WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 18, 2012

เปิดเอกสารเก่าที่เพิ่งค้นพบสายธารปฏิวัติไทย ร่วมใจฉลองปีมหามงคล 80ปี2475-100ปีร.ศ.130



2555 ปีมหามงคลประชาชนไทย-ปีนี้เป็นวาระมหามงคลของประชาชนชาวไทย เป็นโอกาสครบรอบ 80 ปีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 และวาระครบ 100 ปีกบฎร.ศ.130( 27 กุมภาพันธ์ 2455) แม้เหตุการณ์สำคัญยิ่งนี้จะถูกทำให้พร่าเลือนลืมหลง ประชาชนไทยพึงรู้่เถิดว่า"ประวัติศาสตร์ยังตื่นอยู่เสมอสำหรับชนชั้น หลัง"(ภาพ:ประชาทอล์ก)


โดย ณัฐพล ใจจริง
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม


หมายเหตุไทยอีนิวส์:บทความดั้งเดิมชื่อ จาก“คณะ ร.ศ.130” ถึง “คณะราษฎร” : ความเป็นมาของความคิด“ประชาธิปไตย”ในประเทศไทย


1 ศตวรรษบรรพชนปฏิวัติ 2455--คณะกบฎ รศ.130( พ.ศ.2455 หรือ 100 ปีที่แล้ว) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของนายทหารหนุ่ม ได้แรงบัลดาลใจจากการปฏิวัติซินไห่ ของหมอซุนยัดเซ็น โดยต้องการยกเลิกระบอบราชาธิปไตยแล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นแบบ สาธารณรัฐแบบเดียวกับจีน

แต่ต่อมามีสมาชิกอาวุโสเพิ่มเติมเข้ามาในคณะก่อการมากขึ้น เสนอให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นประชาธิปไตยแบบมีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญก็พอ

นิตยศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นำเสนอบทความเรื่อง จาก "คณะ ร.ศ.130" ถึง "คณะราษฎร": ความเป็นมาของความคิด "ประชาธิปไตย" ในประเทศไทย ของ ณัฐพล ใจจริง ที่นำเสนอหลักฐานใหม่ว่า แกนนำผู้ริเริ่มก่อการปฏิวัติรศ.130(พ.ศ.2455 หรือ 99 ปีที่แล้ว)ต้องการยกเลิกระบอบราชาธิปไตยแล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นแบบ สาธารณรัฐ อย่างไรก็ดีท้ายที่สุดได้ลงมติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบลิมิเต็ดมอร์นา กี้

โดย ณัฐพล ตั้งคำถามว่า ระบอบ "ประชาธิปไตย" ตามความคิดของ "กบฏ ร.ศ.130" ซึ่งส่งอิทธิพลอย่างสูงไปยัง "คณะราษฎร" ในปี 2475 นั้น คือ ประชาธิปไตยแบบใด ก่อนที่ณัฐพลจะให้คำตอบว่า แกนนำของคณะ ร.ศ.130 มีความคิดโน้มเอียงไปในทาง "รีปัปลิ๊ก"(สาธารณรัฐ) อย่างไรก็ดีในท้ายที่สุดคณะราษฎรได้ลงเอยด้วยการเลือกระบอบลิมิเต็ด มอร์นากี้(กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ) แบบเดียวกับที่คณะรศ.130ได้ลงมติในตอนท้ายสุด


สยามในบริบทของการปฏิวัติแห่งศตวรรษที 20

แทบไม่น่าช ือ เม ื่อรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ท ีถูกสถาปนาขึ้นจากกระบวนการรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองกลับเข้าสู่พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้ปรากฎผลสำเร็จขึนในปี 2435 แต่เพียงราว 2 ปี ภายหลังรัชกาลของพระผู้ทรงสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และพระผู้ทรงเป็น ทุกส ิ่งทุกอย่างของสยามได้สิ้น สุดลง(2453) ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันเป็นพระราชมรดกของพระองค์ได้ถูกท้าทายอย่างหนัก หน่วงจากกระแสความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ท ีก่อตัวขึ้น

ในกลุ่มคนชั้นใหม่ภายในสังคมสยาม ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. 130 (2455) รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้เข้าจับกุมกลุ่มนายทหารและพลเรือนหัวก้าวหน้า กลุ่มหน ึงท ีคิดเปล ียนแปลงการปกครองของสยาม จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบ“ประชาธิปไตย”

