WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, January 15, 2012

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ‘เอามั้ย! ทำแผนพัฒนาภาคใต้ฉบับพหุภาคี’

ที่มา ประชาไท

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ

หลังจากอุ่นเครื่องด้วยวงเสวนาวิชาการเรื่อง “แผนพัฒนากับทางเลือกการพัฒนาภาคใต้ แผนพัฒนาที่ยั่งยืน” เมื่อตอนค่ำของวันที่ 13 มกราคม 2555

เช้าของวันที่ 14 มกราคม 2555 งานสมัชชาสุขภาพภาคใต้ และงานวิชาการ “ไอดิน กลิ่นใต้” พ.ศ. 2554 ที่จัดโดยเครือข่ายสุขภาพภาคใต้ ก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาด้วยปาฐกถาเรื่อง “กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ภาคใต้” โดยนายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ คณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะ ประเด็น

ข้อคิดแนวทางที่นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เสนอแนะต่อสมัชชาสุขภาพภาคใต้ มีอะไรและเป็นอย่างไร มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังปรากฏต่อไปนี้

0 0 0

ผมมาถึงเมื่อวานนี้ (วันที่ 13 มกราคม 2555)ได้มาเห็นพิธีเมื่อเช้านี้ (วันที่ 14 มกราคม 2555) ผมมั่นใจว่าสมัชชาสุขภาพภาคใต้ ไม่มีวันตกต่ำ เวลาคนทำงานร่วมกันนะครับ หมอประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส มักจะเตือนให้ยึดหลักอปริหายธรรม แปลว่าธรรมะที่ป้องกันความเสื่อมในการทำงานร่วมกัน ข้อหนึ่งคือให้หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ สมัชชาสุขภาพภาคใต้ที่ผมเฝ้ามอง ในฐานะสมัชชาแห่งชาติ และในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และ สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ได้เฝ้ามองพื้นที่นี้เป็นพิเศษ

ครั้งแรกที่จัดสมัชชาสุขภาพภาคใต้ขึ้นมา ต้องขออภัย ผมคิดว่าพื้นที่นี้จะทำกันไปได้สักกี่น้ำ แต่นี่จัดมาเป็นครั้งที่ 4 แล้วนะครับ ภาคใต้มีการประชุมกันเป็นเนืองนิตย์ ไม่ใช่แค่ประชุม 14 จังหวัดเท่านั้น ทราบว่าแกนนำอื่นๆ ก็เข้ามาประชุมด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เข้าประชุมพร้อมเพรียงกัน เลิกประชุมพร้อมเพรียงกัน ไม่มีที่ว่าเข้ามาร่วมประชุมกัน ทีละคนสองคน พอประชุมไม่ทันเลิกก็หายไปแล้ว เพราะอันนี้เป็นอุปสรรคที่สำคัญ

ลักษณะที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง เคารพในประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ที่เห็นชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นเลย งานวันนี้พูดถึงประวัติศาสตร์ภาคใต้ย้อนหลังไปไกลเลย รวมทั้งศิลปวัฒนธรรม

ประเด็นที่สามอยากยกขึ้นมา ที่คิดว่าท่านคงไปได้แน่ๆ คือ เคารพในอาวุโส และเคารพในสตรี เชื่อฟังสตรี 14 ท่าน ที่ผมเห็นเมื่อเช้านี้ มีสตรีอยู่ 4 ท่าน ซึ่งเป็นหนึ่งสาม มากกว่า ส.ส.ในสภาเสียอีก แปลว่าสมัชชาของเรา มีแนวโน้มไปได้ดีแน่ๆ จุดแข็งที่ผมเห็นเมื่อวานนี้ คือ การจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบ มีกลไกที่เป็นระบบ บางเรื่องผมเห็นว่าดีกว่าสมัชชาชาติเสียอีก ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ แล้วก็คงจะมีวิวัฒนาการค่อยๆ ปรับจนกระทั่งเหมาะสมกับภาคใต้ที่สุด

