ที่มา ประชาไท
Thu, 2012-08-16 21:33
มอบรางวัลเกียรติยศ “สันติประชาธรรม” สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคม ตามแนวทางของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ แก่ “พงศ์จรัส รวยร่ำ” ในงานครบรอบ 67 ปี วันสันติภาพไทย
Thu, 2012-08-16 21:33
มอบรางวัลเกียรติยศ “สันติประชาธรรม” สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคม ตาม

วันนี้ (16 ส.ค.55) มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
จัดพิธีมอบรางวัลสันติประชาธรรม ครั้งแรก แก่พงศ์จรัส รวยร่ำ
นักกฎหมายประเด็นสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ อดีตอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากองทัพภาค 2
และที่ปรึกษาอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา ศาลอาญาธนบุรี
สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคมตามแนวทางของ นายป๋วย อึ๋งภากรณ์
เพื่อให้สังคมเกิดความยุติธรรม เสมอภาค
ไม่มีความเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน
และใช้เหตุผลแก้ปัญหาให้เกิดสังคมสันติประชาธรรมอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ คณะกรรมการหาทุนและเลือกสรรบุคคล ระบุว่า
รางวัลเกียรติยศสันติประชาธรรมจะทำการมอบให้บุคคลที่ทำคุณแก่สังคมเป็นประจำ
ทุกปีต่อไป โดยในปีนี้มอบรางวัลเป็นเงิน 5 แสน และคำประกาศกิติคุณ
นอกจากนี้ การมอบรางวัลในวันสันติภาพไทยนั้นถือเป็นวันที่เหมาะสม
เนื่องจากเป็นวันที่เสรีไทยได้มอบคืนอาวุธที่ใช้ในการเคลื่อนไหวคืนให้
พันธมิตร หลังทำหน้าที่ตามที่ปฏิญาณไว้ โดยไม่ได้หวังลาภยศสรรเสริญ
ด้านพงศ์จรัส ในฐานะผู้เคลื่อนไหวประเด็นสิทธิมนุษยชนในภาคใต้กล่าวว่า
การที่รัฐใช้เงินไปโถมเพื่อการแก้ปัญหายิ่งเป็นการทำลายทำลาย
เพราะเงินถือเป็นตัวปัญหา หากอยากให้คนพุทธและมุสลิมกลับไปอยู่ร่วมกันได้
ต้องหยุดการแก้ปัญหาอย่างที่เคยทำมาอย่างการใช้ความรุนแรง เพราะหากจะฆ่า
ก็ฆ่าเท่าไหร่ไม่หมด และคนเหล่านั้นเขาไม่กลัวการใช้กำลัง
แต่กลัวบาปตามหลักการศาสนา
พงศ์จรัส กล่าวด้วยว่า สำหรับเงินที่ได้รับจะไม่นำไปใช้ส่วนตัว
แต่จะเอาไปใช้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นายป๋วย
อึ๋งภากรณ์ และผู้มอบรางวัลนี้
![]()
คำประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศ สันติประชาธรรม
สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคม ตามแนวทางของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์
นายพงศ์จรัส รวยร่ำ ปัจจุบันอายุ ๕๖ ปี เกิดวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.
๒๔๙๙ ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
จังหวัดนครศรีธรรมราช ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และมหาบัณฑิตทางรัฐศาสตร์
จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
และประกาศนียบัตรหลักสูตรการจัดการความขัดแย้งจากสถาบันพระปกเกล้า
เส้นทางการทำงานในวิชาชีพกฎหมายมีความหลากหลายอย่างเชื่อมโยงกัน
เริ่มต้นจากการเป็นทนายความของสำนักงานกฎหมายเสนีย์ ปราโมช
เข้าทำงานในวงการศึกษาในฐานะเป็นเลขานุการของ รศ.ดร.สมศักดิ์ สิงหพันธุ์
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
และทำงานการเมืองสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ซึ่งจากประสบการณ์ดังกล่าวหล่อหลอมให้นายพงศ์จรัส
รวยร่ำเป็นนักกฎหมายที่มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง ล้ำเลิศในข้อกฎหมาย
เจนจัดในข้อเท็จจริง และที่สำคัญมีสมัครพรรคพวกแทบทุกวงการ
อีกทั้งอุปนิสัยรักการใฝ่หาความรู้
ชอบอ่านหนังสือแนวปรัชญาและตั้งวงสนทนาวิสาสะกับมิตรสหายอย่างออกรส