( ยังคงมีข้อถกเถียงกันในวันที “คณะ ร.ศ. 130” ถูกจับกุม จากบันทึกความทรงจำของร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ ใน คน 60 ปี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์ ณ ฌาปนสถาน วัดมกุฏกษัตริยาราม 21
ธันวาคม 2523(กรุงเทพฯ : หจก.เซ็นทรัลเอ็กเพรสศึกษาการพิมพ์, 2523), หน้า 111 และ ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ ร.ต.
เนตร พูนวิวัฒน์ , หมอเหล็งรำลึก: ประวัติปฏิวัติครั้งแรกของไทย ร.ศ.130(พ.ศ.2454) พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานศพ
ของร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์(นายแพทย์เหล็ง ศรีจันทร์) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 19 เมษายน 2503 , (กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์กิมหลีหงวน), หน้า 83 ระบุว่า วันที ถูกจับกุมคือ 27 กุมภาพันธ์ 2454 (นับอย่างใหม่ คือ 2455)

แต่การศึกษาของแถมสุข นุ่มนนท์ , ยังเติร์กรุ่นแรก กบฎ ร.ศ. 130 (กรุงเทพฯ : เรืองศิลป์, 2522),หน้า196 และอัจฉราพร
กมุทพิสมัย, กบฏ ร.ศ. 130 กบฏเพื อประชาธิปไตย : แนวคิดทหารใหม่ (กรุงเทพฯ : อมรินทร์วิชาการ, 2540), หน้า
188 ระบุว่า วันที ถูกจับกุม คือ 1 มีนาคม 2454 (นับอย่างใหม่ คือ 2455) )

แม้ว่า ท ีผ่านมาจะมีหนังสือและงานวิจัยท ีชิ้นสำคัญทำการศึกษาประวัติศาสตร์ของความพยายามท ีเปล ียนแปลงการปกครองในช่วงดังกล่าวก็ตาม เช่น งานของแถมสุข นุ่มนนท์ ท ีมุ่งเน้น การศึกษาเหตุการณ์ที เรียกว่า “กบฎร.ศ.130”

อัจฉราภรณ์ กมุทพิศสมัย ที ศึกษาการปรับตัวของกองทัพสยามสมัยใหม่ ส่วนกุลลดา เกษบุญชู-มี้ด ท ีศึกษาการการล่มสลายของรัฐ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม โดยพินิจไปท ีการเปล ียนแปลงรูปแบบของรัฐ จากรัฐศักดินามาสู่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์และเคล ือนไปสู่รัฐประชาชาติเป็นผลมาจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนชั้นศักดินากับ กลุ่มคนชั้นใหม่ท ีกำเนิดขึ้น ท่ามกลางความเปล ียนแปลงของบริบทโลก

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานศึกษาชิ้นใดท ีมุ่งไปตรงไปยังตัวความคิดทางการเมืองท ีเรียกกันว่า“ประชาธิปไตย”อันเร ิ่มต้นจาก “คณะ ร.ศ.130” อย่างเป็นระบบเท่าท ีควร

ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ จึงเป็นการศึกษาในเชิงประวัติความคิดทางการเมืองไทย ด้วยวิธีการตีความข้อมูลและตัวบททางประวัติศาสตร์

คำถามท ีเกิดขึ้นในใจของผู้เขียนเก ่ียวกับความพยายามปฏิวัติทางการเมืองของ “คณะร.ศ.130” คือ พวกเขามีความต้องการเปล ียนการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยามไปสู่ระบอบใด หรือแบบใดกันแน่ รวมถึง ผู้เขียนต้องการทราบว่า ผู้คนในสังคมสยามขณะนั้น รับรู้ความคิดถึงแบบการปกครองนั้นได้อย่างไร

มีร่องรอยการปรากฏตัวของความคิดถึงแบบการปกครองนั้นๆในการปฏิวัติ 2475 หรือไม่ และมีความสัมพันธ์ระหว่าง “คณะร.ศ.130” กับ “คณะราษฎร” อย่างไร

การอำพรางความคิด“ประชาธิปไตย”ของ “คณะร.ศ.130”

