ที่มา ประชาไท
Mon, 2012-08-13 23:27
หวั่นลำเอียงและเป็นบรรทัดฐานในการฟ้องคดีต่อกรรมการสหภาพแรงงาน
เอ็นจีโอ
และภาคประชาสังคมที่ใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมในโอกาส
ต่อไป
เมื่อวันที่ 6 ส.ค.55 ที่ผ่านมา
กลุ่มโครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปลอดการกดขี่ หรือ Clean Cloth
Campaign (CCC) โดย นางสาวเต็ตเซล (Ms. Tessel Pauli)
ผู้ประสานงานร้องเรียนเร่งด่วน
สำนักเลขาธิการต่างประเทศกลุ่มโครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปลอดการกด
ขี่ (Urgent Appeals Coordinator, Clean Clothes Campaign International
Secretariat) ได้ส่งจดหมายถึง ฯพณฯ เดวิด ลิปแมน
เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (Ambassador
Lipman Head of the EU Delegation to Thailand)
เรียกร้องให้เข้าร่วมสังเกตการณ์พิจารณาคดี ระหว่างวันที่ 23, 24, 28 - 30
ส.ค.นี้ ที่ศาลอาญา รัชดา
กังวลอย่างมากว่าการไต่สวนคดีนี้จะลำเอียงและเป็นบรรทัดฐานในการฟ้องคดีต่อ
ต่อกรรมการสหภาพแรงงาน เอ็นจีโอ และภาคประชาสังคมต่อไป
โดยจดหมายร้องเรียนระบุว่าในนามของ
กลุ่มโครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปลอดการกดขี่
ได้เคยติดต่อทางเอกอัครราชทูตฯ
มาแล้วหลายครั้งเกี่ยวกับการฟ้องคดีผู้นำแรงงานสามคน คือ น.ส.บุญรอด
สายวงศ์(อดีตเลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ) น.ส.จิตรา คชเดช
(ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ) และนายสุนทร
บุญยอด(เจ้าหน้าที่สภาศูนย์กลางแรงงาน)
ที่จัดชุมนุมอย่างสงบเพื่อประท้วงการปลดคนงานไทรอัมพ์ฯ กว่า 2,000 คน
ในวันที่ 28 ส.ค. 2552 (27 ส.ค.52 – ประชาไท)
ต่อมามีการฟ้องคดีกับผู้นำแรงงานทั้งสามคนตามมารตรา 215 และ 216
ของประมวลกฎหมายอาญา กรณีที่ชุมนุมหน้ารัฐสภา
เราได้ขอให้ท่านส่งตัวแทนเข้าสังเกตการณ์พิจารณาคดีในระหว่างวันที่ 23, 24,
28 - 30 ส.ค.นี้ที่ศาลอาญา รัชดา
นอกจากนี้ในจดหมายดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ได้ทราบว่าเอกอัครราชทูตฯ
มีความประสงค์เข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีในเดือนสิงหาคม ซึ่งทาง CCC
ได้เรียกร้องให้ทาง เอกอัครราชทูตฯ ได้ยืนยันกลับมาด้วยว่าจะเข้ารับฟัง
โดยทาง CCC
กังวลอย่างมากว่าการไต่สวนคดีครั้งนี้จะเป็นกรณีที่ลำเอียงและผู้นำแรงงาน
ที่ถูกกล่าวหาเสียเปรียบมาก และถือว่าเป็นคดีสำคัญอย่างยิ่ง
โดยจะกลายเป็นบรรทัดฐานในการฟ้องคดีต่อกรรมการสหภาพแรงงาน เอ็นจีโอ
และภาคประชาสังคมที่ใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมในโอกาส
ต่อไป
สำหรับ Clean Cloth Campaign (CCC)
เป็นองค์กรที่ทำงานรณรงค์คุ้มครองการละเมิดแรงงาน
ส่งเสริมการปรับปรุงสภาพการจ้างงานและหนุนช่วยการเสริมสร้างศักยภาพของคน
งานในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วโลก มีสำนักงานประจำอยู่ใน 15
ประเทศในยุโรปและทำงานกับ เครือข่าย 250 องค์กรทั่วโลก
ทั้งนี้การชุมนุมเมื่อวันที่ 27 ส.ค.52 ที่เป็นเหตุให้ 3
ผู้นำแรงงานดังกล่าวดำเนินคดี "ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10
คนขึ้นไปก่อการวุ่นวานขึ้นในบ้านเมือง
โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สังการในการกระทำความผิดนั้น
เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิดนั้นให้เลิกแล้วไม่
เลิก" ในคดีหมายเลขดำที่ อ.620/2554 ซึ่งมีพนักงานอัยการ
สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 สนง.อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ นั้น
เป็นการชุมนุมของคนงานจากสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศ
ไทย, สหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และ แม็คคานิคส์ ในเครือบริษัทเอนี่ออน
อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และคนงานบริษัท เวิลด์เวลล์การ์เม้นท์
พร้อมองค์กรแรงงานและประชาชนกว่า 1,000 คน ไปยังทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา
เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหลังจากได้ยื่นเรื่องต่อนายก
รัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะนั้น) ก่อนหน้านั้น
โดยในวันดังกล่าว มีการใช้เครื่องขยายเสียงระดับไกล หรือ LRAD
กับผู้ชุมนุมด้วย ซึ่งหลังจากนั้น
นักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งได้ทำหนังสือประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เรียกร้องให้ถอนการออกหมายจับโดยทันที
รวมถึงเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย
เรื่องที่เกี่ยวข้อง :
สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย http://prachatai.com/category/สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย