ข้น มีการวิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยมแบบถึงราก และอาจจะได้เชื้อของการต่อสู้จากขบวนการนักศึกษาฝ่ายซ้ายมาบ้าง (ซึ่งช่วงที่อาจารย์ไปนั้นเป็นช่วงปลายของขบวนการนักศึกษาญี่ปุ่นแล้วด้วย ซ้ำ แต่น่าจะได้จากกลุ่มกิจกรรมของนักเรียนไทยที่ติดต่อสื่อสารกับขบวนการ นักศึกษาในประเทศไทย) แต่สำนักมาร์กซิสต์ในทางวิชาการ คงไม่ใช่ที่บ่มเพาะจิตวิญญาณแบบตะวันออกที่ตรงข้ามกับตะวันตกแน่ๆ

หาก จะพยายามค้นหารากเหง้าแบบตะวันออกในการบ่มเพาะทางวิชาการของมหาวิทยาลัยใน ญี่ปุ่น ก็คงมีให้เห็น เช่นระบบรุ่นพี่-รุ่นน้อง(Sempai-Kouhai) และ อาจารย์-ศิษย์ ที่ยังคงความสัมพันธ์แบบลำดับชั้นในแบบสังคมญี่ปุ่น แต่การมีห้องทำงานที่เท่ากันทั้งรุ่นพี่รุ่นน้อง การไม่แยกส้วม ไม่แยกลิฟท์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ก็สะท้อนให้เห็นความเท่าเทียมที่หาไม่ได้ในมหาวิทยาลัยในเมืองไทย

ถ้า ให้อธิบายสังคมญี่ปุ่นสมัยใหม่ โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เอาแบบง่ายๆ ในโลกทางสาธารณะเริ่มไปตั้งแต่รัฐธรรมนูญ โครงสร้างการบริหาร กฎหมาย การศึกษา การแต่งกาย และอื่นๆ เป็นตะวันตกเอามากๆ และคนยึดถือสิ่งเหล่านั้นเป็นหลักในการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่ในโลกส่วนตัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว ชาย-หญิง การกิน ประเพณีต่างๆ ยังมีจิตวิญญาณที่เรียกว่าแบบญี่ปุ่นอยู่เยอะ แต่จิตวิญญาณเหล่านั้นไม่ค่อยเป็นปัญหากับโลกสาธารณะเท่าไร จะมีอิทธิพลบ้างก็อยู่ในระดับจัดการได้ ดังนั้นในมหาวิทยาลัย ในความสัมพันธ์ส่วนตัวจึงมีวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นอยู่เยอะ และก็กลายเป็นวิธีปฏิบัติต่อกันที่ยากที่คนนอกจะเข้าถึง แต่นั่นไม่ใช่จิตวิญญาณในแบบ ไสยศาสตร์ หรือความศักดิ์สิทธิ์ใดๆ พูดง่ายๆสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงมารยาท code of conduct หรือ manner ที่จะทำให้สมาชิกในสังคม รู้สึกสะดวกใจไม่เคอะเขินที่จะรู้ล่วงหน้าว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ แต่ไม่ได้มามีผลต่อการจัดโครงสร้างสังคม หรือจัดความสูงต่ำของความสามารถเลย ประสบการณ์โดยตรงมีรุ่นพี่คนหนึ่งเก่งมากๆ จบแค่ปริญญาตรีก็ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ ทุกคนก็เรียกอาจารย์ ในห้องเรียนเขาก็คืออาจารย์ แต่เวลากินเหล้าเขาก็ต้องเรียกรุ่นพี่ของเขาที่ยังไม่จบว่ารุ่นพี่อยู่ดี และมีอีกกรณีหนึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาของเราเองซึ่งแก่คราวพ่อบอกว่า ขอโทษนะที่พูดแบบนี้จริงๆแล้ว politically incorrect และอาจจะผิดข้อบังคับของมหาวิทยาลัยได้ แต่ขอพูดในฐานะส่วนตัวที่เห็นเราเหมือนลูก ท่านถามเราว่า “เป็นผู้หญิงจะเรียนสูงไปทำไม” ฮ่าๆ นี่คือจิตวิญญาณแบบญี่ปุ่นที่กำลังล้ำเส้นในความสัมพันธ์แบบสาธารณะ แต่อาจารย์ก็อุตส่าห์ย้ำแล้วย้ำอีกว่านี่คือพูดในฐานะส่วนตัว อย่างไรก็ดีอาจารย์ท่านนี้ก็ไม่ได้เอามายาคติแบบพ่อมองลูกสาว มาตัดสินเรื่องที่เป็นทางการ กล่าวคือท่านก็ส่งเสริมให้เราเรียน หาเวทีวิชาการให้นำเสนอ ส่งเสริมให้ตีพิมพ์บทความ และอะไรอีกหลายประการตามหน้าที่อาจารย์พึงทำให้ศิษย์

