WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 16, 2012

ส่องเทรนด์ "หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง" เครือข่ายชั้นนำใหม่?

ที่มา ประชาไท

 

"นวลน้อย ตรีรัตน์" ศึกษาหลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูง 6 สถาบันชั้นนำ เชื่อเป็นช่องทางให้กลุ่มทุนใหม่ขึ้นเป็นชนชั้นนำ แต่คนข้างล่างยังไร้การต่อรองเหมือนเดิม "อานันท์ กาญจนพันธุ์" ชี้หลักสูตรฯ เป็นพื้นที่กลั่นกรองผู้นำ ที่ภาครัฐ-ธุรกิจวางใจ สะท้อนภาพ "ประชาธิปไตยไทย"

(15 ส.ค.55) นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนองานวิจัยเรื่อง "เครือข่ายผู้บริหารระดับสูง" ซึ่งจัดทำร่วมกับ ภาคภูมิ วาณิชกะ ในงานสัมมนาทางวิชาการเพื่อการเสนอผลงานวิจัย "สู่สังคมไทยเสมอหน้า การศึกษาโครงสร้างความมั่งคั่งและโครงสร้างอำนาจเพื่อการปฏิรูป" ที่ศูนย์สารนิเทศ จุฬาฯ
โดยงานวิจัยดังกล่าวศึกษาโครงสร้างอำนาจจากการวิเคราะห์เครือข่ายความ สัมพันธ์และความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและองค์กรในระดับสูง หรือชนชั้นนำในสังคมทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยพิจารณากลไก วิธีการ และกระบวนการที่ก่อให้เกิดความร่วมมือที่ทำให้เกิดการสร้าง รักษา และสืบทอดอำนาจ และเชื่อมโยงถึงการสะสมความมั่งคั่ง โดยศึกษาหลักสูตรผู้บริหาร 6 หลักสูตร ได้แก่
(1) หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
(2) หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) ของวิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม
(3) หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) ของสถาบันพระปกเกล้า
(4) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(5) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ (TEPCoT) ของหอการค้าไทย
(6) หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) สถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง
จาก 6 หลักสูตรแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงที่บริหารจัดการโดยหน่วยงานภาครัฐ ประกอบด้วย 4 หลักสูตร คือ วปอ. (รวมทั้งหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) และหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐเอกชนและการเมือง (วปม.)) บ.ย.ส., ปปร. และ พตส.
กลุ่มที่ 2 คือ หลักสูตรที่บริหารจัดการโดยหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐ ประกอบด้วย 2 หลักสูตร คือ วตท. และ (2) TEPCoT
เป้าหมายของกลุ่มที่ 1 จะเน้นพัฒนาศักยภาพหรือแนวคิดของผู้เข้าเรียน มีการประเมินผลอย่างชัดเจน เป้าหมายของการศึกษามีลักษณะกว้างและเป็นประโยชน์สาธารณะ โดยเครือข่ายที่หลักสูตรสร้างขึ้นไม่มีบทบาทในการผลักดันผลประโยชน์ที่ เกี่ยวข้องกับเจ้าของหลักสูตรชัดเจนนัก ขณะที่กลุ่มที่ 2 เน้น "กล่อมเกลาทางความคิด" ให้คนที่เข้ามาเกิดความเชื่อแบบเดียวกันเป็นหลัก และจะมีการผลักดันข้อตกลงหรือแนวคิดบางประการจากเครือข่ายที่หลักสูตรสร้าง ออกไปด้วย
การสร้างเครือข่ายของหลักสูตร แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1.การคัดเลือกบุคคลเข้ารับการศึกษา โดยกลุ่มที่ 1 ซึ่งจัดโดยราชการ เน้นผู้เรียนที่เป็นผู้บริหารระดับกลางที่เป็นดาวรุ่ง หรือผู้นำในอนาคต ขณะที่กลุ่มที่ 2 เน้นที่ผู้มีอำนาจบทบาททางเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม 2.การสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของหลักสูตร โดยทั้งสองกลุ่มเน้นการสร้างกิจกรรมทางสังคมที่ก่อให้เกิดการสร้างความ สัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของผู้เรียน โดยมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ ปฐมนิเทศ การรับน้อง มีสายรหัส 3.ตอกย้ำหรือรักษาความสัมพันธ์หลังสำเร็จการศึกษา โดยตั้งสมาคมศิษย์เก่า เพื่อดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระหว่างรุ่น

