WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 23, 2011

คนทำสื่อชี้! อย่ามองคนดูเป็นเพียง "ลูกค้า" ระบุปัญหา ′เรตติ้ง′ "อาชญากรฆ่าสติปัญญาคนในประเทศ"!!

ที่มา มติชน



"เรตติ้ง เป็นอาชญากรตัวสำคัญที่ฆ่าสติปัญญาของคนในประเทศนี้" จำนรรค์ ศิริตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เจเอสแอลฯ กล่าวในเวทีเสวนา "ช่วยคิด ช่วยทำ เพื่อส่งเสริมและสร้างสรรค์สื่อรายการน้ำดี สู่สังคมไทย" เมื่อวันพฤหัสบดี (21 ก.ค.) ที่ผ่านมา โดยการเสวนาดังกล่าวเป็นเวทีย่อยของการสัมมนาระดมความคิดเห็น "สร้างสังคมให้ดี สร้างสื่อดีดีให้กับสังคม" ซึ่งจัด ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


"เรตติ้ง" มีปัญหา?
พิชญ์สินี หล่อวิจิตร
ผู้อำนวยการสายงานธุรกิจของบริษัท ออพติมัม มีเดีย ไดเร็คชั่นฯ กล่าวอธิบายคำว่า "เรตติ้ง" ว่า เรตติ้งคือการวัดจำนวนคนดูว่ามีจำนวนเท่าไรเมื่อเทียบกับกลุ่มเป้าหมายของ รายการนั้นๆโดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยี ซึ่งในทุกวันนี้ เรตติ้งเป็นตัวชี้วัดเดียวที่สามารถวัดผลออกมาเป็น "ตัวเลข"ได้


"ใน แง่ของธุรกิจ เราก็อยากได้คนดูสูงสุด แต่ในแง่จริยธรรมนั้นเราไม่ได้ใช้ตัวเลขเป็นตัววัด ซึ่งตรงนี้ ลูกค้าบางรายรับได้ แต่บางรายก็รับไม่ได้ หรืออาจจะมีอีกแบบหนึ่งคือ สปอนเซอร์แบบที่จะไม่ดูเรตติ้งเลย แต่ดูที่เนื้อหาว่าตรงกับกลุ่มเป้าหมายไหม ถ้าใช่ก็ไปด้วยกันได้"


ในมุมมองของนักวิชาการ ดร.สุภาพร โพธิ์แก้ว ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศน์ศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวในเรื่องนี้ว่า "เราต้องหาตัวชี้วัดตัวใหม่ที่ไม่ได้วัดแค่ยอดคนดูเท่านั้น และยังต้องมีผลในทางเศรษฐกิจได้ด้วย ซึ่งจะทำให้สปอนเซอร์หรือคนจัดสบายใจ ตอนนี้กำลังมีนิสิตนักศึกษากำลังทดลองในเรื่องนี้อยู่ เพราะในอเมริกาเองก็มีปัญหากับเรื่องเรตติ้งมาก"

จำนรรค์ ศิริตัน, ดร.สุภาพร โพธิ์แก้ว


รายการดี ไม่มีคนดูจริงหรือ?

พิชญ์สินี กล่าวว่า "คำถามที่ว่ารายการดีๆทำไมไม่มีคนดูนั้น คิดได้สองแบบ คือรายการอยู่ดึกเกินไป และ "คนดูของเราได้หลับไปหมดแล้ว" นั่นคือปัญหาของการอยู่ไม่ถูกที่ถูกทาง"


ส่วน ดร.สุภาพร กล่าวว่า "ผู้ผลิตรายการซึ่งทำหน้าสร้างสรรค์นั้นก็ไม่ใช่ผู้มีอำนาจสูงสุดของอุตสาหกรรมสื่อ" แต่ฝ่ายสถานี มีอำนาจคุมช่องทาง และฝ่ายเงินสนับสนุนหรือสปอนเซอร์เป็นอีกสองปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลมาก และเราควรจะต้องไปผลักดันในสองส่วนหลักนี้ให้มาก


"ถ้าสถานีไม่เปิดพื้นที่ให้ ต่อให้ผู้ผลิตรายการสร้างสรรค์ให้ตายก็ไม่มีที่แสดงออก" ดร.สุภาพรกล่าว


แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี?
ดร.สุภา พร: "ถ้าทำ (รายการ) อย่างชาญฉลาด แล้วเจอโจทย์ที่ชนเป๊ะเมื่อไหร่ รายการนั้นก็จะดังระเบิดเถิดเทิง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีมาแล้ว มันอยู่ตรงจังหวะ เมื่อมันเกิดแล้วอย่าปล่อยให้มันนิ่ง ปัญหาคือจะหล่อเลี้ยงความเคลื่อนไหวและความรู้สึกแบบนี้ได้อย่างไร"


