ที่มา Thai E-News
โดย ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เฟซบุ๊คสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
หมายเหตุ: บทความสั้นๆนี้ เขียนและเผยแพร่ครั้งแรก ในกลางเดือนมีนาคม 2548 (ดูเหมือนจะที่บอร์ด ม.เที่ยงคืน) ผมนำมาเผยแพร่ซ้ำ เผื่อจะเป็นประโยชน์ กับใครที่ยังไม่เคยอ่านและสนใจในแง่ข้อมูล ผมไม่ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขเนื้อความที่เล่า เช่น เรื่องผมเจอการประดับประดาถนนราชดำเนินในปีนั้นอย่างไรในตอนต้น เพราะคิดว่าถือเป็นการทบทวนบรรยากาศทั้งการเตรียมงานในช่วงนั้น และลักษณะงานเขียนของผมเอง ตั้งแต่เมื่อ 7 ปีกว่ามาแล้ว (หมายเหตุไทยอีนิวส์:ดร.สมศักดิ์เขียนในเฟซบุ๊คเมื่ิอ 14 สิงหาคม 2554)
เมื่อ หลายสัปดาห์ก่อน (ประมาณกลางกุมภาพันธ์) ระหว่างขับรถไปทำงานที่ท่าพระจันทร์ ผมอดประหลาดใจไม่ได้ที่เห็นบริเวณเกาะกลางถนนราชดำเนิน เริ่มมีการก่อสร้างโครงไม้ขนาดใหญ่ แบบที่ไว้สำหรับติดภาพ "คัดเอ๊าท์" เวลามีงานหรือวันสำคัญๆทางราชการ
ที่ ประหลาดใจก็เพราะนึกไม่ออกว่า ในช่วงใกล้ๆนี้จะมีงานหรือวันสำคัญๆอะไร วันสำคัญที่ใกล้ที่สุดที่ผมนึกออกคือ 12 สิงหาคม แต่นั่นก็อยู่ห่างออกไป 6 เดือน
และ ที่ผมจำได้ เมื่อ 5 ปีก่อน ในช่วงงาน 72 พรรษา 5 ธันวา การติด "คัดเอ๊าท์" เกาะกลางถนนราชดำเนิน ก็ไม่ได้เริ่มล่วงหน้า 6 เดือน (เหตุที่จำได้ เพราะสนใจเรื่องนี้ และที่สำคัญ อาศัยการคิดแบบตรรกะธรรมดา เพราะการติด "คัดเอ๊าท์" 5 ธันวา จะต้องไม่ก่อน กลางสิงหา - ต้องหลัง 12 สิงหาไปแล้ว - คืออย่างมากก็ติดก่อนได้ไม่ถึง 4 เดือน อันที่จริงเท่าที่จำได้ ดูเหมือนปีนั้นจะติดไม่ก่อนเดือนตุลา)
เมื่อ ไม่กี่วันก่อน ระหว่างขับรถไปท่าพระจันทร์ จึงพบว่า โครงไม้เหล่านั้น ไว้สำหรับติด "คัดเอ๊าท์" 12 สิงหา จริงๆ ซึ่งขณะนี้ได้ติดตั้งเสร็จหมดแล้ว ผู้ผ่านไปมาบริเวณนั้นคงได้เห็นแล้ว . . .
ผม เพิ่งเสร็จบทความเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับ "ประวัติศาสตร์วันชาติไทย" ซึ่งอาจจะนำบางส่วนมาโพสต์ในไม่กี่วันข้างหน้า จึงอดไม่ได้ที่จะนึกถึงข้อมูลประวัติศาสตร์บางอย่างที่ได้จากการเขียนบทความ นั้น
คือ ในบทความ ผมจะพูดถึงวันหยุดราชการต่างๆ ในช่วงหลัง 2475 มาจนถึงสมัยสฤษดิ์ การกำหนดให้วันที่ 12 สิงหา เป็นวันหยุดราชการนั้น เพิ่งมีขึ้นครั้งแรกในปี 2495 มีการประกาศหลังผ่าน 12 สิงหา ปีนั้นไม่กี่วัน (ประกาศลงวันที่ 25 สิงหาคม 2495 ลงใน ราชกิจจานุเบกษา 9 กันยายน)
ความน่าสนใจ หรือความสำคัญของเรื่องอยู่ที่ว่า การกำหนดให้วันประสูติของพระราชินีเป็นวันหยุดราชการนี้ ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชยังไม่มี การ กำหนดวันหยุดราชการสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช (ซึ่ง ร.6 กล่าวว่า มีไว้เพื่อเหตุ 3 ประการ คือ "สำหรับพักผ่อนร่างกาย", "แสดงความเคารพต่อพระบรมราชวงษ์" และ "เคารพต่อพระสาสนา") มีอยู่ 2 ครั้งใหญ่ คือ สมัย ร.6 กับสมัย ร.7
สมัย ร.6 มีวันหยุดราชการ ดังนี้ (ผมเปลี่ยนตัวสะกดให้เป็นแบบปัจจุบันเพื่ออ่านง่าย)
สงกรานต์.....................19 วัน(สำหรับ ผู้ที่แปลกใจว่า สงกรานต์หยุดนาน ความจริง ร.6 มีประกาศเพิ่มวันหยุดให้เฉพาะข้าราชการกระทรวงยุติธรรมในช่วงสงกรานต์เป็น 30 วัน!)