อาชีพของผู้เข้าเรียนในหลักสูตรต่างๆ

การตั้งเครือข่ายศิษย์เก่า
(ที่มา: สไลด์ประกอบการบรรยาย)

 
นวลน้อยยกตัวอย่างเครือข่ายที่เกิดขึ้นในระดับปัจเจก อาทิ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งผ่านการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงมา 3 หลักสูตร คือ วปอ. 34 (2534) วตท. 4 (2550) และ TEPCoT 2 (2552) ปัจจุบัน เขาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บมจ. ที.เค.เอส.เทคโนโลยี ซึ่งมีสุพันธุ์ มงคลสุธี กรรมการและรองประธานกรรมการบริษัทเป็นนักศึกษา วตท.รุ่นที่ 3 และณรงค์ จุนเจือศุภฤกษ์ กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบเป็นนักศึกษา วตท.รุ่น 4 และณรงค์เป็นรองประธานกรรมการ บมจ.มติชนในปัจจุบัน
ส่วนตัวอย่างของเครือข่ายเชิงสถาบันกับการผลักดันผลประโยชน์องค์กร นวลน้อยยกตัวอย่างของการจัดสัมมนาใหญ่ "ตลาดทุนไทย...ใครจะผ่าตัด" เมื่อปี 2551 โดย วตท.รุ่น 1-5 ซึ่งสามารถเชิญ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.คลัง ในขณะนั้นมาร่วมงาน และหลังจากนั้น นพ.สุรพงษ์ ได้เซ็นคำสั่งจัดตั้งแผนพัฒนาตลาดทุน ซึ่งมีคณะทำงานเกือบ 90% ผ่าน วตท.ทั้งสิ้น แผนนี้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วใน 1-2 ปี โดยมีเรื่องสำคัญคือ การเปลี่ยนสภาพตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นวาระของคนส่วนหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์อยู่ในแผนดังกล่าว การผลักดันนี้เข้าสู่กฤษฎีกาได้ในสมัยรัฐบาล ปชป. แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลก็พลิกล็อค โดยกิตติรัตน์ ณ ระนอง ซึ่งมาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไม่เห็นด้วยกับการแปรสภาพเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว ในฐานะผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เองมีความเกี่ยวเนื่องกับคนในตลาดบางส่วนที่ ต้องสูญเสียประโยชน์ สุดท้ายปลายปี 2554 เขาได้ขอถอนร่างออกจากกฤษฎีกา โดยอ้างว่าไม่ได้เป็นนโยบายรัฐบาล
ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีการรวมตัวเชิงสถาบัน และกล่อมเกลาทางความคิด หลายเรื่องเดินหน้าไปได้เร็ว แต่เนื่องจากคนเหล่านี้ไม่ใช่คนกลุ่มดียวในสังคม กลุ่มอื่นๆ จึงสามารถปะทะขัดขวางแรงขับเคลื่อนเหล่านี้ได้
นอกจากนี้ เมื่อเทียบหลักสูตรการศึกษาพิเศษเหล่านี้กับมหาเศรษฐีไทย 40 อันดับ จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ พบว่า นักธุรกิจที่มีธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐ จะไม่นิยมเข้าเรียน นอกจากนี้ พบว่า จาก 40 ตระกูล คนในแต่ละตระกูลนิยมเข้าเรียน วตท. 19 ตระกูล วปอ. 13 ตระกูล และ บ.ย.ส. และ ปปร. อย่างละ 6 ตระกูล
นวลน้อยตั้งคำถามว่า การรวมตัวของบุคคลชั้นนำผ่านหลักสูตรเหล่านี้จะก่อให้เกิดการผูกขาดอำนาจชน ชั้นนำมากขึ้นหรือไม่ หรือจะเกิดในลักษณะที่สองคือ เป็นช่องทางให้กลุ่มทุนใหม่ที่เติบโตจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัว แทรกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำ ซึ่งส่วนตัวแล้วเชื่อแบบที่สองมากกว่า
อย่างไรก็ตาม นวลน้อยชี้ว่า แต่เมื่อพิจารณาทั้งหมด ไม่ว่าจะส่งผลแบบใด ก็คงไม่ทำให้สังคมไทยเสมอหน้ามากขึ้น เพราะการเกาะเกี่ยวกันไม่ว่ารูปแบบไหน ทำให้การแสวงหาผลประโยชน์กระจุกตัวอยู่ที่ชนชั้นนำมากขึ้น โดยที่ประชาชนที่อยู่ภายนอกหรือระดับล่างย่อมเข้าไม่ถึง และสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นปัญหาในอนาคต

หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง: พื้นที่การเมืองใหม่

อานันท์ กาญจนพันธุ์ อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้วิจารณ์งานวิจัย กล่าวว่า หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงนี้เป็นพื้นที่ทางการเมืองใหม่ในสังคมไทย ที่คนไทยยังไม่ให้ความสำคัญนัก โดยถือเป็นพื้นที่กลั่นกรองผู้นำทางการเมืองและธุรกิจ ในแบบที่ไม่ใช่การเลือกตั้ง
อานันท์ กล่าวเสริมว่า ที่สังคมไทยมักคิดว่าผู้นำต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือความสามารถในระบบราชการนั้นไม่ใช่ เพราะระบบเมืองไทยไม่เปิด ระบบราชการและธุรกิจจึงต้องเปิดพื้นที่ของตัวเอง เพื่อกลั่นกรองผู้นำของตัวเองที่ตัวเองให้การยอมรับ หรือที่เรียกว่า "ความไว้วางใจ" ดังนั้นสำหรับตัวอย่างเรื่องตลาดหลักทรัพย์ข้างต้น เขามองว่าเป็นเรื่องของอำนาจกับความไว้วางใจมากกว่าเรื่องของเครือข่ายหรือ กลุ่มพรรคพวก เพราะจะเห็นว่าเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล นโยบายก็เปลี่ยน
อานันท์กล่าวว่า จากเรื่องดังกล่าว อาจมองได้ว่า ในสังคมไทยที่คิดว่ามีการเลือกตั้ง จริงๆ แล้วใช้รูปแบบเชิงซ้อนอยู่ตลอด ดึงอำนาจจากประชาชนไปหลายรูปแบบ อยู่ในที่ที่เขาควบคุมได้ จัดการได้ ประชาชนก็เล่นไปตามเกมที่เขาให้เล่น เลือกตั้งกันไป ดีใจกันไป แต่จริงๆ พื้นที่ที่เขาดึงเอาไว้มันมีอยู่แล้ว
นอกจากนี้ เขากล่าวด้วยว่า เป้าหมายหนึ่งของหลักสูตรต่างๆ ที่ต้องการหลอมความเข้าใจ ให้เกิดการทำงานเข้าขากันนั้น จริงๆ ไม่ต้องทำก็ได้ เพราะกลไกเสรีนิยมทำงานอย่างดีผ่านกลไกข่าวสารอยู่แล้ว ดังนั้น หลักสูตรเหล่านี้จึงไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะเลย เพราะประโยชน์สาธารณะไม่ใช่การเห็นด้วยแต่ต้องทำให้เห็นต่าง เพราะสังคมไทยต้องการการถกเถียงในกระแสเสรีนิยมใหม่ การคิดเหมือนกันจะยิ่งทำให้ปัญหาการขับเคลื่อนการพัฒนาเป็นไปได้ยากขึ้น และทำให้ไทยยังติดกับดับรายได้ชนชั้นกลางอย่างที่เป็นอยู่
สำหรับงานสัมมนาทางวิชาการเพื่อการเสนอผลงานวิจัย "สู่สังคมไทยเสมอหน้า การศึกษาโครงสร้างความมั่งคั่งและโครงสร้างอำนาจเพื่อการปฏิรูป” ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สนับสนุนโดย สกว. สกอ.และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดยศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 15-16 ส.ค.