WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 17, 2012

ปีมหามงคลบรรพชนปฏิวัติ80ปี2475-100ปีร.ศ.130

ที่มา Thai E-News



2555 ปีมหามงคลประชาชนไทย-ปีนี้เป็นวาระมหามงคลของประชาชนชาวไทย เป็นโอกาสครบรอบ 80 ปีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 และวาระครบ 100 ปีกบฎร.ศ.130( 27 กุมภาพันธ์ 2455) แม้เหตุการณ์สำคัญยิ่งนี้จะถูกทำให้พร่าเลือนลืมหลง ประชาชนไทยพึงรู้่เถิดว่า"ประวัติศาสตร์ยังตื่นอยู่เสมอสำหรับชนชั้น หลัง"(ภาพ:ประชาทอล์ก)

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
17 มกราคม 2555


รศ.130บรรพชนปฏิวัติ:คณะราษฎรเรียนรู้ความล้มเหลวก่อนปฏิวัติ24มิถุนายน2475สำเร็จ(แต่ไม่เบ็ดเสร็จ)

1 ศตวรรษบรรพชนปฏิวัติ 2455--คณะกบฎ รศ.130( พ.ศ.2455 หรือ 100 ปีที่แล้ว) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของนายทหารหนุ่ม ได้แรงบัลดาลใจจากการปฏิวัติซินไห่ ของหมอซุนยัดเซ็น โดยต้องการยกเลิกระบอบราชาธิปไตยแล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นแบบ สาธารณรัฐแบบเดียวกับจีน

แต่ต่อมามีสมาชิกอาวุโสเพิ่มเติมเข้ามาในคณะก่อการมากขึ้น เสนอให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นประชาธิปไตยแบบมีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญก็พอ

นิตยศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นำเสนอบทความเรื่อง จาก "คณะ ร.ศ.130" ถึง "คณะราษฎร": ความเป็นมาของความคิด "ประชาธิปไตย" ในประเทศไทย ของ ณัฐพล ใจจริง ที่นำเสนอหลักฐานใหม่ว่า แกนนำผู้ริเริ่มก่อการปฏิวัติรศ.130(พ.ศ.2455 หรือ 99 ปีที่แล้ว)ต้องการยกเลิกระบอบราชาธิปไตยแล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นแบบ สาธารณรัฐ อย่างไรก็ดีท้ายที่สุดได้ลงมติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบลิมิเต็ดมอร์นา กี้

โดย ณัฐพล ตั้งคำถามว่า ระบอบ "ประชาธิปไตย" ตามความคิดของ "กบฏ ร.ศ.130" ซึ่งส่งอิทธิพลอย่างสูงไปยัง "คณะราษฎร" ในปี 2475 นั้น คือ ประชาธิปไตยแบบใด ก่อนที่ณัฐพลจะให้คำตอบว่า แกนนำของคณะ ร.ศ.130 มีความคิดโน้มเอียงไปในทาง "รีปัปลิ๊ก"(สาธารณรัฐ) อย่างไรก็ดีในท้ายที่สุดคณะราษฎรได้ลงเอยด้วยการเลือกระบอบลิมิเต็ด มอร์นากี้(กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ) แบบเดียวกับที่คณะรศ.130ได้ลงมติในตอนท้ายสุด
*******

เป็นที่ทราบกันดีว่าการปฏิวัติครั้งรศ.130 ไม่สำเร็จ เพราะความแตกกลายเป็นกบฎ ถูกรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 กวาดล้างจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2455 หรือวันนี้เมื่อ 100 ปีที่แล้ว ทว่าได้กลายเป็นแรงบันดาลใจ และบทเรียนสำคัญให้นักปฏิวัติรุ่นน้องคือคณะราษฎร ก่อการได้เป็นผลสำเร็จในอีก 20 ปีต่อมา

ร.ต.เนตร 1ในผู้ริเริ่มก่อการปฏิวัติหนนั้นเปิดเผยถึงฉากคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองดัง กล่าวว่า เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นในปลายเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๔ คณะนายทหารหนุ่มไม่พึงพอใจระบบปกครองรัฐบาลกษัตริย์ของพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่๖ จึงได้เตรียมการจะยึดอำนาจแบบเดียวกับนายแพทย์ซุนยัดเซ็นยึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์ราชวงศ์ชิงในจีน

โดยวางแผนจะทำการในวันที่ 1 เมษายน 2555 ในวัดพระแก้ว แล้วให้กษัตริย์มาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หากไม่ยอมก็จะเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ อย่างไรก็ตามแผนการรั่วไหล และคณะนายทหารหนุ่มถูกกวาดล้างกลายเป็นกบฎเสียก่อน

ฝ่ายวางแผนการก็กะว่าจะลงมือกระทำการงานในวันถือน้ำพระพิพัฒน์ สัตยาในเดือนเมษายน ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) ในวัดพระแก้ว โดยใช้กำลังทหารขอให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญโดยละมุนละม่อม มิให้เสียเลือดเนื้อ ถ้าและมิยินยอมจึงจะค่อยดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนต่อไป ส่วนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ให้ใช้วิธีบังคับโดยฉับพลันในขณะลงมือทำการ

จนสรุปได้ว่าปัญหาเรื่องระบอบการปกครองนั้น สำหรับคนหนุ่มๆ ประสงค์จะให้เป็นรีปับลิกหรือสาธารณรัฐแทบทั้งนั้น ต้องการทำครั้งเดียวให้แตกหักกันไปเลย ไม่อยากให้ประชาชนต้องพลอยได้รับความเดือดร้อนกันเรื่อยๆไป..

ฝ่ายพลเรือนได้เสนอกรมหลวงราชบุรีปราชญ์กฎหมายขึ้นมาอย่างประหลาดว่า หากระบอบการปกครองจะต้องกลับตาลปัตรถึงซึ่งรีปับลิกแน่แล้ว และเมื่อยังหาตัวประธานาธิบดีมิได้ ก็ขอเสนอพระนามกรมพระราชบุรีไว้พลางๆ ก่อน


ขณะที่บทความของณัฐพล ใจจริง ในศิลปวัฒนธรรมฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2554 อ้างข้อมูลใหม่ว่า คณะก่อการมุ่งหมายเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไป เป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ หรือ"รีปัปลิ๊ก" โดยโจมตีระบอบกษัตริย์หลายอย่าง รวมทั้งกล่าวหาว่า เป็นระบอบการปกครองที่พวกกษัตริย์ได้รับความสุขสนุกสบายมากเกินไป จนไม่มีเงินจะบำรุงประเทศ ราษฎรทุกประเทศจึงอยากเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปเป็นแบบรีปัปลิ๊กทั้งหมด เวลานี้ประเทศใหญ่น้อยต่างๆเป็นรีปั๊บลิ๊กกันเกือบทั่วโลกแล้ว เช่น ประเทศในยุโรป อเมริกา และจีน

อย่างไรก็ตามต่อมาเมื่อคณะพรรครศ.130ขยายกลุ่มหาสมาชิกเพิ่มขึ้น ทำให้มีสมาชิกสายกลางมากขึ้น รวมทั้งสมาชิกที่อาวุโสอายุมากเสนอให้เปลี่ยนแปลงไปเป็น"ลิมิเต็ดมอนา กี้"หรือให้กษัตริย์ต้องอยู่ใต้กฎหมายแบบเดียวกับอังฤษ และญี่ปุ่น ซึ่งระบบนี้"พวกเต้นเขนและเทกระโถนตามวังเจ้าจะไม่มีโอกาสได้เป็นขุนนางเลย"

ร.ต.เนตร ผู้ริเริ่มการก่อการ และเป็นเลขาธิการคณะปฏิวัติ ประเมินแนวทางนโยบายของกลุ่มสายกลางว่า"ไม่ได้ความเลย"

อย่างไรก็ตามเมื่อมีการลงเสียงในคณะสมาชิกทั้งหมด ฝ่ายสายกลางชนะไปด้วยคะแนนเพียงเล็กน้อย จึงได้ยอมรับมติจะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็น"ลิมิเต็กมอนากี้" แต่ก็ยังสงวนไว้ว่า

จะใช้กำลังทหารขอให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญโดยละมุน ละม่อม มิให้เสียเลือดเนื้อ ถ้าและมิยินยอมจึงจะค่อยดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนต่อไป สำหรับคนหนุ่มๆ ประสงค์จะให้เป็นรีปับลิกหรือสาธารณรัฐแทบทั้งนั้น ต้องการทำครั้งเดียวให้แตกหักกันไปเลย ไม่อยากให้ประชาชนต้องพลอยได้รับความเดือดร้อนกันเรื่อยๆไป.


ฉากคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ร.ต.เนตรบันทึกจุดริเริ่มของการเปลี่ยนแปลงการปกครองว่า

ความเป็นไปในราชสำนักเป็นอย่างไร ความหมดเปลืองเงินแผ่นดินไปในทางมิชอบด้วยเหตุผลมีอย่างไร การแบ่งชั้นวรรณะในระหว่างบุคคลมีขึ้นอย่างไร..วัตถุประสงค์ของเราก็คือ จะเปลี่ยนการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (แอ๊บสะลูตมอนากี้) มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบญี่ปุ่น (ลิมิเต็ดมอนากี้) หรือแบบฝรั่งเศส (รีปับลิก)


กรณี *เอาเรื่อง* ที่จะเกิดขึ้นก็โดยที่คืนวันหนึ่ง ในราวปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ (ร.ศ. ๑๓๐) คืนวันนั้นข้าพเจ้าเข้านอนแต่หัวค่ำ พอนอนเต็มตื่นราวเวลาตี ๑ เศษ ก็ลืมตาขึ้น พบ ๒ สหาย [นายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ และนายร้อยตรีจรูญ ษตะเมษ-บ.ก.] นั่งชนหัวสนทนากันด้วยเสียงแผ่วเบา พร้อมด้วยขวดสุราวางอยู่กลางโต๊ะ ส่วนเตียงข้างเคียง นายทหารเวรประจำการกำลังนอนหลับอยู่

นายทหารในกองปืนกลเวลานั้น มีคนที่ชอบนอนประจำไม่กลับบ้าน ก็คือคุณจรูญกับข้าพเจ้าเสียโดยมาก นอกนั้นพอเลิกงานแล้วก็กลับกันหมด ต่อรุ่งเช้าจึงมาทำงาน เพราะต่างก็มีบุตรภรรยาเข้าวัยครองเรือนด้วยกันแล้ว เว้นแต่ผู้ที่เป็นเวรจึงต้องนอนค้าง ฉะนั้นเตียงหนึ่งจึงต้องจัดเป็นของเวรประจำการ และคุณจรูญกับข้าพเจ้าบางคืนก็ต้องนอนด้วยกันหากมิใช่เวร

คืนวัน *เอาเรื่อง* นั้น คุณจรูญมิใช่เวร ข้าพเจ้าจึงคิดว่าเขาคงต้องการฆ่าเวลาให้เกิดความง่วงเสียก่อนจึงจะเข้านอน เมื่อข้าพเจ้าเห็นเขาคุยทนเช่นนั้นแล้ว ก็ลุกไปชำระกาย โดยตั้งใจจะมาร่วมวงด้วย แต่ก่อนจะเข้าร่วมวง ข้าพเจ้าโดยอัธยาศัยมักจะขออนุญาตเสียก่อน พลางเล่นปนจริง จึงได้กล่าวขึ้นเป็นใจความว่า *มีเรื่องอะไรกันหรือ คุยอยู่จนดึกจนดื่น เข้าร่วมด้วยคนซิ*

เขาทั้งคู่เงยหน้าขึ้นมองข้าพเจ้า พร้อมกับกล่าวรับรองต้อนรับตามเคยแต่ครั้งนี้แทนที่จะคุยสนุกโปกฮา ดูสีหน้าตึงเครียดอย่างเอาจริงเอาจัง คนหนึ่งได้เริ่มคำพูดขึ้นว่า เรื่องเกี่ยวกับการบ้านการเมืองอยากจะร่วมด้วยก็เอา ข้าพเจ้าซึ่งมีหัวคนหนุ่มอยากให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าอย่างอารยประเทศ ทั้งหลายอยู่แล้ว ทั้งประเทศเพื่อนบ้านคือจีนก็กำลังเกิดเก๊กเหม็งเกรียวกราว เป็นเหตุกระตุ้นเตือนหัวใจคนหนุ่มให้เร่งเร้าอยู่ซึ่งเป็น *เรื่องของการเมืองหรือของโลก* มาอย่างนี้ทุกสมัยตามประวัติการณ์

ข้าพเจ้าจึงเข้าร่วมวง ขอทราบเหตุผลและวัตถุประสงค์ของเพื่อนต่อไปเขาทั้งสองก็ผลัดกันสาธยาย เขากล่าวย้อนขึ้นไปถึงเรื่องเดิมตั้งแต่เราอยู่ ร.๑๑ ในวังหลวงมาด้วยกัน เคยนำทหารไปตั้งแถวเกียรติยศหน้าพระที่นั่งจักรีอยู่เสมอ ได้เห็นเหตุการณ์อันทหารถูกเหยียดหยามมาแล้วอย่างไรบ้าง ความเป็นไปในราชสำนักเป็นอย่างไร ความหมดเปลืองเงินแผ่นดินไปในทางมิชอบด้วยเหตุผลมีอย่างไร การแบ่งชั้นวรรณะในระหว่างบุคคลมีขึ้นอย่างไร ความเคารพนับถือบุคคลที่ทรงวัยวุฒิเสื่อมทรามอย่างเหลวแหลกอย่างไร ข้าราชการกำลังทำงานเอาแต่ตัวรอดไปวันหนึ่งๆ โดยมิได้คิดถึงประเทศชาติที่รักของเขาด้วยเหตุไร ราษฎรพลเมืองกำลังขาดแคลนความบำรุงในเรื่องการอาชีพและความสุขใจสบายกายสถาน ใดบ้าง

เฉพาะชาวไร่ชาวนาหากธรรมชาติไม่ช่วยในปีใดก็หมดมือหมดเท้า บางคราวก็ถึงอดอยากยากแค้นทั่วๆ ไป แต่ส่วนภาษีอากรสิมีแต่เพิ่มทวีขึ้นทุกๆ ปี ไม่เคยปรากฏว่าได้ลดราวาศอกอะไรลงเลย มิหนำซ้ำบางครั้งยังถูกผู้รักษากฎหมายใช้อำนาจเกินกว่าขอบเขตของกฎหมายเสีย อีก ย่อมเป็นความเดือดร้อนใจชนิดพูดไม่ออกฯลฯ

ลักษณาการเหล่านี้ก็เนื่องจากการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั่นเอง มักกดการศึกษาของพลเมืองอยู่เสมอ เพื่อมิให้มีสติปัญญาฉลาดเทียมทันพวกเขา การปกครองประเทศ ถ้าใช้แบบหัวเดียวทำงานทั้งแผ่นดินมันจะสู้หลายหัวช่วยกันทำได้อย่างไร และทุกคนก็เป็นเจ้าของแผ่นดินโดยธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ ย่อมมีความรักประเทศชาติอันเป็นที่เกิดที่อยู่ของเขามาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวด เขาย่อมรักอย่างสุดชีวิต และคิดอยากจะให้เจริญรุ่งเรืองที่สุดเท่าที่จะกระทำได้

ดูแต่ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงของเราสิ เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งได้เปิดท่าคบค้ากับฝรั่งสมัยใกล้ๆ กับเรา แต่ความเจริญรุ่งโรจน์ได้ก้าวหน้าไปไกลลิบ แทบจะเปรียบกันไม่ได้เลย นี่เมืองจีนก็เอาอีกแล้ว ท่านหมอซุนได้กอบกู้ชาติพร้อมด้วยคณะอย่างไม่เกรงต่อความทุกข์ทรมานใดๆ และที่ตายไปแล้วก็ไม่น้อย ถ้าเทียบการกระทำของคณะเก๊กเหม็ง กับหากเราจะกอบกู้ชาติไทยของเราบ้างในขณะนี้ เราอาจจะทำได้ง่ายกว่ามาก เพราะพวกยโสกำลังลืมตัวสนิท ขอแต่ให้เราเป็นต้นคิด คิดแล้วอย่าท้อถอย ก็ต้องสำเร็จแน่ๆ

ถ้าและเวลานี้พวกเราทหารไม่ทำ ใครเล่าจะกล้าลงมือทำ ค่าที่ไม่มีอาวุธและสมัครพรรคพวกเป็นกำลังเลย การ ทำที่เป็นวัตถุประสงค์ของเราก็คือ จะเปลี่ยนการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (แอ๊บสะลูตมอนากี้) มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบญี่ปุ่น (ลิมิเต็ดมอนากี้) หรือแบบฝรั่งเศส (รีปับลิก) เพื่อให้ราษฎรได้ใช้เสียงในการปกครองประเทศของเราเองด้วย

