WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, August 14, 2012

4 เดือน "นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิฯ" จ่ายชดเชยแล้วกว่า 50 ล้าน

ที่มา ประชาไท

 
(12 ส.ค.55) นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จากผลการดำเนินงานนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน ถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ผลการดำเนินการ 4 เดือน จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 พบว่า มีผู้ป่วยเข้าถึงบริการ 4,080 ราย จากโรงพยาบาลเอกชน 205 แห่ง เป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพ 2,526 ราย หรือร้อยละ 69.91 สิทธิข้าราชการ 1,135 รายหรือร้อยละ 27.82 สิทธิประกันสังคม 409 รายหรือร้อยละ 10.01 ผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ 6 รายหรือร้อยละ 0.15 และสิทธิรัฐวิสาหกิจ 4 รายหรือร้อยละ 0.10
ทั้งนี้เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของแต่ละสิทธิพบว่า สิทธิข้าราชการเข้าถึงบริการสูงสุด ในอัตรา 23 คนต่อประชากร 10,000 คน ขณะที่สิทธิหลักประกันสุขภาพ อัตรา 5 คนต่อประชากร 10,000 คน และสิทธิประกันสังคม 4 คนต่อประชากร 10,000 คน
เลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า สำหรับประเภทการบริการ เป็นบริการผู้ป่วยนอก 939 รายหรือร้อยละ 23.01 ผู้ป่วยใน 3,137 รายหรือร้อยละ 76.89 เป็นผู้ป่วยเร่งด่วน 2,100 รายหรือร้อยละ 51.47 ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต 1,980 รายหรือร้อยละ 48.53 ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการรักษาจนกระทั่งหายร้อยละ 57.3 ร้อยละ 31.2 มีการส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่นต่อ และร้อยละ 9.5 เสียชีวิตเนื่องจากการเจ็บป่วยขั้นวิกฤต
ผู้ป่วยส่วนมากนอกรักษาตัวในโรงพยาบาล 1 วัน และมีวันนอนเฉลี่ย 3.4 วัน จำนวนวันนอนสูงสุดคือ 48 วัน อย่างไรก็ตามพบว่า ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่ให้บริการผู้ป่วยมากที่สุด 1,745 รายหรือร้อยละ 42.8 รองลงมาคือสาขาเขตสระบุรี 470 ราย และสาขาเขตเชียงใหม่ 410 ราย
นายแพทย์วินัย กล่าวว่า ในส่วนของการจ่ายชดเชยนั้น จ่ายเงินชดเชยแล้ว 2,982 ราย จำนวนเงิน 57,406,274 บาท ยังไม่สามารถจ่ายชดเชยได้ 1,098 ราย เนื่องจากข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ ต้องมีการแก้ไขข้อมูลใหม่ ขณะที่ยอดเรียกเก็บเงินเฉลี่ย ต่อครั้ง 61,175 บาท และจากข้อมูลรายที่จ่ายชดเชยแล้วเป็นกรณีผู้ประสบภัยจากรถ 251 ราย ซึ่ง สปสช.ในฐานะเคลียริ่งเฮาส์ ได้ทำการหักค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 15,000 บาททั้งหมด ซึ่งเงินที่หักนี้ผู้ป่วยหรือโรงพยาบาลต้องไปเรียกเก็บจากกองทุนผู้ประสบภัย จากรถเอง
และเมื่อหักเงินส่วนนี้แล้วจะแย่งเป็น 2 กรณีคือ 1. ที่ยังต้องจ่ายเงินส่วนเกินให้โรงพยาบาล 149 ราย เป็นเงิน 5,585,905 บาท 2.ไม่ต้องจ่ายเงินให้โรงพยาบาล เพราะอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 15,000 บาท จำนวน 106 ราย เป็นยอดที่ผู้ป่วยหรือโรงพยาบาลต้องไปเรียกเก็บจากกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ 689,094 บาท ซึ่งตรงนี้เกิดปัญหากับทางโรงพยาบาล เพราะมีผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถเก็บหลักฐานเพื่อประกอบการเบิกจ่ายได้ทัน
“ในส่วนปัญหาและอุปสรรคนั้น ยังคงมีปัญหาที่โรงพยาบาลเอกชนเห็นว่าอัตราเงินชดเชยน้อยกว่าต้นทุน การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเมื่อพ้นภาวะวิกฤต และกรณีผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินไม่ได้ รวมถึงการรับรู้ของผู้ป่วยกับการใช้สิทธิ และการปรับระเบียบของแต่ละกองทุนเพื่อรองรับหลักเกณฑ์กลาง เช่น กรณีฆ่าตัวตาย ที่สิทธิประกันสังคมยังไม่ครอบคลุม เป็นต้น ซึ่งปัญหานี้ สปสช.จะนำเสนอเพื่อปรับปรุงและแก้ไขตามกระบวนการต่อไป” เลขาธิการ สปสช.กล่าว