หลายท่านที่มาจากประชาชน จากภาคประชาสังคม อาจจะมองว่ารูปแบบนี้เป็นราชการจ๋า มันเหมือนเป็นระบบเกินไป ก็อาจจะลดความเป็นระบบลงได้ ค่อยคุยกับคนที่ทำงานทั้งหลาย ท้ายที่สุดแล้วค่อยทำไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร อาจจะไม่มีกฎไม่มีระเบียบอะไรเลย แต่กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยผู้นำของท่านทั้งหมด ทั้ง 14 ท่าน และคนอื่นๆ ที่อยู่ในที่นี้ด้วย อาจจะช่วยกันปรับปรุงและพัฒนา และอยากจะเรียนว่าภาคใต้ เมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ แล้ว ถือว่าเป็นระเบียบที่สุด พร้อมเพรียงกันที่สุด วันนี้เราก็มีตัวแทนจากภาคอื่นๆ มาร่วมสังเกตการณ์ด้วย ท่านจะต้องมีการแลกเปลี่ยนกันเป็นระยะ เมื่อเช้าผมมาเดินดูนิทรรศการ ยังไม่ได้ดูทุกจังหวัด หลังจากนี้เช้าๆ บ่ายๆ ผมจะเดินดูให้หมด เพราะผมคิดว่าจะได้เรียนรู้จากจังหวัดต่างๆ มากมาย ทุกจังหวัดไม่เหมือนกัน ทุกอำเภอๆเหมือนกัน ทุกตำบลไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการที่มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของจังหวัดต่างๆ เป็นสิ่งที่เป็นจุดแข็งของภาคใต้

ที่ผมเห็นเป็นจุดแข็งอีกข้อหนึ่งของสมัชชาสุขภาพภาคใต้คือ มีทั้งการขับเคลื่อนจนกระทั่งได้มติ นำมาขับเคลื่อนเป็นนโยบาย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ อย่างที่ผมเรียนไว้ว่า การเอาเรื่องต่างๆ มาเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพ เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจนะครับ ประเด็นหลักในการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในปี 2555 เป็นประเด็นที่เสนอขึ้นมาจากสมัชชาภาคใต้ นั่นคือเรื่องภัยพิบัติ อันนี้แสดงถึงภาวะความเป็นผู้นำของทุกท่าน ที่เป็นคนภาคใต้

พวกท่านได้นำประเด็นของท่านขึ้นเป็นประเด็นของภาค สู่ประเด็นระดับชาติได้สำเร็จ เอาข้อตกลงระดับชาติลงมาสู่การปฏิบัติในพื้นที่ได้ มีทั้งขาขึ้นและขาเคลื่อนไปพร้อมกัน

ทั้งหมดนี้ เป็นกระบวนการที่เราเห็นว่า เป็นกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะที่มีส่วนร่วมจริงๆ เราเห็นภาคประชาชน เราเห็นภาคประชาสังคม เราเห็นภาครัฐและภาควิชาการ แต่มีภาคธุรกิจเข้าร่วมน้อยไปหน่อย แต่เราก็ใช้กระบวนการพัฒนาข้อเสนอไปเรื่อยๆ

ผมเรียนอย่างนี้ ท่านผู้ฟังอาจจะต้องคิดย้อนหลังสักนิดนะครับ เราจัดเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 แล้วนะครับ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ประธานสมัชชาแห่งชาติคนแรกเป็นข้าราชการเป็นภาครัฐนะครับ ทำงานในระดับนโยบาย เป็นบุรุษ ส่วนคนที่ 2 เป็นสตรีนะครับ มาจากภาควิชาการ ประธานคนที่ 3 เป็นสตรีอีก เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เป็นนักธุรกิจที่มีความเป็นมนุษย์สูงมาก เป็นผลิตผลของผู้ที่ประสบความสำเร็จท่านหนึ่งนะครับ ซึ่งสร้างตนจากความไม่มีอะไร สู่ความสำเร็จสูงสุดได้คือ นางศิรินา โชควัฒนา ซึ่งเป็นประธานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จะเห็นว่าเรามีประธาน ทั้งที่มาจากภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคธุรกิจ

ผมอยากจะท้าทายต่อไปครับว่า ยุคต่อไปให้ประธานมาจากภาคประชาสังคม จะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้ เพราะที่ผ่านมามีผู้หญิงมาแล้วสองคน คนที่สี่จะเป็นผู้หญิงผู้ชายก็ได้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ขอให้มาจากภาคประชาสังคมก็พอ เพื่อจะทำให้เห็นว่า กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะโดยสมัชชาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นระดับพื้นที่ หรือเฉพาะประเด็น หรือระดับชาติ สามารถทำได้โดยคนในสาขาใดก็ได้ ไม่ใช่ทำได้เฉพาะผู้มาจากภาครัฐเท่านั้น ภาคประชาสังคมก็ทำได้ ภาคธุรกิจก็นำได้ แปลว่าเราทำงานร่วมกันได้

สมัชชาสุขภาพ ไม่ใช่สมัชชาของรัฐที่จะเอาคนของรัฐเข้ามาใส่ ไม่ใช่สมัชชาของประชาชนอย่างเดียว ที่จะเอาแต่เรื่องของประชาชน ไม่ใช่สมัชชาธุรกิจ ที่จะเอาเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจมาใส่ แต่เป็นกลไกกระบวนการที่ทุกภาคส่วน มีเวทีพูดคุยกันอย่างฉันท์มิตร

ธุรกิจของคุณศิรินามูลค่าไม่ใช่ร้อยล้าน แต่เป็นหมื่นล้าน เป็นธุรกิจของครอบครัวคือ บริษัท สหพัฒนพิบูลย์ จำกัด ในห้องนี้รับรองเลยว่า มีคนใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท สหพัฒน์พิบูลย์ จำกัดมากมายมหาศาล ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับ คุณศิรินาได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า ตั้งแต่เข้ามาอยู่ในกระบวนการของเรา 3–4 ปี ในนามของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ท่านได้แสดงจุดยืนยึดเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง เราเห็นได้ว่าปัจจุบันภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมกับภาคสังคมมากขึ้น

จุดที่ภาคใต้ 14 จังหวัดเข้มแข็งอยู่แล้ว และจะต่อยอดต่อไปได้มีอยู่ 2–3 ประเด็นคือ ประเด็นการขับเคลื่อนด้วยตัวเอง อยากจะย้ำนะครับ ถ้าภาคประชาชนเราสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง รวมตัวทำอะไรด้วยกันเอง อันนี้สุดยอดมาก ไม่ต้องมีใครมารับรอง เป็นการจัดการตัวเองโดยภาคประชาสังคม

ขณะเดียวกันเราก็มีกลไกสมัชชา ที่มีกฎหมายรองรับ แม้จะเป็นกฎหมายที่ออกมาในสมัยรัฐบาลรัฐประหาร แต่กระบวนการต่างๆ เริ่มมาก่อนหน้านั้นเยอะแล้ว ถึงไม่มีรัฐบาลจากการรัฐประหาร กฎหมายนี้ก็คงมาถึงสักวัน เพราะผ่านกระบวนการพูดคุยมาทั่วประเทศ

เราจะทำอย่างไร ที่จะให้ภาคใต้กำหนดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันได้เอง เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ช่วยกันต่อยอดกันขึ้นมา สไลด์ที่ฉายเมื่อคืนนี้ เป็นงานวิชาการเชิงสังคมที่ดีมากชิ้นหนึ่ง เป็นการถอดแผนพัฒนาภาคใต้ออกมาให้เห็นกันชัดๆ ดูแล้วไม่ทราบว่าเป็นแผนพัฒนาฉบับนักธุรกิจหรือเปล่า ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมแค่ไหน เห็นภาพง่ายๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ทีนี้ถ้าเราจะต่อยอดขึ้นไปอีก ก็ตั้งคำถามว่า สมัชชาสุขภาพ 14 จังหวัดภาคใต้ หรืออาจจะจัดตั้งตัวเองเป็นสมัชชาปฏิรูปแห่งประเทศไทย เพื่อทำแผนพัฒนาภาคใต้ได้หรือไม่ จะต้องมีมติสมัชชารับรองอีกหรือไม่ ภาคใต้ 14 จังหวัด จะจัดตั้งเป็นสมัชชาปฏิรูป 14 จังหวัดภาคใต้ได้หรือเปล่า แล้วมีมติตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อทำแผนพัฒนาภาคใต้ โดยไม่ต้องรอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) แต่งตั้ง