แม้ราษฎรจะยังไม่เข้าใจในเรื่องการปกครอง เราก็พอจะให้การศึกษาอบรมเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นไปได้ ดูพลทหารที่ปกครองอยู่ในขณะนี้ เมื่อเข้ามารับราชการใหม่ๆ ก็เกือบไม่รู้อะไรเลย ชั้นแต่ ก ข ก็อ่านไม่ค่อยออก กระทั่งหันซ้ายหันขวาก็ไม่เข้าใจ แต่ไม่ทันถึง ๖ เดือน ก็ฉลาดปราดเปรื่องขึ้นทุกคน

เมื่อข้าพเจ้าได้รับทราบเหตุผลและความประสงค์อันเป็นจุดหมายปลายทางจนเป็น ที่พอใจ และเห็นด้วยว่าจะต้องร่วมใจกันกระทำแน่นอนแล้ว เราก็แลกความเห็นกันต่อไปอีกพักหนึ่ง แล้วก็ตกลงกันว่าให้ต่างคนต่างสอนทหารในเรื่องการปกครองระบอบต่างๆ แทรกเข้าไปในเวลาสั่งสอนระเบียบข้อบังคับด้วยคราวละเล็กละน้อยอย่าให้ โจ่งครึ่ม ทั้งให้ต่างคนต่างทาบทามเกลี้ยกล่อมนายทหารในกรมกองที่ตนสังกัดโดยวิธี *ตัวต่อตัว* ไม่เปิดเผยไปพลางๆ ก่อน เพื่อฟังผล

แล้วเราทั้งสามพยายามหาเวลาแจ้งผลซึ่งกันและกันเป็นคราวๆ ไป ยึดเอากองปืนกลเป็นสถานีกลางนัดพบตามเวลาอันสมควร หรือจะโทรศัพท์เรียกตัวกันมาก็ได้ เช่น เชิญรับประทานอาหาร เป็นต้น คืนนั้นมันให้เกิดความปลื้มปรีดีด้วยกันทุกคนอย่างไรชอบกลพูดไม่ถูก ด้วยความปลาบปลื้มอย่างแปลกประหลาดนี้เอง เราได้สนทนากันอยู่จนถึงเวลาฝึก จึงได้แยกย้ายกันไปต่อมาเราได้นัดพบกันเป็นคราวๆ เพื่อแจ้งผลที่ได้ดำเนินการไปแล้วอย่างไรบ้าง

"หมอเหล็ง"เวลานั้นได้เป็นนายแพทย์ประจำโรงเรียนนายร้อยทหารบก และประจำพระองค์ทูลกระหม่อมจักรพงษ์อยู่แล้วด้วย ย่อมชักจูงใจนักเรียนนายร้อยและนายทหารให้เข้ามาเป็นกำลังได้ง่าย พวกเราก็เห็นด้วย เพราะกำลังเห็นตัวอย่างหมอซุนที่เป็นหัวหน้าเปลี่ยนการปกครองประเทศจีนอยู่ แล้ว


แต่จิตใจของเรามันต้องการจะทำให้เร็วยิ่งขึ้นทุกที จึงหารือกันถึงเรื่องที่ว่าควรจะมีผู้ใหญ่มาเป็นกำลังความคิดและดำเนินงาน สักผู้หนึ่ง ซึ่งควรจะได้ผู้ที่มีหัวไปในทางเดียวกับเรา ทั้งกว้างขวางและเป็นที่เชื่อถือของนายทหารทุกชั้นด้วย คุณเหรียญก็เสนอชื่อพี่ชายของเขาขึ้นมา คือร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่าเป็นหมอที่ทหารโดยมากนับถือ มีความละมุนละม่อมอ่อนโยน อาจติดต่อกับนายทหารได้ทุกชั้น แต่น้ำใจเข้มแข็งจริงจัง ไม่เหลาะแหละ

ทั้งเวลานั้นได้เป็นนายแพทย์ประจำโรงเรียนนายร้อยทหารบก และประจำพระองค์ทูลกระหม่อมจักรพงษ์อยู่แล้วด้วย ย่อมชักจูงใจนักเรียนนายร้อยและนายทหารให้เข้ามาเป็นกำลังได้ง่าย พวกเราก็เห็นด้วย เพราะกำลังเห็นตัวอย่างหมอซุนที่เป็นหัวหน้าเปลี่ยนการปกครองประเทศจีนอยู่ แล้ว ทั้งหมอเหล็งได้เคยเรียนวิชาทหารฝ่ายนักรบมาแล้วด้วย จึงนับว่าเป็นการเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง

เราจึงนัดวันไปพบกับหมอเหล็งเพื่อขอร้องให้เป็นหัวหน้าดำเนินการต่อไปบ้าน หมอเหล็งเวลานั้นอยู่ในถนนสาทร พร้อมด้วยบุตรภรรยาเป็นหลักแหล่ง พอถึงวันกำหนดนัด เราทั้งสามก็ไปพบในเวลาเย็นต้นๆ เดือนมกราคม ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) คุณหมอเหล็งและภรรยาชื่ออบ เราเรียกว่าคุณพี่อบ ได้ต้อนรับเราด้วยอัธยาศัยไมตรีอย่างดียิ่งและเต็มใจที่สุด

เมื่อคุณเหรียญได้แนะนำให้หมอเหล็งและคุณพี่อบรู้จักเราทั้งสองเรียบร้อย แล้ว เราก็เริ่มลงมือสนทนาหารือกันถึงเรื่องการเมืองทีเดียว ซึ่งหมอเหล็งได้ทราบล่วงหน้าอยู่ดีแล้ว พร้อมนั้นหมอเหล็งได้นำเอาพงศาวดารทางการเมืองของต่างประเทศมาชี้แจงให้เรา ฟังถึงเรื่องที่เขาได้เปลี่ยนแปลงการปกครองกันมาอย่างไร เพื่อประกอบเป็นตัวอย่างที่เราควรจะยึดเป็นหลักดำเนินการต่อไป เรารู้สึกเลื่อมใสในความตั้งใจจริงของหมอเหล็งยิ่งนัก หมอเหล็งเมื่อได้ฟังความคิดเห็นของเรา พร้อมด้วยเห็นความเป็นลูกผู้ชายของเราตลอดแล้ว ก็ยินดีรับเป็นหัวหน้า จึงสั่งให้คุณพี่อบจัดอาหารค่ำเลี้ยงเรา

รวมผู้ที่รับประทานอาหารในวันนั้น ๕ คนด้วยกัน คุณพี่อบเป็นกุลสตรีที่ใจคอกล้าแข็งเช่นเดียวกับสามี ได้กล่าวส่งเสริมกำลังน้ำใจของพวกเราตลอดเวลา เราได้หารือเรื่องการเมืองถึงทางได้ทางเสียที่จะนำมาสู่ประเทศชาติอย่างใด บ้างเมื่อเราทำลงไป ตลอดเวลาที่รับประทานอาหาร ส่วนตัวเราทุกคนยอมอุทิศเป็นชาติพลีด้วยความบริสุทธิ์ใจ ในที่สุดหมอเหล็งให้เรานัดผู้ที่เราได้เกลี้ยกล่อมไว้แล้วมาประชุมสักครั้ง หนึ่ง ในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ เดือนนั้น เพื่อฟังเสียงและทำความเข้าใจกันบางประการ พวกเรารับตกลง เพราะเวลานั้นเราได้เกลี้ยกล่อมนายทหารกองปืนกล กรม ร. ๑๑ และกองนักเรียนนายสิบบางคนไว้แล้ว รวมประมาณ ๑๐ คน แล้วเราก็ลากลับด้วยความหวังอันเต็มเปี่ยม

การประชุมคณะก่อการเปลี่ยนการปกครองประเทศสยาม ได้อุบัติขึ้นเป็นรูปทรง ณ ศาลาพักร้อนหลังเล็ก ภายในบริเวณบ้านหมอเหล็ง ถนนสาทร อำเภอสาทร จังหวัดพระนคร เมื่อเวลาประมาณ ๑๔ นาฬิกา วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) องค์ประชุมครั้งแรกนี้มีเพียง ๗ คน เท่าที่ข้าพเจ้ายังพอจะนึกได้คือ หมอเหล็ง เป็นหัวหน้า ร.ต. ปลั่ง ปูรณโชติ ร.ต. หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร ร.ต. เขียน อุทัยกุล ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ ร.ต. จรูญ ษตะเมษ และข้าพเจ้า หัวหน้าเป็นประธานการประชุม ข้าพเจ้าเป็นผู้บันทึกและนายทะเบียน นอกนั้นก็ถือเสมือนกรรมการผู้ริเริ่มมาปรึกษาหารือกิจการเบื้องต้นเพื่อ ดำเนินการต่อไป

