ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
20 กรกฎาคม 2554
ศาลเยอรมนียอมถอนอายัด “โบอิ้ง 737” พร้อมขอเงินค้ำประกัน 20 ล้านยูโร
สำนัก ข่าวต่างประเทศรายงานว่า ศาลเยอรมนีมีคำสั่งวันนี้ (20 กรกฎาคม) ให้ถอนอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ของไทย โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องวางเงินเป็นหลักประกันมูลค่า 20 ล้านยูโร (ประมาณ 850 ล้านบาท) เพื่อยุติความผิดพ้องหมองใจของทั้งสองฝ่าย
เครื่องโบอิ้ง 737 ลำดังกล่าวถูกอายัด ณ ท่าอากาศยานนครมิวนิก เมื่อวันอังคาร (12 กรกฎาคม) ที่แล้ว สืบเนื่องจากกรณีพิพาทเชิงพาณิชย์ระหว่างทางการไทย กับ วอลเตอร์ บาว (Walter Bau) บริษัทก่อสร้างสัญชาติเยอรมนี ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสถานะล้มละลาย
ศาลเยอรมนีแถลงว่า ได้รับคำยืนยันภายใต้คำสัตย์สาบานจาก นายสมชาย จันทร์รอด อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.) ว่า เครื่องบินลำดังกล่าว รวมทั้งเอกสารกรรมสิทธิ์ เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และไม่ใช่ทรัพย์สินของทางการไทย
คริสตอฟ เฟลล์เนอร์ รองประธานศาลเยอรมนี กล่าวว่า เอกสารเหล่านี้เป็น “ข้อสันนิษฐานถึงการเป็นเจ้าของ” เท่านั้น เพราะฉะนั้นจะต้องมีการฝากเงิน 20 ล้านยูโร (ประมาณ 850 ล้านบาท) ในรูปแบบหนังสือค้ำประกันของธนาคาร พร้อมทั้งกล่าวว่า “ไม่มีการค้ำประกัน ก็นำเครื่องขึ้นไม่ได้”
ศาล เยอรมนีแถลงว่าจำเป็นต้องมีการวางเงินประกัน เนื่องจากยังไม่ได้ตัดสินชี้ขาดว่า เครื่องโบอิ้ง 737 ลำนี้เป็นสมบัติของผู้ใด และเหตุที่ต้องใช้เงินค้ำประกันมากถึง 20 ล้านยูโร เนื่องจากจำนวนดังกล่าวเท่ากับราคาประเมินของเครื่องบิน
การอายัด เครื่องโบอิ้ง 737 ดังกล่าว ทำให้ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต้องเดินทางไปยังกรุงเบอร์ลิน เขาได้นิยามถึงเหตุการณ์ที่เกิดว่า “ความผิดพลาดใหญ่หลวง” และได้เข้าพบเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศระดับสูงของเยอรมนี เพื่อเรียกร้องให้ถอนอายัดเครื่องบินลำดังกล่าว
รัฐบาลเยอรมนี แถลงว่า เสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนทำให้ระคายเคืองต่อพระยุคลบาท แต่ไม่มีอำนาจสั่งการได้ โดยย้ำว่าอำนาจทั้งหมดขึ้นอยู่กับศาล
กระทรวงต่างประเทศว่าเป็นความสำเร็จงดงาม แต่อ้ำอึ้งเรื่องจ่ายเงินประกัน
เดลินิวส์รายงาน ปฏิกริยาของทางการไทยว่า ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยภายหลังศาลเยอรมนีได้มีคำสั่งในเบื้องต้นให้เพิกถอนอายัดเครื่องบิน โบอิ้ง 737 เครื่องบินส่วนพระองค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ว่า ศาลเยอรมนีมีคำสั่งดังกล่าวออกมา เนื่องจากคณะนักกฎหมายของไทยประสบความสำเร็จในขั้นสำคัญคือการทำให้ศาลเชื่อ ว่า เครื่องบินลำนี้เป็นเครื่องบินส่วนพระองค์จริง แต่ถ้าทางการไทยต้องการนำเครื่องบินดังกล่าวออกมาทันที จะต้องวางเงินประกัน 20 ล้านเหรียญยูโร หรือประมาณ 845 ล้านบาท ส่วนในขั้นตอนการดำเนินการนั้น จะต้องรอคณะทำงานทางด้านกฎหมายที่นครมิวนิก และกระทรวงการต่างประเทศ ศึกษาก่อน ซึ่งในขั้นนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดใดๆได้
โยนกลองกันวุ่นยังอ้ำอึ่งรัฐควักจ่ายหรือไม่
ไทยรัฐ รายงาน ว่า นายปณิธาน วัฒนายากร เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ว่า ขณะนี้กำลังรอคำสรุปอย่างเป็นทางการจากคณะทำงานของกระทรวงการต่างประเทศไทย ในเรื่องคำสั่งของศาลเยอรมนี เพื่อนำมาพิจารณาประกอบ และรัฐบาลไทยอาจมีคำสั่งไปยังกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะกรณีต้องวางเงินประกันจำนวน 20 ล้านยูโร ก่อนนำเครื่องบินออกจากเยอรมนี หลังศาลเยอรมนีมีคำสั่งให้ถอนอายัดเครื่องบิน
ด้านนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีที่ศาลเยอรมนีถอนอายัดเครื่องบิน โบอิ้ง 737-400 ว่าไม่ใช่ของรัฐบาลไทย แต่ต้องมีการวางเงินประกันจำนวน 20 ล้านยูโร ก่อนจึงจะสามารถนำเครื่องบินออกมาได้นั้น เรื่องดังกล่าวถือว่าอยู่ในขั้นตอนของรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงคมนาคมคงต้องหารือร่วมกันกับอัยการสูงสุด ว่าจะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะขณะนี้คดีดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการอุทธรณ์ในการบังคับคดีที่ศาล นิวยอร์ก
สมศักดิ์ เจียมฯ:ว่าแต่ รัฐไทย จะให้เงินค้ำประกัน กับเครื่องที่รัฐยืนยันว่าไม่ใช่ของรัฐหรือเปล่าล่ะ?
ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการ ได้เขียนในเฟซบุ๊คของ เขาว่า ข่าวเยอรมันยอมให้ 737 ออกได้แต่ต้องวางประกัน 20 ล้านยูโรนั้น "แล้วถ้าเป็นเครื่องที่ไม่ใช่รัฐเป็นเจ้าของ จะเอาเงินอะไรเป็นเงินประกันล่ะเนี่ย ถามไปงั้นแหละ"
ตามข่าวว่าศาล เยอรมันยอม หลังจากได้รับการยืนยันเรื่องเป็น "เครือ่งส่วนพระองค์" ผมยัง งง นะ ถ้าศาลเยอรมันยอมรับว่า เป็น "ส่วนพระองค์" ไมใช่ของรัฐจริงๆ ก็ไม่ควรต้องมีเรื่องเงินประกันใดๆทั้งสิ้นสิ เพราะ รัฐต้องไม่เกี่ยว ไม่มีสิทธิมายึดเครื่องบินที่ีไม่ใช่ของรัฐ มาให้รัฐจ่ายหนี้ที่ค้างไว้ ดังนั้น จึงควรต้องอนุญาตให้เครื่องออกได้โดยไม่มีเงื่อนไขเลย
ที่ จริง ถ้าผมจำไม่ผิดนะ ตอนมีเรื่องใหม่ๆ ก็มีข่าวออกมาแต่แรกแล้วว่า ทางเยอรมัน ยินดีให้เครื่องออก ขอแต่ให้รัฐบาลไทย วางเงินค้ำประกันส่วนหนึง แต่ทางไทยเองไม่เอา option นี้เอง เพราะพยายามจะยืนยันว่า นี่ไมใช่เครืองของรัฐ ไม่สามารถยึดมาทวงหนี้รัฐได้ และดังนั้น จึงไม่ต้องวางค้ำประกันอะไร
แต่นี่ดูเหมือนว่า จริงๆเท่ากับเราไปรับเอา option นี้ ที่เขาเสนอไว้แต่แรก (ซึงก็คือ รับโดยปริยาย ในความ ...จะเรียกอะไรดี?... เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เครือ่งของรัฐ?)
ถ้าศาลเยอรมันเชื่อว่า เครื่องไม่ใช่ของรัฐจริงๆ จะต้องเรียกเงินค้ำประกันทำไม ดูข่าวผู้จัดการ http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000089507 ผมว่า ชัดเจนว่า ศาลเยอรมันไม่ได้เชื่อเรื่องนี้แต่อย่างไร และที่ยืนยันให้ค้ำประกัน ก็เพราะยังถือว่าเป็นเครือ่งของรัฐนั่นแหละ ดร.สมศักดิ์เขียนเพิ่มเติมในเฟซบุ๊ค
(ว่าแต่ว่า รัฐไทย จะให้เงินค้ำประกัน กับเครื่องที่รัฐยืนยันว่าไม่ใช่ของรัฐหรือเปล่าล่ะ?)
นี่นะครับ ตามข่าว ผู้จัดการ รายงานชัดเจนว่า ศาลเยอรมัน เรียกเงินประกัน เพราะไม่ได้ยอมรับว่า เป็นเครื่องเอกชน
"คริ สตอฟ เฟลล์เนอร์ รองประธานศาลเยอรมนี กล่าวว่า เอกสารเหล่านี้เป็น “ข้อสันนิษฐานถึงการเป็นเจ้าของ” เท่านั้น เพราะฉะนั้นจะต้องมีการฝากเงิน 20 ล้านยูโร (ประมาณ 850 ล้านบาท) ในรูปแบบหนังสือค้ำประกันของธนาคาร พร้อมทั้งกล่าวว่า “ไม่มีการค้ำประกัน ก็นำเครื่องขึ้นไม่ได้”