WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, August 14, 2012

บุก ‘ปุโละปุโย’ ดูภารกิจทหารทำกับชาวบ้านช่วงรอมฎอน

ที่มา ประชาไท

 
การปรับเปลี่ยนที่มาพร้อมคำสั่ง กับ‘3 ข้อไม่ 5 ข้อควร’ ให้กำลังพลปฏิบัติ ชาวบ้านยันยังไม่กระทบวิถีชีวิตปกติ
บรรยากาศหลังละศีลอดร่วมกันในเดือนรอมฎอน
ระหว่างทหารพรานกับชาวบ้านกาหยี ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
ค่ำวันหนึ่ง ที่มัสยิดหลังเล็กๆ ของบ้านกาหยี ชายฉกรรจ์ในชุดดำ พร้อมอาวุธครบมือกลุ่มหนึ่ง นั่งลงรับประทานอาหารในช่วงละศีลอดร่วมกับชาวบ้านประมาณ 20 กว่าคนอย่างเฮฮา บรรยากาศจึงดูแปลกแตกต่างไปจากวิถีปกติของชาวบ้าน
ทว่า ทหารชุดดำจากหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 22 บอกว่าเป็นกิจกรรมปกติในช่วงเดือนรอมฎอน คือการตระเวนไปร่วมกิจกรรมละศีลอดหรือมอบสิ่งของให้กับมัสยิดต่างๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ
ครั้งนี้ คือคิวของมัสยิดดารุสสลาม บ้านกาหยี หมู่ที่ 1 ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งครั้งหนึ่งในซีกหนึ่งของหมู่บ้าน บริเวณริมทางหลวงหมายเลข 43 ชาวบ้านตันหยงบูโละ อันเป็นกลุ่มบ้านย่อยของบานกาหยี คือจุดเกิดเหตุทหารพราน ยิงชาวบ้านขณะเดินทางไปละหมาดศพ จนเสียชีวิตไป 4 ศพ บาดเจ็บอีก 5 คนเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2555
หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น ความหวาดระแวงระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐจึงเพิ่มสูงขึ้น กระทั่งทางแม่ทัพภาคที่ 4 มีคำสั่งให้ย้ายกำกังทหารพรานชุดเดิมออกไปจากพื้นที่ และส่งทหารพรานจากหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 22 เข้ามาทำหน้าที่แทน เป็นกำลังที่มีฐานที่ตั้งเดิมอยู่ไกลถึงจังหวัดสกลนคร
เป็นทหารพรานชุดใหม่ ภายใต้การนำของ พ.อ.ชาคริต สนิทพ่วง ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 22 จึงพยายามเข้าหามวลชนมากขึ้น พยายามพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน สร้างความสนิทสนมและความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งกิจกรรมละศีลอดร่วมกับชาวบ้านก็เป็นส่วนหนึ่งของงานมวลชน ทว่าต้องปรับเปลี่ยนบางอย่างเพื่อความเหมาะสม
พ.ท.ธีรพงษ์ โอวาท รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 22 ระบุว่า ในช่วงเดือนรอมฎอน ทหารจะไม่มีกิจกรรมพบปะพี่น้องประชาชนในช่วงเวลากลางวัน แต่จะพบปะในช่วงกลางคืนเท่านั้น เช่น ร่วมละศีลอดกับชาวบ้านในพื้นที่หรือการมอบสิ่งของ
“เดือนรอมฎอนเป็นช่วงที่พี่น้องประชาชนที่อยู่นอกพื้นที่ได้กลับมายัง บ้านเกิดจำนวนมาก ดังนั้นการเข้าไปร่วมกิจกรรมละศีลอด จะเป็นช่วงเวลาในการทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนถึงการปฏิบัติงานของเจ้า หน้าที่ได้ดีที่สุด หรือหากประชาชนต้องการให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลืออะไร ก็สามารถร้องขอมาได้เลย”พ.ท.ธีรพงษ์กล่าว
ส่วนภารกิจทางด้านยุทธการ ก็มีการปรับเปลี่ยนเช่นกัน เช่น การตั้งด่านและการเดินลาดตระเวน ซึ่ง พ.ท.ธีรพงษ์ ระบุว่า มีการปรับลดกำลังในช่วงกลางวัน แล้วมาเพิ่มจำนวนในเวลากลางคืน เพื่อรักษาความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน ซึ่งการลาดตระเวนในช่วงกลางคืนนั้น มีการประสานให้ผู้นำในท้องถิ่นทราบล่วงหน้า
การปรับเปลี่ยนดังกล่าว สอดคล้องกับการที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้ออกคำสั่ง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติของกำลังพลต่อราษฎรไทยมุสลิมในห้วงเดือนรอมฎอน เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา โดยมี 3 ข้อไม่ควรปฏิบัติ และ 5 ข้อควรปฏิบัติ (หนังสือ มศ.กอ.รมน.ภาค 4 สน. ที่ นร5119.1 (มศ.)/ 1816) รวมทั้งยังระบุถึงความสำคัญของเดือนรอมฎอน เพื่อให้กำลังพลได้ทราบด้วย
ชาวบ้านกาหยีคนหนึ่ง บอกว่า การพบปะชาวบ้านในเดือนรอมฎอนของทหาร ก็เป็นหน้าที่ปกติของทหารที่จะมาพบชาวบ้าน ส่วนชาวบ้านก็ทำหน้าที่ปกติในเดือนรอมฎอน คือการประกอบศาสนากิจ ชาวบ้านไม่ได้มองเป็นเรื่องแปลก
เขาระบุว่า ชาวบ้านที่นี่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทหาร เพราะเมื่อ 2 ปีก่อน ทหารมอบเงิน 100,000 บาท ให้ชาวบ้านได้ต่อเติมมัสยิดจนเสร็จ พร้อมกับมอบสีทามัสยิดด้วย
“ที่สำคัญในหมู่บ้านนี้ไม่เคยเกิดเหตุไม่สงบแม้แต่ครั้งเดียว เจ้าหน้าที่จึงไม่มาตั้งด่านหรือเดินการลาดตระเวนในเวลากลางคืน ชาวบ้านยังสะดวกที่จะไปประกอบศาสนากิจในช่วงกลางคืน”
ขณะที่ชาวบ้าน อีกรายได้ยกกรณีเหตุทหารพรานยิงชาวบ้านเสียชีวิต 4 ราย เพราะเข้าใจว่าเป็นกลุ่มคนร้ายว่า ที่เกิดเหตุอยู่อีกซีกหนึ่งของหมู่บ้าน และอยู่ไกลจากมัสยิดประจำหมู่บ้านกาหยีพอสมควร แต่เหตุการณ์นั้นก็ทำให้ชาวบ้านรู้สึกระแวงเจ้าหน้าที่พอสมควร
“ตอนนี้น่ะหรือ ถ้าเจอทหาร เราก็ยิ้มครับ ส่งยิ้มไว้ก่อน เป็นเพื่อนกันดีกว่า”