กว่า 3 ทศวรรษท ีมีการศึกษา “คณะร.ศ.130” นักวิชาการได้ใช้เอกสารชั้นต้นในหอจดหมายเหตุ และบันทึกความทรงจำของสมาชิกคณะร.ศ.130 โดยเฉพาะอย่างยิ งบันทึกที ชื อ “หมอเหล็งรำลึก:ประวัติปฏิวัติครั้งแรกของไทย ร.ศ.130(พ.ศ.2454)” ที เขียนโดยร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์และร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ พิมพ์เผยแพร่ในงานศพของร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ เม ือปี 2503

แต่ผู้เขียนยังคงไม่ได้รับคำตอบอย่างพอใจถึงแบบของการปกครองใดกันแน่ที พวกเขาต้องการ ในบันทึกเล่มดังกล่าว ร.ต.เหรียญ และร.ต.เนตรบันทึกที กำกวมเพียงว่า “ที่ประชุมลงมติให้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่มี กษัตริย์เหนือกฎหมายเป็นประชาธิปไตยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

ดังนั้น คำถามท่ ีผุดในใจของผู้เขียน คือ อะไร คือ ความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” ในช่วงบริบทแห่งชีวิตและในความคิดของพวกเขา ตลอดจน พวกเขาได้อำพราง“ประชาธิปไตย”ของพวกเขาในบริบททางการเมืองที เปลี ยนไปอย่างไร7

การเริ่ มต้นตอบคำถามข้างต้น ผู้เขียนพบว่า งานศึกษาในเร ืองเหตุการณ์ร.ศ.130นั้น ล้วนอ้างอิงจาก“หมอเหล็งรำลึก”ทำให้ไม่สามารถตอบคำถามท ี่ผู้เขียนต้องการทราบได้ อีกทั้งแทบไม่มีใครให้ความสนใจกับคำว่า“ประชาธิปไตย”ที ปรากฏในงานเขียนของพวกเขาว่า หมายความว่าอย่างไร

อีกทั้งปราศจากการถอดรหัส ความหมายของคำดังกล่าวของพวกเขา จนกระทั่ังผู้เขียนได้พบหนังสือเล่มเขียนโดย ร.อ. เหล็ง และ ร.ต. เนตร ชื อ “ปฏิวัติ ร.ศ.130” ซึ งเป็นกุญแจสำคัญในการไขปริศนาถึงเป้าหมายทางการเมืองของพวกเขา โดยเฉพาะแกนนำในครั้งนั้น

หนังสือเล่มนี้พิมพ์แรกในปี 2484 โดยมีปรีดี พนมยงค์ แกนนำของ“คณะราษฎร” และผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแกนนำ“คณะร.ศ.130”
หลังการปฏิวัติ 2475 เขามีส่วนการผลักดันให้พวกเขาเขียนประวัติของความพยายามปฏิวัติครั้งแรกเพ ือเผยแพร่สู่สังคมสยาม

ด้วยเหตุท ี่ บริบทท ี่หนังสือเล่มดังกล่าวพิมพ์เผยแพร่ในยุคคณะราษฎร หนังสือเล่มนี้จึงบันทึกอย่างเปิดเผยถึงความคิดทางการเมือง เป้าหมายและความเห็นพ้องร่วมกันของแกนนำนายทหาร และพลเรือนหัวก้าวหน้าเมื อ 100 ปีที แล้วว่า พวกเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่ งแกนนำมีความคิดโน้มเอียงไปในทาง “รีปัปลิ๊ก” และความคิดดังกล่าวได้ปรากฎในหลักฐานแวดล้อมในเวลาต่อมา

(หนังสือเล่มนี้ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2484 สมจิตร เทียนศิริ ผู้เรียบเรียงได้บันทึกว่า เขาได้เรียบเรียงเร ืองราวจากบันทึกของร.ต.เนตร และหนังสือเล่มดังกล่าวได้รับการตรวจ “ทุกตัวอักษร” จากร.อ.เหล็ง ภูมิหลังของการเกิดหนังสือเล่มนี้เกิดจากความต้องการของนายปรีดี ดังนี้