ประธานได้กล่าวเปิดประชุม โดยแสดงความยินดีอย่างยิ่งที่ได้พบกับนายทหารผู้รักชาติอันแท้ ซึ่งประธานไม่เคยคาดคิดเลย ว่าจะมามีขึ้นเป็นคณะเช่นนี้ แล้วก็เล่าให้ที่ประชุมฟังถึงความคิดเดิมที่พวกเรา ๓ คน ได้ไปหารือและขอร้อง ในที่สุดก็แสดงความหวังในความสำเร็จเผล็ดประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นแน่นอน ขอให้เราดำเนินการประชุมแลกความคิดเห็นต่อไป

ผู้ที่มาประชุมต่างได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็นอันเกี่ยวกับความเสื่อมของชาติ และวิถีทางที่จะแก้ไขให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างไรบ้าง ผลหรือมติของการประชุมก็สรุปได้ว่า จะต้องเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย ในรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ที่มีความเห็นรุนแรงก็ขอให้เปลี่ยนเป็นรีปับลิกทีเดียว ผู้ที่มีความเห็นไม่รุนแรงก็เห็นว่าควรเป็นเพียงลิมิเต็ดมอนากี้ไปก่อน

แต่ปัญหานี้จะได้สงวนไว้ให้ที่ประชุมใหญ่ในวันข้างหน้าเป็นผู้วินิจฉัยกัน โดยรอบคอบต่อไป ในชั้นนี้ที่ประชุมลงมติขอร้องให้สมาชิกทุกคนต่างเกลี้ยกล่อมนายทหารที่มี หัวไปในทางเดียวกันเข้าเป็นสมาชิกโดยวิธี *ตัวต่อตัว* ให้ได้มากที่สุดที่จะสามารถกระทำได้ แล้วส่งรายชื่อไว้ที่นายทะเบียน ณ กองปืนกล กับให้แทรกซึมการสอนทหารถึงลัทธิการปกครองไว้ด้วยทุกคน เพื่อปลุกให้ตื่นเสียแต่เบื้องต้น

แล้วมอบให้ข้าพเจ้าเป็นผู้เขียนคำเกลี้ยกล่อมส่งให้สมาชิกทราบ เพื่อจะได้ดำเนินการไปในทางเดียวกันโดยถูกต้อง และขอให้รักษาไว้เป็นความลับเท่ากับชีวิตของตน ลงท้ายหัวหน้าก็เลี้ยงอาหารเย็นพร้อมด้วยเครื่องดื่ม นับว่ากิจการเบื้องต้นได้เป็นไปด้วยความสามัคคีเรียบร้อยเป็นอย่างยิ่ง

ส่วนการประชุมต่อไป มอบให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าซึ่งจะได้ติดต่อกับข้าพเจ้าเป็นผู้นัด แล้วพวกเราก็จากกันด้วยความภาคภูมิใจทุกคนอีก ๗ วันต่อมา เมื่อข้าพเจ้าได้ติดต่อกับหัวหน้าถึงเรื่องจำนวนสมาชิกและความเป็นไปด้วยดี ระหว่างนั้นแล้ว หัวหน้าก็มอบให้ข้าพเจ้านัดประชุมครั้งที่ ๒ ณ สถานที่เดิม ในวันอาทิตย์ที่ ๒๐ เดือนเดียวกัน การประชุมครั้งนี้มีจำนวนสมาชิกประมาณ ๒๐ คน คือนอกจาก ๗ คนครั้งแรกแล้ว ได้เพิ่มขึ้นใหม่อีก ๑๓ คน มีผู้ที่ควรกล่าวนามและจำได้แม่นยำก็คือ พันตรี หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิวิทย์ (หมออัทย์ หสิตะเวช), ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง, ร.ท. จือ ควกุล, ร.ท. ทองดำ คล้ายโอภาส, คุณอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา ล่ามภาษาอังกฤษกระทรวงยุติธรรม กับนายทหารกองนักเรียนนายสิบทั้งหมด (เว้นผู้บังคับกอง) นอกนั้นก็เป็นนายทหารกองปืนกล (เว้นผู้บังคับกอง) และกรมทหารเหล่าอื่นในพระนครอีกกรมละคน ๒ คน

ในการประชุมครั้งนี้ มีข้อแปลกกว่าคราวก่อนก็คือ เมื่อหัวหน้ากล่าวเปิดประชุมเช่นแสดงความยินดี และปลุกความกล้าหาญเสร็จแล้ว หลวงวิฆเนศร์ฯ ซึ่งเวลานั้นยังเคร่งต่อคริสต์ศาสนาอยู่ ได้ขอให้ทำพิธีสาบานปฏิญาณตนพร้อมกันทุกคน โดยเอาลูกปืนเบรานิงแช่ลงไปในแก้วสุรา คุณหลวงเป็นผู้นำกล่าว มีใจความว่าจะซื่อสัตย์สุจริตต่อกันจริงๆ ทุกเมื่อ และยอมสละชีวิตเพื่อความเจริญก้าวหน้าของชาติไทย มิหวังผลอันมิชอบแก่ส่วนตัวด้วยประการทั้งปวง แล้วก็รินสุราแช่ลูกปืนแจกกันดื่มทั่วหน้า เสร็จแล้วคุณหลวงกล่าวคำปลุกใจ โดยถอนเอาตะไคร้ที่ปลูกอยู่ข้างศาลานั้นมาเป็นอุทาหรณ์ เพื่อให้เป็นประโยชน์ความสามัคคีกลมเกลียว คือหักตะไคร้ตั้งแต่ ๑ ต้นจนถึงทั้งกำ หมายความว่าถ้าเราทำงานใหญ่เพียงคนเดียว มันก็จะไม่สำเร็จเหมือนตะไคร้ต้นเดียว ซึ่งหักให้ขาดออกจากกันได้โดยง่าย แต่ถ้าทำรวมกันเป็นก้อนหนึ่งเหมือนตะไคร้ทั้งกำแล้ว จะหักเท่าไรๆ ก็ไม่ขาดออกจากกัน

ที่ประชุมแสดงความพอใจเป็นอันมาก แล้วที่ประชุมก็ลงมือปรึกษาหารือกันในเรื่องการเมืองต่อไปผลของการประชุมวัน นั้นคือ นอกจากรับรองผลของการประชุมครั้งที่ ๑ แล้ว พอจะสรุปได้ดังนี้คือ ๑. จะต้องรีบลงมือกระทำการให้เร็วที่สุดที่จะกระทำได้ เพราะอย่างไรๆ ก็ปิดเป็นความลับได้ยาก (ร.ท. จือ นายทหารเสนาธิการประจำกองพลที่ ๑ เป็นผู้เสนอญัตตินี้อย่างเสียงแข็ง)๒. เรื่องระบอบปกครองจะใช้ระบอบใดให้รอฟังผลจากที่ประชุมครั้งต่อๆ ไป (ร.ท. จือ เห็นอย่างแน่วแน่ว่าจะต้องเป็นลิมิเต็ดมอนากี้ เพื่อเหมาะสมแก่ประเทศชาติในขณะนั้น)๓. ให้สมาชิกทุกท่านต่างเร่งรีบเกลี้ยกล่อมสมาชิกตามหลักเดิมให้ได้มากที่สุด ทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ๔. ให้แบ่งมอบหน้าที่กันไปทำตามวุฒิสามารถและการงาน เช่น หมอเหล็ง เป็นหัวหน้าดำเนินงานและประสานกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่

หลวงวิฆเนศร์ฯ ผู้เคยไปต่างประเทศมาแล้วให้ประสานกับชาวต่างประเทศ เพราะคุ้นเคยกับอัครราชทูตอเมริกัน และชาวต่างประเทศมากกว่าผู้อื่น ร.ท. จรูญ กับคุณอุทัย รับงานทางด้านกฎหมาย เพราะประจำกรมพระธรรมนูญทหารบกและกระทรวงยุติธรรมอยู่แล้ว ร.ท. จือ และ ร.ท. ทองดำ รับงานด้านเสนาธิการในเรื่องวางแผนการ (ร.ท. ทองดำขณะนั้นก็เป็นนายทหารเสนาธิการเหมือนกัน) ร.ต. หม่อมราชวงศ์แช่ รับด้านคุมกำลังและออกแบบเครื่องหมายและอาณัติสัญญาณ สมาชิกนอกนั้นเป็นฝ่ายคุมกำลังเข้าทำการและออกไปเกลี้ยกล่อมสมาชิกในต่าง จังหวัด สุดแต่ผู้ใดจะถนัดในจังหวัดไหน