กำหนดมาเลยว่า ประธานเป็นใคร เอาคนจากที่ไหนมาก็ได้ จากส่วนกลางก็ได้ จากภาคใต้ก็ได้ ที่เราเห็นว่าเป็นคนที่น่าเชื่อถือ แล้วเอาหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วม คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็เข้ามาได้ เพราะเขาทำแผนพัฒนาภาคใต้ฉบับทางการ ให้เขาเข้ามาเป็นกองเลขาฯ เอาสถาบันการศึกษาเข้ามาร่วมด้วย เอาภาคประชาสังคมมาร่วมด้วย เอามาร่วมกันทำแผนพัฒนาภาคใต้ฉบับพหุภาคี ประเด็นไม่ได้อยู่ที่จะได้แผนหรือไม่ แต่อยู่ที่กลไกและกระบวนการ ที่นำไปสู่การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง สร้างความร่วมมือ สร้างความร่วมแรงร่วมใจ แผนพัฒนาฉบับนี้จะไปถึงคณะรัฐมนตรีหรือไม่ ไปถึงที่ไหนหรือเปล่า เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

กลไกและกระบวนการที่ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมนี่แหละคือที่มาของแผน ที่คนภาคใต้จะยึดเป็นแผนพัฒนาภาคใต้ ไม่ใช่ภาคประชาชนนะครับ แต่เป็นแผนของคนทุกภาคส่วน ใครจะเข้ามาทำอะไรที่นี่ เขาต้องดูแผนพัฒนาฉบับนี้ ถ้าเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของแผนจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ผู้รับผิดชอบในส่วนกลาง จนมาถึงคนในพื้นที่ ก็ไม่น่าจะมีใครมาสงสัยว่า ทำไมเราไม่เอาแผนพัฒนาชาติ อันนี้ผมอยากจะเสนอไว้นะครับ

กลไกของพวกเราจะรุกต่อไปได้หรือไม่ ผมคิดว่าเราต้องเริ่มจากการไม่ตั้งธงไว้ก่อนว่า อันนี้เอาหรือไม่เอา เรามาทำงานเชิงรุกกันต่อ เรามาทำงานด้วยกันดีกว่า เราทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่เราอยากได้ ผมอยากจะย้ำกับทุกคน รวมทั้งกับภาคธุรกิจด้วย กับสภาอุตสาหกรรมทั้งหมด ที่เราคุยกันสภาอุตสาหกรรมนี่แหละคือ ผู้เข้ามาลงทุนโครงการต่างๆ เราเอาเข้ามาร่วมกระบวนการจัดทำแผนเลย บอกให้เขารู้ว่าจะมาทำอะไรต้องนึกถึงพวกฉัน อันนี้ก็อยากเสนอไว้ว่า จะทำต่อไปหรือเปล่า

อันหนึ่งที่ผมอยากจะเสนอให้ 14 จังหวัดภาคใต้ต่อยอดก็คือ การพัฒนาผู้นำ ทั้งสมัชชาปฏิรูปและสมัชชาสุขภาพ เพื่อให้เราสามารถขับเคลื่อนเรื่องอื่นได้ด้วย ผมใช้คำว่าพัฒนาผู้นำ ไม่ได้หมายความว่าท่านทั้งหลายที่นั่งอยู่ที่นี่ไม่ได้เป็นผู้นำ แต่เพื่อให้ทุกคนสามารถต่อยอดไปทำเรื่องอื่นๆ ได้อีก สามารถทำงานที่ยากขึ้นไปเรื่อยๆ ได้ เหมือนกับเราเรียนหนังสือ เริ่มมาจากการบวกลบคูณหาร แล้วค่อยมาเรียนหารเชิงซ้อน ตามมาด้วยคำนวณอย่างอื่น ต่อด้วยแคลคูลัส ซึ่งหลายท่านไม่รู้เรื่อง รวมทั้งผมด้วย จะได้ทำงานยากขึ้นเรื่อยๆ ได้ โดยค่อยๆ ต่อขีดความสามารถขึ้นมาจากพื้นฐาน

