WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, August 17, 2012

อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาชี้หญิงหมิ่นเบื้องสูง แม้ป่วยทางจิตก็มีสิทธิ์ติดคุก

ที่มา ประชาไท

 

 
16 ส.ค. 55 - ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงาน ว่านายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวถึง การดำเนินคดีกับนางฐิตินันท์ (ประชาไทขอสงวนนามสกุล) อายุ 63 ปี ที่ก่อเหตุไม่เหมาะสมต่อพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หน้าศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา ข้อหาหมิ่นสถาบันเบื้องสูง มาตรา 112 ว่า กรณีที่ผู้ต้องหาหรือผู้ถูกกล่าวหาอ้างในชั้นพนักงานสอบสวนว่ามีความบกพร่อง ทางจิตนั้น พนักงานสอบสวนจะต้องส่งไปตรวจสภาพจิตกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ได้ข้อสรุปว่า ผู้ต้องหาป่วยเป็นโรคจิตหรือวิกลจริตจริงดังที่กล่าวอ้างหรือไม่ โดยเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องตรวจพิสูจน์ตามขั้นตอนกระบวนการ เช่น ทำแบบทดสอบสภาพจิต หรือหาข้อมูลว่าเคยมีประวัติรักษาอาการทางจิตหรือไม่ เพื่อให้ข้อสรุปว่า ผู้ต้องหาป่วยเป็นโรคจิตถาวร หรือชั่วคราว แต่ยังพูดคุยรู้เรื่อง รู้สึกผิดชอบอยู่บ้าง
       
เนื่องจากจะมีผลต่อการพิจารณาคดีในชั้นศาล คือ หากผู้ต้องหาเป็นโรคจิตถาวร ก่อเหตุและกระทำผิดไปโดยไม่สามารถบังคับตัวเองได้ ก็อาจจะเข้าข่ายไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าผู้ต้องหามีอาการทางจิตชั่วครั้งชั่วคราว หรือสามารถพูดคุยรู้เรื่องบ้าง ก็อาจจะถูกลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษที่ระบุไว้ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 ระบุไว้ว่า ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิด นั้นเพียงใดก็ได้
       
ทั้งนี้ ความผิดมาตรา 112 นั้นมีอัตราโทษจำคุก ตั้งแต่ 3-15 ปี ดังนั้นหากผลตรวจของแพทย์ได้ข้อสรุปว่า ผู้ต้องหามีอาการทางจิต แต่รู้สึกผิดชอบ หรือบังคับตัวเองได้บ้าง ศาลก็อาจจะใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกน้อยกว่าที่กำหนดไว้ เช่น จำคุก 1 ปี หรือจำคุก 2 ปี
       
อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ กฎหมายให้งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีไว้ก่อน และให้ส่งตัวผู้นั้นไปรักษายังโรงพยาบาลโรคจิตตามแต่สมควรหรือจนกว่าจะ สามารถต่อสู้คดีได้
       
“คดีที่ป่วยทางจิตจะดูไม่ยาก เพราะส่วนใหญ่จะมีประวัติการป่วยและการรักษา อย่างเช่น คดีคนร้ายกราดยิงผู้ชมหนังแบทแมนที่โรงภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกาเมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้เสียชีวิต 12 ศพ ก็พบว่าคนร้ายเคยมีประวัติการรักษาอาการทางจิตมาก่อน ซึ่งกรณีเดียวที่ทำผิดแล้วไม่ต้องรับโทษ คือต้องป่วยเป็นโรคจิตจริงๆ เท่านั้น เชื่อว่าไม่สามารถแกล้งป่วยกันได้”