๕. ให้ช่วยกำลังเงินในการต้อนรับเลี้ยงดูและเป็นค่าพาหนะส่งคนไปเกลี้ยกล่อมใน ต่างจังหวัด คนละ ๕ เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน ให้ส่งไว้ที่นายทะเบียน (เงินตามมตินี้ยังมิทันได้รับ ก็พ่ายแพ้รัฐบาลเสียก่อน เว้นแต่บางคนที่มีศรัทธาแก่กล้าได้มีแก่ใจส่งไว้บ้าง ซึ่งได้มอบให้หัวหน้าเป็นค่าต้อนรับ นับเป็นจำนวนเล็กน้อยที่สุด แต่คุณอุทัยเป็นผู้มีอัครฐานดี ได้สละให้ ๑,๐๐๐ บาท ครั้งเดียว)ในที่สุดเมื่อหัวหน้าเลี้ยงอาหารเรียบร้อยแล้วก็ปิดการประชุม แล้วพวกเราก็ได้รับเชิญจากคุณหลวงวิฆเนศร์ฯ ให้ไปเยี่ยมบ้านซึ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ ใกล้กับบ้านหมอเหล็ง

โอกาสนั้นเองคุณหลวงได้นำแฟ้มเรื่องและภาพในการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ ประเทศจีนมาให้ชม กับได้ชี้แจงความสำคัญต่างๆ ในการที่ต่างประเทศได้กระทำกันมาอย่างไร เพื่อเตือนใจพวกเราให้หนักแน่นยิ่งขึ้น สมาชิกก็ลาแยกย้ายกันกลับด้วยน้ำใจอันเบิกบาน

การประชุมครั้งที่ ๓ ได้เปิดขึ้น ณ สถานที่เดิมอีก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ เดือนเดียวกัน เพื่อเร่งงานให้เร็วขึ้น มีสมาชิกไปประชุม ๒๐ กว่าคน ล้วนแต่เป็นนายทหารหน้าใหม่โดยมาก เมื่อหัวหน้ากล่าวเปิดประชุม และสมาชิกรับรองผลของการประชุมครั้งที่ ๑ และที่ ๒ แล้ว ก็เริ่มปรึกษางานต่อไป ผู้ที่รับหน้าที่ไปดำเนินการครั้งก่อนๆ ต่างได้แจ้งผลที่ตนกระทำไปแล้วว่ามีอะไรบ้าง เช่น จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกกี่มากน้อย เครื่องหมายธง เครื่องหมายประจำตัวสมาชิกเพื่อให้รู้จักกัน อักษรสัญญาณเหล่านี้เป็นต้น

การโต้เถียงเรื่องระบอบการปกครองคงมีตามเคย จนสรุปได้ว่าปัญหาเรื่องระบอบการปกครองนั้น สำหรับคนหนุ่มๆ ประสงค์จะให้เป็นรีปับลิกหรือสาธารณรัฐแทบทั้งนั้น เพราะกำลังอยู่ในวัยเลือดร้อน ต้องการทำครั้งเดียวให้แตกหักกันไปเลย ไม่อยากให้ประชาชนต้องเพลอยได้รับความเดือดร้อนกันเรื่อยๆ ไป เมื่อจะเกิดความยุ่งยากอย่างใดก็แก้ไขไปในตัวของมัน ในไม่ช้าก็เคยชินกลับถอยหลังอีกไม่ได้ หรือมิฉะนั้นก็คือตายกันทั้งหมด ส่วนสมาชิกที่มีอายุชั้นผู้ใหญ่เคยเห็นเหตุการณ์มามากหรือวัยกลาง มักจะรั้งให้ใช้ระบอบลิมิเต็ดมอนากี้ คือกำหนดอำนาจของกษัตริย์ไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญเพื่อดึงน้ำใจพลเมืองที่ยังแนบ แน่นอยู่ในระบอบเก่า ไม่ให้ช้ำชอกจนเกินไป ฝ่ายที่ถูกชิงอำนาจก็จะไม่เคียดแค้นถึงกับทำตัวเป็นศัตรูอยู่ตลอดกาล


ฝ่ายวางแผนการก็กะว่าจะลงมือกระทำการงานในวันถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในเดือน เมษายน ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) ในวัดพระแก้ว โดยใช้กำลังทหารขอให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (เวลานั้นใช้คำว่าพระธรรมนูญ) โดยละมุนละม่อม มิให้เสียเลือดเนื้อ ถ้าและมิยินยอมจึงจะค่อยดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนต่อไป ส่วนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ให้ใช้วิธีบังคับโดยฉับพลันในขณะลงมือทำการ

ฝ่ายกฎหมายก็เสนอว่ากำลังจะหาหลักเกณฑ์ร่างพระธรรมนูญอยู่ ซึ่งจะได้เอาพวกนักกฎหมายฝ่ายพลเรือนจากกระทรวงยุติธรรมมาเป็นกำลังช่วยอีก และจะพยายามมาประชุมด้วยในคราวหน้า ที่ประชุมเห็นพ้องด้วยทุกข้อ สมาชิกใหม่ทุกคนรับว่าจะเกลี้ยกล่อมให้ได้สมาชิกมากที่สุดและเร็วที่สุด ก่อนปิดประชุมได้มีการรับประทานอาหารกันตามเคย และเลยนัดประชุมครั้งที่ ๔ ในวันอาทิตย์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ ศกเดียวกัน ณ โบสถ์ร้างวัดช่องลม ตำบลช่องนนทรี โดยมาพร้อมกันที่บ้านหมอเหล็งก่อน พร้อมด้วยปืนยิงนกเท่าที่จะหาได้ เพื่อพรางเจ้าหน้าที่ทางบ้านเมือง เพราะได้ประชุมที่เดิมหลายคราวแล้ว เกรงว่าจะเกิดสงสัยขึ้น ส่วนสมาชิกใหม่ที่หาได้ให้ชวนมาได้มากเท่าใดเป็นดีที่สุด แล้วจึงจะออกเดินทางลัดทุ่งไปยังตำบลที่กล่าวนั้น

วันอาทิตย์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ มาถึง สมาชิกประมาณ ๓๐ กว่าคน ก็ได้ไปพร้อมกันที่บ้านหมอเหล็ง มีทั้งทหารและพลเรือน ล้วนเป็นสมาชิกใหม่โดยมาก คุณอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา ล่ามกระทรวงยุติธรรมได้ไปร่วมอีก พวกเราได้มีปืนแฝดยิงนกติดไปราว ๓-๔ กระบอก กระสุนพร้อม พอได้เวลาราวก่อนเที่ยง พวกเราก็เริ่มออกเดินจากบ้านหัวหน้า คุยสนุกโปกฮากัน ไปยิงนกในทุ่งนากันไปอย่างแบบปิคนิค ไม่มีใครสงสัยเป็นอย่างอื่นเลย จนกระทั่งถึงโบสถ์ร้างวัดช่องลม ก็เริ่มรับประทานอาหารกลางวันที่ในโบสถ์ร้างนั้น ไม่มีพระพุทธรูปและคนเฝ้า มีแต่พื้นเป็นดินขรุขระ หลังคาและฝาผนังยังดี มิดชิดอยู่ คุยกันพลาง ยังไม่ได้เข้าระเบียบวาระประชุม ต่อเมื่อเสร็จอาหารแล้ว จึงได้เริ่มล้อมวงเปิดการประชุมเหมือนเช่นเคย