วิสาขะบูชา.....................3 วัน
เข้าพรรษา......................7 วัน
ทำบุญพระอัฐิ ร.5..............1 วัน (คือที่มารู้จักกันปัจจุบันว่า "วันปิยะ" 23 ตุลา)
ฉัตรมงคล......................4 วัน
เฉลิมพระชนมในหลวง.........5 วัน
มาฆะบูชา.......................1 วัน
วันหยุดสมัย ร.7 เป็นดังนี้
สงกรานต์................................4 วัน (ร.7 บอกว่าของ ร.6 หยุดมากไป!)
จักรี (เป็นครั้งแรก)......................1 วัน
วิสาขะบูชา...............................3 วัน
เข้าพรรษา................................3 วัน
สวรรคตพระพุทธเจ้าหลวง (23 ตุลา)....1 วัน
เฉลิมพระชนมในหลวง..................3 วัน
ฉัตรมงคล................................3 วัน
ผม สงสัยด้วยว่า (แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ ใครขยันลองเช็คดูก็ได้) การกำหนดให้วันเกิดของ spouse ของกษัตริย์เป็นวันหยุดราชการ น่าจะไม่ใช่เรื่องทั่วไป แม้ในประเทศที่มีกษัตริย์เป็นประมุข (อังกฤษ, ญี่ปุ่น, เสปน) แต่เฉพาะกรณีของไทย จะเห็นว่า เป็นสิ่งใหม่
ซึ่ง ผมเสนอในบทความนั้นว่า ต้องอธิบายสาเหตุจากบริบททางการเมืองขณะนั้น คือ (สิ่งที่ผมเรียกว่า) ภาวะ "ความว่างเปล่าทางอุดมการณ์" ของคณะรัฐประหาร 2490 ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการล่มสลาย (dissolution) ของ "คณะราษฎร" ในระหว่างสงคราม เปิดทางให้อุดมการณ์แบบนิยมเจ้ากลับเข้ามามีบทบาทได้ และคณะรัฐประหารต้องยอมอ่อนข้อ ต่อกลุ่มและอุดมการร์นิยมเจ้าหลายอย่าง
ใน แง่วันหยุดราชการเอง ผมจะไม่อธิบายหรือให้ตัวอย่างวันหยุดราชการของคณะราษฎรก่อนสงครามในที่นี้ เพราะจะยาว แต่อยากชี้ให้เห็นว่า หลัง 2490 จอมพล ป.สั่งลดวันหยุดทั้ง 10 ธันวา และ 24 มิถุนา จากกรณีละ 3 วันเหลือกรณีละ 1 วัน (กรณี 10 ธันวาเป็นครั้งแรกหลัง 2475)
ต่อ มาแม้จะกลับเป็น 3 วันแบบเดิมทั้ง 2 กรณี แต่ในช่วงเดียวกัน ก็เพิ่มวันหยุดเฉลิมพระชนม์ เป็น 3 วัน (เป็นครั้งแรกหลัง 2475) และเพิ่มวันหยุดที่มีลักษณะที่เรียกว่า "จารีต" (traditional) เช่น สงกรานต์ (นำกลับมาหลังเลิกไปสมัยหลวงพิบูลยุคแรก), เข้าพรรษาและมาฆะ (เพิ่มวัน), ฉัตรมงคล และพืชมงคล (มีครั้งแรกหลัง 2475) ในบริบทเช่นนี้เองที่มีการกำหนดให้ 12 สิงหา เป็นวันหยุดราชการด้วย
อัน ที่จริง ประกาศฉบับที่กำหนดให้ 12 สิงหา เป็นวันหยุดราชการครั้งแรกนั้น (2495) ต้องนับว่าเป็นประวัติการณ์สำหรับหลัง 2475 เพราะมีวันหยุดมากที่สุด ถึง 14 รายการ รวม 28 วัน ต่อมาจึงต้องสั่งลดเหลือวันเดียวหมด
การ ให้เป็นวันหยุดราชการ เป็นวิธีหรือระดับการให้ความสำคัญอย่างหนึ่งแก่วันของรัฐบาล ความจริง มีวิธีหรือระดับการให้ความสำคัญ 4 ระดับ เรียงจากน้อยไปมาก คือ
ประดับธง
หยุดราชการ
ประดับไฟ
งานมหกรรม (มหรสพ, งานแสดงกลางแจ้งต่างๆ ฯลฯ)
