WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 30, 2009

วิถี การทูต "นอกแบบ" วิถี แห่ง ชวลิต ยงใจยุทธ วิถี แห่ง "ศปก.315"

ที่มา มติชน



ทั้งๆ ที่การเคลื่อนไหวผ่าน ศปก.315 ของ พ.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ กับน้องๆ น่าจะยุติลงได้เมื่อสามารถผลักดัน คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ให้นายกรัฐมนตรีลงนาม

ลงนาม เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2523

แต่เอาเข้าจริงๆ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ไม่ว่าจะเมื่อเป็น นายกรัฐมนตรี (พฤศจิกายน 2539) ไม่ว่าเมื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคเพื่อไทย (ตุลาคม 2552)

ก็ยังต้องเดินทางไกล

เป็นการเดินทางไกลที่แม้กระทั่ง นายกรัฐมนตรี ซึ่งลงนามในคำสั่งที่ 66/2523 ก็ออกมาประกาศบทสรุปอันเฉียบคมว่าด้วย "ทรยศชาติ"

เมื่อ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ตัดสินใจเป็นส่วนหนึ่งกับพรรคเพื่อไทย

เป็นการเดินทางทันทีที่กลับจากเข้าเยี่ยมคารวะ สมเด็จฯฮุน เซน ณ กรุงพนมเปญ ก็นำไปสู่ข้ดขัดแย้งทางการเมืองอย่างมากด้วยสีสันจากบรรดานักพูดแห่งพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มคนซึ่งยืนตรงข้ามกับพรรคเพื่อไทย

เป็นบทสรุปว่าด้วย "ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน" เป็นบทสรุปที่บางคนสวมวิญญาณโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ตั้งคำถาม

"รู้แล้วว่าพระยาละแวกกลับชาติมาเกิดเป็นใคร"

ต้องยอมรับว่า บทเรียนและความจัดเจนของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในห้วงที่เคลื่อนไหวผ่าน ศปก.315 คือ การสะสมปริมาณซึ่งต่อมาได้ยกระดับเป็นคุณภาพแห่งหลักการ

การเมือง นำ การทหาร

แน่นอน ความจัดเจนนี้ปัจจัยหนึ่งมาจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอดีตกรรมการกลาง พคท.ระดับ นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร และ นายผิน บัวอ่อน

ปัจจัยหนึ่ง มาจากการลงมือปฏิบัติที่เป็นจริงทางการเมือง การทหาร

วาทกรรมสำคัญอันเป็นเงาสะท้อนทางความคิดก็คือ การเสนอให้ การต่อสู้ เข้ามาแทนที่การปราบปราม ต่อปัญหาคอมมิวนิสต์

นั่นก็คือ แทนที่จะปราบปรามคอมมิวนิสต์ก็เป็น การต่อสู้กับคอมมิวนิสต์

การปราบปรามเป็นเรื่องของการใช้กำลังเป็นเรื่องการทหาร ขณะที่การต่อสู้เป็นเรื่องของความคิด เป็นเรื่องของการเมือง

หากไม่ยึดกุมการต่อสู้ทางความคิดให้มั่นแน่ว การปราบปรามก็จะสะเปะสะปะไร้ทิศทาง

เนื้อแท้ของคำสั่งที่ 66/2523 ก็คือ การเมืองนำการทหาร ก็คือ อาศัยการต่อสู้เพื่อเอาชนะทางความคิดสำคัญกว่าการปราบปรามด้วยกำลังและความรุนแรง

กระนั้น ชัยชนะเมื่อปี 2523 ก็มิได้เป็นชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จ

ที่ว่ามิได้เป็นชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จ แม้ขบวนของ พคท.จะแตกสลายภายหลังสมัชชา 4 กระทั่งมิอาจดำรงอยู่ทางการจัดตั้ง

กระนั้น "ภายใน" กลุ่ม "ผู้ชนะ" ก็ใช่ว่าจะเป็นเอกภาพในทางความคิด

รูปธรรมเด่นชัดอย่างมากก็คือ วาทกรรมว่าด้วย "ทรยศชาติ" สะท้อนถึงความเข้าใจต่อแก่นแท้ คำสั่งที่ 66/2523 โดยเฉพาะที่ปรากฏผ่านรูปธรรม คำสั่งที่ 65/2525

เพราะหากยึดกุมคำสั่งที่ 66/2523 ก็คงไม่พูดออกมาอย่างนี้

รูปธรรมเด่นชัดอย่างมากก็คือ วาทกรรมว่าด้วย "ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน" และชี้นิ้วประณามเสมือนเป็น "พระยาละแวก" กลับชาติมาเกิดคงไม่ปรากฏ

หากแนวทางแห่งคำสั่งที่ 66/2523 ยังมีความหมายอยู่ในทางเป็นจริง

แท้จริงแล้ว ปฏิบัติการครั้งใหม่ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ก็เช่นกับเมื่อยังดำรงยศเป็น พ.อ. และทำงานผ่านโครงสร้าง ศปก.315 อันเป็นการสะสมความจัดเจนเพื่อกาลข้างหน้า

อย่างหนึ่ง คือ การนำไปสู่การตกผลึกและสรุปเป็นคำสั่งที่ 66/2523

อย่างหนึ่ง คือ การนำไปสู่ความสามารถในการสถาปนาแนวร่วมเขมร 3 ฝ่าย เพื่อยุติสงครามกลางเมืองอันเป็นจุดแปรเปลี่ยนอย่างสำคัญทั้งในกัมพูชาและประเทศไทย

เพียงแต่การเคลื่อนไหวครั้งใหม่ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผ่านพรรคเพื่อไทย อันเป็นองค์กรทางการเมือง มิได้ผ่าน ศปก.ทบ. และมิได้ผ่านกระบวนการทางการทูตใต้ดินที่มีกองทัพบกเป็นองค์ประกอบหลัก

การเคลื่อนไหวนี้จึงมากด้วยความสลับซับซ้อนและมากด้วยตัวแปร

หากไม่ศึกษา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อย่างเป็นกระบวนการและด้วยความเข้าใจในอดีต

ก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะทำความเข้าใจในกาละอันรวดเร็ว และก็ยากที่จะยอมรับในความโลดโผนของท่วงทำนองการเคลื่อนไหว

น่ายินดีที่การเดินทางครั้งใหม่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ก็ตระเตรียมตัวเองมาได้ค่อนข้างรัดกุม