จึงทำให้ทนายความผู้นี้ก้าวข้ามนักนิติอักษรศาสตร์ไปสู่แก่นสาระของกฎหมายใน
ฐานะนักยุติธรรม
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานายพงศ์จรัส รวยร่ำ
เป็นทนายความที่มีอุดมการณ์ในการทำงานมุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชนที่ด้อยโอกาส
ด้วยความเห็นใจในความทุกข์ยากและลำบากของเพื่อนมนุษย์
หรือผู้ที่ถูกเอาเปรียบทางสังคม ด้วยเด่นชัดในบุคลิกภาพที่โผงผาง
กล้าพูดอย่างตรงไปตรงมา และไม่สยบยอมกับอำนาจที่ไม่เป็นธรรม
บุคลิกภาพเช่นนี้คือมิตรแท้ที่จริงใจสำหรับผู้ที่รักความเป็นธรรมหรือถูก
ระบบรังแก ยิ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสด้วยแล้ว นายพงศ์จรัส
รวยร่ำเป็นดั่งความหวังและที่พึ่งสุดท้ายของผู้ทุกข์ทน
จึงไม่แปลกใจเลยที่พุทธศาสนิกชนศิษย์สำนักสวนโมกขพลารามผู้นี้จะผ่านการคัด
สรร
และได้รับการประทานโอกาสจากองค์อัลลอฮ์ให้มีศรัทธาร่วมกับพี่น้องมุสลิมใน
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการต่อสู้จากความอยุติธรรมทั้งปวง เช่น
การต่อสู้ทางคดีให้เปิดสอนโรงเรียนอิสลามบูรพา
ภายหลังจากถูกทางการกล่าวหาว่าเป็นแหล่งก่อการร้ายและสั่งปิด
การต่อสู้เพื่อพิทักษ์มรดกทางวิถีประชาราษฎร์
(ผลักดันให้มีการจัดการสอนภาษาอาหรับผ่านระบบการศึกษาทางไกลกับมหาวิทยาลัย
นานาชาติมาดีนะฮ์และคัดค้านนโยบายปิดโรงเรียนปอเนาะ)
ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาในคดีก่อการร้าย หรือ
การเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่พี่น้องมลายู ฯลฯ
นอกจากประเภทงานร้อนแล้วเขาได้พยายามกระชับพื้นที่ประสานความไว้เนื้อเชื่อ
ใจระหว่างเพื่อนฝ่ายรัฐ (การเมือง กองทัพ ฝ่ายปกครอง)
กับผู้นำศาสนาอย่างแยบคาย ทั้งนี้ ไม่นับน้องๆ
เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เขาให้การอุดหนุนทางการศึกษาและประกอบอาชีพซึ่งไม่น่าจะ
น้อยกว่าหลักพันคน
เมื่อครั้ง นายพงศ์จรัส
รวยร่ำเป็นอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ก็ได้อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นในหลายเรื่อง
และเป็นผู้ริเริ่มโครงการฝึกอาชีพและปรับทัศนคติให้กับผู้ต้องสงสัยในคดีก่อ
ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยแลกเปลี่ยนกับการไม่ถูกดำเนินคดีจาก
ทางการ แม้โครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อตัวเขาก็ตาม
แต่เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงจุดยืนที่มั่นคงและความกล้าหาญทางจริยธรรมที่
เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นสำคัญกว่าตนเอง
ปัจจุบันนายพงศ์จรัส
รวยร่ำได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษาของกองทัพภาคที่ ๒
และที่ปรึกษาอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา ศาลอาญาธนบุรี
และเป็นอาจารย์พิเศษในหลายสถาบันการศึกษา
จึงเป็นเครื่องรับรองคุณภาพได้เป็นอย่างดี
จากปฏิปทาที่ผ่านมาทำให้เชื่อว่า นายพงศ์จรัส รวยร่ำ
ไม่ใคร่ใส่ใจต่อลาภ เกียรติยศ และการสรรเสริญ
แต่ท่ามกลางวิกฤตศรัทธาต่อวงการกฎหมายไทยในปัจจุบัน ยิ่งประจักษ์ว่า
นักกฎหมายที่มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณเพื่อสาธารณะเช่นนายพงศ์จรัส
รวยร่ำนั้น นับเป็นแบบอย่างของ “นักนิติสามัญสำนึกศาสตร์”
ที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยประดุจแสงไฟเพื่อส่องทางให้แก่ประชาราษฎร์ผู้ทุกข์
ระทม จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเป็น
ผู้ที่เหมาะสมกับการประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศสันติประชาธรรมสำหรับ
บุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคมตามแนวทางของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ยิ่งนัก
ที่มา: Sulak Sivaraksa
|