ประเด็นคือในทางความเชื่อหรือจิตวิญญาณคุณ คุณจะคิดหรือรู้สึกยังไงก็ได้ แต่ไม่ได้ล้ำเส้นมาตัดสินความสัมพันธ์ในทางสาธารณะแน่ๆ

ส่วน ความเป็นซามูไรของอ.สุวินัยนั้น ก็ออกจะแปลกนะคะ ซามูไรหรือ Bushido เป็นปรัชญาการใช้ชีวิตของนักรบที่สู้รบเพื่อปกป้องเจ้านาย เคียงข้างเจ้านาย และตายไปกับเจ้านายอย่างจงรักภักดี ซึ่งเป็นวิธีคิดและการปฏิบัติที่โบราณ ไม่สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่เลย แต่ท่ามกลางความเป็นสมัยใหม่ของผู้คนและสังคมญี่ปุ่น ก็มีกระแสที่ดิ้นรนเพื่อแสวงหาอัตลักษณ์และจิตวิญญาณอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงมีความพยายามฟื้นฟูลัทธิซามูไรหรือบูชิโดขึ้นมา นักคิดนักเขียนคนสำคัญที่นำลัทธิโบราณนี้มาฟื้นฟูในโลกสมัยใหม่ คือ มิชิมะ ยูกิโอะ (1925-1970) นักเขียนนิยายที่ได้ชื่อว่าเป็นพวกขวาจัดคลั่งชาติ ที่เป็นหนึ่งในนักเขียนหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่เจ๋งมากนะคะ ความสามารถเรื่องสำนวนภาษา ความลึกซึ้งทางปรัชญา และความเข้าใจในจิตใจมนุษย์ ทำให้งานเขียนเขาสุดยอดแทบทุกชิ้น เขาชอบเน้นการทำตัวตามแนวทางแบบ Bushido เพื่อให้เป็นจริยธรรมของผู้ชาย ญี่ปุ่นที่นับวันจะหายาก คือความกล้าหาญ การเสียสละ การรักษาคำพูด การรักความจริง รักชาติ (แต่พูดน้อยนะคะ ซามูไรจริงต้องไม่พูด) อะไรประมาณนั้น แต่จริงๆแล้วมิชิมะออกจะ “อิน” กับลูกผู้ชายแบบตะวันตกด้วย งานของมิชิมะจึงมีกลิ่นอายลูกผู้ชายแบบ Hemingway อยู่ไม่น้อย นอกจากเขาเป็นนักรบในโลกวรรณกรรมแล้ว มิชิมะยังจัดตั้งกองกำลังของตัวเองเล็กๆ แต่ก็ไม่เคยได้ใช้ความรุนแรงไปในกรณีใดๆ ดราม่าของมิชิมะจบตรงที่เขาฆ่าตัวตายแบบฮาราคิรี คือคว้านท้องตาย ตั้งแต่ยังหนุ่มๆอายุแค่ 45 ปีเพราะเป็นจุดที่ประสบความสำเร็จสุดยอดและร่างกายมีมัดกล้ามแข็งแกร่ง เขาไม่ต้องการเห็นความตกต่ำในชีวิตอีกต่อไป จึงขอตายอย่างลูกผู้ชายในจุดสูงสุดของชีวิต

ถ้า เป็นซามูไรใน โลกสมัยใหม่จริง อ.สุวินัยคงคว้านท้องตายไปตั้งแต่เรื่องอาจารย์กู้แล้วล่ะค่ะ ไม่รอให้มีวันนี้วันที่พระธาตุเสด็จลงมารวม 25 องค์รอบตัวท่านหรอก


เวียงรัฐ เนติโพธิ์

20 มกราคม 2555


ความสวยงามชวนฝันของเกียวโต



มหาวิทยาลัยเกียวโต



ชีวิตรอบๆตัวในเกียวโต



มิชิมะ ยูกิโอะ