“ท่านรัฐมนตรี(นายปรีดี)ได้เป็นผู้หนึ่งซึ่งร่วมมือในการปฏิวัติ เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งที่สองที่สำเร็จลง ท่านรัฐมนตรีได้คิดทีจะเรียบเรียงประวัติของคณะราษฎรนี้ไว้ แต่เมื่อท่านเห็นว่าประวัติศาสตร์ชิ้นน้จะสมบูรณ์ก็โดยที่ควรจะมีใครคนหนึ่ง ทำเหตุการณ์ในสมัย ร.ศ.๑๓๐ ขึ้นก่อน และท่านก็ได้เรียกนายร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์ซึ่งเป็นผู้ก่อการที่เข้มแข็งผู้หนึ่งในสมัย ร.ศ.๑๓๐ ไปพบ
และแจ้งความคิดในการเรียบเรียงที่จะกระทำของท่านขึ้น กับขอให้นายร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์ เล่าเหตุการณ์ของคณะร.ศ.๑๓๐ให้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบลง แล้วจึงขอให้นายร้อยตรีเนตร ถ้ามีเวลาให้สละเพื่อทำการบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ แต่เนื่องจาก ด้วยบุคคลทั้งสองยังหาเวลาที่จะปลีกตนมากระทำให้เป็นผลสำเร็จไม่ได้ ทั้งท่านรัฐมนตรี และนายร้อยตรีเนตร จึงปล่อยเวลาให้เนิ่นมาจนกระทั่งบัดนี้)

ความเปลี ยนแปลงของบริบททางการเมือง“หลังยุคคณะราษฎร” อาจเป็นสาเหตุสำคัญที ทำให้บันทึกของพวกเขาใน“หมอเหล็งรำลึก” ที ี่พิมพ์ในปี 2503 ปราศจาการเปิดเผยถึง ความคิดทางการเมือง และเป้าหมายของระบอบการปกครองท ีแท้จริงของพวกแกนนำในครั้งนั้น

เน ืองจาก หากพิจารณาจากบริบทแล้ว หนังสือเล่มนี้พิมพ์ขึ้น ในช่วงเวลาท ี“คณะราษฎร” สิ้นอำนาจไปแล้ว พร้อมกับบรรยากาศเริ ิ่มต้นในการฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์อย่างรอบด้าน ภายใต้ระบอบเผด็จการทหารของจอมพลสฤษดิ ธนะรัชต์ อาจทำให้พวกเขาระมัดระวังไม่กล้าเปิดเผยความคิดทางการเมืองของพวกเขาเม ืองของพวกเขาเม ื่อครั้งเก่าออกสู่สังคม“หลังยุคคณะราษฎร”อย่างเปิดเผย

ด้วยเหตุนี้จึงมีความเป็นไปได้ท ี่พวกเขาอาจต้องอำพรางความคิดทางการเมืองของพวกเขา ด้วยการใส่รหัส(encoding)ความหมายโดยการใช้คำว่า “ประชาธิปไตย” ซี่งเป็นคำศัพท์เก่าในบริบทการเมืองใหม่

ดังนั้น หากเราจะถอดรหัส(decoding)ความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย”ของพวกเขา เราต้องตีความคำดังกล่าวหรือหาความหมายของคำนี้ในบริบทท ีใกล้เคียงกัน

ทั้งนี้ก่อนการปฏิวัติ 2475 ความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” หมายถึง “การปกครองที่ ผู้เป็นหัวหน้าแห่งอำนาจบริหารไม่ใช่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน คือเป็นบุคคลสามัญหรือ คณะบุคคลซึ่งราษฎรได้เลือกตั้งไว้มีกำหนดเวลา การอยู่ในตำแหน่งไม่เป็นมฤดกตกทอดไปได้แก่ผู้อยู่ในสกุลเดียวกัน” ( http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_the_Republic_of_China เข้าถึง 27 ธันวาคม 2553)

หรือ หมายถึงการปกครองแบบ “รีปัปลิ๊ก”ท ีพวกเขาได้เคยนำเสนอความคิดเอาไว้ใน และแกนนำในครั้งนั้น มีท่าทีสนับสนุนการปฏิวัติไปในทิศทางดังกล่าว

แม้“หมอเหล็งรำลึก” ถูกบันทึกขึ้น' โดยแกนนำของคณะจะอำพรางความคิดทางการเมืองของพวกเขาไว้ แต่ “ปฏิวัติ ร.ศ.130” ท ี่พวกเขาได้บันทึกและพิมพ์ขึ้นในปี 2484 ซ่ง ึ เป็นยุคสมัยที่“คณะราษฎร” มีอำนาจทางการเมือง บริบทดังกล่าวทำให้พวกเขาได้เปิดเผยให้เห็นร่องรอยความคิดทางการเมืองของพวก เขา

