WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, July 22, 2011

รายงานเสวนา: วิเคราะห์ผลเลือกตั้ง และแนวโน้มรัฐบาลใหม่

ที่มา ประชาไท

(20 ก.ค.54) ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาโต๊ะกลม "วิเคราะห์ผลเลือกตั้ง และแนวโน้มรัฐบาลใหม่" ดำเนินรายการโดย สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า จากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา สะท้อนความต่อเนื่องของเทรนด์บางประการของระบบการเมืองและการเลือกตั้งไทย ตั้งแต่หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา โดยมีแนวโน้มมุ่งสู่ระบบสองพรรคการเมืองใหญ่อย่างชัดเจน แต่การแข่งขันระหว่างสองพรรคยังไม่สูสี ซึ่งหากต้องการสร้างเสถียรภาพให้การเมืองไทย จะต้องช่วยให้ ปชป.อยู่ในสภาพที่แข่งขันได้จริง โดยย้ำว่า การใช้วิธีพิเศษ เช่น รัฐประหาร ตุลาการภิวัตน์ จะไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกตั้งและความนิยมต่อพรรคการเมืองของคนไทย ได้อีกแล้ว

นอกจากนี้ จากผลการเลือกตั้งที่ทั้งสองพรรคใหญ่มีคะแนนกระจุกตัวตามภูมิภาค ประจักษ์เสนอว่า ถ้าต้องการความชอบธรรมในการบริหารประเทศ จะต้องพยายามกระจายฐานเสียงของตัวเองให้กระจายทั้งประเทศด้วย

ต่อคำ ถามว่า หากประเทศไทยเดินเข้าสู่การมีสองพรรคใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่ความหลากหลายจะอยู่ตรงไหน ประจักษ์ตอบว่า ระบบสองพรรคนั้นจะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อสองพรรคไม่ได้เสนอนโยบายที่แตกต่างกัน ให้ประชาชนเลือก พร้อมเสนอว่า ปชป. ต้องมีแพคเกจนโยบายที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจาก พท. เช่นเดียวกับพรรคขนาดเล็กที่จะปรับตัวมาเป็นขั้วที่สามได้ก็ต่อเมื่อเสนอ นโยบายทางเลือกที่สาม เช่น พรรคกรีนในยุโรปที่เสนอนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม หรือพรรคที่เสนอนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นสวัสดิการสังคม ไม่เช่นนั้น พรรคเหล่านี้จะลำบากมากขึ้นทุกทีๆ เพราะการเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรคเล็กไม่มีอะไรนอกจากกระแสและกระสุน

"เราไม่จำเป็นต้องมีพรรคมากมาย ถ้าไม่ได้มีความแตกต่างทางนโยบาย" ประจักษ์ทิ้งท้าย


เวียงรัฐ เนติโพธิ์
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งข้อสังเกตจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาว่า มีเรื่องกลับตาลปัตร 3 ประการ ได้แก่ 1) คนส่วนใหญ่ที่เลือก พท.ถูกวิจารณ์ว่าเป็นคนโง่ ขาดข้อมูลข่าวสาร จึงเลือกนโยบายที่ตอบสนองผลประโยชน์เฉพาะหน้า อย่างไรก็ตามดูจากนโยบายของสองพรรคพบว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แจกด้วยกันทั้งคู่

เวียงรัฐมองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกเชิงอุดมการณ์ของขบวนการคนเสื้อแดง "ปรากฏการณ์ยิ่งลักษณ์" คล้ายกับปรากฏการณ์ของผู้นำชาตินิยมของในหลายประเทศ ที่อาจไม่ได้มีผลงานหรือยังไม่มี แต่เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้บางอย่างที่คนรู้สึกว่าต่อสู้มาด้วยกัน แม้ว่ายิ่งลักษณ์จะไม่ได้เคยต่อสู้ด้วยก็ตาม โดยจากผลสำรวจ กรณีที่ยิ่งลักษณ์ยังไม่ได้รับการรับรองโดย กกต. มีผู้ไม่พอใจ 70% สะท้อนว่า พวกเขาไม่ได้สนใจนโยบาย แต่สนใจ พท.ในฐานะสัญลักษณ์บางอย่างของการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมบางอย่างที่ เขาต้องการ

