ที่มา บางกอกทูเดย์
หากมองในมิติทางสังคมผลกระทบอันสืบเนื่องมาจากความรุนแรงมีแง่มุมลึกซึ้งมากกว่าการต่อกรกับกลุ่มก่อความไม่สงบ เพื่อยุติสถานการณ์ร้ายรายวัน
ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยืดเยื้อมายาวนานเกือบจะ6 ปีเต็ม...ไม่ได้ทำให้ประเทศไทยต้องทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลระดับ“แสนล้าน” เพื่อคลี่คลายสถานการณ์เท่านั้นแต่ยังมีงบอีกก้อนหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงกัน ก็คืองบประมาณสำหรับเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงนับเฉพาะช่วงปี 2548 ถึงสิ้นเดือน ก.ย.2552 รัฐบาลใช้จ่ายงบในส่วนนี้ไปแล้วถึง 2,225 ล้านบาทจากเอกสารของสำนักงบประมาณ พบว่า งบฯ ภาพรวมในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2552งบปกติของหน่วยงาน ปี 2547 อยู่ที่ 5,039 ล้านบาท จากนั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2551 อยู่ที่ 15,488 ล้านบาท และปี 2552พุ่งสูงถึง 27,547 ล้านบาทนอกจากนั้นยังมีงบซีอีโอ งบกลาง งบค่าใช้จ่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รายการค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเยียวยาตัวเลขรวม 5 ปีอยู่ที่ 9,959 ล้านบาท!เมื่อวันที่ 26 ต.ค.2552 เพิ่งมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ทำเนียบรัฐบาลโดยมี สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการฯ เป็นประธานนายสาทิตย์ แถลงว่า...ที่ประชุมได้สรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเยียวยาฯ ตั้งแต่ปี 2548 ถึงเดือน ก.ย.2552 พบว่าใช้งบประมาณสำหรับการเยียวยาไปแล้วทั้งสิ้น 2,225 ล้านบาทผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับการเยียวยาคือผู้ที่เสียชีวิตและทุพพลภาพจากเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ รวมถึงเงินชดเชยทรัพย์สินที่เสียหายและฟื้นฟูธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ด้วยนอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณากรอบวงเงินงบประมาณสำหรับการดำเนินงานในปี 2553 ซึ่งในงบกลางประจำปีตั้งรวมเอาไว้ที่900 ล้านบาทเมื่อได้พิจารณาจากผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการเยียวยาที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มใช้งบส่วนนี้เพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะการช่วยเหลือบุตรหลานของผู้เสียชีวิตให้ได้เล่าเรียนจนจบปริญญาตรี และ
ช่วยเหลือผู้ทุพพลภาพ คณะกรรมการเยียวยาฯ จึงมีมติของบปี 2553 เฉพาะสำหรับการเยียวยา 400 ล้านบาทขณะเดียวกัน...คณะกรรมการเยียวยาฯ ยังมีมติเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการประเมินผลงานของคณะกรรมการเยียวยาฯ ซึ่งมีที่มาจากทุกภาคส่วน ทั้งนักวิชาการ สื่อสารมวลชน ภาคประชาชน และหน่วยงานภาครัฐโดยจะสามารถตั้งคณะกรรมการชุดนี้ได้ภายในกลางเดือน พ.ย.เพื่อกำหนดกรอบให้ประเมินผลงานทั้งหมดภายในเดือน ก.พ. 2553จากนั้นจะมีการจัดงานครบรอบ 6 ปีมาตรการเยียวยาและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้“ที่สำคัญ คณะกรรมการฯ ยังมีมติเห็นชอบให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดูแลปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นแม่หม้ายกว่า3,000 คน รวมถึงบุตรหลานที่ได้รับผลกระทบด้วย” นายสาทิตย์ กล่าวทั้งนี้ หากมองในมิติทางสังคม ผลกระทบอันสืบเนื่องมาจากความรุนแรงมีแง่มุมลึกซึ้งมากกว่าการต่อกรกับกลุ่มก่อความไม่สงบเพื่อยุติสถานการณ์ร้ายรายวันเพราะตัวเลขผู้ได้รับผลกระทบซึ่งกลายเป็นเด็กกำพร้าและแม่หม้ายมากมายจนน่าตกใจในการเสวนาหัวข้อ “5 ปีไฟใต้: จุดสำคัญในการแก้ปัญหาอยู่ตรงไหน สิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ” ที่ห้องประชุมจุมพฎ-พันธุ์ทิพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อไม่นานมานี้ตัวแทนจากกลุ่มสตรีชายแดนใต้ให้ข้อมูลว่า...ในพื้นที่ขณะนี้มีเด็กกำพร้ามากกว่า 5,000 คน และมีหญิงหม้ายมากกว่า 1,500 คนแล้วส่วนข้อมูลของรัฐที่จัดเก็บโดยศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค.2547 จนถึงสิ้นเดือน ส.ค.2551 จำนวนเด็กกำพร้าใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมากถึง 3,014 คนแยกเป็น จ.ปัตตานี 921 คน จ.ยะลา 821 คน จ.นราธิวาส 1,141 คนและ จ.สงขลา 131 คน ขณะที่หญิงหม้ายมีจำนวน 1,605 คน แยกเป็นจ.ปัตตานี 542 คน จ.ยะลา 502 คน จ.นราธิวาส 492 คน และ จ.สงขลา69 คนปัญหาใหญ่ขนาดนี้คงแก้ไม่ได้ด้วยเงินงบประมาณแต่เพียงอย่างเดียว...ทว่าการเยียวยาจิตใจคือสิ่งสำคัญ และดูเหมือนภาครัฐจะยังคงละเลย...