WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, June 20, 2010

เกมปรองดอง เกมซ้ำเติมวิกฤต?

ที่มา ข่าวสด




สังคมไทยกำลังจับตาแผนปรองดองแห่งชาติของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ

ว่าจะนำไปสู่ทางออกจากวิกฤตของประเทศชาติได้จริงหรือไม่ อย่างไร

สัญญาณเริ่มต้นไม่ค่อยดีนักเมื่อสำนักวิจัยเอแบคโพลสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 66 ไม่เชื่อว่าแผนฟื้นฟูปฏิรูปประเทศไทยตามแผนปรองดองดังกล่าวจะสำเร็จ

ส่วนทางคู่กรณีขัดแย้งคือพรรคเพื่อไทยและแกนนำนปช.ก็ไม่ยอมรับ

ทั้งยังตีราคาแผนปรองดองของนายกฯอภิสิทธิ์ เป็นแค่การสร้างภาพซื้อเวลาต่ออายุรัฐบาลมากกว่าความต้องการที่จะปรองดองแบบจริงจัง

เห็นได้จากการที่รัฐบาลยังอาศัยอำนาจตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

กวาดล้างแกนนำนปช.และคนเสื้อแดงอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

การเสียชีวิตของนายศักนรินทร์ กองแก้ว หรือ"อ้วน บัวใหญ่"แกนนำเสื้อแดง จ.นครราชสีมา คนสนิท"แรมโบ้อีสาน"นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์

คือการเปิดตัวแผนปรองดองได้อย่างน่าสยดสยอง

ในขณะเดียวกันเครื่องจักรอำนาจรัฐยังคงทำงานแบบ 2 มาตรฐาน

เห็นได้จากการดำเนินคดีคนเสื้อแดง และนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามในข้อหาก่อการร้ายที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

แต่สำหรับคดีที่แกนนำรัฐบาลถูกแจ้งความกล่าวหาเข่นฆ่าประชาชนในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง กลับไม่มีความคืบหน้าให้เห็น

การออกมาจุดพลุเปิดประเด็นการซื้อคืนดาวเทียมไทยคมจากกลุ่มทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์

โดยรัฐบาลหวังปลุกกระแสชาตินิยมสร้างคะแนนให้ตนเอง พร้อมกันนั้นยังเป็นการตอกย้ำพฤติกรรมขายสมบัติชาติของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

แต่แล้วเรื่องดาวเทียมไทยคมกลับกลายเป็นดาบสองคม

รัฐบาลพลาดพลั้งทำให้ถูกตั้งข้อสงสัยเรื่องผลประโยชน์จากราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นพรวดพราด

ที่สำคัญคือยังทำให้แผนปรองดองประสบความยากลำบากมากขึ้น



นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามแสดงความกระตือรือร้นต่อแผนปรองดองและแผนปฏิรูปประเทศไทย

การดึงเอาคนเด่น-ดังระดับ น.พ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และอดีตนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน มาร่วมเป็นประธานกรรมการปฏิรูปประเทศ

อาจช่วยให้ภาพรัฐบาลดูดีขึ้นมาบ้าง

แต่เนื่องจากแผนการปฏิรูปประเทศเป็นเรื่องหวังผลในระยะยาวอย่างน้อย 3 ปี

ดังนั้น ทางออกจากวิกฤตความขัดแย้งเฉพาะหน้ายังต้องชี้ขาดกันด้วยแผนปรองดอง

การตั้งนายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด เป็นประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

เป้าหมายแรกของนายอภิสิทธิ์ ก็เพื่อลดทอนแรงกดดันจากเสียงเรียกร้องให้รับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุมที่มีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก

การที่นายคณิต บุกไปจับเข่าคุยกับนายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำ นปช. ซึ่งถูกควบคุมตัวในค่ายตชด.

ถึงจะทำให้ได้แผนปรองดองดูสมจริงขึ้นมาบ้าง

แต่ล่าสุดนายคณิต ก็ต้องมาเจอปัญหาไม่สามารถหาตัวบุคคลมาร่วมเป็นคณะกรรมการได้ตามกำหนด 15 วัน

การตรวจสอบค้นหาความจริงการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. ไม่ใช่เรื่องง่าย

เพราะในช่วง 3 เดือนได้เกิดเหตุปะทะกันใหญ่ๆ หลายครั้ง

ตั้งแต่การขอคืนพื้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ, การยิงเอ็ม 79 ถล่มสถานีรถไฟฟ้าสีลม, การปะทะกันบริเวณอนุสรณ์สถานย่านดอนเมือง, การกระชับวงล้อมระหว่าง 13-18 พ.ค. มาจนถึงบั้นปลายท้ายสุดวันที่ 19 พ.ค.

นอกจากนี้เหตุการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นยังแทรกซ้อนไปด้วยเหตุการณ์ย่อย เช่น เหตุปะทะบริเวณแยกคอกวัว ศาลาแดง ชุมชนบ่อนไก่ วัดปทุมวนาราม ฯลฯ เป็นต้น

เพีงแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งกว่าจะสืบสาวให้ได้ข้อเท็จจริงก็ไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลานานถึงเมื่อไหร่

ซึ่งนั่นย่อมเป็นผลดีต่อรัฐบาล เพราะตราบใดที่ผลสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น นายกฯ ก็ยังไม่จำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบใดๆ ออกมา

ไม่ว่าด้วยการลาออกหรือยุบสภา



สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 1 ใน 5 ข้อแผนปรองดอง

ลำพังนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาแนวทางแก้ไข ก็มี"สี"เปื้อนติดตัวมาอยู่แล้ว

เมื่อเปิดโฉมหน้าคณะกรรมการอีก 18 คน

ถึงส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการด้านกฎหมายที่สังคมรู้จักกันดี

แต่หลายคนก็มีประวัติเคยทำงานให้ คมช. ในฐานะสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือส.ส.ร.ปี 2550 มาก่อน

จุดนี้จึงเป็นประเด็นให้พรรคเพื่อไทยหยิบยกขึ้นมาโจมตีทันทีว่าเป็นคณะกรรมการ"ทายาทอสูร"

ส่วนทางแกนนำ นปช.ก็มองว่าเป็นความต้องการของรัฐบาลที่ตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา เพื่อสานต่อแผนบันได 4 ขั้นของ คมช.ให้สมบูรณ์แข็งแรงมากขึ้น

นั่นก็คือต้องให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเท่านั้น

อย่างไรก็ตามจากเสียงต่อต้านตัวประธานคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการค้นหาข้อเท็จจริงการชุมนุม

เหตุผลหลักๆ อยู่ที่ว่า "คนแต่งตั้ง" ซึ่งก็คือตัวนายกฯ ไม่มีความชอบธรรมเพราะเป็นคู่กรณีโดยตรงกับกลุ่มเสื้อแดง

ขณะเดียวกันนายกฯอภิสิทธิ์ เองก็ไม่คิดที่จะลดราวาศอก มักจะตอบโต้ด้วยการพูดย้ำเสมอทุกครั้งเมื่อมีโอกาส

ว่าจะไม่ยอมปรองดองกับผู้ก่อการร้ายเด็ดขาด

พฤติกรรมการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน การให้สัมภาษณ์ซัดกันไปมาคนละดอกสองดอก

นอกจากไม่เป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศความปรองดองให้เกิดขึ้นจริงแล้ว ยังเป็นการซ้ำเติมวิกฤตความบาดหมางให้เป็นรอยลึกมากขึ้น

นำไปสู่การตอบโต้ล้างแค้นรุนแรงกว่าเดิมทันทีเมื่อโอกาสเปิด