2) คนสามสิบกว่าล้านคนลงคะแนนเลือกตั้ง แต่ กกต.เพียงสามในห้า สามารถเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งได้ โดยเวียงรัฐวิจารณ์การตัดสินรับรองผลการเลือกตั้งของ กกต. ว่า ไม่ควรรับเรื่องร้องเรียนกรณีผัดหมี่ แคะขนมครกตั้งแต่แรก และมองว่าเรื่องนี้เป็นโจ๊กที่กลายเป็นเรื่องตลกระดับนานาชาติ นอกจากนี้การตัดสินโดยที่ไม่มีความรับผิดรับชอบ (accountability) ต่อสังคม แต่สามารถเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งได้ จะเป็นบรรทัดฐานใหม่ที่ทำให้กระบวนการของระบอบรัฐสภาอ่อนแอลง

3) เรามักตอบว่าคนเลือก พท.เพราะนโยบายตอบสนองคนจน แต่จะพบว่าคนที่ออกมาทักท้วง-วิจารณ์ก่อนว่าจะทำได้หรือไม่ได้ คือฝ่ายที่ไม่ได้เลือก พท. ขณะที่กลุ่มที่เลือก พท.จะกดดันให้มีการปฏิรูปสถาบันทางการเมือง รวมทั้งหาความจริงว่าใครเป็นผู้ยิง 92 ศพ ใครเผา


อนุสรณ์ ธรรมใจ
คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการแก้ไขปัญหาประเทศ ตามวิถีทางประชาธิปไตย สอง สะท้อนว่า ต้องการสันติภาพ จะเห็นว่ามีพรรคการเมืองขนาดกลาง ขนาดเล็กบางพรรคเสนอประเด็นที่อาจก่อความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่ จำเป็น ไม่ได้ความสนใจและไม่ได้รับการเลือกตั้ง

นอกจากนี้ มองว่า กลุ่มคนที่มีรายได้น้อย และชนชั้นล่าง ที่ผ่านมาได้รับข้อมูลมากขึ้น มีการจัดตั้งเครือข่ายทางการเมืองที่เข้มแข็งขึ้น และมีวาระทางการเมืองของตัวเอง นักวิชาการบางส่วนวิจารณ์ว่าคนเหล่านี้โง่และซื้อได้ ดูเหมือนเนื้อเดียวกับ พท. แต่ไม่ใช่ เพราะคนเหล่านี้ใช้ พท. เพื่อผลักดันวาระทางการเมืองของตัวเอง

อนุสรณ์มองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นจุดสูงสุดของพรรคเพื่อไทย หลังจากนี้จะขาลง ถ้ารัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้ หรือดำเนินการขัดแย้งกับความรู้สึกของประชาชน รวมถึงยังเป็นขาลงของอำมาตยาธิปไตย รัฐประหาร และตุลาการภิวัตน์ด้วย

ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างสื่อไทย-สื่อต่างประเทศในการรายงานและทำความเข้า ใจเกี่ยวกับสถานการณ์และสภาพสังคมไทยที่ผ่านมาว่า สื่อต่างประเทศให้ความสนใจกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงของคนจนชนบทมากเป็นพิเศษ ขณะที่สื่อไทยเหมือนจะจูนไม่ติด หรือไม่สนใจที่จะทำความเข้าใจว่าคนชนบทซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศว่า เปลี่ยนไปอย่างไร โดยยกตัวอย่างว่า ก่อนการเลือกตั้ง 2-3 สัปดาห์ โทมัส ฟูลเลอร์ ผู้สื่อข่าว นสพ.อินเตอร์เนชั่นแนลทริบูน ลงพื้นที่ต่างจังหวัดของไทย เสนอรายละเอียดแบบที่สื่อไทยไม่สามารถเสนอได้ เช่น ควายกลายเป็นสัตว์ที่อ้วน เด็กรุ่นใหม่ทำนาไม่เป็น เข้าแต่ร้านอินเทอร์เน็ต ไม่อยากทำนา ภรรยาที่ต้องเอาไก่ที่เลี้ยงให้คนอื่นเชือด เพราะสามีซึ่งทำงานขับรถรับจ้างสงสารไก่ เชือดเองไม่ลง

