WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 20, 2012

กลุ่มกรีนร้องผู้ตรวจการแผ่นดินค้านตั้ง "นลินี-ณัฐวุฒิ"

ที่มา ประชาไท

กลุ่มกรีนนำโดย จาตุรันต์ บุญเบ็ญจรัตน์, นัสเซอร์ ยีหมะ และประกิต จันทร์สมวงศ์ ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ระหว่างที่ลงพื้นที่ที่อำเภอวังน้ำเขียว คัดค้านตั้ง" นลินี-ณัฐวุฒิ "ผานิต ขอให้นายกฯ ชี้แจงใน 30 วัน
20 ม.ค. 55 - มติชนออนไลน์รายงาน ว่าในระหว่างที่ผู้ตรวจการแผ่นดินลงพื้นที่ที่อำเภอวังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ได้มีตัวแทนจากกลุ่มกรีน (Green Politics)ประกอบด้วย นายจาตุรันต์ บุญเบ็ญจรัตน์ นายนัสเซอร์ ยีหมะ และนายประกิต จันทร์สมวงศ์ ยื่นหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่องขอให้ตรวจสอบปัญหาทางจริยธรรมของข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ
หนังสือร้องเรียนของกลุ่มดังกล่าว ระบุว่า ตามที่รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีและนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ โดยได้มีการโปรดเกล้าฯ ลงมาเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ทั้งนี้โฉมหน้าของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือ “ครม.ปู 2” ได้ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนและสังคมอย่างกว้างขวางถึงความเหมาะ สมและความน่าเชื่อถือของรัฐบาลที่ต้องทำหน้ากอบกู้ฟื้นฟูประเทศไทยและจำเป็น ต้องสร้างสานศรัทธาจากทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง
ทั้งนี้ปัญหาจริยธรรมถือว่าเป็นปัญหาวิกฤติเรื้อรังและสะสมมานานในระบบ ราชการและระบบการเมืองไทย รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 หรือฉบับปัจจุบัน ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจริยธรรมที่นับวันรุนแรงมากขึ้น จึงเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 279 ให้มีอำนาจในการตรวจสอบจริยธรรมของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการประจำ และหากพบข้อเท็จจริงผู้ตรวจการมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการถอดถอนบุคคลดัง กล่าวได้ทันทีเพื่อสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองและทำให้การเมืองสะอาด มีมาตรฐานทางจริยธรรมและคุณธรรม กลุ่มกรีน (Green Politics) จึงข้อเรียกร้องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาตรวจสอบข้อเท็จจริงและการกระทำ ที่ไม่เป็นไปตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการเมือง พ.ศ.2551 ของบุคคลทั้ง 4 คนดังต่อนี้
1. กรณีการแต่งตั้ง นางนลินี ทวีสิน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่นางนลินี ทวีสิน ยังคงมีชื่อค้างคาอยู่ใน “บัญชีดำ” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 โดยสำนักงานทรัพย์สินต่างชาติ ของกระทรวงการคลัง สหรัฐอเมริการะบุว่า นางนลินี เป็น 1 ใน 3 นักธุรกิจที่ให้การช่วยเหลือการทุจริตของรัฐบาลนายโรเบิร์ต มูกาเบ อดีตประธานาธิบดีของประเทศชิมบับเว ซึ่งในแถลงการณ์ของกระทรวงการคลังสหรัฐระบุว่านางนลินี ได้ทำธุรกิจหลายประเภทร่วมกับภรรยา ซึ่งกลุ่มคนที่ถูกขึ้นบัญชีดำ จะถูกทางการสหรัฐดำเนินการยึดทรัพย์สิน และห้ามพลเมืองอเมริกันร่วมทำธุรกิจอีกด้วย ซึ่งภายหลังรับตำแหน่งรัฐมนตรี นางนลินีก็ยอมรับว่าตนเองมีชื่ออยู่ในบัญชีดำดังกล่าวจริงๆ
2. กรณีการแต่งตั้ง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ซึ่งเป็นแกนนำแนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. โดยในช่วงชุมนุมเมื่อกลางปี พ.ศ. 2553 นายณัฐวุฒิ ในฐานะแกนนำคนสำคัญมีบทบาทในการจัดการชุมนุมที่ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐ ธรรมนูญ ละเมิดสิทธิเสรีภาพ และสร้างความเสียหายให้เกิดกับผู้อื่น และปราศรัยปลุกระดมยั่วยุจนเป็นเหตุให้เกิดการจลาจลและความรุนแรงขึ้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ภายหลังเหตุการณ์คลี่คลายนายณัฐวุฒิ และแกนนำม็อบครั้งนั้น ได้ถูกตั้งข้อหาร้ายแรงและอุกฉกรรจ์ โดยเฉพาะข้อหาก่อการร้าย ซึ่งศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวและจำคุกนานกว่า 9 เดือน ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลยุติธรรม
3.กรณีนายอำพน กิตติอำพล ในฐานะเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ได้ปล่อยปะละเลย และนำรายชื่อบุคคลทั้ง 2 ขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งเป็นการกระทำระคายเคืองเบื้องพระยุคลละบาท สมควรที่จะได้รับการตรวจสอบพฤติกรรมดังกล่าว
4. นายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่อ้างว่าเลือกรัฐมนตรีด้วยตัวเองและได้พิจารณาคุณสมบัติเป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งในฐานะผู้นำรัฐบาลเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีที่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้รับ สนองพระบรม ราชโองการด้วย แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กลับละเลย ไม่ใส่ใจในการคัดเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ต้องคำนึงถึงประมวล จริยธรรมของข้าราชการเมืองและข้าราชการประจำ
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวถือว่าบุคคลทั้ง 4 ได้ฝ่าฝืนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการเมือง พ.ศ.2551 (ตามเอกสารที่ส่งมาด้วย) จึงเป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 244 (2) ต้องดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้า หน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 279 ที่ระบุว่า “มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น
มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นการกระทำผิดทางวินัย ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรายงานต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี และหากเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณา ดำเนินการ โดยให้ถือเป็นเหตุที่จะถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งตามาตรา 270 การพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลใด เข้าสู่ตำแหน่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษบุคคลนั้นจะต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทาง จริยธรรมของบุคคลดังกล่าวด้วย”
รายงานข่าวแจ้งว่า กลุ่มกรีน มีสายสัมพันธ์กับนายสุริยะใส กตะศิลา แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า หลังรับหนังสือร้องเรียน จะได้แจ้งไปยังนายกรัฐมนตรี เนื่องจากนายกฯ มี 2 บาทบาทคือ เป็นคนแต่งตั้งนางนลินีและนายณัฐวุฒิ และนายกฯต้องเป็นผู้กำกับจริยธรรมทางการเมือง ทั้งนี้ภายในสัปดาห์หน้า จะประชุมร่วมกับผู้ตรวจการแผ่นดินอีก 2 คน ก่อนจะให้นายกฯมาชี้แจงใน 30 วัน อันเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2547 โดยระหว่างนี้จะทำการรวบรวมข้อมูล พยานหลักฐานคู่ขนานกันไป ทั้งนี้หลังจากนายกฯชี้แจง ถ้ารับฟังได้เรื่องก็จบ แต่ถ้ารับฟังไม่ได้ก็ต้องสอบสวนต่อไป