WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, August 17, 2012

นี่ก็สั้นและกระชับ เพื่อการทำความเข้าใจ "เส้นทางสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของสาธารณรัฐฝรั่งเศส"

ที่มา Thai E-News

 16 สิงหาคม 2555
โดย รุ่งโรจน์ วรรณศูทร "เส้นทางสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของสาธารณรัฐฝรั่งเศส"



การปฏิวัติฝรั่งเศสกว่า จะเสร็จสิ้นลงจากการลุกขึ้นสู้และโจมตีคุกบาสตีย์ 1789 ตามมาด้วยการเกิดสาธารณรัฐที่ 1 ในปี 1793 จนถึงสาธารณรัฐที่ 3 ในปี 1875 เอาเข้าจริงๆ ก็ 86 ปี กว่าจะสิ้นสุดระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แล้วยังมีช่วงการปกครองวิชี 1940 ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จนมาถึงสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 และรัฐธรรมนูญ 1958 ปมเงื่อนคือ ถ้าใช้วาทกรรมตัดตอนประวัติศาสตร์ เป็นท่อนๆ ไม่เกี่ยวเนื่องกัน ก็จะทำให้มองไม่เห็น "ช้างทั้งตัว"

ในช่วงปฏิวัติใหญ่ 1789 มาจนถึง "คอมมูนปารีส 1871" และการสถาปนาสาธารณรัฐที่ 3 ทั้งฝ่ายประชาธิปไตย/สังคมนิยม และฝ่ายราชาธิปไตย ต่างฆ่าฟันล้มตายเป็นจำนวนมาก กิโยตินดื่มเลือดของทั้ง 2 ฝ่าย

ในขบวนการมักกล่าวอ้างหรือประกาศความเป็นประชาธิปไตยของไทย มักถูกทำให้ให้เข้าใจผิดในประเด็นการลุกขึ้นสู้ในสงครามปฏิวัติเสมอมา

รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐที่ 5 (the Fifth Republic) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ หรืออาจเรียกว่า มหาชนรัฐ ก็ได้ โดยมุ่งรักษาหลักการใหญ่ของระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ ซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยสาธารณรัฐที่ 3 และ 4 เอาไว้บ้างแต่นำเอาส่วนดีหรือส่วนที่แข็งแกร่งของระบบประธานาธิบดีแบบ สหรัฐอเมริกามาผสมเข้าด้วยกัน จึงมีผู้เรียกระบบที่เกิดขึ้นใหม่นี้ว่า ระบบกึ่งรัฐสภา กึ่งประธานาธิบดี (semi-parliamentary-presidential system) ซึ่งทำให้ดูห่างไกลจากระบบรัฐสภาแบบขนานแท้และดั้งเดิม (classical parliamentary regime) ไม่ใช่น้อย และในขณะเดียวกันก็กระเดียดไปในทางระบบประธานาธิบดีมากกว่า ยิ่งเมื่อประกอบกับบุคลิกและความสามารถส่วนตัวของ ชาร์ลส์ เดอโกลล์ ประธานาธิบดีคนแรกของสมัยสาธารณรัฐที่ 5 ซึ่งได้รับคะแนนนิยมและความไว้วางใจจากชาวฝรั่งเศสอย่างมาก ประธานาธิบดีจึงกลายเป็นสถาบันแห่งอำนาจ ซึ่งมีอำนาจมหาศาลกว่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และมีฐานะเหนือองค์กรอื่นใด โดยเฉพาะรัฐสภากลับถดถอยลงจนไม่อาจทัดทานประธานาธิบดีได้

ต่อ มาเมื่อหลังสมัยของเดอโกลล์พ้นไปแล้วอำนาจประธานาธิบดีคนต่อมา จึงได้ลดลงเหลือแต่เฉพาะตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเท่านั้น ส่วนแนวความคิดที่ว่าจะให้ฝ่ายบริหารไม่เป็นรองฝ่ายนิติบัญญัตินั้นเชื่อกัน ว่ามีที่มาจากความต้องการของเดอโกลล์เป็นหลัก จะเห็นได้ว่าความพยายามที่จะสร้างระบบการเมืองให้มีความมั่นคงและมี ประสิทธิภาพนั้น ได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลานาน จากตอนนั้น (ตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส 1789) จนถึงตอนนี้ ประเทศฝรั่งเศสได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองหลายครั้ง คือ ได้มีการจัดตั้งสาธารณรัฐ 5 ครั้งและได้มีการเปลี่ยนมาใช้ระบอบจักรวรรดิ 2 ครั้ง ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงอาจจะมีรัฐธรรมนูญใหม่ ฉะนั้น ฝรั่งเศส ในรอบ 200 กว่าปีมานี้ จึงมีรัฐธรรมนูญมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 ฉบับ ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่สูงมากในยุโรปตะวันตก สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้น มีชื่อในภาษาฝรั่งเศสว่า la Cinqui?me R?publique หรือ รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐที่ 5 นั่นเอง

รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐที่ 5 หรือที่มักเรียกกันว่า "ฉบับเดอโกลล์" ประกาศใช้เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1958 มาจนกระทั่งถึงบัดนี้กว่า 46 ปีแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้เข้าได้กับสถานการณ์ทางการเมืองต่างๆ ที่เกิดเปลี่ยนแปลงไป ในแต่ละยุค แต่ละสมัย รัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงถูกแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดบางส่วนอยู่เสมอๆ หลายครั้ง เช่น การ ให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง (1962) การเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับการรับโทษทางอาญาของรัฐมนตรี (1993) การให้มีการประชุมสภาเพียงสมัยเดียว การขยายขอบข่ายที่จะให้มีการออกเสียงประชามติ (1995) การกำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับสถานภาพของนิวแคลีโดเนีย (1998) การจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและเงินตรา การให้หญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกันสำหรับการอยู่ในวาระเลือกตั้งและการ ดำรงตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง การยอมรับขอบข่ายอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ (1999) การลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี (2000) เป็นต้น ดังนั้น รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสฉบับนี้ ซึ่งรวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมด้วย จึงมีทั้งสิ้น 15 หมวด (Title) รวมจำนวน 90 มาตรา (Article)

เจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ ปรากฏอยู่ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งได้ยืนยันรับรองปฏิญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและมนุษยชนที่ได้ประกาศเมื่อ ค.ศ. 1789 และคำปรารภอันยืดยาวของรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐที่ 4 ค.ศ. 1946 เขียนไว้ 3 หน้า รวมถึงได้ประกาศสิทธิในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพิ่มเติมรวมไว้ในส่วนต้นนี้ด้วย