แต่การประชุมครั้งนี้เราได้จัดสมาชิกเก่าๆ เป็นยามคอยเหตุไว้ภายนอกโบสถ์ด้วย ทำทีเป็นนักยิงนกเดินเที่ยวเตร่อยู่แถวนั้น เพื่อป้องกันมิให้ผู้สัญจรไปมาเกิดความสงสัยแคลงใจได้ผลของการประชุมครั้ง นั้นที่นับว่าเป็นมติของที่ประชุมก็คือ การกำหนดตัวผู้ที่จะไปเกลี้ยกล่อมสมาชิกต่างจังหวัด เช่น จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครสวรรค์ และอยุธยา ดูเหมือนจำได้ว่า ร.ต. จันทร์ ปานสีดำ จะออกไปจังหวัดนครสวรรค์ เพราะเคยประจำการอยู่ในกรมทหารราบที่ ๖ ร.ต. บุญ แตงวิเชียร เห็นจะเป็นจังหวัดราชบุรี ส่วนจังหวัดอยุธยาคือ ร.ต. หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร ทั้งนี้ก็เพื่อเร่งรัดความพรักพร้อมให้ทันเวลา ซึ่งมีอยู่อีก ๒ เดือนเศษเท่านั้น ทางกรุงเทพฯ ก็ให้ต่างคนต่างชักชวนให้ทั่วถึงโดยเร็ว นอกจากนี้เจ้าหน้าที่คนใดที่รับทำอะไรไป ก็ให้ลงมือจัดเตรียมไว้ให้พร้อมสรรพ

สมาชิกฝ่ายพลเรือนมีคุณอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา ก็จะได้หาสมัครพรรคพวกทางกระทรวงยุติธรรมมาช่วยอีก การร่างธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดจะต้องทำให้รอบคอบ ไม่ให้บกพร่อง ฝ่ายทหารเรือ ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง ขอรับไปชักชวน เพราะพระรามสิทธิ์ (พื้น) กรมพระธรรมนูญทหารเรือ ได้เป็นเครือญาติกันอยู่และน้ำใสใจคอก็เข้มแข็งแน่วแน่เหมือนพวกเรา คงจะไม่ปฏิเสธ ทั้งจะโยงพวกพ้องได้อีกมากด้วย เป็นอันว่าต่างคนต่างเร่งรีบ ค่าที่รู้จุดประสงค์กันดีอยู่แล้วเรื่องที่ยังต้องขบกันอยู่มากในขณะนั้นคือ ปัญหาเรื่องการปกครองจะเอาระบบไหนกันแน่ อันเป็นเรื่องโต้เถียงกันมาแทบทุกคราวประชุม เหตุที่ลงมติให้เด็ดขาดยังไม่ได้ ก็เพราะเคารพต่อสมาชิกที่จะเข้ามาใหม่อีกมากมายไม่รู้จำนวน ครั้นจะเรียกประชุมใหญ่ทั้งหมดก็ย่อมทำไม่ได้อยู่เอง ได้แต่ฟังเหตุและผลกันไว้พลางก่อน

พอได้เวลาอันสมควรแล้วเราก็เดินทางมายังบ้านหมอเหล็งเหมือนเมื่อขาไป การร่ำลากลับก็เริ่มแต่ ณ ที่นั้น การประชุมครั้งที่ ๕ คุณอุทัยขอนัดที่บ้านคุณอุทัย ตำบลศาลาแดง แต่ข้าพเจ้าติดธุระอย่างอื่นที่จำเป็น จึงมิได้ไปร่วมการประชุมด้วย ได้รับแต่ผลของการประชุม และจำนวนรายชื่อสมาชิกที่เข้าใหม่ มีทั้งทหารเรือ ทหารบกอีกมากมาย ทางฝ่ายพลเรือนก็มีคุณน่วม (ต่อมาเป็นพระพินิจพจนาตรถ์) หลวงนัยวิจารณ์ และคุณปลอด ณ สงขลา (พระยามานวราชเสวีได้ออกไปเรียนต่างประเทศเสียก่อนเข้าประชุมและเกิดเรื่อง) คุณบุญเอกทำงานสถานทูตฝรั่งเศส ฯลฯ

ผลที่สำคัญในการประชุมครั้งนี้คือเรื่องการเงิน คุณอุทัยได้สละเงินช่วยมาด้วย ก็ยังยินดีที่จะช่วยอยู่ร่ำไป ทั้งยังกำลังจะติดต่อกับธนาคารแห่งหนึ่งเพื่อให้เป็นกำลังสำคัญของคณะ ข้าพเจ้าได้ทราบเลาๆ ว่า ดูเหมือนจะได้ไปทาบทามธนาคารยู่เส็งเฮงไว้แล้ว ซึ่งคุณฉลองนัยนาถ (ยู่เส็ง ธนโกเศศ) เป็นผู้จัดการ แต่ยังไม่ทันจะได้ทำความตกลงกันก็เกิดเรื่องเสียก่อน (ต่อมาธนาคารนั้นแบงก์รัพท์ลง พวกเรายังได้พลอยแสดงความเสียใจด้วย)

ส่วนผลการประชุมเรื่องระบอบการปกครองก็คงยังเป็นปัญหาโต้เถียงกันอยู่ตาม เดิมนั้นเองวันกำหนดลงมือทำการยิ่งใกล้เข้า ข้าพเจ้าก็ยิ่งมีงานมากขึ้น เพราะเป็นแหล่งกลางของคณะ จะต้องติดต่อกับสมาชิกทุกฝ่ายและเฉพาะหัวหน้าแทบมิได้ขาดแต่ละวัน ส่วนการประชุมใหญ่ๆ ไม่ได้นัดกันแล้ว เพราะต่างแจ่มแจ้งในจุดหมายปลายทางกันอย่างดี เป็นแต่คุณจรูญ ณ บางช้าง ซึ่งตั้งสำนักงานทนายความอยู่ที่ตึกแถวข้างวังบูรพาภิรมย์ ตอนใกล้ถนนเจริญกรุง ที่เป็นตึกแถวห้างศรีจันทร์อยู่ในขณะนั้น ได้เรียกประชุมพบปะเพื่อนฝูงเป็นเชิงว่าเลี้ยงดูกันฐานมิตรสหายอีกราว ๖-๗ ครั้ง แต่ทุกคราวได้เจรจากันถึงเรื่องการเมืองด้วยเมื่อมีโอกาส พร้อมกันนั้นก็มีการรับสมาชิกใหม่ไปด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อกระชับความสามัคคีกลมเกลียวให้แน่นสนิทยิ่งขึ้นทุกที ข้าพเจ้ามิเคยไปร่วมด้วยเพราะเวลาจำกัด เป็นแต่คอยรับผลการประชุมที่เป็นมติใหม่ กับจำนวนรายชื่อสมาชิกที่เข้าใหม่เท่านั้น

การโต้เถียงเรื่องระบอบการปกครองคงมีตามเคย จนสรุปได้ว่าปัญหาเรื่องระบอบการปกครองนั้น สำหรับคนหนุ่มๆ ประสงค์จะให้เป็นรีปับลิกหรือสาธารณรัฐแทบทั้งนั้น เพราะกำลังอยู่ในวัยเลือดร้อน ต้องการทำครั้งเดียวให้แตกหักกันไปเลย ไม่อยากให้ประชาชนต้องเพลอยได้รับความเดือดร้อนกันเรื่อยๆ ไป เมื่อจะเกิดความยุ่งยากอย่างใดก็แก้ไขไปในตัวของมัน ในไม่ช้าก็เคยชินกลับถอยหลังอีกไม่ได้ หรือมิฉะนั้นก็คือตายกันทั้งหมด ส่วนสมาชิกที่มีอายุชั้นผู้ใหญ่เคยเห็นเหตุการณ์มามากหรือวัยกลาง มักจะรั้งให้ใช้ระบอบลิมิเต็ดมอนากี้ คือกำหนดอำนาจของกษัตริย์ไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญเพื่อดึงน้ำใจพลเมืองที่ยังแนบ แน่นอยู่ในระบอบเก่า ไม่ให้ช้ำชอกจนเกินไป ฝ่ายที่ถูกชิงอำนาจก็จะไม่เคียดแค้นถึงกับทำตัวเป็นศัตรูอยู่ตลอดกาล เป็นการอะลุ้มอล่วยพอจะเข้ากันได้ระหว่างทาง ซึ่งบางทีจะมิต้องเสียเลือดเนื้อของคนชาติเดียวกัน (ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นความเห็นของพวกเราสมัยนั้น ถ้าจะนำเอามาคิดสมัยนี้แล้วไม่ได้ความเลย)

