ที่มา Voice TV
นาย จาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาิธิปไตย ทวิตข้อความ แสดงความคิดเห็น เรื่องการพิจารณารับรอง ส.ส.ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. โดยเฉพาะกรณีของแกนนำนปช.ทั้ง 12 คน ที่กกต.จะพิจารณาวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 โดยเขาแสดงความคิดเห็นว่า ยังมองไม่เห็นประเด็นที่จะทำให้ว่าที่ส.ส. ขาดคุณสมบัติได้ แม้แต่กรณีของนายจตุพร พรหมพันธุ์
" ติดตามข่าวเรื่องยังไม่รับรองแกนนำนปช.แล้วเข้าใจว่ากกต.จะไม่มีข้อกฎหมายมา รองรับในการแขวนคนเหล่านี้ เว้นแต่จะมีการร้องค้านที่ไม่เปิดเผย
เรื่อง ที่ว่าแกนนำนปช.เคยถูกคุมขังและพ้น จากการเป็นสมาชิกพรรค เขาได้แก้ไปก่อนนี้แล้ว ด้วยการลาออกแล้วสมัครใหม่ก่อนที่จะสมัครรับเลือกตั้ง
นอก จากนั้นเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องคุณสมบัติ ผู้สมัคร ซึ่งกกต.ก็ได้ยอมให้เขาสมัครแล้ว จึงไม่อาจมาเป็นประเด็นในตอนนี้อีก ประเด็นอื่นยังมองไม่เห็น
แกน นำนปช.ที่เป็นผู้สมัครทุกคนก็ดูจะระมัด ระวังเป็นพิเศษในการปราศรัย การจะถูกกล่าวหาว่าใส่ร้ายคู่แข่งเพื่อให้เสียคะแนนนิยมก็ไม่น่าจะเป็นได้
ส่วน คุณจตุพร นั้น ไม่เห็นว่าจะมีการทำผิดกฎหมายได้อย่างไร เพราะอยู่ในคุกตลอดช่วงหาเสียง จึงเหลือประเด็นเกี่ยวกับการถูกขังและไม่ไปใช้สิทธิ์
การ อยู่ระหว่างถูกคุมขังในระหว่างเป็นผู้ ต้องหา ไม่เป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติและกกต.ก็ยอมให้คุณจตุพรลงสมัครไปแล้ว จึงไม่เป็นประเด็นในตอนนี้
ปํญหาก็เหลืออยู่ตรงที่คุณจตุพรไม่ได้ไปใช้สิทธิ์ว่า จะมีผลอย่างไร ทำให้ขาดสิทธิ์ในการเป็นสส.หรือไม่
ปัญหา นี้คงถกเถียงกันได้มาก เช่น การไม่ไปใช้สิทธิ์ไม่ได้เกิดจากเจตนาแต่เป็นเรื่องสุดวิสัย อีกฝ่ายก็จะบอกว่าไม่ไปก็คือไม่ไป อ้างการถูกขังไม่ได้
ข้อ ถกเถียงอาจไปไกลกว่านี้คือมีคำถามว่าศาล จะมีอำนาจทำให้ผู้ต้องหาขาดสิทธิ์ในการเป็นผู้แทนราษฎรหรือไม่ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
แต่ ปัญหาข้อถกเถียงหล่านี้ ไม่อยู่ในอำนาจของกกต.ที่จะตัดสิน เพราะไม่ใช่เรื่องการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งในการหาเสียง แต่เป็นเรื่องคุณสมบัติซึ่งผ่านมาแล้ว
กกต.จึงควรจะรับรองคุณจตุพรไปก่อน แล้วหากเห็นว่าคุณจตุพรขาดคุณสมบัติในการเป็นสส.ก็ร้องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญในภายหลัง
การไม่รับรองแกนนำนปช.หลายคนพร้อมๆกันโดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน จึงอาจถูกมองได้ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองมากว่ากฎหมายได้ "