"ยกตัวอย่างจากซีรี่ส์อเมริกันเรื่อง "Ugly Betty" ซึ่งเป็นรายการแนวป๊อปปูลาร์ ซึ่งโจทย์ใหญ่ของรายการนี้คือคำถามที่ว่า ความงามแท้จริงคืออะไร รายการนี้เกิดมาจากจำนวนคนเชื้อสายลาตินในอเมริกานั้นมีเยอะมาก ทั้งคนเม็กซิกัน คนเปรู "อักลี่เบ็ตตี้" หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาอย่างชาญฉลาดมาก นางเอกเป็นคนที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความงามแบบตะวันตกเลย แต่ได้ไปทำงานในวงการแฟชั่นซึ่งมีแต่คนผิวขาวทั้งนั้น แล้วในเรื่องนี้เบ็ตตี้ก็เป็นฮีโร่ของสาวน้อยสาวใหญ่ สาวอ้วนสาวผอม และรายการก็เป็นที่ติดตลาดมาก"


"แต่จู่ๆก็เกิดความไม่เป็นธรรม ขึ้นในระบบการผลิตรายการนี้ คือคนเขียนบทถูกกดราคา แล้วเป็นครั้งแรกในระบบผลิตโทรทัศน์ในอเมริกา ที่คนเขียนบทสามารถนัดหยุดงาน แล้วมีผลให้ "อักลี่เบ็ตตี้" ไม่ได้ออกอากาศเป็นเวลาสามเดือน คนก็ถามกันใหญ่ว่ารายการนี้หายไปไหน ซึ่งนี่ก็ยังเกิดขึ้นได้ในสังคมที่มีความเป็นทุนนิยมสุดโต่ง"


พิชญ์สินี หล่อวิจิตร, ดวงกมล โชตะนา

ทางด้านดวงกมล โชตะนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธุรกิจมีเดียฯ กล่าวถึงแนวทางในการสร้างสรรค์สื่อน้ำดีว่า เรา "ต้องไม่มองว่าผู้ชมเป็น "ลูกค้า" แต่มองว่าผู้ชมนั้นเป็น "พลเมือง""


"ถ้า มองว่าคนดูเป็นลูกค้าก็จะพยายามยัดเยียดเนื้อหา จนในที่สุดจะนำมาสู่ความไม่พอใจของผู้ดู อย่างทีวีสาธารณะในอังกฤษเช่นบีบีซี พวกนี้เกิดขึ้นจากความไม่พอใจในสื่อที่เป็น commercial (สื่อที่มีความเป็นธุรกิจสูง) ก็เลยเกิดแนวคิดทีวีสาธารณะขึ้นมา มีการบังคับให้ผู้ชมจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนบีบีซี หรือในบ้านเราก็ใช้เงินกองทุนภาษีสุราเข้ามาเพื่อให้เกิดทีวีสาธารณะ"


นอก จากผู้ผลิตสื่อแล้ว ดวงกมลกล่าวว่า "สื่อจะดีได้ ไม่ได้เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตฝ่ายเดียว แต่ประชาชนหรือผู้รับสื่อต้องเป็น พลเมืองที่กระตือรือร้น คนดูต้อง "เดินออกมาแล้วบอกว่า ฉันไม่ชอบรายการนี้!" พลเมืองต้องมีส่วนร่วมในการให้ feedback "สื่อไม่ดีเราต้องคอมเมนท์ สื่อดีเราต้องเชียร์" ดวงกมลกล่าว


นอก จากนี้ ดวงกมลยังกล่าวด้วยว่า การบ่มเพาะความเท่าทันสื่อในหมู่ประชาชนนั้นมีความสำคัญ สังคมต้องช่วยกัน "ตรวจสอบสื่อ" และกล่าวถึงสื่อใหม่ที่เกิดขึ้นมามากมายในปัจจุบันว่า สื่อใหม่ทำให้การผลิตและเข้าถึงสื่อนั้นสามารถทำได้ด้วยต้นทุนที่ลดลง ซึ่งเป็นโอกาสในการผลักดันให้เกิดสื่อดีๆที่เข้าถึงสังคมได้มากขึ้น


ส่วน พิชญ์สินี กล่าวว่า เราต้องทำความเข้าใจกับลูกค้าก่อนเป็นอันดับแรก เวลาที่ขายลูกค้าในแง่ของเนื้อหารายการ ลูกค้าก็จะบอกว่า ขอลองสักครั้งก็ได้ แต่เขาก็คิดว่าเขาควรจะได้อะไรกลับมาด้วย ซึ่งเราก็ต้องทำความเข้าใจกับลูกค้าก่อนว่า เรื่องแบบนี้ไม่มีทางเกิดได้ในหนเดียว มันต้องการการสะสมไปเรื่อยๆ มันอาจต้องทำกันเป็นปีๆ ต้องใช้แผนระยะยาว โดยถ้าวัดในเชิงคุณภาพมันแล้วมันก็จะออกมาได้เป็นความพึงพอใจ ซึ่งตัวเอเยนซี่เองก็ยังมีความพยายามในการทำแบบนี้อยู่