‘3 ข้อไม่ 5 ข้อควร ให้กำลังพลปฏิบัติช่วงรอมฎอน
 
 
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้ออกคำสั่ง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติของกำลังพลต่อราษฎรไทยมุสลิมในห้วงเดือนรอมฎอน เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา โดยมี 3 ข้อไม่ควรปฏิบัติ และ 5 ข้อควรปฏิบัติ (หนังสือ มศ.กอ.รมน.ภาค 4 สน. ที่ นร5119.1 (มศ.)/ 1816)
 
สำหรับ ข้อไม่ควรปฏิบัติ ได้แก่
 
1. ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในสถานที่มีมุสลิมอยู่
 
2. ห้ามพูดจาไม่สุภาพ และใช้วาจาในการดูหมิ่นในการถือศีลอดของพี่น้องมุสลิม
 
3. ไม่สมควรที่จะเชิญประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมประชุม พบปะ ตั้งแต่ 12.00 น. หากจำเป็นจำเป็นควรปรึกษาผู้นำศาสนาในท้องถิ่น
 
ส่วนข้อควรปฏิบัติ ได้แก่
 
1. ร่วมละศีลอดกับผู้นำศาสนา และคณะกรรมมัสยิด ตามคำเชิญ
 
2. เยี่ยมเยียน พบปะ และมอบสิ่งของ (ที่ฮาลาล) ให้กับผู้นำศาสนา และคนยากจนตามความเหมาะสม
 
3. อำนวยความสะดวกในกรณีที่พี่น้องมุสลิมต้องเดินทางไปมัสยิดในเวลาก่อนรุ่งอรุณ เพื่อไปปฏิบัติศาสนากิจ
 
4. ในช่วงเวลา 19.30 น.จะต้องอำนวยการความสะดวกต่อพี่น้องมุสลิมที่จะต้องเดินทางไปละหมาดที่มัสยิดเป็นกรณีพิเศษ และจะสิ้นสุดเวลาประมาณ 21.30 น. ควรวางแผนออกพบปะเยี่ยมเยียนในห้วงเวลาที่เหมาะสม
 
5. ช่วงเวลาประมาณ 03.30 น. ทุกบ้านจะมีการประกอบอาหาร เพื่อรับประทานก่อนรุ่งอรุณ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด
 
ในคำสั่งดังกล่าว ยังระบุถึงความสำคัญของเดือนรอมฎอน เพื่อให้กำลังพลได้ทราบด้วยว่า เดือนรอมฎอนเป็นเดือนลำดับที่ 9 (จะ นับเดือนตามจันทรคติ) ตามปฏิทินของอิสลาม เป็นเดือนที่มีความประเสริฐมากกว่าเดือนอื่นๆ เป็นเดือนที่ประตูทุกบานของสวรรค์ถูกเปิดออก ประตูนรกทุกบานจะถูกปิดลงและเหล่ามารร้ายชัยฎอนจะถูกล่ามโซ่เอาไว้
 
อีก ทั้งเป็นเดือนที่มีผลรางวัลตอบแทนอย่างมหาศาลมากกว่าเดือนอื่นๆ เป็นทวีคูณสำหรับบุคคลที่ทำความดีในเดือนนี้ และในเดือนนี้มีซุนนะห์ (แบบอย่างจากศาสดา) ให้ทำเช่น การละหมาดตะรอเวียะห์ การเอียะอติกาฟ (การอยู่ในมัสยิดตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับ 10 วันสุดท้ายในเดือนรอมฎอน) อัล-กิยามุลลัย (การละหมาดหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป) เป็นต้นไป
 
และ ในเดือนรอมฎอนนี้ จะมีค่ำคืนหนึ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดคือคืนอัล-ก็อดร์ ซึ่งเป็นค่ำคืนที่มีความประเสริฐมากกว่าเดือนอื่นๆ ถึง 1,000 เท่า
 
ภารกิจ หลักในช่วงเดือนรอมฎอนของมุสลิมทุกคน(ที่มีความสามารถ)ไม่ว่าผู้ชายหรือ ผู้หญิง จะต้องงดเว้นจากการบริโภคทุกชนิด ตั้งแต่แสงรุ่งอรุณจนถึงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่จะสามารถบริโภคได้ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า (เวลาประมาณ 18.30 น.) จนกว่าก่อนแสงรุ่งอรุณ(เวลาประมาณ 04.20 น.)