แต่หนังสือเล่มนี้กลับไม่เป็นท ีรู้จักแพร่หลาย ซึ่งอาจมีผลทำให้การศึกษาความคิด“ประชาธิปไตย” ซึ่งเป็นความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ท่ ีเกิดขึ้นในสังคมสยามมาหนึ่งศตวรรษนี้หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ความคิดทาง การเมืองและประวัติศาสตร์การเมืองของไทยไปอย่างน่าเสียดาย

จากนี้ไปผู้เขียนจะพาท่านสะกดรอยเพ ือหาความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” ควบคู่ไปกับการพิจารณาบทบาท ความเคลื่ อนไหวของ”คณะร.ศ.130” และความสัมพันธ์ที ใกล้ชิดระหว่างพวกเขากับ“คณะราษฎร” ในประวัติศาสตร์การเมืองและประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองไทยเมื อราวหนึ่ งศตวรรษที ผ่านมา

ร.ต.วา ศ วาสนา (คนที่ 2 จากขวาแถวนั่งหน้าสุด)กับสหายคณะรศ.130ขณะถูกฝ่ายรัฐบาลพระมงกุฎเกล้าฯจับ กุมสมาชิกหลายคนเสียชีวิตในคุก ร.ต.วาศ กล่าวกับสหายในวาระสุดท้ายของชีวิตนักปฏิวัติว่า "เพื่อนเอ๋ย กันต้องลาเพื่อนไปเดี๋ยวนี้ ขอฝากลูกของกันไว้ด้วย กันขอฝากไชโย ถ้าพวกเรายังมีชีวิตได้เห็น"

รุ่งอรุณของความคิด“ประชาธิปไตย” ใต้เงาระบอบเอกาธิปไตยสยาม

ความเสื่อมทรามที่เกิดขึ้น จากการปกครองจีนของราชวงศ์ชิง และความเคล ่ือนไหวของขบวนการ“ถงเหม็งฮุ่ย” หรือ ขบวนการปฏิวัติจีนท ีนำโดยซุนยัดเซนก่อให้เกิดการโค่นล้มราชวงศ์ชิงในปี 2454 ผนวกกับ“ความเสื่อมซาม “ของระบอบเอกาธิปไตยสยามทำให้ในปลายเดือนธันวาคม 2454 เกิดแสงสว่างทางปัญญาท่ามกลางฤดูหนาวในสยาม เม ือนายทหารหัวก้าวหน้ากลุ่มหน่ง ึ ได้เริ่มพูดคุยกันถึงการสร้างความก้าวหน้าให้กับสยาม

ประกายความคิดได้ถูกจุดขึ้นจากร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ ร.ต.จรูญ ษตะเมษ และร.ต.เนตร ได้ปรึกษากันถึงอนาคตของสยามที่กองปืนกลที่ 1 รักษาพระองค์ ถนนซางฮี และได้ใช้หนังสือชื่ อ“ประวัติศาสตร์การปฏิวัติ”ซึ งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี ยนแปลงการระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของประเทศต่างๆมาเป็นตัวอย่างแนวทางการ ปฏิวัติ

ต่อมา พวกเขาได้ไปหา ร.อ.เหล็ง ที บ้านถนนสาธร เมื่อวันที 10 มกราคม 2455 ร.อ.เหล็งได้นําหนังสือพงศาวดารของประเทศต่างๆมาให้ดูเหตุการณ์ปฏิวัติที เกิดขึ้น เปรียบเทียบเป็นยุคๆเพื อให้เหล่านักปฏิวัติหนุ่มพิจารณา

การพบปะครั้งนั้นของนายทหารนักปฏิวัติหนุ่ม นางอบ ศรีจันทร์ ภริยาของร.อ.เหล็งได้ร่วมกินข้าวเย็น และรับฟังแผนการต่างๆ พร้อมกับเหล่านักปฏิวัติด้วย
“ในฐานะที่เธอเป็นสตรี ซึ่งตามลักษณะธรรมดา เมื่อพบว่า สามีของเธอและเพื่อนกับน้องชายต่างคิดการดังเช่นกบฏต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง เอาศีร์ษะเข้าแลกกับคมดาบนั้นแล้ว หน้าที่เธอจะตระหนกตกใจยับยั้งความคิดของสามีเธอ กับเพื่อน แต่เธอกลับแสดงความคิดเห็นและปิติยินดีต่อหน้าที่ของคณะผู้คิดการณ์ไกลจะกู้ ราชการบ้านเมืองอีกด้วย เธอได้กล่าวส่งเสริมความยินดี อวยชัยให้พร ขอให้ความคิดของคณะจงสัมฤทธิผล เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาราษฎร กับนํามาซึ่งความเป็นอารยะเทียมทันบรรดาประเทศชาติอื่นๆทั้งหลายต่อไป”