ที่พูดมาทั้งหมดนี้ เพราะผมเห็นว่าตอนนี้เราสร้างผู้นำได้มากขึ้น ผมเห็นภาวะผู้นำเกิดขึ้นมากมาย เราจะต่อยอดศักยภาพการเป็นผู้นำขึ้นไปเรื่อยๆ การต่อยอดไม่ได้แปลว่า ไปจัดหลักสูตรให้ท่านไปเข้าเรียน ถ้าหากเรายอมรับการขับเคลื่อนแผนพัฒนาภาคใต้โดยพหุภาคี ตัวกระบวนการทำแผนทั้งหมดของทุกภาคส่วน ที่ต้องรับฟังความคิดเห็น ต้องผ่านกิจกรรมต่างๆ เมื่อทำอย่างนี้ผู้นำต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นตามมา ภายใต้กระบวนการทำงานร่วมกัน

อีกอย่างหนึ่งที่ผมเห็นคนภาคใต้ทำได้ดี คิดว่าสามารถต่อยอดได้ แล้วยังเป็นตัวอย่างภาคอื่นได้ด้วยก็คือ การเข้ามามีส่วนร่วมในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างเข้มแข็ง ผมใช้คำว่าอย่างเข้มแข็ง ไม่ได้หมายความว่าเข้ามาเฉยๆ แต่เข้าไปแล้วต้องแสดงความเห็น ต้องร่วมปรับปรุงระเบียบมติต่างๆ ที่มีการร่างมาอย่างจริงจัง มีข้อมูลพื้นฐานประกอบข้อเสนอ มี 14 จังหวัดสมาชิกยืนอยู่ข้างหลัง แปลว่าเรามีกระบวนการกลุ่ม คราวนี้เป็นกระบวนการกลุ่มที่สำคัญ ท่านเอาระเบียบวาระมาร่วมกันพิจารณาหามติในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

เรามาคุยกันครั้งนี้ ผมเห็นได้ชัด นี่คือตัวอย่างที่ดีในการขับเคลื่อนของตัวแทนแต่ละจังหวัด เมื่อกระบวนการนี้เดินไปถึงการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ผมเชื่อว่าจะมีการมอบหมายระเบียบวาระต่างๆ ให้ตัวแทนจากภาคใต้รับผิดชอบ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ตัวแทนจาก 14 จังหวัดภาคใต้ สามารถเรียกประชุมตกลงกันตรงนั้นได้เลยว่า ประเด็นนั้นๆ เราจะเอาอย่างไร อันนี้ผมเชื่อว่าเราเคยทำกันมาแล้ ว

เราจะทำอย่างไรให้กระบวนการการทำงานร่วมกันเป็นเรื่องปกติ ทำให้เป็นตัวอย่าง พอคนภาคใต้ 14 จังหวัดพูดปั๊บ คนนี้สนับสนุน คนนั้นสนับสนุน ต่างจากภาคอื่นที่พอลุกขึ้นพูดขึ้นมา คนฟังก็เงียบๆ ถ้าวันหนึ่งถูกรุกจนอยู่กันไม่ได้ จะทำกันอย่างไร

ผมขอเปรียบเทียบกับการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ภูมิภาคที่เข้มแข็งที่สุด ไม่น่าเชื่อว่าเป็นแอฟริกา ด้วยสภาพภูมิภาคที่มีความล้าหลัง ด้อยพัฒนา จึงมีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะในประเด็นสำคัญจะมีเหตุการณ์ Africa one voice เกิดขึ้นตลอด ทุกวันตอนเช้าก่อนการประชุมสมัชชาสุขภาพโลก รัฐมนตรีจากแอฟริกา 40 ประเทศ จะประชุมกันทุกเช้า นำเอาประเด็นสำคัญต่างๆ มาพูดคุยกัน