ในที่สุด สมควรรวบรัดตัดความได้แล้วว่า สมาชิกทุกคนต่างรอคอยเวลาและแผนการที่จะเปิดฉากขึ้นในต้นเดือนเมษายน ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕)ไม่มีอะไรที่จะทำไปมากกว่านั้น แม้แต่พลทหารในกรุงเทพฯ ก็คอยคำสั่งผู้บังคับบัญชาอยู่ด้วยกันทุกกรมกอง ส่วนรัฐบาลสิยังหลับสนิท เพราะกำลังเพลินและอิ่มอยู่ในสิ่งชวนลืมอะไรสิ้น ถ้าจะพูดว่าท่านลืมความฉลาดของคนที่แม้ธรรมชาติก็อาจสอนได้ ประวัติศาสตร์หลายสมัยก็ยังสอนท่านอยู่ ทั้งตัวของท่านเองก็มาจากคนที่ไม่รู้อะไรมาก่อน ย่อมจะได้นึกบ้างในเมื่อเวลาที่ท่านเคี้ยวอาหารและขบเอากระดูกสัตว์เข้าจน กลืนไม่ลง

หากแต่พวกเราเองมาทำลายกันเองเพื่อเห็นแก่ตัว เราจึงต้องพ่ายแพ้โดยราบคาบ เว้นแต่ประวัติศาสตร์ยังคงตื่นอยู่เพื่อคนชั้นหลังเสมอ



หากแต่พวกเราเองมาทำลายกันเองเพื่อเห็นแก่ตัว เราจึงต้องพ่ายแพ้โดยราบคาบ เว้นแต่ประวัติศาสตร์ยังคงตื่นอยู่เพื่อคนชั้นหลังเสมอสาเหตุที่คณะ ร.ศ. ๑๓๐ จะต้องพ่ายแพ้ ย่อมเป็นเรื่องรู้ๆ กันอยู่ และเคยเตือนกันเสมอว่า จำพวกนกหลายหัวซึ่งมีอยู่ในกองทัพบกไม่กี่ตัวนักนั้น อย่าพึงชักนำมาเข้าคณะเป็นอันขาด

กาลวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้รับรายงานว่าร.อ. หลวงสินาดโยธารักษ์ (ยุทธ คงอยู่ เดิมเป็นนักเรียนเบญจมบพิตร สมัยข้าพเจ้าอยู่มีชื่อว่าแต้ม เป็นลูกศิษย์วัดเบญจมฯ เหมือนกัน เพื่อนนักเรียนและศิษย์วัดย่อมซาบซึ้งนิสัยใจจิตของเขาดีว่าเป็นอย่างไร) ได้มาเข้าเป็นสมาชิกรับการปฏิญาณสาบานตัว ณ ที่ประชุมในสำนักงาน ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง จวนๆ จะใกล้ถึง วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ อยู่แล้ว ข้าพเจ้าและพวกหลายคนก็เอะใจ ถึงกับข้าพเจ้าเองต้องออกสืบสาวราวเรื่องโดยทันควัน ว่ามันเป็นมาอย่างไรกัน

ได้ความว่า ว่าที่ ร.ต. ทวน เธียรพิทักษ์ กองนักเรียนนายสิบเป็นผู้ชักชวน และนำเข้ามาร่วมคณะเพราะเคยรู้จักมักคุ้นกันมาก่อน และให้เหตุผลต่อไปว่า คณะเรายังมิได้ส่งผู้ใดไปเกลี้ยกล่อมทหารจังหวัดพิษณุโลกเลย จวบเหมาะกับ ร.อ. หลวงสินาดฯ ได้รับคำสั่งตั้งให้เป็นผู้บังคับการทหารปืนใหญ่ในจังหวัดนั้น กำหนดจะเดินทางออกไปรับหน้าที่อยู่แล้วอีกไม่กี่วัน ถ้าได้เข้ามาร่วมคณะก่อการเสียก่อนเดินทาง ก็จะเป็นกำลังของคณะหาน้อยไม่ โดยจะได้กำลังทหารในจังหวัดนั้นทั้งหมดหรือเกือบหมด ในที่สุดเพื่อนทวนยังย้ำว่า ขอรับรองในความซื่อสัตย์ของเขาต่อคณะของเราอีกด้วย

หากเป็นท่าน ท่านจะทำอย่างไร ความหลวมตัวเป็นเรื่องแล้วไปแล้ว ทางที่ประชุมก็เอะใจไหวทันเหมือนกัน ถึงกับได้เปิดการสาบานตนขึ้นเป็นพิเศษ ก่อนที่จะปรึกษาหารือกันถึงจุดประสงค์ต่อไป เรื่องการตีหน้าของเขาผู้นั้นเพื่อให้เข้าได้กับคณะของเราอย่างสนิท ไม่จำเป็นต้องขุดมาเล่าถึง พอถึงเวลาเลิกประชุม เขาก็อำลาเยี่ยงเพื่อนทั้งหลายโดยดุษณีภาพเช่นกันหลังจากนั้น ถึงหากคณะอยากจะเร่งรีบกระทำการก็สิ้นท่า เพราะแผนการได้กำหนดตายตัวเสียแล้ว เรามิได้เดินหมากรุกชนิดเอาทหารเป็นหุ่น นึกอยากจะชักสายใยให้ลุกขึ้นโลดเต้นเมื่อไรก็อาจทำได้ทุกขณะ

ก็พอดีถึงวันอันเป็นวาระพ่ายแพ้ของเรา เพราะเขาผู้นั้นหลังจากอำลาพวกเราด้วยพรายยิ้มแห่งความเห็นแก่ตัวอย่าง แรงกล้าแล้ว ก็นำความไปบอกหรือฟ้องร้องนั่นเอง ต่อคนนั้นถึงคนนี้ จากคนนี้แล้วก็คนโน้น จนถึงทูลหม่อมจักรพงษ์ เสนาธิการทหารบก และทำการแทนเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้เสด็จไปรักษาองค์ในต่างประเทศ เสียแต่เดือนธันวาคมดังกล่าวไว้แล้ว ทูลหม่อมจักรพงษ์ อย่างไรๆ เสียก็ต้องจัดการไปตามกบิลเมือง จะนิ่งนอนใจไม่ได้เป็นอันขาด

ส่วนข้าพเจ้าเองขอกล่าวไว้สักนิด ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กทูลหม่อมไม่กี่เดือนมานี้เอง โดยคุณป้านาก (สตรีผู้หนึ่ง ข้าหลวงในราชสำนักพระพันปีหลวง ร่างกายสมบูรณ์ใหญ่โต ผู้ใดพบเห็นเพียงครั้งเดียวก็จำได้ติดตา) ผู้ที่แม่ข้าพเจ้าเคารพนับถืออย่างญาติ ได้นำข้าพเจ้าพร้อมกับแม่เข้าเฝ้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กเรือนนอก พร้อมด้วยพานดอกไม้ธูปเทียนตามขนบประเพณี ณ วังปารุสก์ ท่านทรงรับด้วยความเต็มพระทัย พร้อมด้วยหม่อมคัทธารีน พระชายา และทรงเมตตาทักถามถึงเรื่องการเรียนของข้าพเจ้า จนได้มาอยู่เหล่าทหารปืนกลรักษาพระองค์ที่เพิ่งตั้งใหม่ ข้าพเจ้าก็ทูลทุกระยะ และสังเกตได้ว่าทรงพอพระทัยเป็นพิเศษ ถึงกับรับสั่งในที่สุดว่า นายทหารปืนกลน่าจะได้ไปเรียนต่างประเทศสักคนหนึ่ง แล้วก็ทรงหันไปปราศรัยกับคุณป้านากและแม่อยู่ครู่หนึ่ง จึงเสด็จเข้าข้างใน

พวกเราก็ทูลลากลับ ต่อมาใกล้จะเกิดเรื่องร.ศ. ๑๓๐ คุณป้านากไปบอกแม่ว่า ทูลหม่อมจะประทานเหรียญจักรกะบองในไม่ช้า ให้เตรียมตัวไปรับ และน่ากลัวว่าจะได้มีโอกาสดีต่อไปอีก (อันนี้มาทราบภายหลังว่า บางทีจะได้ไปศึกษาวิชาปืนกลในต่างประเทศด้วย) เรื่องพรรค์นี้ใครๆ ก็ย่อมพอใจ ถึงจะไม่เต็มใจก็ต้องรับอยู่ในอาการดุษณีภาพ แล้วก็ต้องรีบปรับตัวให้เกิดสมรรถภาพ เพื่อให้รับกัน มิฉะนั้นองค์ความดีของผู้ใหญ่อาจพลอยเสื่อมไปด้วย

