ที่มา Thai E-News
15 สิงหาคม 2555
ที่มา ประชาไท "ศาลปกครองยกฟ้อง คดีร้อง 11 หน่วยงานรัฐนำที่ป่าพรุออกเอกสารสิทธิสร้างโรงถลุงเหล็ก"
ศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้อง กรณีชาวบางสะพาน จ.ประจวบฯ ฟ้องเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินบริษัทเครือสหวิริยา 18 แปลง ชี้ไม่ใช่ที่หวงห้ามออกหนังสือรับรองได้ -อธิบดีกรมที่ดินตั้ง กก.สอบแล้ว ไม่ละเลยหน้าที่
ภาพโดย: Nipawan Kaewkhow
วันที่ 15 ส.ค.55
ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และชาวบ้าน
อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ รวม 51 คน ฟ้องร้องหน่วยงานรัฐ 11 หน่วยงาน
เมื่อเดือน ธ.ค.51กรณีหน่วยงานทางปกครอง
หรือเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
โดยปล่อยให้มีการนำพื้นที่ป่าพรุ ป่าชายเลน หรือป่าเสม็ด ไปออกเอกสารสิทธิ
พร้อมร้องขอให้กรมที่ดินมีคำสั่งเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินของบริษัทในเครือ
สหวิริยา จำนวน 18 แปลง รวมเนื้อที่ 310 ไร่ 74 ตารางวา โดยมี
บริษัทประจวบพัฒนาดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (บริษัทสหวิริยา) เป็นผู้ร้องสอด
หน่วยงานรัฐ ผู้ถูกฟ้องที่ 1-11 ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
(อบต.) แม่รำพึง นายก อบต.กำเนิดนพคุณ เจ้าพนักงานที่ดิน
จ.ประจวบคีรีขันธ์ สาขาบางสะพาน นายอำเภอบางสะพาน
ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมป่าไม้
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยระบุว่า ศาลพิเคราะห์คำฟ้อง
ข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำนวน 18 แปลง
เป็นกรณีการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะราย
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 จำนวน 8 แปลง
และกรณีการขอออกตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองทำ
ประโยชน์ตามมาตรา 58 จำนวน 10 แปลง
ซึ่งข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานเอกสารในการออกหนังสือรับรองทำประโยชน์ น.ส.3,
น.ส.3 ก. สอดคล้องกับรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงวันที่ 2 ก.ค.50
ที่คณะกรรมการซึ่งผู้ถูกฟ้องที่ 6 ตั้งขึ้น
กรณีมีผู้ร้องเรียนการออกเอกสารสิทธิ ซึ่งฟังได้ว่าการออก น.ส.3 และ
น.ส.3 ก.ที่ดิน 18 แปลงระหว่างปี 2507-2523
หลักเกณฑ์ขณะนั้นเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 และฉบับที่ 5 (พ.ศ.2497)
ที่ออกตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
โดยอาศัยหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)
และได้มีการสอบสวนพิสูจน์การทำประโยชน์
ซึ่งทุกแปลงผู้ยื่นคำขอต่างยืนยันว่าได้ครอบครองและทำประโยชน์จากที่ดินดัง
กล่าว และมีการประกาศคำขอ คำรับรองเพื่อให้มีการคัดค้าน
และผู้ปกครองท้องที่ก็ได้รับรองว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ที่ดินที่ราษฎรใช้
ประโยชน์ร่วมกัน หรือที่สงวนหวงห้าม หรือที่ดินซึ่งราชการเห็นว่าควรสงวนไว้
เพื่อทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีจำนวน 14
แปลงที่ผู้ยื่นคำขอมีหลักฐานเป็นแบบการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)
มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่
กรณีนี้จึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเกณฑ์ที่อาจออกหนังสือรับรองการทำ
ประโยชน์ น.ส.3 และ น.ส.3 ก.ให้ได้
กรณีจึงถือว่ามีการออกหนังสือรับรองตามหลักเกณฑ์ประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว
ส่วนที่เมื่อมูลนิธิสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย
กล่าวหาว่ามีการออกเอกสารสิทธิในที่ดินป่าพรุ ม.7 ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน
จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 22 แปลงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น อธิบดีกรมที่ดิน
ผู้ถูกฟ้องที่ 6 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้เพิกถอน
น.ส.3 ก.จำนวน 1
ฉบับที่มีการนำหลักฐานสำหรับที่ดินแปลงอื่นมาใช้เป็นหลักฐานแล้ว
ผู้ถูกฟ้องจึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
จึงพิพากษายกฟ้อง
นางจินตนา แก้วขาว
ประธานกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด อ.บางสะพาน
จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า หลังจากนี้จะมีการยื่นอุทธรณ์ต่อไป
เพื่อคัดค้านการเดินหน้าของกลุ่มนายทุน ที่จะทำ EIA
และนำไปสู่การตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจรและโรงถลุงเหล็ก
ทั้งนี้ ข้อมูลของชาวบ้าน
พื้นที่ดังกล่าวคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยคณะอนุกรรมการชุดที่ดิน
และป่าไม้ตรวจสอบแล้วพบว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าว ไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์
หรือเป็นอยู่อาศัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
และมีสภาพระบบนิเวศเป็นป่ากระจูด ป่าจาก ป่าเสม็ด
ซึ่งเป็นป่าพรุที่สมบูรณ์มีอายุไม่ต่ำกว่า 300 ปี
จึงไม่ควรมีการออกเอกสารสิทธิ์
ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 14 ส.ค.55
เครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 8 องค์กร
และชาวบ้านเสื้อเขียวกว่า 200 คน ร่วมกิจกรรมที่ศาลหลักเมือง
จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยนำหัวหมู ไก่ ผลไม้ ดอกไม้
ธูปเทียนมาถวายเพื่อเป็นการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอช่วยดลบันดาลให้ชาวประ
จวบฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการปกป้องป่าพรุแม่รำพึงเพื่อลูกหลานสืบไป
ก่อนเดินทางไปฟังคำพิพากษาศาลปกครอง
ภาพโดย: R-thitaya Yeesan
ทั้งนี้ ชาวบ้านตั้งข้อสังเกตว่า
ในการประชุมร่วมระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
และเครือสหวิริยา เมื่อวันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา
ตัวแทนจากเครือสหวิริยาได้แจ้งต่อ กนอ.ว่า
เรื่องที่ดินบริเวณดังกล่าวซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งโรงถลุงเหล็กและเป็นส่วน
หนึ่งของพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ
กนอ.ได้มีข้อยุติแล้วตามคำสั่งศาลและพร้อมส่งเอกสารคำสั่งศาลให้แก่ กนอ.
สื่อความหมายว่าเอกชนได้รู้คำพิพากษาของศาลก่อนศาลปกครองจะอ่านคำพิพากษาใน
วันที่ 15 ส.ค.นี้ เป็นระยะเวลาเกือบ 1 เดือน
“ถ้าเป็นจริงตามนี้ พวกเราเห็นว่า ณ บัดนี้ชาวบ้านประจวบฯ ยังคงหวังพึ่งได้แต่เพียงศาลหลักเมือง ให้ทรงสถิตย์ไว้ซึ่งความยุติธรรมในการช่วยปกป้องป่าพรุแม่รำพึงให้ยังคงเป็น สมบัติของแผ่นดินสืบไป” ตัวแทนชาวบ้านกล่าว