ประเด็นใดที่แอฟริกาต้องการ มีโอกาสน้อยมากที่เขาจะไม่ได้รับการตอบสนอง เพราะเขามีสมาชิกมากกว่า 40 ประเทศ เป็นภูมิภาคที่ใหญ่มาก นอกจากนี้เขายังล็อบบี้ภูมิภาคอื่นๆ ที่ไม่ค่อยมีการร่วมตัวให้สนับสนุน พอภูมิภาคอื่นสนับสนุนแอฟริกาเราก็เอาด้วย ภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเรา มีประเทศสมาชิก 10 ประเทศเท่านั้น เราต้องร่วมมือกับภูมิภาคอื่นในบางเรื่อง ก็หวังว่าทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จะหาผู้นำจากภาคใต้ไปดูการประชุมสมัชชาอนามัยโลกสักครั้ง จะได้เห็นว่าเขามีวิธีการทำงานอย่างไร

ผมเคยพูดว่า ผมกลัวการทำงานของภาคใต้ ผมกลัวว่าจะสมัชชาสุขภาพภาคใต้จะไปยึดสมัชชาแห่งชาติ แต่เป็นความกลัวที่มีความสุข ที่บอกว่าสมัชชาภาคใต้จะยึดสมัชชาสุขภาพแห่งชาตินั้น ท่านทำอยู่แล้ว การเตรียมตัวให้พร้อมที่เข้าร่วมประชุมพิจารณามติ นั่นคือการเตรียมการเข้าไปยึดสมัชชาชาติ ไม่ใช่เอามาเป็นสมบัติส่วนตัว แต่เป็นการเข้าไปมีบทบาท ด้วยความเข้มแข็ง

เหมือนประเทศไทยเรา ส่งทีมไปประชุมสมัชชาอนามัยโลกเยอะประมาณ 40–50 คน เราเอาคนเข้าร่วมประชุมทุกระเบียบวาระ ต้องทำงานกันอย่างหนัก เราใช้เวทีตรงนี้พัฒนาศักยภาพผู้นำ ถ้าท่านเป็นผู้นำเข้าไปพูดในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก สิ่งที่จะได้รับก็คือ ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นทันที

ท่านสามารถเตรียมการส่งคนเข้าไปนำการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งไม่ผิดหลัก อีก 2 ปีข้างหน้าคนจากภาคประชาสังคม น่าจะเป็นประธานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ในส่วนของภาคใต้ผมเห็นผู้นำอยู่หลายคน แม้แต่คุณเจริญ โต๊ะอีแต ผู้นำชาวประมงพื้นบ้านจากอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็สามารถเป็นประธานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้

ถ้าหากเราสามารถผลักดันให้คุณเจริญ โต๊ะอีแต เป็นประธานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ อันนี้เป็นเรื่องเลย เพราะคณะเจริญ โต๊ะอีแต ไม่ใช่ตัวแทนจากภาคประชาสังคมธรรมดา แต่เป็นคนจากภาคประชาสังคมที่เข้าถึงข้อมูลในชุมชน เป็นประชาชนที่มาจากชุมชนจริงๆ ผมดูจากภาวะผู้นำแล้ว คุณเจริญ โต๊ะอีแต เป็นได้

อาจารย์กรรณิการ์ บันเทิงจิตร หน้าซีดเลย เพราะหากประธานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีที่มาหลากหลาย ฝ่ายที่หนักที่สุดคือฝ่ายเลขานุการ ดูแล้วคุณเจริญ โต๊ะอีแต น่าจะเข้าใจกระบวนการสมัชชามากที่สุดด้วย ผมไม่ใช่เชียร์คุณเจริญ โต๊ะอีแต ท่านทั้งหลายในที่นี้นี่แหละ ที่สามารถตกลงกันใน 14 จังหวัดภาคใต้ ขอส่งคนนี้ในนามของภาคประชาสังคมภาคใต้ เข้าประกวดเป็นประธานสมัชชาสุขภาพในอีก 2 ปีข้างหน้า