2 ระดับแรก คือ ประดับธง กับ หยุดราชการนั้น ส่วนใหญ่มีคำสั่งควบคู่กันไป เกือบเหมือนๆกัน เช่น หยุด 3 วัน ก็ให้ประดับธง 3 วัน แต่ก็มีบางกรณีที่ให้ประดับธงเฉยๆ ไม่หยุด
ประดับไฟนั้น เป็นการให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีก
ถ้าสำคัญมากๆ ก็จะให้มีงานมหกรรมด้วย
สมัยสมบูรณาญาสิทธราช ก็มีวันเฉลิมฯของในหลวง ที่มีประดับไฟ กับ จัดมหกรรมด้วย แต่เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำสมัย ร.7 ก็เลิกมหกรรมไป
เมื่อคณะราษฎรขึ้นสู่อำนาจ มีอยู่ 2 งาน ที่ถูกให้ความสำคัญถึง "ระดับ 4" คือ 10 ธันวา และ 24 มิถุนา
กรณี 24 มิถุนา นั้น มีมหกรรมอยู่ได้เพียง 5 ปี (ถึงปี 2486) ก็เลิกเพราะสงคราม และหลังสงครามก็ไม่ได้กลับมาจัดอีก
ส่วน 10 ธันวา นั้น งานมหกรรม เมื่อเกิดสงครม ถูกเลิกไปก่อน 24 มิถุนา แต่พอหลังสงคราม ก็รื้อฟื้นใหม่ และเป็นวันสำคัญวันเดียวทั้งปี ที่ถูกให้ความสำคัญถึงระดับนี้ วันเฉลิมพระชนมในหลวงนั้น หลัง 2475 ไม่เคยมีงานระดับมหกรรม
เมื่อ สฤษดิ์เป็นใหญ่ และประกาศรื้อฟื้นประเพณีที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อย่างเป็นระบบ (ช่วงจากครึ่งหลังของ 2502 ถึงต้นปี 2504 ซึ่งผมกล่าวในบทความว่าเป็น ช่วงปีเศษที่เปลี่ยนสถานะของสถาบันกษัตริย์ในวัฒนธรรมการเมืองไทยหลัง 2475) ก็รื้อฟื้นงานเฉลิมพระชนมพรรษาในหลวง (ที่เลิกไปตั้งแต่ก่อน 2475) ขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี (5 ธันวา 2502) และเลิกงาน 10 ธันวาไปพร้อมๆกัน แต่สฤษดิ์เองไม่ได้ "รื้อฟื้น" งานเฉลิมฯพระราชินี เพราะอย่างที่เห็นกันว่า ไม่มีประเพณีให้ความสำคัญกับพระราชนีในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ให้ "รื้อฟื้น" ได้ อย่างไรก็ตาม ผมเข้าใจว่า การให้ความสำคัญระดับ ประดับไฟ สำหรับ 12 สิงหา คงเกิดขึ้นในสมัยสฤษดิ์หรือถนอมนี้เอง ตรงนี้ยังไม่ยืนยัน
แต่ เฉพาะระดับมหกรรม ที่ปัจจุบันรู้จักในนาม "12 สิงหา มหาราชินี" นั้น ความจริง ต้องนับว่าเป็นสิ่งใหม่มาก เพราะเพิ่งจัดครั้งแรกในปี 2542 นี้เองงาน "5 ธันวา มหาราช" เริ่มจัดครั้งแรกปี 2520 ซึ่งต้องนับว่าเป็นผลผลิตของการเมืองในช่วง 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา โดยตรง
แม้จะมีการจัด 12 สิงหา ในระดับ "มหกรรม" ครั้งหนึ่ง ในปี 2535 แต่ถือเป็นกรณีพิเศษครั้งเดียว (one-off) เพราะเป็นปี 60 พรรษา
ผม ได้รับการบอกเล่าว่า ความจริง ผู้จัดงาน "5 ธันวา มหาราช" คือ มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช มีความต้องการจัด "12 สิงหา มหาราชินี" ตั้งแต่ก่อนปี 2542 (งานปี 2535 รัฐบาลเป็นคนจัดให้เป็นพิเศษ)
แต่ ทางสำนักพระราชวังเอง เกรงว่าจะทำให้ดูเหมือน "ใหญ่" เทียบกับงาน "5 ธันวา มหาราช" จึงไม่สนับสนุน สำนักพระราชวัง เพิ่งมา "ไฟเขียว" ให้มูลนิธิฯจัด "12 สิงหา มหาราชินี" ด้วยได้ในปี 2542 โดยถือเอาช่วงครบ 50 ปี ราชาภิเศกสมรส นั่นเอง