สมาชิกเพียงบางคนเท่านั้น เสนอว่าทูลหม่อมจักรพงษ์พระองค์หนึ่งละ สมควรเป็นกษัตริย์ภายใต้กฎหมายได้ ฝ่ายทหารเรือบางคนก็เช่นเดียวกัน ได้เสนอพระนามทูลหม่อมบริพัตรในทำนองนั้น ฝ่ายพลเรือนได้เสนอกรมหลวงราชบุรีปราชญ์กฎหมายขึ้นมาอย่างประหลาดว่า หากระบอบการปกครองจะต้องกลับตาลปัตรถึงซึ่งรีปับลิกแน่แล้ว และเมื่อยังหาตัวประธานาธิบดีมิได้ ก็ขอเสนอพระนามกรมพระราชบุรีไว้พลางๆ ก่อน


ทูลหม่อมจักรพงษ์เป็นน้องของในหลวงรัชกาลที่ ๖ แท้ๆ พระบิดาพระมารดาเดียวกัน พอทรงทราบเรื่องราวตลอด และได้ส่งคนออกสืบสวนทวนพยานจนแน่แท้แล้วไม่ผิดพลาด คือทรงทราบจนกระทั่งว่า ตัวท่านเองก็มีชื่อเข้าไปอยู่ในข้ออภิปรายของฝ่ายทหารบกด้วย โดยมีสมาชิกเพียงบางคนเท่านั้น เสนอว่าทูลหม่อมจักรพงษ์พระองค์หนึ่งละ สมควรเป็นกษัตริย์ภายใต้กฎหมายได้ ถ้าถึงคราวจำเป็นจะต้องเลือกท่าน ฝ่ายทหารเรือบางคนก็เช่นเดียวกัน ได้เสนอพระนามทูลหม่อมบริพัตรในทำนองนั้น

ฝ่ายพลเรือนได้เสนอกรมหลวงราชบุรีปราชญ์กฎหมายขึ้นมาอย่างประหลาดว่า หากระบอบการปกครองจะต้องกลับตาลปัตรถึงซึ่งรีปับลิกแน่แล้ว และเมื่อยังหาตัวประธานาธิบดีมิได้ ก็ขอเสนอพระนามกรมพระราชบุรีไว้พลางๆ ก่อน ทั้งนี้นับว่าเป็นแต่เรื่องอภิปรายถึงบุคคลที่ ๓ กันเท่านั้น

แล้วก็ต้องมีฝ่ายค้านลุกขึ้นโต้ทานด้วยประการต่างๆ อย่างแข็งแรง ส่วนผู้ที่เห็นด้วยกับทั้งสองฝ่าย ก็ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เรื่องมันก็เลยสนุกแกมจริงกันไป หากสมาชิกใหม่คนใดบังเอิญเข้าประชุมในคราวที่โต้เถียงกันถึงเรื่องนั้นก็มัก ยึดเอาเป็นความจริง เพราะการเปลี่ยนการปกครองมันยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่ทราบแน่ว่าใครเป็นใคร อะไรเป็นอะไร ถ้าผู้ใดได้ฟังเผินๆ จากสมาชิกเพียงคนสองคนเล่าให้ฟัง โดยไม่ไตร่ตรองให้ถ่องแท้แน่นอนกันจริงๆ แล้ว ก็พอโอนเอนความเชื่อไปทางนั้นได้ ดังจะได้เห็นอุทาหรณ์ต่อไป

สำหรับข้าพเจ้าในเรื่องตัวบุคคลดังกล่าวนั้น ข้าพเจ้ายังไม่เคยเสนอชื่อใคร หรือเห็นด้วยกับฝ่ายใดเลย เพราะมันเป็นเรื่องจะต้องจับตัวจริงๆ กัน ในเมื่อทำการสำเร็จ และจะควรหวังได้อย่างไร ในเรื่องพี่ร่วมท้องน้องร่วมไส้ของเขา ทั้งทรงไว้แล้วซึ่งความรู้สูงส่งจากต่างประเทศ พอเอะอะขึ้นอาจมีคนในต่างประเทศมาแบมือช่วยรับไปก็ได้ เจ้าธนาคารต่างประเทศนั้นเป็นพระมาลัยมาโปรดอย่างยอดเยี่ยมที่สุด สำหรับนักการเมืองตาขาว น่าอนาถเหลือ!(ขอโทษที่นำเอาพระมาลัยมากล่าวทั้งๆ ที่รู้ว่านอนเซนส์ แต่อาศัยที่พอกล่าวแล้ว คนรุ่นหนึ่งเข้าใจความหมายได้ดีเท่านั้นเอง)

พอทูลหม่อมแน่พระทัย ก็จับรถไฟไปเฝ้าพี่ชายคือรัชกาลที่ ๖ ณ สนามจันทร์ นครปฐม ซึ่งกำลังเล่นเสือป่าอยู่อย่างพระสำราญ เขาว่า (ถ้าผิดขออภัย) พี่น้องสองพระองค์เท่านั้นที่เข้าพบกัน แจ้งเรื่องแต่ต้น จนอีกฝ่ายหนึ่งตกอกตกใจ ถึงกับหน้าเสียและน้ำตาไหล (ข้าพเจ้าคนหนึ่งเป็นคนใจอ่อน กระทบเรื่องบางเรื่องอดตาแดงน้ำตาไหลไม่ค่อยได้เหมือนกัน)

ครั้นแล้วการปราบคณะ ร.ศ. ๑๓๐ ก็เริ่มตั้งแต่วันทูลหม่อมเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ คือวันพุธที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) โดยวิธีแยบคายและละม่อม

คณะผู้มาก่อนกาลถูกรัฐบาลสมเด็จพระมงกุฎเกล้าจับขังคุก 12 ปีจากพ.ศ.2455ไปถึงพ.ศ.2467 แต่มีสมาชิกบางคนที่รอดการถูกจับกุมคือร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลักลอบส่งจดหมายเข้าไปหาสหายที่ติดคุกอยู่ว่าเขาจะเป็นผู้"ถือธงรีปัป ลิ๊ก"นำขบวนการปฏิวัติปลดปล่อยเพื่อนออกจากการลงฑัณฑ์ของรัฐบาลระบอบสมบุณณา ญาสิทธิราชย์ แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลยึดจดหมายได้ทำให้ถูกจับกุมในเวลาต่อมา

สมาชิกหลายคนเสียชีวิตในคุก ร.ต.วาศ วาสนา กล่าวกับสหายในวาระสุดท้ายของชีวิตนักปฏิวัติว่า
"เพื่อนเอ๋ย กันต้องลาเพื่อนไปเดี๋ยวนี้ ขอฝากลูกของกันไว้ด้วย กันขอฝากไชโย ถ้าพวกเรายังมีชีวิตได้เห็น"
ร.ต.วาศ วาสนา (คนที่ 2 จากขวาแถวนั่งหน้าสุด)กับสหายคณะรศ.130ขณะถูกฝ่ายรัฐบาลพระมงกุฎเกล้าฯจับกุม


.............
หมายเหตุ:ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนักเรียนนายร้อยฯ เมื่อเข้าร่วมเป็นผู้ก่อการ ร.ศ.๑๓๐ นั้นมีอายุ ๒๑ ปี สังกัดกองปืนกลที่ ๑ ภายหลังจากพ้นโทษจำคุก เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ศรีกรุง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท ๒ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าแผนกกลางเทศบาลนครกรุงเทพฯ พ.ศ.๒๔๘๒

*ท่านที่สนใจอ่านรายละเอียดกรณีร.ศ.130 คลิ้กที่นี่ และนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2554

*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ซีรีส์ชุด 80 ปี 24 มิถุนายน 2475 วันชาติราษฎร

--ค้นพบเอกสารเก่าต้นฉบับ "ประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1"

24มิถุนามหาศรีสวัสดิ์นี้ขอเชิญร่วมงานวันชาติราษฎร

24 มิถุนายน 2475 และคดียึดพระราชทรัพย์ร.7

-ก่อนปฏิวัติ24มิถุนาจะสำเร็จมีบรรพชนล้มลงเบิกทาง:เพื่อนเอ๋ยขอฝากไชโยถ้าพวกเรายังมีชีวิตได้เห็น

-บนถนน 2475 : ก่อนวันนั้นจะมาถึง

-24 มิถุนาฯ เส้นทางวิบากของประวัติศาสตร์อาภัพ และ (ถูกทำให้) พร่าเลือน

-ผลสำรวจผู้อ่านไทยอีนิวส์ก่อน-หลังเหตุการณ์19พฤษภา53:ประชาธิปไตยแบบใดที่ท่านปรารถนา?