ต่อมาได้มีการประชุมจัดตั้ง “คณะพรรค ร.ศ. 130” ขึ้นเมื่ อ 13 มกราคม 2455 ที่บ้านร.อ.เหล็ง การประชุมครั้งนั้นมีผู้เข้าร่ วมประชุม จํานวน 7 คน คือ ร.อ.เหล็ง ร.ต.เหรียญ ร.ต.จรูญ ร.ต.เนตร ร.ต.ปลั่ ง บูรณโชติ ร.ต. ม.ร.ว แช่ รัชนิกร และร.ต.เขียน อุทัยกุล

พวกเขาได้ร่วมกันกําหนดสัญลักษณลับของ “คณะพรรค ร.ศ. 130” เป็นเครื่องหมายธงมีตัวอักษรว่า “เสียชีพดีกว่าเสียชาติ” ส่วนเครื ่องหมายของสมาชิก คือ ผ้าเช็ดหน้าสีขาวที่ ปักมุมด้วยอักษร 2 ตัว สีเดียวกันว่า “ร”และ “ต” โดย“ร” หมายถึงจงระวังตัว ส่วน “ต” หมายถึง จงเตรียมตัวไว้เพื อเคลื อนที ได้

และการประชุมในครั้งต่อมา ได้มีการพูดถึง “ความเสื่อมซาม”ของระบอบเอกาธิปไตยสยาม หลังจากนั้นมีการเตรียมการเปลี ่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที มีกษัตริย์เหนือกกฎหมายไปสู่ “ประชาธิปไตย”

“ความเสื่อมซามและความเจริญของประเทศ”: ถอดรหัสความคิด“ประชาธิปไตย”ของ “คณะร.ศ.130”

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2455 รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้เข้าจับกุม“คณะร.ศ.130” เจ้าหน้าที ได้ยึดเอกสารชิ้นหนึ งในบ้านของแกนนําสําคัญ คือ ร.อ.เหล็ง เอกสารชิ้นนั้นชื อ “ความเสื่อมซาม และความเจริญของประเทศ” ซึ่ งเป็นเอกสารที่ สะท้อนให้เห็นความคิดทางการเมืองของแกนนําคณะอย่างแจ่มชัด

ในบันทึกมีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ว่า ความก้าวหน้าของประเทศ ต่างๆทั วโลกนั้น จะรุ่งเรือง หรือเสื อมทรามลงก็เพราะการกครองของประเทศนั้น
“ ถ้าประเทศหนึ่งประเทศใดรู้จักจัดการปกครองโดยใช้กฎหมายแลแบบธรรมเนียมที่ ยุติธรรม ซึ่งไม่กดขี่และบียดเบียนให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ประเทศนั้นก็จะมีความเจริญรุ่งเรืองแลศรีวิลัยยิ่งขึ้นทุกที เพราะราษฎรได้รับความอิสรภาพเสมอหน้ากันไม่มีใครที่จะมาเป็นเจ้า สําหรับกดคอกันเล่นดังเช่นประเทศซึ่งอย่ในูยุโรป แลอเมริกา เป็นต้น

ประเทศเหล่านี้ แต่เดิมก็เคยมีกระษัตริย์ปกครองอยู้่เหนือกฎหมายใช้อํานาจ แอ็บโซล๊ดเต็มที่สําหรับกดขี่ราษฎรได้ตามความพอใจ ครั้นนต่อมาเมื่อราษฎรเกิดความรู้แลความฉลาดมากขึ้นแล้ว จึงได้ช่วยกันลบล้างประเพณีอันชั่วร้ายของกระษัตริย์เสียหมด คิดจัดตั้งประเพณีการปกครองบ้านเมืองขึ้นใหม่ บางประเทศก็บังคับให้กระษัตริย์อยู่ใต้กดหมาย บางประเทศก็ยกเลิกไม่ให้กระษัตริย์ปกครอง คือ การจัดตัั้งการปกครองเป็นรีปับลิ๊ก...”