และจัดต่อมาจนถึงปัจจุบัน (มูลนิธิฯ เป็นเจ้าภาพจัด แต่ตั้งเป็นคณะกรรมการคนละชุด กับ "5 ธันวามหาราช")
*****
หมายเหตุไทยอีนิวส์:ส่วนเรื่องต่อไปนี้ดร.สมศักดิ์เขียนเพิ่มเติมในเฟซบุ๊ค เมื่อ 12 สิงหาคม 2554
ข้อมูล อันหนึ่งที่ผมเขียนเมื่อ 7 กว่าปีก่อนว่า ผมไม่แน่ใจ ตอนนี้ ผมได้เช็คแล้ว ยืนยันสิ่งที่เขียนแบบเดาๆไว้ คือ เรื่องวันหยุดราชการสำหรับคู่สมรสของกษัตริย์ หรือราชินีที่เป็นประมุขในประเทศสำคัญๆอื่นๆ ว่า ไม่มีจริงๆ
ดังที่ผมเขียนในบทความดังกล่าว
ประเทศไทย ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ไม่เคยมี วันหยุดราชการสำหรับพระราชินี
ที่ อยากจะเขียนเพิ่มเติมในทีนี้คือ ในประเทศประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข ที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ไม่มีวันหยุดราชการสำหรับวันเกิดของกษัตริย์ (หรือราชินีที่เป็นประมุข) ด้วยซ้ำ
ยิ่ง ไม่ต้องพูดถึงคู่สมรสของกษัตริย์หรือราชินีที่เป็นประมุข (แม้แต่ สหราชอาณาจักร วัน Queen's Birthday ก็ไม่นับเป็นวันหยุดราชการพิเศษ special public holiday - ดูคำอธิบายข้างล่าง)
ยก เว้นญี่ปุ่น ที่มีวันหยุดราชการ วันเกิดจักรพรรดิ (แต่ก็ไม่มีวันหยุดราชการสำหรับจักรพรรดินี) และ เนเธอร์แลนด์ มีวันที่เรียกว่า Queen's Day อยู่ แต่ไมใช่วันเกิดจริงๆของ ควีนเบียทริกซ์ - เป็นวันเกิดของแม่ของเธอ ผุ้ล่วงลับไปแล้ว - แต่ก็นับเป็นวันหยุดในฐานะ "วันเกิดราชินี" ทีเป็นทางการให้ แต่เช่นเดียวกับญี่ปุ่น เนเธอแลนด์ ไม่มีวันหยุดราชการสำหรับคู่สมรสของประมุข เช่นกัน
เบลเยี่ยม
http://en.wikipedia.org/wiki/Public_holidays_in_Belgium
เดนมาร์ค
http://en.wikipedia.org/wiki/Public_holidays_in_Denmark
ญี่ปุ่น
http://en.wikipedia.org/wiki/Public_holidays_in_Japan
เนเธอร์แลนด์
http://en.wikipedia.org/wiki/Public_holidays_in_the_Netherlands
สเปน
http://en.wikipedia.org/wiki/Public_holidays_in_Spain
สวีเดน
http://en.wikipedia.org/wiki/Public_holidays_in_Sweden
สหราชอาณาจักร
http://en.wikipedia.org/wiki/Public_holidays_in_the_United_Kingdom
กรณี ที่ Queen's Birthday ไม่ใช่วันหยุดราชการพิเศษ หรือ special public holiday นั้น ก่อนอื่น ต้องเข้าใจว่า Queen's Birthday ไมใช่วันเกิดจริงๆของควีน เป็นวันที่เขากำหนดให้เป็นวัน Queen's Birthday โดยกำหนดไว้ให้ตรงกับวันเสาร์แรกหรือ เสาร์ที่ 2 ของเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นวันหยุดโดยปกติ ไม่ใช่วันทำงานอยู่แล้ว จึงไม่นับเป็นวันหยุดราชการพิเศษ
http://en.wikipedia.org/wiki/Queen's_Official_Birthday#United_Kingdom
แน่นอน สหราชอาณาจักร ไม่มีวันหยุดราชการ หรือไม่มีการให้ความสำคัญสำหรับวันเกิดของคู่สมรสควีน (ปริ้นซ์ฟิลลิปส์) เช่นกัน