เขาวิจารณ์ ว่า สื่อกระแสหลักไทยเหมือนรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีไว้เพื่อชนชั้นกลาง โดยชนชั้นกลาง และสำหรับชนชั้นกลาง อยู่แต่ในโลกของตัวเอง และวันที่ 3 ก.ค. ต่างก็เกิดอาการเซอร์ไพร์สเมื่อทราบผลการเลือกตั้ง พร้อมตั้งคำถามว่าเช่นนี้แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร เมื่อสื่อเป็นเช่นนี้

ประวิตร วิจารณ์ว่า การที่สื่อเสนอแต่เพียงให้ปรองดองนั้นเป็นโจทย์ที่ผิด เนื่องจากเขามองว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องสำคัญในสังคมประชาธิปไตย เพียงแต่ให้อยู่กันได้โดยที่ไม่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญอีกก็พอ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เริ่มได้ที่สื่อ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างสื่อกระแสหลักก็เป็นแบบบนลงล่าง ที่คนทำสื่อที่มีความเชื่อต่างสีกับผู้บริหารยากจะอยู่ได้ พร้อมยกปรากฏการณ์ที่ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ สื่อมวลชนในเครือมติชน บอกว่า เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาเป็นเสาร์สุดท้ายที่จะได้ลงบทความในมติชน ซึ่งประวิตรตั้งคำถามว่า องค์กรสื่อจะต้องบังคับให้คนในองค์กรเห็นเหมือน บก. หรือไม่ ถ้าเช่นนั้น สังคมไทยจะไปต่อลำบาก

ประวิตรเสนอว่า สิ่งที่ท้าทายสำหรับสื่อและสังคมคือ การประคับประคองระบอบประชาธิปไตยให้ไปได้ก่อน โดยใช้ขันติและความอดทน การผลักดันทหารกลับกรมกอง และการตั้งคำถามกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งมีผลโดยตรงกับเสรีภาพใน การแสดงออกของประชาชน พร้อมตั้งคำถามว่า ตอนนี้สื่อไทยแยกออกไหมว่า "จาบจ้วง" กับการพูดถึงนำเสนออย่างเท่าทัน มีเส้นแบ่งไหม หรือการประจบยกยออย่างไม่พอเพียงเท่านั้นที่รับได้

จรัส สุวรรณมาลา อดีต คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬา ซึ่งมาร่วมฟังการเสวนา ร่วมแสดงความเห็นโดยกล่าวถึงงานวิจัยในหัวข้อลักษณะเดียวกับประจักษ์ว่า พบว่า การตัดสินใจเลือกตั้งคราวนี้ของประชาชนไม่ต่างจากที่ผ่านมา โดยในอีสาน เหนือ ใต้ คะแนนที่ได้เสียงส่วนใหญ่เป็นคะแนนจัดตั้งทั้งหมด โดยมีหัวคะแนน ซึ่งไม่ได้อาจแจกเงินในช่วงเลือกตั้ง แต่ดูแลคนในเขตเลือกตั้งมาตลอด 3-4 ปี โดยเกือบทั้งหมดมีการใช้ระบบหัวคะแนนในการรักษาฐานเสียงของทั้งประเทศ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ที่ ดูได้ที่ http://www.tpd.in.th/

จรัส กล่าวเพิ่มเติมว่า คนแทบไม่สนใจว่าจะมีนโยบายอย่างไรแต่มีการคุมมาแล้ว ดังนั้น เมื่อถามถึงคุณภาพ ต้องบอกว่าคุณภาพต่ำพอๆ กับคราวที่ผ่านมา คนไม่ได้สนใจว่าจะเลือกอะไร ได้ข้อมูลด้านเดียวมาก ไม่ได้ตัดสินใจต่างไปจากเดิมเลย ดังนั้น ถ้าจะพัฒนาการเมืองของเรา ด้านการเลือกตั้ง จะต้องทำให้ข้อมูลไปถึงชาวบ้านจริงๆ