หัวใจสําคัญของบันทึกดังกล่าวได้เสนอ และวิเคราะห์แนวทางการปกครองในโลกว่า มี 3 แบบ คือ

แบบแรก“แอ็บโซลุ๊ดมอนากี”

แบบที สอง“ลิมิตเต็คมอนากี”

และแบบสุดท้ายคือ “รีปัปลิ๊ก”

สําหรับการปกครองแบบแอ็บโซลุ๊ดมอนากี”นั้น บันทึกวิจารณ์ว่า
เป็น ระบอบการปกครองที่ กษัตริย์มีอํานาจเต็ม อยู่เหนือกฎหมาย“กระษัตริย์จะทําชั่วร้ายอย่างใดก็ทําได้” จะกดขี่ แลเบียดเบียนราษฎรให้ได้รับความทุกข์ได้ทุกประการ ทรัพย์สิน สมบัติและที่ ดินจะถูกกระษัตริย์เบียดเบียนเอามาเป็นประโยชน์ส่วนตัวได้อย่างไม่มีขีดจํา กัด เช่น ไล่ที ่ทําวัง เงินภาษีอากรจะถูกนํามาบํารุงความสุขให้ส่วนตัว พระราชวงศ์และบ่าวไพร่ เงินบํารุงบ้านเมืองจึง“ไม่เหลือหรอ” ประเทศสยามเป็นประเทศหนึ่งที ปกครองในระบอบดังกล่าว และมีพวกที คอย“ล้างผลาญ”ภาษีอากรที่ เข้ามา“กัดกันกินเลือดเนื้อของประเทศ”

ในบันทึกวิเคราะห์ต่อไปว่า ประเทศที่ปกครองแบบดังกล่าวจะทําให้ประเทศทรุดโทรมและถึงแก่กาลวินาศ

การปกครองแบบ“ลิมิตเต็คมอนากี้” ในบันทึกวิเคราะห์ว่า
การ ปกครองแบบนี้ กระษัตริย์ต้องอยู่ใต้กฎหมาย ดังนั้นกษัตริย์จึงไม่มีอํานาจ พวกเต้นเขนและพวกเทกระโถนตามวังเจ้าจะไม่มีโอกาสได้เป็นขุนนางเลย วิธีการปกครองแบบนี้ เริ่มต้นจากอังกฤษ ประเทศต่างๆได้ทําตามแบบดังกล่าว เช่น ตุรกี และญี่ปุ่น แต่บางประเทศทําเลยไปถึงรีปัปลิ๊ก

บันทึกเห็นว่า คงเหลือแต่ประเทศสยามเท่านั้นที่ ยังคงระบอบการปกครองที่ ่ทําให้ พวกกระษัตริย์ได้รับความสุขสนุกสบายมากเกินไปจน
ไม่มีเงินจะบํารุงประเทศ

การปกครองแบบสุดท้าย คือ "รีปัปลิ๊ก” บันทึกนิยามว่า
การปกครอง แบบนี้เป็นการปกครองที่ยกเลิกไม่ให้มีกระษัตริย์ปกครองอีกต่อไป แต่มีที่ประชุม สําหรับจัดการบ้านเมืองอย่างแข็งแรง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประธานสําหรับการปกครองประเทศ ประชาชนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน

การปกครองรูปแบบนี้ ในบันทึกวิเคราะห์ว่า “ ราษฎรทุกประเทศจึงอยากเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศให้เป็นรีปัปลิ๊กทั้งหมด เวลานี้ ประเทศใหญ่น้อยต่างๆเป็นรีปัปลิ๊กกันเกือบทั่วโลกแล้ว” เช่นประเทศในยุโรป อเมริกา และจีนกําลังต่อสู้เพื อเปลี ยนแปลงการปกครองให้เป็นรีปัปลิ๊ก

( โปรดรออ่านต่อตอนที่ 2 )
*********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

-ไม่ต้องรอตอน2คลิกอ่านเอกสารดั้งเดิมที่นี่ http://www.rsu-cyberu.com/leadership/media/Leadership_Forum/RorSor130.pdf

-ซีรีส์ชุด:พ.ศ.2555 ปีมหามงคลประชาชนไทยร่วมใจฉลอง80ปี2475-100ปีร.ศ.130