เตรียมการเลยครับ เมื่อถึงตอนนั้น ท่านจะประสบความสำเร็จ จากการเข้าไปมีส่วนร่วมกันอย่างเข็มแข็ง เป็นความภาคภูมิใจของคนภาคใต้ เป็นตัวอย่างให้ภาคอื่นเห็นว่า ชาวบ้านก็มาเป็นประธานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ ไม่ได้ลดหย่อนศักดิ์ศรีใดๆ ทั้งสิ้น อย่าไปคิดว่าข้าราชการระดับสูงเท่านั้น จะมาเป็นประธานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ หรือต้องเป็นคนรวยเท่านั้นที่จะเป็นได้ ประชาชนเราก็เป็นได้ แล้วก็ไม่ทำให้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติกลายเป็นสมัชชาของประชาชน ขอให้เราเอาภาคส่วนต่างๆ เข้ามาร่วมด้วย

เมื่อ 2 วันก่อนเราไปประชุมคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยออกมาสนับสนุนการปฏิรูปอย่างเต็มที่ เพราะภาคธุรกิจเริ่มชูธงต่อต้านการคอร์รัปชั่น ผมแปลกใจมาก เพราะปกติถ้าไม่มีระบบส่งส่วยธุรกิจจะลำบาก บ้านผมทำธุรกิจผมทราบดี ผมเสนอต่อสมัชชาสุขภาพและสมัชชาปฏิรูปว่า เราจะปล่อยให้ภาคธุรกิจเดินหน้าต่อสู้อยู่ฝ่ายเดียวละหรือ พวกเราก็ไม่ต้องการการทุจริตคอรัปชั่นใช่หรือไม่ ถ้าใช่ เราจะทำอย่างไรให้เราได้เข้าไปร่วมกับเขา

ขณะนี้ผมทราบมาว่า พวกเขารวมตัวกันได้ 20 องค์กรแล้ว จะทำอย่างไรให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานปฏิรูปเข้าไปร่วม จะทำอย่างไรให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือสมัชชาปฏิรูป นำภาคีเครือข่ายทั้งหมดทั่วประเทศเข้าไปร่วมกันกับหอการค้าไทยอ ฝ่ายธุรกิจพูดออกมาน่าสนใจมาก ภาคธุรกิจเขากลัวมาก เขาบอกว่าเขากลัวไข้โป้ง

ช่วงที่ริเริ่มเรื่องนี้ ภาคธุรกิจเองกลัวมาก เขาบอกว่าอย่าไปยุ่งเดี๋ยวอันตราย แต่มีผู้นำภาคธุรกิจหลายคน ค่อยๆ พูด ค่อยๆ ผลักดัน เพราะเห็นว่าหากไม่ออกมาต่อต้านการคอร์รัปชั่น ในระยะยาวธุรกิจเองจะไปไม่รอด ทั้งหลายลองคิดดูสิครับ งบประมาณแผ่นดินปีละประมาณ 2 ล้านล้านบาท ผมเชื่อว่ามันหายไปเพราะการคอร์รัปชั่น น่าจะไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ไม่รวมการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายอีกประมาณ 4 แสนล้านบาท จากงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท งบประมาณส่วนนี้สามารถนำไปพัฒนาประเทศได้มากมาย

ผมอยากเชิญชวนทุกท่าน ดำเนินการ 2 เรื่องหลักๆ 1.แผนพัฒนาภาคใต้ทำกันเองได้หรือเปล่า ทำโดยกระบวนการการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ต้องให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำ เราทำเองจะได้เป็นแผนพัฒนาภาคใต้ที่แท้จริง 2.เตรียมผู้นำชุมชนและภาคประสังคมจากภาคใต้ เข้าไปเป็นประธานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

ผมหวังว่ากระบวนการการเรียนรู้ จากการจัดสมัชชาสุขภาพภาคใต้ที่เข้มแข็ง จะนำไปสู่การขับเคลื่อนในระดับชาติต่อไป